รัฐหลังสหภาพโซเวียต
รัฐหลังสหภาพโซเวียต (อังกฤษ: post-Soviet states) หรือที่รู้จักกันในชื่อ อดีตสหภาพโซเวียต (former Soviet Union, FSU),[1] อดีตสาธารณรัฐโซเวียต (former Soviet Republics) และในรัสเซียในชื่อ ต่างประเทศใกล้เคียง (รัสเซีย: бли́жнее зарубе́жье, อักษรโรมัน: blizhneye zarubezhye) คือรัฐเอกราช 15 รัฐที่เคยเป็นสาธารณรัฐองค์ประกอบของสหภาพโซเวียต โดยเกิดขึ้นและเกิดขึ้นอีกครั้งจากสหภาพโซเวียตหลังการล่มสลายของสหภาพใน ค.ศ. 1991
รัสเซียเป็นรัฐผู้สืบสิทธิ์หลักของสหภาพโซเวียตที่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติโดยพฤตินัยหลังสงครามเย็น ในขณะที่ยูเครนประกาศตนเองตามกฎหมายว่าเป็นรัฐผู้สืบสิทธิ์ของทั้งสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครนและสหภาพโซเวียต ซึ่งยังคงอยู่ภายใต้ข้อพิพาทเกี่ยวกับทรัพย์สินที่เคยเป็นของสหภาพโซเวียต[2][3][4]
รัฐบอลติกทั้งสามเป็นสาธารณรัฐกลุ่มแรกที่ประกาศเอกราชในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1990 โดยอ้างความต่อเนื่องจากรัฐเดิมที่ดำรงอยู่ก่อนการผนวกของสหภาพโซเวียตใน ค.ศ. 1940[5][6] สาธารณรัฐที่เหลือ 12 แห่งทั้งหมดทยอยแยกตัวออกจากสหภาพโซเวียต[5] โดย 12 ใน 15 รัฐ (ไม่รวมรัฐบอลติก) ร่วมก่อตั้งเครือรัฐเอกราช (ซีไอเอส) และส่วนใหญ่เข้าร่วมองค์การสนธิสัญญาความมั่นคงร่วมกัน (ซีเอสทีโอ) ในขณะที่รัฐบอลติกเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปและเนโท[7] เจ้าหน้าที่สหภาพยุโรปได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของข้อตกลงความร่วมมือระหว่างสหภาพยุโรปกับรัฐหลังสหภาพโซเวียต[8][9]
นอกจากนี้ ยังมีดินแดนพิพาทที่ได้รับการรับรองในระดับแตกต่างกันที่ตั้งอยู่ในดินแดนอดีตสหภาพโซเวียต ได้แก่ ทรานส์นีสเตรียในภาคตะวันออกของมอลโดวา, อับคาเซียและเซาท์ออสซีเชียในภาคเหนือของจอร์เจีย และสาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัคในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของอาเซอร์ไบจาน ตั้งแต่ ค.ศ. 2014 สาธารณรัฐประชาชนดอแนตสก์และสาธารณรัฐประชาชนลูฮันสก์ในภาคตะวันออกไกลของยูเครนได้อ้างตนเองเป็นเอกราช ดินแดนที่ไม่ได้รับการรับรองจากนานาชาติส่วนใหญ่เหล่านี้ได้รับความช่วยเหลือทางทหารและการเงินจากรัสเซีย ยกเว้นสาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัคซึ่งรวมอยู่กับอาร์มีเนียในทางพฤตินัยแต่ยังคงความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับรัสเซีย ก่อนการผนวกไครเมียเข้ากับรัสเซียในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2014 ซึ่งประเทศส่วนใหญ่ไม่ให้การรับรองนั้น ไครเมียเคยประกาศตนเองเป็นเอกราชเป็นระยะเวลาสั้น ๆ[10]
ในภาษาทางการเมืองของรัสเซียและรัฐหลังสหภาพโซเวียตบางรัฐ ศัพท์ ต่างประเทศใกล้เคียง สื่อถึงสาธารณรัฐเอกราช (นอกเหนือจากรัสเซีย) ที่กำเนิดขึ้นหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต การใช้ศัพท์ดังกล่าวที่เพิ่มขึ้นในภาษาอังกฤษถูกนำไปเชื่อมโยงกับการยืนยันจากต่างชาติ (โลกที่พูดภาษาอังกฤษ) ถึงสิทธิ์ของรัสเซียที่จะรักษาอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญในภูมิภาคนี้[11][12][13] วลาดีมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย ประกาศให้ภูมิภาคนี้เป็นส่วนประกอบหนึ่งของ "เขตอิทธิพล" ของรัสเซีย และมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ต่อผลประโยชน์ของรัสเซีย[13] มีผู้เปรียบเทียบแนวคิดนี้กับลัทธิมอนโร[11]
การเปรียบเทียบประเทศ
[แก้]ภูมิภาค | ชื่อประเทศ | ตราแผ่นดิน
|
ธง | เมืองหลวง | เป็นเอกราช | พื้นที่[14] | ประชากร | ความหนาแน่น | หมายเหตุ | |||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ตารางกิโลเมตร | ตารางไมล์ | คน/ตารางกิโลเมตร | คน/ตารางไมล์ | |||||||||
ยุโรปตะวันออก | รัสเซีย (สหพันธรัฐรัสเซีย) |
มอสโก | 12 ธันวาคม ค.ศ. 1991 | 17,098,242 | 6,601,668 | 146,171,015 | 9 | 23 | [15][16][17][18] | |||
ยูเครน | เคียฟ | 24 สิงหาคม ค.ศ. 1991 | 577,528 | 222,985 | 41,383,182 | 72 | 186 | [19][20] | ||||
เบลารุส (สาธารณรัฐเบลารุส) |
มินสค์ | 10 ธันวาคม ค.ศ. 1991 | 207,600 | 80,155 | 9,349,645 | 46 | 119 | [21][22] | ||||
มอลโดวา (สาธารณรัฐมอลโดวา) |
คีชีเนา | 27 สิงหาคม ค.ศ. 1991 | 33,843 | 13,067 | 2,597,100 | 79 | 205 | [23][24] | ||||
เอเชียกลาง | อุซเบกิสถาน (สาธารณรัฐอุซเบกิสถาน) |
ทาชเคนต์ | 31 สิงหาคม ค.ศ. 1991 | 444,103 | 171,469 | 35,064,893 | 76 | 197 | [25][26] | |||
คาซัคสถาน (สาธารณรัฐคาซัคสถาน) |
อัสตานา | 16 ธันวาคม ค.ศ. 1991 | 2,724,900 | 1,052,090 | 19,000,336 | 7 | 18 | [27][28] | ||||
คีร์กีซสถาน (สาธารณรัฐคีร์กีซ) |
บิชเคก | 31 สิงหาคม ค.ศ. 1991 | 199,945 | 77,199 | 6,663,000 | 33 | 85 | [29][30] | ||||
ทาจิกิสถาน (สาธารณรัฐทาจิกิสถาน) |
ดูชานเบ | 9 กันยายน ค.ศ. 1991 | 143,100 | 55,251 | 9,504,000 | 64 | 166 | [25][31] | ||||
เติร์กเมนิสถาน (อดีตคือ สาธารณรัฐเติร์กเมนิสถาน) |
อาชกาบัต | 27 ตุลาคม ค.ศ. 1991 | 491,210 | 189,657 | 6,118,000 | 11 | 28 | [32][33] | ||||
ทรานส์คอเคเซีย | จอร์เจีย (อดีตคือ สาธารณรัฐจอร์เจีย) |
ทบิลีซี | 9 เมษายน ค.ศ. 1991 | 69,700 | 26,911 | 3,728,573 | 53 | 137 | [25][34] | |||
อาเซอร์ไบจาน (สาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน) |
บากู | 30 สิงหาคม ค.ศ. 1991 | 86,600 | 33,436 | 10,139,196 | 115 | 298 | [35][36] | ||||
อาร์มีเนีย (สาธารณรัฐอาร์มีเนีย) |
เยเรวาน | 21 กันยายน ค.ศ. 1991 | 29,743 | 11,484 | 2,963,300 | 100 | 259 | [37][38] | ||||
รัฐบอลติก | ลิทัวเนีย (สาธารณรัฐลิทัวเนีย) |
วิลนีอัส | 11 มีนาคม ค.ศ. 1990 | 65,300 | 25,212 | 2,786,006 | 43 | 111 | [25][39] | |||
ลัตเวีย (สาธารณรัฐลัตเวีย) |
รีกา | 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1990 | 64,562 | 24,928 | 1,882,200 | 30 | 78 | [25][40] | ||||
เอสโตเนีย (สาธารณรัฐเอสโตเนีย) |
ทาลลินน์ | 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1990 | 45,339 | 17,505 | 1,330,068 | 29 | 75 | [41][42] | ||||
รวมอดีตสหภาพโซเวียต | 22,307,815 | 8,613,096 | 296,582,638 | 9 | 23 | [43] |
ผู้นำคนปัจจุบัน
[แก้]ประมุขแห่งรัฐ
[แก้]หัวหน้ารัฐบาล
[แก้]ระดับการพัฒนา
[แก้]รัฐหลังสหภาพโซเวียตเรียงตามคะแนนดัชนีการพัฒนามนุษย์ใน ค.ศ. 2020[45]
การพัฒนามนุษย์ระดับสูงมาก:
- เอสโตเนีย: 0.892
- ลิทัวเนีย: 0.882
- ลัตเวีย: 0.866
- คาซัคสถาน: 0.825
- รัสเซีย: 0.824
- เบลารุส: 0.823
- จอร์เจีย: 0.812
การพัฒนามนุษย์ระดับสูง:
- ยูเครน: 0.779
- อาร์มีเนีย: 0.776
- อาเซอร์ไบจาน: 0.756
- มอลโดวา: 0.750
- อุซเบกิสถาน: 0.720
- เติร์กเมนิสถาน: 0.715
การพัฒนามนุษย์ระดับปานกลาง:
- คีร์กีซสถาน: 0.697
- ทาจิกิสถาน: 0.668
ดูเพิ่ม
[แก้]- เครือรัฐเอกราช
- กลุ่มตะวันออก
- สหภาพเศรษฐกิจยูเรเชีย
- สาธารณรัฐของสหภาพโซเวียต
- การแผลงเป็นรัสเซีย
- อาการกลัวรัสเซีย
- โลกที่พูดภาษารัสเซีย
- โลกที่สอง
- องค์การชาติและประชาชนที่ไม่มีผู้แทน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Managing Conflict in the Former Soviet Union: Russian and American Perspectives". harvard.edu. 30 October 1997. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ 2 December 2015.
- ↑ On Legal Succession of Ukraine, Articles 7 and 8.
- ↑ ЗАКОН УКРАЇНИ Про правонаступництво України
- ↑ "Раздел СССР. РФ обсудит нулевой вариант долгов СССР, если Украина компенсирует $20 млрд долга". korrespondent.net.
- ↑ 5.0 5.1 Van Elsuwege, Peter (2008). From Soviet Republics to Eu Member States: A Legal and Political Assessment of the Baltic States' Accession to the EU. Studies in EU External Relations. Vol. 1. BRILL. p. xxii. ISBN 9789004169456.
- ↑ Smith, David James (2001). Estonia. Routledge. p. 20. ISBN 978-0-415-26728-1.
- ↑ Lane, David (December 2007). "Post-Communist States and the European Union". Journal of Communist Studies and Transition Politics (ภาษาอังกฤษ). 23 (4): 461–477. doi:10.1080/13523270701674558. ISSN 1352-3279.
- ↑ Moga, Teodor Lucian; Alexeev, Denis (2013). "Post-Soviet States Between Russia and the EU: Reviving Geopolitical Competition? A Dual Perspective" (PDF). Connections. 13 (1): 41–52 – โดยทาง JSTOR.
- ↑ Jozwiak, Rikard (2019-04-05). "EU, Ex-Soviet Republics To Extend Partnership Beyond 2020" (ภาษาอังกฤษ). Radio Free Europe/Radio Liberty. สืบค้นเมื่อ 2021-08-10.
- ↑ Danilova, Maria; Dahlburg, John-Thor (2014-03-17). "Crimea declares independence". The Boston Globe (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). Associated Press. สืบค้นเมื่อ 2021-08-10.
- ↑ 11.0 11.1 William Safire (1994-05-22). "ON LANGUAGE; The Near Abroad". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2008-04-18.
- ↑ Robert Kagan (2008-02-06). "New Europe, Old Russia". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 2008-04-18.
- ↑ 13.0 13.1 Steven Erlanger (2001-02-25). "The World; Learning to Fear Putin's Gaze". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2008-04-18.
- ↑ รวมพื้นที่ผืนดินและน้ำ
- ↑ The Russian Federation technically achieved de facto independence from the Soviet Union after ratifying the Belavezha Accords. After the Almaty Protocol, the RF took over the Soviet Union’s UN membership.
- ↑ Population data as of January 1, 2018.
- ↑ "Official estimate". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-17. สืบค้นเมื่อ 2022-01-15.
- ↑ Includes the Republic of Crimea and Sevastopol, claimed by Ukraine.
- ↑ ข้อมูลประชากรในวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 2014
- ↑ "Population as of April 1, 2014. Average annual populations January-March 2014". www.ukrstat.gov.ua.
- ↑ ข้อมูลประชากรในวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 2014
- ↑ "Demographic situation in Half-Year 2014". July 29, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-29.
- ↑ ข้อมูลประชากรในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2017
- ↑ Statistică, Biroul Naţional de. "// Populaţia și procesele demografice". statistica.gov.md.
- ↑ 25.0 25.1 25.2 25.3 25.4 ข้อมูลประชากรในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2014
- ↑ "Государственный комитет Республики Узбекистан по статистике - Демографические данные". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 July 2014.
- ↑ ข้อมูลประชากรในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2014
- ↑ Monthly official estimate
- ↑ ข้อมูลประชากรใน ค.ศ. 2015
- ↑ "Official estimate".
- ↑ "Statistical Agency under President of the Republic of Tajikistan". March 6, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-06.
- ↑ ข้อมูลประชากรในวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2013
- ↑ ประมาณการของสหประชาชาติ
- ↑ "საქართველოს სტატისტიკის ეროვნული სამსახური". www.geostat.ge.
- ↑ ข้อมูลประชากรในวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 2013
- ↑ Official estimate
- ↑ ข้อมูลประชากรใน ค.ศ. 2012
- ↑ Official estimate
- ↑ "Number of persons by month - Database of Indicators - data and statistics". August 19, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-19.
- ↑ "Population - Key Indicators | Latvijas statistika". June 28, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-28.
- ↑ ข้อมูลประชากรในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2015
- ↑ "Official estimate". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-23. สืบค้นเมื่อ 2022-01-15.
- ↑ https://www.marxists.org/history/ussr/government/1946/population.pdf
- ↑ 44.0 44.1 ดำรงตำแหน่งทั้งประธานาธิบดีและฝ่ายบริหารเพราะตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเติร์กเมนิสถานถูกยุบ
- ↑ "Human Development Report 2019 – Technical notes" (PDF). Hdr.undp.org. United Nations Development Programme. สืบค้นเมื่อ 10 August 2020.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- "Geopolitical and Economic Significance of Central Eurasia: Indian Perspective". Kundu, Nivedita Das. Indian Foreign Affairs Journal; New Delhi Vol. 5, Iss. 3, (Jul-Sep 2010): 324-337.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Candid photos of the Eastern Bloc September–December 1991, in the last months of the USSR
- New Directions Post-Independence from the Dean Peter Krogh Foreign Affairs Digital Archives
- Post-Soviet Russia and its Neighbor States from the Dean Peter Krogh Foreign Affairs Digital Archives
- Discovering The Centuries-Old State Tradition, professor Pål Kolstø, University of Oslo
- Former Soviet war zones |The hazards of a long, hard freeze, The Economist, 19 August 2004
- 4 enclaves' post-Soviet fate in limbo, The Seattle Times, 20 August 2006
- Are Independence Referendums First Step Toward Kremlin's 'Historical Revanchism'?, Radio Free Europe, 15 September 2006