เศรษฐยาธิปไตย
ส่วนหนึ่งของชุดการเมือง |
ระบอบการปกครอง พื้นฐาน |
---|
รายชื่อระบอบการปกครอง รายชื่อประเทศตามระบอบการปกครอง |
สถานีย่อยการเมือง |
เศรษฐยาธิปไตย[1] หรือ ธนาธิปไตย (กรีก: πλοῦτος, ploutos, 'ความมั่งคั่ง' + κράτος, kratos, 'ปกครอง' - อังกฤษ: plutocracy, plutarchy) เป็นระบอบการปกครองที่คนมีเงินเป็นผู้ถือครองอำนาจทางการเมือง[2] โดยเป็นรูปแบบหนึ่งของคณาธิปไตย และสามารถนิยามด้วยว่า เป็นสังคมที่ปกครองหรือควบคุมโดยประชาชนที่มั่งคั่งที่สุดส่วนน้อย เป็นการเมืองเพื่ออำนาจ เพื่อผลประโยชน์ และสิทธิพิเศษ ของกลุ่มคนที่มีอำนาจทางการเมือง โดยต้องใช้เงินเป็นองค์ประกอบหลัก[3] มีการใช้คำทำนองนี้เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2195[4] โดยไม่เหมือนกับระบบประชาธิปไตย สังคมนิยม หรืออนาธิปไตย เศรษฐยาธิปไตยไม่มีมูลฐานจากปรัชญาการเมือง และชนมั่งคั่งในสังคมอาจสนับสนุนให้ใช้เศรษฐยาธิปไตยโดยไม่ได้ทำตรง ๆ หรือทำอย่างปกปิด คำนี้จึงมักใช้ในทางลบ[5]
ผู้มีอำนาจในระบอบนี้อาจก่อปัญหาหลายอย่างรวมทั้ง
- ไม่ใส่ใจหน้าที่รับผิดชอบทางสังคมของตน[6]
- ใช้อำนาจเพื่อผลประโยชน์ของตนเองและดังนั้น เพิ่มความยากจน[6]
- สร้างความแบ่งแยกระหว่างชนชั้น[6]
- ทำสังคมให้เสื่อมทรามด้วยความโลภและสุขารมณ์นิยม (หรือกามสุขัลลิกานุโยค)[6]
- ทุจริตโดยนโยบาย[2]
- ทุจริตการเลือกตั้ง[2]
- ขาดจริยธรรม[2]
- นักการเมืองเข้าสู่อำนาจด้วยเงิน จึงอาจไม่มีคุณสมบัติเพื่อบริหารบ้านเมือง[2]
การใช้
[แก้]คำนี้มักใช้ในทางลบเพื่ออธิบายหรือเตือนให้สำนึกถึงสถานการณ์ที่ไม่พึงประสงค์[7][8] ตลอดประวัติศาสตร์ นักคิดทางการเมืองชาวตะวันตกทั้งหลายรวมทั้งวินสตัน เชอร์ชิล, นักสังคมวิทยาและประวัติศาสตร์ชาวฝรั่งเศส Alexis de Tocqueville (คริสต์ทศวรรษที่ 19), ผู้นิยมระบอบราชาธิปไตยชาวสเปน Juan Donoso Cortés, และในปัจจุบัน นักปฏิบัติการผู้ชื่นชอบสังคมนิยมแบบอิสรนิยม โนม ชอมสกี ได้ตำหนิผู้ครองอำนาจเช่นนี้เพราะ[6][9]
- ไม่ใส่ใจหน้าที่รับผิดชอบทางสังคมของตน
- ใช้อำนาจเพื่อผลประโยชน์ของตนเองและดังนั้น เพิ่มความยากจน
- สร้างความแบ่งแยกระหว่างชนชั้น
- ทำสังคมให้เสื่อมทรามด้วยความโลภและสุขารมณ์นิยม (หรือกามสุขัลลิกานุโยค)
ธนาธิปไตยยุคใหม่ถูกสื่อความหมายในทางลบ โดยเป็นการประสานกันของอำนาจทางการเงินและทางการเมือง การใช้เงินเพื่อได้ผลทางอำนาจบริหารรัฐกิจ หรือหมายถึงการให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ภาครัฐ การมีส่วนร่วมกับพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาลเพื่อผลประโยชน์ตนเอง บุคคลร่ำรวย หรือธนาธิปัตย์ (plutocrat) การผลักดันให้รัฐออกนโยบายเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจตัวเอง อาจส่งผลต่อนโยบายระดับต่างประเทศ เช่น นโยบายสนับสนุนสงครามเพื่อขายอาวุธ เครื่องบินรบ เรือรบ[10]
ในโฆษณาชวนเชื่อ
[แก้]ในศัพท์เฉพาะและโฆษณาชวนเชื่อทางการเมืองของฟาสซิสต์อิตาลี ของนาซีเยอรมนี และขององค์การคอมมิวนิสต์สากล รัฐประชาธิปไตยแบบตะวันตกจะถูกเรียกว่า เศรษฐยาธิปไตย โดยนัยว่า คนที่ร่ำรวยสุดจะควบคุมประเทศต่าง ๆ และจับประเทศไว้เพื่อเรียกค่าไถ่[11][12] ในลัทธิฟาสซิสต์ คำว่า เศรษฐยาธิปไตย เป็นหลัก จะแทนคำว่า ประชาธิปไตย และ ทุนนิยม เมื่อใช้กับสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2[12][13] สำหรับพวกนาซี คำนี้มักใช้เป็นรหัสเรียกพวกชาวยิว[12]
การเมืองปัจจุบัน
[แก้]ตามประวัติแล้ว คนหรือองค์กรที่ร่ำรวยได้มีอิทธิพลทางการเมืองมานานแล้ว ในยุคปัจจุบัน รัฐประชาธิปไตยหลายรัฐอนุญาตให้นักการเมืองระดมเงินทุน ผู้บ่อยครั้งอาศัยรายได้เช่นนี้เพื่อโฆษณาการสมัครรับเลือกตั้งของตนต่อประชาชนผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียง
ไม่ว่าจะผ่านบุคคล บริษัท หรือกลุ่มสนับสนุน การบริจาคเงินเพื่อการนี้บ่อยครั้งเชื่อว่า สร้างปัญหาการเล่นพรรคเล่นพวกหรือระบบอุปถัมภ์ ที่ผู้ให้เงินทุนรายใหญ่จะได้สิ่งตอบแทน แม้ว่าการให้ทุนเลือกตั้งอาจจะไม่มีผลโดยตรงต่อการออกฎหมายของผู้แทน แต่ความคาดหวังตามธรรมดาของผู้บริจาคก็คือ จะได้สิ่งที่ต้องการผ่านคนที่ตนให้เงิน ไม่เช่นนั้นแล้ว การให้เงินทุนแก่ผู้อื่นหรือองค์กรการเมืองอื่นอาจได้ประโยชน์กว่า
แม้ว่า การให้สิ่งตอบแทนตรง ๆ โดยทั่วไปจะผิดกฎหมายรัฐประชาธิปไตยโดยมาก แต่ก็เป็นเรื่องพิสูจน์ได้ยาก ถ้าไม่มีเอกสารเป็นลูกโซ่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจน หลักสำคัญอย่างหนึ่งของระบอบประชาธิปไตย ก็คือนักการเมืองสามารถสนับสนุนนโยบายอันให้ประโยชน์กับประชาชนในเขตของตน ซึ่งก็ทำให้พิสูจน์ได้ยากขึ้นว่าการกระทำเยี่ยงนั้นเป็นอาชญากรรม แม้แต่การตั้งคนที่ชัดเจนว่าให้เงินทุนขึ้นมาประจำตำแหน่งก็อาจยังไม่ผิดกฎหมาย โดยเฉพาะถ้าผู้ที่ได้ปรากฏว่ามีคุณสมบัติที่ดีสำหรับตำแหน่งนั้น บางรัฐแม้แต่มีกฎหมายอนุญาตให้ใช้การอุปถัมภ์เยี่ยงนี้
ตัวอย่าง
[แก้]ตัวอย่างของเศรษฐยาธิปไตยในอดีตรวมทั้งจักรวรรดิโรมัน, นครรัฐบางรัฐในกรีซโบราณ, อารยธรรมคาร์เธจ, นครรัฐ/สาธารณรัฐวาณิชต่าง ๆ ในอิตาลีรวมทั้ง สาธารณรัฐเวนิส สาธารณรัฐฟลอเรนซ์ (โดยตระกูลเมดีชี) กับสาธารณรัฐเจนัว, และจักรวรรดิญี่ปุ่นก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 (โดยกลุ่มไซบัตสึ) ตามนักปฏิบัติการทางการเมืองโนม ชอมสกี และอดีตประธานาธิบดีสหรัฐ จิมมี คาร์เตอร์ สหรัฐอเมริกาในปัจจุบันมีการปกครองคล้ายกับเศรษฐยาธิปไตย แม้จะมีรูปแบบของประชาธิปไตย[14][15]
ตัวอย่างปัจจุบันที่ชัดเจนตามผู้วิพากษ์วิจารณ์บางท่านก็คือนครลอนดอน[16] คือ นครลอนดอน (ซึ่งไม่ใช่กรุงลอนดอนทั้งหมด แต่เป็นเขตนครโบราณ ใหญ่ประมาณ 2.5 ตาราง กม. ซึ่งปัจจุบันเป็นเขตการเงิน) มีระบบการเลือกตั้งพิเศษเพื่อบริหารจัดการท้องที่ ผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียงกว่า 2 ใน 3 ไม่ใช่เป็นผู้อยู่อาศัยในพระนคร แต่เป็นผู้แทนธุรกิจและองค์กรอื่น ๆ ที่อยู่ในนคร โดยมีคะแนนเสียงตามจำนวนลูกจ้างที่มี เหตุผลหลักก็คือ ธุรกิจเป็นผู้ใช้บริการของนครโดยมาก คือ มีบุคคลที่เข้ามาทำงานในเมืองประมาณ 450,000 คน มากกว่าผู้อาศัยอยู่ในเมืองเพียงแค่ 7,000 คน[17]
ประเทศไทย
[แก้]บล็อกประชาไทอ้างว่า ประเทศไทยก็มีรูปแบบบางอย่างของธนาธิปไตย รวมทั้งการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีของนครเชียงใหม่ล่าสุดก่อนบล็อก ที่อาศัยเงิน และคนชนะได้มาจากตระกูลเดียวที่มั่งคั่งของจังหวัดเชียงใหม่[2]
จีนก่อนคอมมิวนิสต์
[แก้]ในประเทศจีนก่อนการปฏิวัติโดยพรรคคอมมิวนิสต์ในปี พ.ศ. 2492 กล่าวกันว่าอำนาจการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ อยู่ใต้อำนาจของชนสี่ตระกูล ได้แก่ ตระกูลเจียง (Jiang) ตระกูลซ่ง (Song) ตระกูลคุง (Kung) และตระกูลเชน (Chen) ทั้งนี้สามตระกูลแรกจะเกี่ยวดองกันโดยการแต่งงานกัน และมีบทบาทอย่างสูงต่อการเมืองจีนในยุคนั้น
สหรัฐอเมริกา
[แก้]นักประวัติศาสตร์ นักการเมือง และนักเศรษฐศาสตร์ปัจจุบันบางคนอ้างว่า สหรัฐอเมริกาเท่ากับเป็นเศรษฐยาธิปไตยอย่างน้อยก็บางส่วนในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1870 จนถึง 1900 (Gilded Age) และในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1890 ถึง 1920 (Progressive Era) ภายหลังสงครามกลางเมืองอเมริกาจนกระทั่งถึงเริ่มภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่[18][19][20][21][22][23] ประธานาธิบดีธีโอดอร์ โรสเวลต์ กลายมามีชื่อเสียงฐานมือปราบผู้ผูกขาดทางการค้า (หรือที่เรียกว่าทรัสต์) โดยใช้กฎหมายต่อต้านทรัสต์ แตกบริษัทรถไฟ (Northern Securities Company) และบริษัทน้ำมันที่ใหญ่ที่สุด (Standard Oil)[24] ตามนักประวัติศาสตร์คนหนึ่ง "ในเรื่องการเมืองในประเทศ สิ่งที่ธีโอดอร์ โรสเวลต์ เกลียดที่สุดก็คือเศรษฐยาธิปไตย"[25] ในอัตชีวประวัติเรื่องการจัดการบริษัทผูกขาดในฐานะประธานาธิบดี โรสเวลต์เล่าว่า
…เราได้มาถึงเวลาที่เพื่อประโยชน์ประชาชน สิ่งที่จำเป็นก็คือประชาธิปไตยที่แท้จริง และในบรรดารูปแบบทรราชย์ทั้งหลาย ที่น่าพิสมัยน้อยที่สุด ที่สามานย์มากที่สุด ก็คือทรราชย์ที่อาศัยความมั่งคั่ง ระบอบทรราชย์ของเศรษฐยาธิปไตย
— ธีโอดอร์ โรสเวลต์ (พ.ศ. 2456)[26]
เมื่อกฎหมายต่อต้านทรัสต์เชอร์แมนได้ผ่านเป็นกฎหมายในปี 2433 อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ได้ถึงระดับการผูกขาดหรือใกล้การผูกขาดในเรื่องการผลิตและเงินทุน โดยรวบรวมบริษัทเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ พร้อมทั้งคนมั่งคั่งมากผู้เป็นประธานบริษัทยักษ์ใหญ่ไม่กี่คน ก็เริ่มมีอิทธิพลเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เหนืออุตสาหกรรม มติมหาชน และการเมืองหลังสงครามการเมือง ตามนักปฏิบัติการหัวก้าวหน้าและนักข่าวคนหนึ่งในเวลานั้น
เงินเป็น 'ปูนของตึกใหญ่นี้' โดยความแตกต่างทางคตินิยมระหว่างนักการเมืองก็กำลังเลือนไป และวงการเมืองก็กำลังกลายเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของธุรกิจที่ใหญ่กว่า ที่ผสมผสานกันดีกว่า โดยผ่านพรรคการเมืองที่ขายผลประโยชน์ให้กับบริษัทยักษ์อย่างเป็นรูปธรรม รัฐก็กลายเป็นเพียงแค่แผนกหนึ่งของบริษัท
— Walter Weyl - นักปฏิบัติการหัวก้าวหน้าและนักข่าว[27]
ในหัวข้อเรื่อง การเมืองแห่งเศรษฐยาธิปไตย (The Politics of Plutocracy) นักเศรษฐศาสตร์ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ พอล ครุ๊กแมน กล่าวว่า[28] เศรษฐยาธิปไตยในสหรัฐอเมริกาเกิดขึ้นได้ในเวลานั้นอาศัยปัจจัยสามอย่าง คือ
- ในเวลานั้น ผู้อาศัยอยู่ในอเมริกา 1/4 ที่ยากจนที่สุด (รวมทั้ง ชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกา และผู้ย้ายถิ่นที่ยังไม่แปลงสัญชาติ) ไม่มีสิทธิลงคะแนนเสียง
- เศรษฐีให้เงินทุนการหาเสียงแก่นักการเมืองที่ตนชอบ
- และการซื้อเสียงเป็นเรื่องที่ "ทำได้ ง่าย และแพร่หลาย" ซึ่งก็เป็นจริงแม้ในการฉ้อฉลการเลือกตั้งอื่น ๆ เช่น การลงคะแนนเกินครั้งเดียว และการข่มขู่ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง
แม้สหรัฐจะได้เริ่มเก็บภาษีอัตราก้าวหน้าตั้งแต่ปี 2456 แล้ว แต่ตามนักสังคมศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบียคนหนึ่ง เริ่มตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1970 อภิสิทธิชนได้ใช้อำนาจทางการเมืองที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อลดภาษีของตน และปัจจุบันได้ใช้ "อุตสาหกรรมป้องกันรายได้" เพื่อลดภาษีของตนได้อย่างมหาศาล[29]
ในปี 2541 นักข่าวคนหนึ่งของหนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทมส์ เรียกเศรษฐีทรงอำนาจ (plutocrat) ชาวอเมริกันว่า "คนชั้นบริจาค"[30][31] และนิยามคนชั้นนี้เป็นครั้งแรกว่าเป็น[32]
คนกลุ่มเล็กมาก เพียง 1 ใน 4 ของคนเปอร์เซ็นต์เดียว (คือ 0.25%) และเป็นกลุ่มประชากรที่ไม่ได้เป็นตัวแทนของคนทั้งชาติที่เหลือ แต่เงินของพวกเขาสามารถซื้อการเข้าถึงผู้แทนได้อย่างสบาย
— Bob Herbert - นักข่าวของหนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทมส์[30]
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2
[แก้]ในยุคปัจจุบัน คำนี้บางครั้งใช้ในทางลบโดยหมายถึงสังคมที่มีรากในทุนนิยมที่รัฐร่วมมือกับธุรกิจ หรือสังคมที่ให้ความสำคัญกับการสั่งสมความมั่งคั่งมากกว่าประโยชน์อื่น ๆ[33][34][35][36][37][38][39][40][41] ตามนักเขียนที่เป็นกุนซือทางการเมืองของริชาร์ด นิกสัน สหรัฐเป็นเศรษฐยาธิปไตยที่เป็น "การหลอมรวมของเงินและรัฐบาล"[42]
ส่วนนักเขียนและรัฐมนตรีของแคนาดา Chrystia Freeland[43] กล่าวว่า แนวโน้มไปสู่เศรษฐยาธิปไตยในปัจจุบันเกิดขึ้นเพราะเศรษฐีรู้สึกว่าผลประโยชน์ของตนก็เป็นประโยชน์ต่อสังคมด้วย[44][45] คือ
คุณไม่ทำอย่างนี้โดยหัวเราะอย่างถูกใจ สูบซิการ์ แล้วสมรู้ร่วมคิด คุณทำโดยกล่อมตัวเองว่า สิ่งที่เป็นประโยชน์ของตัวเองก็เป็นประโยชน์ต่อคนอื่น ๆ ดังนั้น คุณย่อมกล่อมตัวเองว่า ในที่สุดแล้ว การบริการของรัฐบาล อะไร ๆ เช่นงบประมาณเพื่อการศึกษา ซึ่งเป็นสิ่งที่สร้างสมรรถภาพการเปลี่ยนสถานภาพทางสังคมประการแรก ต้องตัดออกเพื่อการขาดดุลจะได้ลดลง เพื่อภาษีของคุณจะได้ไม่เพิ่มขึ้น และสิ่งที่ดิฉันเป็นห่วงมากก็คือ คนระดับสูงสุดมีเงินและมีอำนาจมากจริง ๆ และช่องว่างระหว่างชนเหล่านั้นกับคนอื่น ๆ ใหญ่โตมาก จนกระทั่งเราจะเริ่มเห็น สมรรถภาพการเปลี่ยนสถานภาพทางสังคมถูกบีบจนหายใจไม่ออก แล้วสังคมก็จะเปลี่ยนไป
เมื่อนักเศรษฐศาสตร์ที่ได้รับรางวัลโนเบล โจเซฟ สติกลิตส์ เขียนบทความในนิตยสารปี 2554 ชื่อว่า "ของประชาชน 1% โดยประชาชน 1% และสำหรับประชาชน 1%" (เลียนสุนทรพจน์ที่เกตตีสเบิร์กปี 2406 ของอับราฮัม ลินคอล์นเกี่ยวกับรัฐบาลของประชาชนเป็นต้น) เขาได้ให้ข้อมูลว่า สหรัฐอเมริกากำลังถูกควบคุมโดยคนที่รวยที่สุด 1% เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ[46][47] นักวิจัยบางท่านได้กล่าวว่า สหรัฐอาจจะกำลังระเหเร่ร่อนไปสู่รูปแบบหนึ่งของคณาธิปไตย เพราะประชาชนแต่ละคนมีอิทธิพลน้อยกว่าอภิสิทธิชนทางเศรษฐกิจและกลุ่มผลประโยชน์ในเรื่องนโยบายของรัฐ[48]
งานศึกษาทางรัฐศาสตร์ปี 2557 ที่มหาวิทยาลัยพรินซ์ตันและมหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น[49] กล่าวว่า "งานวิเคราะห์แสดงว่า ประชาชนอเมริกันส่วนมากความจริงมีอิทธิพลต่อนโยบายที่รัฐออกน้อยมาก" แม้นักวิชาการทั้งสองท่านจะไม่ได้ระบุสหรัฐว่าเป็นระบอบคณาธิปไตย หรือเศรษฐยาธิปไตย โดยตัวเอง แต่ก็ยังเรียกสหรัฐว่า คณาธิปไตยแบบศิวิไลซ์ (civil oligarchy) ดังที่นิยามโดยนักรัฐศาสตร์อีกท่านหนึ่งที่มหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น[50]
รัสเซีย
[แก้]รายงานปี 2556 ของธนาคารสวิสที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของโลก (Credit Suisse) กล่าวว่า
รัสเซียมีความไม่เสมอภาคทางทรัพย์สินระดับสูงสุดในโลก นอกเหนือจากประเทศแคริบเบียนเล็ก ๆ ที่มีผู้อยู่อาศัยเป็นอภิมหาเศรษฐี (billionaire) ทั่วโลก จะมีอภิมหาเศรษฐีคนหนึ่งทุก ๆ 170,000 ล้านเหรียญสหรัฐของทรัพย์สินประชาชน (แต่) รัสเซียมีหนึ่งคนทุก ๆ 11,000 ล้านเหรียญ ทั่วโลก อภิมหาเศรษฐีรวมกันมีทรัพย์สิน 1%-2% ของทรัพย์สินประชาชนทั้งหมด (แต่) ในรัสเซียทุกวันนี้ อภิมหาเศรษฐี 110 คนมีทรัพย์สิน 35% ของประชาชนทั้งหมด
— รายงานความมั่งคั่งทั่วโลก ของธนาคาร Credit Suisse [51]
ดูเพิ่ม
[แก้]เชิงอรรถและอ้างอิง
[แก้]- ↑ "plutocracy", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕,
(รัฐศาสตร์) เศรษฐยาธิปไตย
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 ชำนาญ จันทร์เรือง (8 October 2009). "ธนาธิปไตย (Plutocracy)". ประชาไท. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 June 2017. อ้างว่าบทความเผยแพร่เป็นครั้งแรกในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับ 7 ตุลาคม 2552
- ↑ "การเมืองไทยในระบอบธนาธิปไตย". มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. 21 May 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 August 2009.
- ↑ "Plutocracy". Merriam Webster. สืบค้นเมื่อ 13 October 2012.
- ↑ Chomsky, Noam (15 August 2013). "[the transcript of a speech] delivered by Noam Chomsky in Bonn, Germany, at DW Global Media Forum". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2017. สืบค้นเมื่อ 7 June 2017.
The study of attitudes is reasonably easy [...] it's concluded that for roughly 70% of the population - the lower 70% on the wealth/income scale - they have no influence on policy whatsoever. They're effectively disenfranchised. As you move up the wealth/income ladder, you get a little bit more influence on policy. When you get to the top, which is maybe a tenth of one percent, people essentially get what they want, i.e. they determine the policy. So the proper term for that is not democracy; it's plutocracy.
{{cite web}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 Viereck, Peter (2006). Conservative thinkers: from John Adams to Winston Churchill. New Brunswick, New Jersey: Transaction Publishers. pp. 19-68. ISBN 1412805260.
- ↑ Fiske, Edward B.; Mallison, Jane; Hatcher, David (2009). Fiske 250 words every high school freshman needs to know. Naperville, Ill.: Sourcebooks. p. 250. ISBN 1402218400.
- ↑ Coates (2006). Colin, M (บ.ก.). Majesty in Canada: essays on the role of royalty. Toronto: Dundurn. p. 119. ISBN 1550025864.
- ↑ Toupin, Alexis de Tocqueville; Boesche, Roger (1985). Boesche, Roger (บ.ก.). Selected letters on politics and society. Berkeley: University of California Press. pp. 197–198. ISBN 0520057511.
- ↑ "ธนาธิปไตย/ประชาธิปไตย".
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)[ลิงก์เสีย] - ↑ "The Editors: American Labor and the War (February 1941)". marxists.org. สืบค้นเมื่อ 28 August 2015.
- ↑ 12.0 12.1 12.2 Blamires, Cyprian; Jackson, Paul (2006). World fascism: a historical encyclopedia. Vol. 1. ABC-CLIO. p. 522. ISBN 978-1-57607-940-9.
- ↑ Herf, Jeffrey (2006). The Jewish enemy: Nazi propaganda during World War II and the Holocaust. Harvard University Press. p. 311. ISBN 0-674-02175-4.
- ↑ Chomsky, Noam (6 October 2015). "America is a plutocracy masquerading as a democracy". Salon. สืบค้นเมื่อ 13 February 2015.
- ↑ Carter, Jimmy (15 October 2015). "Jimmy Carter on Whether He Could Be President Today: "Absolutely Not"". supersoul.tv. สืบค้นเมื่อ 13 February 2015.
- ↑ Monbiot, George (31 October 2011). "The medieval, unaccountable Corporation of London is ripe for protest". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 1 November 2011.
- ↑ Lavanchy, René (12 February 2009). "Labour runs in City of London poll against 'get-rich' bankers". Tribune. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-15. สืบค้นเมื่อ 2015-01-17.
- ↑ Pettigrew, Richard Franklin (2010). Triumphant Plutocracy: The Story of American Public Life from 1870 to 1920. Nabu Press. ISBN 1146542747.
- ↑ Reed, John Calvin (1903). The New Plutocracy. Kessinger Publishing, LLC (2010 reprint). ISBN 1120909155.
- ↑ Brinkmeyer, Robert H. (2009). The fourth ghost: white Southern writers and European fascism, 1930-1950. Baton Rouge: Louisiana State University Press. p. 331. ISBN 0807133833.
- ↑ Allitt, Patrick (2009). The conservatives: ideas and personalities throughout American history. New Haven: Yale University Press. pp. 143. ISBN 0300118945.
- ↑ Ryan, James G (2003). Schlup, Leonard (บ.ก.). Historical dictionary of the Gilded Age. Armonk, N.Y.: M.E. Sharpe. pp. 145. ISBN 0765603314.
- ↑ Viereck, Peter (2006). Conservative thinkers: from John Adams to Winston Churchill. New Brunswick, New Jersey: Transaction Publishers. pp. 103. ISBN 1412805260.
- ↑ Schweikart, Larry (2009). American Entrepreneur: The Fascinating Stories of the People Who Defined Business in the United States. AMACOM Div American Mgmt Assn.
- ↑ "Theodore Roosevelt, American Politician". google.co.jp. สืบค้นเมื่อ 28 August 2015.
- ↑ "Roosevelt, Theodore. 1913. An Autobiography: XII. The Big Stick and the Square Deal". bartleby.com. สืบค้นเมื่อ 28 August 2015.
- ↑ Bowman, Scott R. (1996). The modern corporation and American political thought: law, power, and ideology. University Park, Pa.: Pennsylvania State University Press. pp. 92-103. ISBN 0271014733.
- ↑ Krugman, Paul (2009). The conscience of a liberal (Pbk ed.). New York: Norton. pp. 21-26. ISBN 0393333132.
- ↑ Kahn, Shamus (18 September 2012). "The Rich Haven't Always Hated Taxes". Time Magazine.
{{cite web}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ 30.0 30.1 Herbert, Bob (19 July 1998). "The Donor Class". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 10 March 2016.
- ↑ Confessore, Nicholas; Cohen, Sarah; Yourish, Karen (10 October 2015). "The Families Funding the 2016 Presidential Election". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 10 March 2016.
- ↑ McCutcheon, Chuck (26 December 2014). "Why the 'donor class' matters, especially in the GOP presidential scrum". "The Christian Science Monitor. สืบค้นเมื่อ 10 March 2016.
- ↑ Lind, Michael (December 2009). "T O-Word". The Baffler. สืบค้นเมื่อ 30 April 2014.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Barker, Derek (2013). "Oligarchy or Elite Democracy? Aristotle and Modern Representative Government". New Political Science. 35 (4): 547–566. doi:10.1080/07393148.2013.848701. สืบค้นเมื่อ 30 April 2014.
- ↑ Nichol, Gene (13 March 2012). "Citizens United and the Roberts Court's War on Democracy". Georgia State University Law Review. 27 (4): 1007–1018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 April 2014. สืบค้นเมื่อ 30 April 2014.
- ↑
Muller, A; Kinezuka, A; Kerssen, T (Summer 2013). "The Trans-Pacific Partnership: A Threat to Democracy and Food Sovereignty" (PDF). Food First Backgrounder. สืบค้นเมื่อ 30 April 2014.
{{cite news}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Etzioni, Amitai (January 2014). "Political Corruption in the United States: A Design Draft". Political Science & Politics. 47 (1): 141–144. doi:10.1017/S1049096513001492. สืบค้นเมื่อ 30 April 2014.
- ↑ Winters, Jeffrey (March 2012). "Oligarchy". Perspectives on Politics. 10 (1): 137–139. doi:10.1017/S1537592711004294. สืบค้นเมื่อ 30 April 2014.
- ↑ Westbrook, David (2011). "If Not a Commercial Republic - Political Economy in the United States after Citizens United" (PDF). Lousiville Law Review. 50 (1): 35–86. สืบค้นเมื่อ 30 April 2014.
- ↑ Liptak, Adam (2010-01-21). "Justices, 5-4, Reject Corporate Spending Limit". New York Times. สืบค้นเมื่อ 30 April 2014.
- ↑ "Full Show: The Long, Dark Shadows of Plutocracy". Moyers & Company. 28 November 2014.
- ↑ "Transcript. Bill Moyers Interviews Kevin Phillips". NOW with Bill Moyers, PBS. 4 September 2014.
- ↑ Freeland, Chrystia (2012). Plutocrats: the rise of the new global super-rich and the fall of everyone else. New York: Penguin. ISBN 9781594204098. OCLC 780480424.
- ↑ "A Startling Gap Between Us And Them In 'Plutocrats'". National Public Radio. 15 October 2012.
- ↑ See also the Chrystia Freeland interview for the Moyers Book Club "Plutocracy Rising". Moyers & Company. 12 October 2012.
- ↑
Stiglitz, Joseph E (May 2011). ""Of the 1%, by the 1%, for the 1%"". Vanity Fair.
{{cite web}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Stiglitz, Joseph (7 April 2011). "Assault on Social Spending, Pro-Rich Tax Cuts Turning U.S. into Nation "Of the 1 Percent, by the 1 Percent, for the 1 Percent"". Democracy Now! (Interview).
- ↑ Piketty, Thomas (2014). Capital in the Twenty-First Century. Belknap Press. pp. 514. ISBN 067443000X.
the risk of a drift towards oligarchy is real and gives little reason for optimism about where the United States is headed
{{cite book}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Gilens, Martin; Page, Benjamin (April 2014). "Testing Theories of American Politics: Elites, Interest Groups, and Average Citizens" (PDF). Perspectives on Politics. Princeton University.
{{cite web}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Winters, Jeffrey A (2011). Oligarchy. Cambridge University Press. pp. 208–254.
{{cite book}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ "Global Wealth Report". Credit Suisse. October 2013. p. 53. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 February 2015. สืบค้นเมื่อ 7 June 2017.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Howard, Milford Wriarson (1895). The American plutocracy. New York: Holland Publishing.
- Norwood, Thomas Manson (1888). Plutocracy: or, American white slavery; a politico-social novel. New York: The American News Company.
- Pettigrew, Richard Franklin (1921). Triumphant Plutocracy: The Story of American Public Life from 1870 to 1920. New York: The Academy Press.
- Reed, John Calvin (1903). The New Plutocracy. New York: Abbey Press.
- Winters, Jeffrey A. (2011). "Oligarchy" Cambridge University Press
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Documentary Plutocracy Political repression in the U.S.A. part 1, by Metanoia Films
- Documentary Plutocracy II: Solidarity Forever Political repression in the U.S.A. part 2, by Metanoia Films