ข้ามไปเนื้อหา

อุโมงค์พระพุทธฉาย

พิกัด: 14°24′40.59″N 101°0′32.78″E / 14.4112750°N 101.0091056°E / 14.4112750; 101.0091056
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อุโมงค์พระพุทธฉาย
แผนที่
ข้อมูลทั่วไป
สาย     สายตะวันออก
ที่ตั้งตำบลพระฉาย อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี
พิกัด14°24′40.59″N 101°0′32.78″E / 14.4112750°N 101.0091056°E / 14.4112750; 101.0091056
สถานะเปิดให้บริการ
การดำเนินงาน
เริ่มสร้าง1 มิถุนายน พ.ศ. 2536
(31 ปี 157 วัน)
เปิด19 สิงหาคม พ.ศ. 2548
(19 ปี 78 วัน)
(12 ปี 79 วัน)
ผู้ดำเนินงานการรถไฟแห่งประเทศไทย
ลักษณะคอนกรีตเสริมเหล็ก
ข้อมูลทางเทคนิค
วิศวกรออกแบบเอมีล ไอเซินโฮเฟอร์
ความยาว1,197 เมตร (0.744 ไมล์)
จำนวนทางรถไฟ1
ช่วงกว้างราง1,000 mm (3 ft 3 38 in) มีเตอร์เกจ
ระยะห่างอุโมงค์5.50 เมตร (18.0 ฟุต)
ความกว้าง7 เมตร (23 ฟุต)

อุโมงค์พระพุทธฉาย เป็นอุโมงค์ทางรถไฟลอด 1 ใน 8 แห่งของประเทศไทย และเป็นอุโมงค์เพียงแห่งเดียวในเส้นทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออก มีความยาวรองจากอุโมงค์ขุนตานเพียงแห่งเดียว ตัวอุโมงค์ยาว 1,197 เมตร ภายในเป็นผนังคอนกรีต รูปแบบก่อสร้างเป็นรูปเกือกม้า กว้าง 7 เมตร สูง 5.5 เมตร ใช้หมอนคอนกรีตและรางเชื่อม 100 ปอนด์[1] ตั้งอยู่ระหว่างสถานีรถไฟบุใหญ่ กับสถานีรถไฟวิหารแดง ในเขตตำบลพระฉาย อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี

การก่อสร้าง

[แก้]

อุโมงค์พระพุทธฉาย เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2536 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2537 ด้วยงบประมาณ 127.5 ล้านบาท เปิดใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2538 นับเป็นอุโมงค์รถไฟลอดฝีมือคนไทยที่ยาวที่สุด

วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ว่าจ้างให้บริษัท ไร้ท์ทันเน็ลลิ่ง จำกัด ดำเนินโครงการงานก่อสร้างอุโมงค์รถไฟทางคู่ "อุโมงค์พระพุทธฉายแห่งที่สอง" (ฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย สัญญาที่ 2 ช่วงอุโมงค์พระพุทธฉาย) โดยเทคนิค New Austrian tunneling method (NATM) [2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ประวัติอุโมงค์ขุนตาน และการก่อสร้างอุโมงค์ขุนตาน" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-08-08. สืบค้นเมื่อ 2013-10-08.
  2. https://www.matichon.co.th/news/564578

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]