ข้ามไปเนื้อหา

หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ
ตราประจำหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ
ประจำการกองพันทหารพลร่ม (ป่าหวาย) (2497-2509)
ศูนย์สงครามพิเศษ (2509–2526)
หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ (2526–ปัจจุบัน)
ประเทศ ไทย
ขึ้นต่อพระมหากษัตริย์ไทย
เหล่า กองทัพบกไทย
รูปแบบหน่วยรบปฏิบัติการพิเศษ
บทบาทการปฏิบัติการพิเศษ
การรวบรวมข่าวกรอง
ภารกิจลาดตระเวน
การปฏิบัติภารกิจโดยตรง
การฟื้นฟูกำลังพล
การค้นหาและช่วยชีวิตในพื้นที่การรบ
การสงครามนอกแบบ
การต่อต้านการก่อการร้าย
กำลังรบกองทัพ
ขึ้นกับกองทัพบกไทย
กองบัญชาการค่ายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี 15000
วันสถาปนา23 กุมภาพันธ์ ​
ปฏิบัติการสำคัญ
เว็บไซต์swcom.rta.mi.th/index.php
ผู้บังคับบัญชา
ผู้บัญชาการปัจจุบันพลโท ณรงฤทธิ์ คัมภีระ
ผบ. สำคัญพลเอก สุนทร คงสมพงษ์
พลเอก วิมล วงศ์วานิช
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์
พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน
พลเอก เฉลิมชัย สิทธิสาท

หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ เป็นหน่วยทหารของกองทัพบกไทย ได้รับการก่อตั้งเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2497 ในนามกองพันทหารพลร่ม (ป่าหวาย) อัตราการจัดเทียบเท่ากองทัพภาค มีที่ตั้งกองบัญชาการอยู่ที่ค่ายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี[1] พลโท ณรงฤทธิ์ คัมภีระ เป็นผู้บัญชาการ และ พลตรี เดชา ศรีมงคล เป็นรองผู้บัญชาการ

ประวัติ

[แก้]

กองทัพบกเล็งเห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นของปฏิบัติการสงครามพิเศษที่สามารถเผชิญและลดภัยคุกคามจากภายนอกประเทศได้ จึงได้มีการจัดตั้งหน่วยรบพิเศษขึ้นเป็นหน่วยแรก เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2497 ที่บ้านป่าหวาย ตำบลป่าตาล อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี หน่วยรบพิเศษของกองทัพไทย ถือกำเนิดเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2497 ในนามของกองพันทหารพลร่ม ที่ตั้ง ณ บ้านป่าหวาย ตำบลป่าตาล อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ซึ่งมี พ.ต. เทียนชัย สิริสัมพันธ์ เป็นผู้บังคับกองพัน กองพันทหารพลร่มในยุคแรกได้ปฏิบัติภารกิจตามแผนงานโครงการของกองทัพบก และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ผลการปฏิบัติงานเป็นที่ยอมรับของผู้บังคับบัญชาทุกระดับชั้นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ตลอดจนประชาชนต่างก็ประจักษ์ถึงขีดความสามารถของกองพันทหารพลร่มในเรื่องการรบ การกระโดดร่ม การช่วยเหลือประชาชนในรูปแบบต่าง ๆ และป้องกันประเทศจากภัยคุกคามของลัทธิคอมมิวนิสต์ ขณะเดียวกันความต้องการที่จะใช้หน่วยทหารพลร่มปฏิบัติภารกิจมีเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้หน่วยรบพิเศษได้รับการปรับปรุงพัฒนามาโดยลำดับ จากกองพันทหารพลร่มได้รับพิจารณาให้ขยายกำลังเป็นกองรบพิเศษ (พลร่ม) และต่อมาได้มีการขยายกำลังเป็นระดับกองพล คือ ศูนย์สงครามพิเศษ เพื่อเป็นศูนย์ทางวิทยาการและศูนย์ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการสงครามพิเศษ มีหน้าที่ค้นคว้า วิจัย พัฒนา ฝึกอบรม และปฏิบัติงานเกี่ยวกับการสงครามพิเศษ

ประตูค่ายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จ.ลพบุรี

หน่วยรบพิเศษในปัจจุบันได้พิจารณาถึงความจำเป็นต้องขยายปรับปรุงพัฒนาหน่วยรบพิเศษ จึงได้ขยายกองพันทหารพลร่มเป็นกองรบพิเศษ (พลร่ม) และจัดตั้งกองรบพิเศษ (พลร่ม) ขึ้นอีก 3 กองรบพิเศษ จนกระทั่งวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509 ได้จัดตั้งศูนย์สงครามพิเศษขึ้นเป็นหน่วยควบคุมบังคับบัญชากองรบพิเศษ (พลร่ม) และมีโรงเรียนสงครามพิเศษอยู่ในอัตราด้วย ต่อมาวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2526 กองทัพบกได้จัดตั้ง “หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ” เป็นหน่วยที่รับผิดชอบการปฏิบัติการสงครามพิเศษทั้งมวลของกองทัพบก และเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 กองทัพบกได้สั่งการให้บรรจุมอบและปรับการบังคับบัญชาใหม่ทั้งหมดโดยให้ศูนย์สงครามพิเศษ กองพลรบพิเศษที่ 1 และ 2 ขึ้นการบังคับบัญชากับหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ โดยให้ศูนย์สงครามพิเศษทำหน้าที่เป็นหน่วยสายวิทยาการเพื่อดำเนินงานด้านการฝึก ศึกษา เพียงอย่างเดียว จะเห็นได้ว่าจากสถานการณ์สู้รบในอดีตจนถึงปัจจุบันกองทัพบกได้ใช้หน่วยรบพิเศษเข้าแก้ไขวิกฤตการณ์ต่างๆ ของบ้านเมืองในขณะเดียวกันได้เร่งรัดพัฒนาการจัดหน่วยให้มีขีดความสามารถจนเป็นหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษในปัจจุบันซึ่งเทียบเท่ากองทัพภาค มีภารกิจเกี่ยวกับการสงครามพิเศษทั้งปวง ตั้งแต่การวางแผน อำนวยการ กำกับการทั้งด้านการฝึกศึกษา และการปฏิบัติงาน เป็นหน่วยหวังผลทางยุทธศาสตร์มีบทบาทในการออมกำลังและชดเชยอำนาจกำลังรบที่เสียเปรียบ การปฏิบัติงานของหน่วยจะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ยามปกติในพื้นที่รับผิดชอบ

ต่อมาปี พ.ศ. 2544 กองทัพบกได้ออกคำสั่งปิดการบรรจุกองพลรบพิเศษที่ 2 ปรับการบังคับบัญชาและพัฒนาขีดความสามารถงานด้านการข่าวลับและปฏิบัติการจิตวิทยา ส่งผลให้หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษประกอบด้วยกองบัญชาการและกองร้อยกองบัญชาการ กองพลรบพิเศษที่ 1 เป็นส่วนกำลังรบ มีหน่วยรองหลักได้แก่ กรมรบพิเศษที่ 1 กรมปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์สงครามพิเศษ เป็นส่วนการศึกษาและสนับสนุน, กรมรบพิเศษที่ 2 เป็นหน่วยควบคุมการปฏิบัติ การปฏิบัติการข่าวลับและการปฏิบัติการจิตวิทยา และกองพันทหารสื่อสารที่ 35 เป็นส่วนสนับสนุนการปฏิบัติด้านการติดต่อสื่อสารและสารสนเทศ[2]

เครื่องหมายและสัญลักษณ์

[แก้]
  • ตัวอักษร U สงครามนอกแบบ [Unconventional Warfare] ซึ่งเป็นภารกิจของหน่วย
  • ปีกและร่ม ความสามารถในการส่งทางอากาศ อันเป็นจุดเริ่มต้นของหน่วย
  • ดาวสามดวง อัตรากำลังของหน่วยระดับกองทัพภาคมีผู้บัญชาการยศ พลโท
  • สีดำที่ตัวยู ภารกิจภายใต้การปิดลับที่ไม่เปิดเผย
  • สีฟ้าที่พื้น ขอบเขตอันกว้างไกลตามภารกิจของหน่วย

หน่วยขึ้นตรง

[แก้]

รายนามผู้บัญชาการ

[แก้]
รายนามผู้บัญชาการ
ลำดับ นาม วาระการดำรงตำแหน่ง หมายเหตุ
1 พลโท เอนก บุนยถี พ.ศ. 2526 - 2527
2 พลโท สุนทร คงสมพงษ์ พ.ศ. 2527 - 2529
3 พลโท วิมล วงศ์วานิช พ.ศ. 2529 - 2532
4 พลโท ขจร รามัญวงศ์ พ.ศ. 2532 - 2535
5 พลโท สุรยุทธ์ จุลานนท์ พ.ศ. 2535 - 2537
6 พลโท ฉลองชัย แย้มสระโส พ.ศ. 2537 - 2539
7 พลโท หอม โห้ลำยอง พ.ศ. 2539 - 2542
8 พลโท สาธร สุวรรณศรี พ.ศ. 2542 - 2543
9 พลโท ธารินทร์ สุตะพาหะ พ.ศ. 2543 - 2545
10 พลโท สนธิ บุญยรัตกลิน พ.ศ. 2545 - 2547
11 พลโท ปมุข อุทัยฉาย พ.ศ. 2547 - 2549
12 พลโท ชัยพัฒน์ ธีรธำรง พ.ศ. 2549 - 2550
13 พลโท สุนัย สัมปัตตะวนิช พ.ศ. 2550 - 2551
14 พลโท ภุชงค์ รัตนวรรณ พ.ศ. 2551 - 2552
15 พลโท โปฏก บุนนาค พ.ศ. 2552 - 2554
16 พลโท ศุภรัตน์ พัฒนาวิสุทธิ์ พ.ศ. 2554 - 2556
17 พลโท เฉลิมชัย สิทธิสาท พ.ศ. 2556 - 2558
18 พลโท ธนศักดิ์ เก่งถนอมม้า พ.ศ. 2558 - 2559
19 พลโท ศิริชัย เทศนา พ.ศ. 2559 - 2560
20 พลโท สุนัย ประภูชะเนย์ พ.ศ. 2560 - 2562
21 พลโท ภูมิพัฒน์ จันทร์สว่าง พ.ศ. 2562 - 2564
22 พลโท ณัฐวุฒิ นาคะนคร พ.ศ. 2564 - 2566
23 พลโท วัฒนา ฉัตรรัตนแสง พ.ศ. 2566 - 2567
24 พลโท ณรงฤทธิ์ คัมภีระ พ.ศ. 2567 - ปัจจุบัน

หมายเหตุ ยศทหารเป็นยศขณะดำรงตำแหน่งตามประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี

ค่ายหน่วยรบพิเศษ

[แก้]
  • ค่ายวชิราลงกรณ์ (ป่าหวาย)
  • ค่ายสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
  • ค่ายเอราวัณ
  • ค่ายสฤษดิ์เสนา
  • ค่ายขุนเณร

ค่ายทหารที่ตั้งปกติ

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Nanuam, Wassana (3 September 2018). "Army reshuffle sees loyalists appointed". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 3 September 2018.
  2. "history and honor of Special Warfare Command". Special Warfare Command (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-03-21.[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]