ข้ามไปเนื้อหา

โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก นักเรียนนายเรืออากาศ)
โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช
Navaminda Kasatriyadhiraj Royal Air Force Academy
ประเภทสถาบันการศึกษาของทหาร
สถาปนา7 พฤษภาคม พ.ศ. 2496; 71 ปีก่อน (2496-05-07)
ที่ตั้ง
เว็บไซต์http://www.nkrafa.ac.th/index.php

โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช เป็นสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา อยู่ในส่วนการศึกษาตามการจัดหน่วยขึ้นตรงของกองทัพอากาศไทย มีหน้าที่อำนวยการศึกษา ฝึกอบรม และปกครองนักเรียนนายเรืออากาศ เสนอแนะหลักสูตร และกำหนดแนวการสอน ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ตำบลมิตรภาพ อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี

โดยมี พลอากาศโท จักรา ธรรมวิชัย [2] เป็น ผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช พลอาอากาศตรี ประภาส เอี่ยมโมฬี เป็นรองผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช [3] ผู้ที่ศึกษาในโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราชเรียกว่า "นักเรียนนายเรืออากาศ" (คำย่อ นนอ.)

ประวัติ

[แก้]
ธงไชยเฉลิมพลประจำกรมนักเรียนนายเรืออากาศรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรืออากาศ

ก่อนปี พ.ศ. 2493 กองทัพอากาศรับบุคลากรที่ผลิตจากสถาบันการศึกษาอื่นและมหาวิทยาลัยเข้ามาทำงานในกองทัพอากาศ ต่อมาภารกิจและกิจการของกองทัพอากาศมีมากขึ้น ประกอบกับยังไม่มีสถาบันที่จะผลิตนายทหารสัญญาบัตรของตนเอง นอกจากนี้ ทางกองทัพอากาศต้องการนายทหารที่มีความรู้เฉพาะสาขาวิชามากกว่าด้านความรู้ทั่วไป จึงได้เตรียมการเริ่มตั้ง "โรงเรียนนายเรืออากาศ" เพื่อผลิตนายทหารหลักให้กับกองทัพอากาศ แต่ด้วยงบประมาณที่จำกัดประกอบกับปัญหาบางประการจึง ทำให้การก่อตั้งโรงเรียนนายเรืออากาศต้องล่าช้าออกไปนานนับทศวรรษ

พ.ศ. 2493 กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ ได้เสนอเสนาธิการทหารอากาศว่า นายทหารของกองทัพอากาศนั้น ควรที่จะได้รับการศึกษา และการฝึกฝนตลอดระยะเวลาที่รับราชการอยู่ในกองทัพอากาศ และในปีต่อมา เสนาธิการทหารอากาศได้มีคำสั่งให้กรมยุทธศึกษาทหารอากาศเตรียมโครงการเพื่อเปิดโรงเรียนนายเรืออากาศโดยละเอียด

โครงการจัดตั้งโรงเรียนนายเรืออากาศได้รับนโยบายและความเห็นชอบจากผู้บัญชาการทหารอากาศในขณะนั้น จึงเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติต่อคณะรัฐบาล คณะรัฐมนตรีได้ประชุมลงมติอนุมัติเมื่อ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2495 แต่ยังไม่พร้อมที่จะทำการเปิดสอนได้

ต่อจากนั้นได้ทำการคัดเลือกนักเรียนนายเรืออากาศรุ่นแรก จำนวน 30 นาย และได้เข้ามารายงานตัวเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2496 โดยใช้ตึกเหลือง (กรมสวัสดิการทหารอากาศในปัจจุบัน) ซึ่งนายพลโตโจ้ได้สร้างไว้เพื่อบัญชาการรบในสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพาเป็นอาคารเรียนชั่วคราว และได้จัดให้มีพิธีเปิดโรงเรียนขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2496 จึงได้ถือเอาวันดังกล่าวเป็นวันสถาปนาโรงเรียนนายเรืออากาศ

5 สิงหาคม พ.ศ. 2500 ได้มีพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารกองบัญชาการ ซึ่งเป็นอาคารหลังแรก ณ ที่ตั้งถนนพหลโยธิน ตรงข้ามกองบัญชาการทหารอากาศ และเมื่อ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2506 จึงได้มีพิธีเปิดอาคาร และย้ายมาดำเนินการที่แห่งนี้อย่างเป็นทางการ

7 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานชื่อโรงเรียนใหม่ว่า "โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช" ในโอกาสเฉลิมฉลอง 60 ปีของโรงเรียนนายเรืออากาศ [4]

โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช ได้ย้ายไปยังที่ตั้งใหม่ ณ อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี ตั้งแต่วันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2566[5]

สัญลักษณ์ประจำสถาบัน

[แก้]
เครื่องหมายราชการโรงเรียนนายเรืออากาศ พ.ศ. 2533 - 2559
เครื่องหมายราชการโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช พ.ศ. 2559 - ปัจจุบัน

เครื่องหมายราชการโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช เป็นรูปพระมหาพิชัยมงกุฎ มีพระอุณาโลมประดิษฐานอยู่ภายใน ส่วนยอดพระมหาพิชัยมงกุฎมีพระรัศมีล้อมรอบ เบื้องล่างพระมหาพิชัยมงกุฎเป็นรูปอาร์มมีแถบสีธงไตรรงค์คาดเฉียง มีรูปปีกนกทรงรูปอาร์มไว้ทั้งด้านขวาและซ้าย (ปีกนักบินชั้นที่ 1) และภายใต้รูปอาร์มเป็นรูปดาว 5 แฉก มีช่อชัยพฤกษ์โค้งรองรับอยู่เบื้องล่าง รูปทั้งหมดอยู่ในวงกลมเบื้องล่างมีแพรแถบข้อความว่า “โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช”

  • ปีกนักบินชั้นที่ 1 เป็นสัญลักษณ์ของนักบินทหารอากาศ แสดงถึงนักเรียนนายเรืออากาศซึ่งสำเร็จออกเป็นนายทหารสัญญาบัตร และจะเป็นนักบินของทหารอากาศต่อไป
  • ดาว 5 แฉกสีเงิน แสดงถึง ความมีเกียรติ นักเรียนนายเรืออากาศทุกคนมุ่งมั่นปรารถนาที่จะรับราชการให้มีความก้าวหน้าสูงถึงขั้นนายพลอากาศ
  • ช่อชัยพฤกษ์ใบสีทอง แสดงถึง ความสำเร็จด้านการศึกษาของนักเรียนนายเรืออากาศ เพื่อที่ออกไปรับราชการเป็นนายทหารสัญญาบัตรต่อไป
  • วงกลมสีฟ้า และแถบปลายแฉกสะบัดสีเหลือง โดยสีฟ้า-เหลือง เป็นสีประจำโรงเรียนนายเรืออากาศฯ

โครงสร้างหน่วยงาน

[แก้]
นักเรียนนายเรืออากาศในเครื่องแบบทหารรักษาพระองค์สังกัดกรมนักเรียนนายเรืออากาศรักษาพระองค์
กองบัญชาการ
กองการศึกษา
สำนักบัณฑิตศึกษา
กรมนักเรียนนายเรืออากาศรักษาพระองค์
กองวิชาทหาร
กองพลศึกษา
กองบริการ
กองส่งเสริมและพัฒนางานวิจัย
กองสถิติและประเมินผล
โรงพยาบาล
กองร้อยทหารอากาศโยธิน
กองร้อยทหารสารวัตร
แผนกการเงิน

ทำเนียบผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรืออากาศ

[แก้]
ลำดับ รายนามผู้บัญชาการฯ ดำรงตำแหน่ง หมายเหตุ
1 นาวาอากาศเอก ละเอิบ ปิ่นสุวรรณ์ พ.ศ. 2495–2497
2 พลอากาศจัตวา โชติ ชินะศิริ พ.ศ. 2497–2500
- พลอากาศโท หะริน หงสกุล พ.ศ. 2500–2501 รักษาราชการแทน
- พลอากาศตรี วงศ์ พุ่มพูนผล พ.ศ. 2501–2502 รักษาราชการแทน
3 พลอากาศตรี ประสงค์ คุณะดิลก พ.ศ. 2502–2503
- นาวาอากาศเอก ชู สุทธิโชติ พ.ศ. 2503–2504 รักษาราชการแทน
4 พลอากาศตรี ละเอิบ ปิ่นสุวรรณ์ พ.ศ. 2504–2505 สมัยที่ 2
5 พลอากาศตรี อุสาห์ ชัยนาม พ.ศ. 2505–2507
6 พลอากาศตรี กงทิพย์ กุญชร ณ อยุธยา พ.ศ. 2507–2509
7 พลอากาศตรี บัญชา เมฆวินัย พ.ศ. 2509–2513
8 พลอากาศตรี จรัส สุรัสวดี พ.ศ. 2513–2516
9 พลอากาศตรี สุรยุทธ นิวาศะบุตร พ.ศ. 2516–2518
10 พลอากาศตรี จรรยา สุคนธทรัพย์ พ.ศ. 2518–2521
11 พลอากาศตรี จำลอง ปุณณะกิตติ พ.ศ. 2521–2522
12 พลอากาศตรี เปรื่องวิทย์ หงสนันทน์ พ.ศ. 2522–2524
13 พลอากาศตรี จิโรจ บูรณะบุตร พ.ศ. 2524–2525
14 พลอากาศตรี วีระ กิจจาทร พ.ศ. 2525–2527
15 พลอากาศตรี สุวิช จันทประดิษฐ์ พ.ศ. 2527–2530
16 พลอากาศตรี เฉลิม ประเสริฐศรี พ.ศ. 2530–2532
16 พลอากาศตรี เฉลิม ประเสริฐศรี พ.ศ. 2532–2534 สมัยที่ 2
17 พลอากาศโท ธีร์ศิลป์ คัมภีรญาณนนท์ พ.ศ. 2534–2535
18 พลอากาศโท ธนนิตย์ เนียมทันต์ พ.ศ. 2535–2536
19 พลอากาศโท จรัล โกมุทแดง พ.ศ. 2536–2538
20 พลอากาศโท วีระพงษ์ สิงหเสนี พ.ศ. 2538–2539
21 พลอากาศโท มหินทรา เทียมทัศน์ พ.ศ. 2539–2541
22 พลอากาศโท ชลิต พุกผาสุข พ.ศ. 2541–2542
23 พลอากาศโท ทองเลื่อน ประพัฒน์ทอง พ.ศ. 2542–2543
24 พลอากาศโท ไพศาล สีตบุตร พ.ศ. 2543–2546
25 พลอากาศโท ถวัลย์ มหาดไทย พ.ศ. 2546–2547
26 พลอากาศโท หม่อมหลวงสุปรีชา กมลาศน์ พ.ศ. 2547–2550
27 พลอากาศโท คณิต สุวรรณเนตร พ.ศ. 2550–2551
28 พลอากาศโท เพทาย อุดมศักดิ์ พ.ศ. 2551–2553
29 พลอากาศโท สฤษดิ์พงษ์ โกมุทานนท์ พ.ศ. 2553–2555
30 พลอากาศโท วัธน มณีนัย พ.ศ. 2555–2557
31 พลอากาศโท วิเชียร ธรรมาธร พ.ศ. 2557–2558
32 พลอากาศโท ฉัตรชัย บุญญานุรักษ์ พ.ศ. 2558–2559
33 พลอากาศโท สิทธิพร เกสจินดา พ.ศ. 2559–2561
34 พลอากาศโท พัทธนันท์ นุชพงษ์ พ.ศ. 2561-2562
365 พลอากาศโท​ ธาดา​ เคี่ยม​ทองคำ พ.ศ.​ 2562-2563
36 พลอากาศโท​ เดชอุดม​ คงศรี พ.ศ.​ 2563-2563
37 พลอากาศโท​ ณรงค์​ อินทชาติ พ.ศ.​ 2563-2565​
38 พลอากาศโท ณรงค์ศักดิ์ พิชิตชโลธร พ.ศ.​ 2565-2565
39 พลอากาศโท​ วชิรศักดิ์ พูสิทธิ์ พ.ศ.​ 2565​-2566
40 พลอากาศโท[6]ธัชชัย อัจฉริยาการุณ[7] พ.ศ.​ 2566​-ปัจจุบัน

รายนามนักเรียนเก่าที่มีชื่อเสียง

[แก้]

หลักสูตร

[แก้]

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต มี 5 สาขาวิชา

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต มี 2 สาขาวิชา

อ้างอิง

[แก้]
  1. "โครงการปรับวางที่ตั้งโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช (มวกเหล็ก)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-10-04. สืบค้นเมื่อ 2022-05-13.
  2. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 141 ตอนพิเศษ 262 ง 21 กันยายน พ.ศ. 2567
  3. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 141 ตอนพิเศษ 262 ง 21 กันยายน พ.ศ. 2567
  4. ในหลวง'พระราชทานชื่อ ร.ร.นายเรืออากาศ 'นวมินทกษัตริยาธิราช', ไทยรัฐ
  5. "29 พ.ค.นี้ เปิดเรียนโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช ที่มวกเหล็กเป็นวันแรก". mgronline.com. 2023-05-20.
  6. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารชั้นนายพล ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 39 ข หน้า 9 วันที่ 30 สิงหาคม 2566
  7. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 209 ง หน้า 42 วันที่ 30 สิงหาคม 2566

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]