นายจ่ายวด (ปาณี ไกรฤกษ์)
นายจ่ายวด (ปาณี ไกรฤกษ์) | |
---|---|
เกิด | ป. 2440 |
ถึงแก่กรรม | 27 ธันวาคม 2462 |
สาเหตุเสียชีวิต | อุบัติเหตุ |
บิดามารดา |
|
ตระกูล | ไกรฤกษ์ |
ยศมหาดเล็ก | จ่า |
จ่า นายจ่ายวด (ปาณี ไกรฤกษ์) (ป. 2440–27 ธันวาคม 2462) เป็นข้าราชสำนักชาวไทย เป็นมหาดเล็กในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ประวัติ
[แก้]นายจ่ายวดเกิดเมื่อราวปี 2440 เป็นบุตรชายคนที่ 2 ของเจ้าพระยามหิธร (ลออ ไกรฤกษ์) อดีตราชเลขาธิการ และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ที่เกิดกับท่านผู้หญิงกลีบ มหิธร มีพี่น้องร่วมมารดาอีก 11 คน เมื่อจบการศึกษาจากโรงเรียนมหาดเล็กหลวง ในปี 2458 ก็ได้เข้ารับราชการในตำแหน่ง มหาดเล็กรับใช้ชั้นใหญ่ เทียบเท่ายศ ว่าที่นายร้อยตรี ในกองทัพบก ก่อนจะก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็วจนได้รับพระราชทานยศและบรรดาศักดิ์เป็น จ่า นายจ่ายวด
จ่า นายจ่ายวด ถึงแก่กรรมเนื่องจากอุบัติเหตุทางรถมอเตอร์ไซค์เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2462 ขณะอายุเพียงประมาณ 22 ปี[1][2] ซึ่งในการนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานเพลิงศพนายจ่ายวด ที่วัดราชาธิวาสราชวรวิหารเมื่อวันอังคารที่ 20 เมษายน 2463[3]
ยศและตำแหน่ง
[แก้]- 29 กันยายน 2458 – มหาดเล็กรับใช้ชั้นใหญ่[4]
- 28 มีนาคม 2458 – มหาดเล็กห้องที่พระบรรทม รับพระราชทานเงินพิเศษเดือนละ 40 บาท[5]
ยศในราชสำนัก
[แก้]- 24 มีนาคม 2458 – มหาดเล็กวิเศษ[6]
ยศเสือป่า
[แก้]- 15 ตุลาคม 2459 – นายหมู่ตรี[7]
- 27 กุมภาพันธ์ 2459 – นายหมู่โท นายเสือป่ารับใช้[8]
- 13 มีนาคม 2460 – นายหมู่ใหญ่[9]
- 3 มีนาคม 2461 – นายหมวดตรี นายเสือป่าคนสนิทของนายกเสือป่า[10]
บรรดาศักดิ์
[แก้]- 25 เมษายน 2459 – นายรองพิไนยราชกิจ มหาดเล็กเวรศักดิ์ ถือศักดินา 300[11]
- 30 ธันวาคม 2459 – นายกวด มหาดเล็กหุ้มแพรต้นเชือกเวรฤทธิ์ ถือศักดินา 500[12]
- 14 ตุลาคม 2462 – นายจ่ายวด มหาดเล็กเวรสิทธิ์ ถือศักดินา 600[13]
อนุสรณ์
[แก้]ในวันที่ 30 ธันวาคม 2462 หรือ 3 วันหลังจากที่นายจ่ายวดถึงแก่กรรม พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานเงินบำรุงสภากาชาดสยามจำนวน 3,000 บาทเพื่ออุทิศพระราชกุศลพระราชทานแก่นายจ่ายวด[14]
เกียรติยศ
[แก้]จ่า นายจ่ายวด (ปาณี ไกรฤกษ์) ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญดังต่อไปนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2461 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์วชิรมาลา (ว.ม.ล.)[15]
เหรียญ
[แก้]- พ.ศ. 2459 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 5 (ว.ป.ร.5)[16]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ข่าวตาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 4 มกราคม 1919. สืบค้นเมื่อ 18 กันยายน 2024.
- ↑ "ฝากเรื่องราวไว้กับน้อง ๆ ๕๑. พระราชสำนักพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (๗)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-05-26. สืบค้นเมื่อ 2023-10-11.
- ↑ "ข่าวในพระราชสำนัก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา: 166. 25 เมษายน 1920. สืบค้นเมื่อ 18 กันยายน 2024.
- ↑ ประกาศตั้งนักเรียนมหาดเล็กหลวงเป็นมหาดเล็กรับใช้
- ↑ ประกาศกรมมหาดเล็ก
- ↑ พระราชทานยศ
- ↑ พระราชทานยศเสือป่า
- ↑ พระราชทานยศเสือป่า
- ↑ พระราชทานยศเสือป่า
- ↑ พระราชทานยศเสือป่า
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
- ↑ "แจ้งความของสภากาชาดสยาม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา: 3172. 11 มกราคม 1919.
- ↑ พระราชทานตราวชิรมาลา
- ↑ พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์