ข้ามไปเนื้อหา

ประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ระบบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน (อังกฤษ: representative democracy) เป็นประชาธิปไตยแบบหนึ่งซึ่งตั้งอยู่บนหลักว่า ข้าราชการจากการเลือกตั้งเป็นผู้แทนกลุ่มประชาชน ซึ่งขัดต่อประชาธิปไตยทางตรง[1] ประชาธิปไตยแบบตะวันตกสมัยใหม่ทั้งหมดเป็นประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนประเภทใดประเภทหนึ่งทั้งสิ้น เช่น สหราชอาณาจักรเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และเยอรมนีเป็นสาธารณรัฐระบบรัฐสภา เป็นต้น[2]

ประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนเป็นองค์ประกอบของทั้งระบบรัฐสภาหรือระบบประธานาธิบดี และตรงแบบใช้ในสภาล่าง เช่น สภาสามัญชน (สหราชอาณาจักร) หรือบุนเดิสทาค (เยอรมนี) และอาจกำกับอีกทีหนึ่งโดยข้อบังคับตามรัฐธรรมนูญ เช่น สภาสูง ในสภานั้น อำนาจอยู่ในมือของผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Victorian Electronic Democracy, Final Report – Glossary". 28 July 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 December 2007. สืบค้นเมื่อ 14 December 2007.
  2. Loeper, Antoine (2016). "Cross-border externalities and cooperation among representative democracies". European Economic Review. 91: 180–208. doi:10.1016/j.euroecorev.2016.10.003. hdl:10016/25180.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]