ข้ามไปเนื้อหา

มูฮัมมัด อิกบาล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มูฮัมมัด อิกบาล
เกิด9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2420
เซียลคอต ปัญจาบ บริติชอินเดีย
(จังหวัดปัญจาบ ปากีสถานในปัจจุบัน)
เสียชีวิต21 เมษายน พ.ศ. 2481
ลาฮอร์ ปัญจาบ บริติชอินเดีย
(จังหวัดปัญจาบ ปากีสถานในปัจจุบัน)
มีชื่อเสียงจากการเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ และแบ่งแยกประเทศปากีสถานออกจากอินเดีย

เซอร์มูฮัมมัด อิกบาล (อังกฤษ: Muhammad Iqbal) (9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1877 - 21 เมษายน ค.ศ. 1938) มักเรียกว่า อัลลามา อิกบาล เป็นกวีและนักปรัญชาเกิดในเซียลคอต ซึ่งขณะนั้นอยู่ในแคว้นปัญจาบ บริติชอินเดีย ซึ่งปัจจุบันอยู่ในปากีสถาน อิกบาล ผู้เขียนบทกวีในภาษาอุรดูและภาษาเปอร์เซีย ถูกมองว่าเป็นหนึ่งในบุคคลที่เป็นสัญลักษณ์ (icon) ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในสมัยใหม่[1]

หลังศึกษาในอังกฤษและเยอรมนี อิกบาลได้ทำงานด้านกฎหมาย แต่ยังมุ่งสนใจงานเขียนผลงานเชิงวิชาการว่าด้วยการเมือง เศรษฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ปรัชญาและศาสนาเป็นหลัก ผลงานที่ทำให้เขาเป็นที่รู้จักกันมากที่สุดเป็นงานด้านบทกวี

อิกบาลเป็นผู้เสนอการฟื้นฟูอารยธรรมอิสลามทั่วโลกอย่างแข็งขัน แต่โดยเฉพาะยอ่างยิ่งในอินเดีย เขาเป็นหนึ่งในผู้นำที่โดดเด่นของสันนิบาติมุสลิมทั่วอินเดีย (All-India Muslim League) และสนับสนุนการสถาปนา "รัฐในทางตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดียสำหรับมุสลิมชาวอินเดีย" ในการปราศรัยประธานาธิบดีใน ค.ศ. 1930[2] แนวคิดดังกล่าวได้ชื่อว่า ทฤษฎีสองชาติ วันคล้ายวันเกิดของเขา ซึ่งตรงกับวันที่ 9 พฤศจิกายน เป็นวันหยุดในปากีสถาน

ชีวิตวัยเด็ก

[แก้]

อิกบาลเกิดเมื่อ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2420 ที่แคว้นกัษมีระ บิดาชื่อเชค นูรมุฮัมมัด อาชีพช่างตัดเสื้อ กับมารดาชื่ออิมามบีบี ต้นตระกูลเดิมเป็นพราหมณ์ แล้วเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามภายหลัง ในวัยเด็กเติบโตมาในครอบครัวที่นับถือศาสนาอิสลามอย่างเคร่งครัด ได้เรียนทั้งภาษาเปอร์เซียและภาษาอังกฤษ

เมื่อเรียนจบหลักสูตรพื้นฐานได้รับทุนเข้าศึกษาต่อในวิทยาลัยมิชชันนารีของชาวสกอตแลนด์ จน พ.ศ. 2448 ได้เดินทางสู่ยุโรป และเข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และเรียนต่อจนจบปริญญาเอกที่เมืองมิวนิก หลังจากเรียนจบ ท่านได้เดินทางกลับสู่บ้านเกิด

ผลงาน

[แก้]

อิกบาลเป็นผู้มีความสามารถทางด้านภาษา เรียนภาษาเยอรมันจนกระทั่งอ่านออกเขียนได้ภายใน 2 เดือน เขียนบทกวีด้วยภาษาอูรดู และเขียนหนังสือที่มีชื่อเสียงด้วยภาษาเปอร์เซียอีกหลายเล่ม

ทางด้านการเมือง พ.ศ. 2457 ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติของรัฐปัญจาบ พ.ศ. 2474 เป็นคณะผู้แทนชาวมุสลิมไปร่วมประชุมที่ลอนดอนซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการต่อสู้เพื่อแยกปากีสถานออกจากอินเดีย อิกบาลได้ทุ่มเทการทำงานเพื่อแยกปากีสถาน จนสุขภาพทรุดโทรมและเสียชีวิตเมื่อ 21 เมษายน พ.ศ. 2481 ก่อนที่ฝันของท่านจะเป็นจริงถึง 10 ปี

สุสาน

[แก้]

สุสานของอิกบาลตั้งอยู่ทางด้านหน้าของมัสยิดบัดชาฮี ก่อด้วยหินอ่อนอย่างงดงาม มีชาวปากีสถานเข้าไปเคารพศพของท่านไม่ขาด ในฐานะกวี และผู้ต่อสู้เพื่อประเทศปากีสถาน

อ้างอิง

[แก้]
  1. Anil Bhatti. "Iqbal and Goethe" (PDF). Yearbook of the Goethe Society of India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-30. สืบค้นเมื่อ 28 March 2011.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  2. "Sir Muhammad Iqbal's 1930 Presidential Address". Speeches, Writings, and Statements of Iqbal. สืบค้นเมื่อ 2006-12-19.
  • ภาณุ มณีวัฒนกุล. อินชา อัลลอฮ์ ตามประสงค์ของพระเจ้า. กทม. openbooks.2550. หน้า 116-117