ข้ามไปเนื้อหา

ฉบับร่าง:มาสเตอร์เชฟ: เดอะ โพรเฟสชันนัลส์ ไทยแลนด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มาสเตอร์เชฟ: เดอะ โพรเฟสชันนัลส์ ไทยแลนด์
ประเภทเรียลลิตีโชว์
พิธีกรปิยธิดา มิตรธีรโรจน์
กรรมการภาสันต์ สวัสดิวัตน์
ขวัญทิพย์ เทวกุล
พงษ์ธวัช เฉลิมกิตติชัย
ประเทศแหล่งกำเนิดประเทศไทย
จำนวนตอน15
การผลิต
ผู้อำนวยการผลิตกิติกร เพ็ญ​โรจน์
สถานที่ถ่ายทำเดอะ สตูดิโอ พาร์ค อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ
ความยาวตอน110-120 นาที
บริษัทผู้ผลิตเฮลิโคเนีย เอช กรุ๊ป
ออกอากาศ
เครือข่ายช่อง 7HD, เน็ตฟลิกซ์
ออกอากาศ9 กุมภาพันธ์ 2568 (2568-02-09) –
ปัจจุบัน

มาสเตอร์เชฟ: เดอะ โพรเฟสชันนัลส์ ไทยแลนด์ (อังกฤษ: MasterChef: The Professionals Thailand) เป็นรายการเรียลลิตีโชว์แข่งขันทำอาหารภาคแยกของรายการมาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ แต่เป็นการรวบรวมเชฟมืออาชีพที่ได้รับรางวัลชนะเลิศของมาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ในฤดูกาลก่อนหน้า รวมถึงรองชนะเลิศ หรือได้รับตำแหน่งในอันดับสูงจากรายการแข่งขันทำอาหารรายการต่าง ๆ มาแข่งขันในกติการูปแบบเชฟมืออาชีพ โดยบริษัท เฮลิโคเนีย เอช กรุ๊ป จำกัด ซื้อลิขสิทธิ์จากกลุ่มเอนเดโมลชายน์ (ปัจจุบันคือกลุ่มแบนิเจย์) มาผลิตในรูปแบบของประเทศไทย ดำเนินรายการโดยปิยธิดา มิตรธีรโรจน์ (คุณป๊อก) และมีคณะกรรมการในการตัดสินคือ หม่อมหลวงภาสันต์ สวัสดิวัตน์ (อิงค์), หม่อมหลวงขวัญทิพย์ เทวกุล (เชฟป้อม) และ พงษ์ธวัช เฉลิมกิตติชัย (เชฟเอียน) เริ่มออกอากาศครั้งแรกในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 ทางช่อง 7HD และเป็นรายการแรกของเฮลิโคเนียที่เผยแพร่ย้อนหลังทางเน็ตฟลิกซ์[1] โดยเป็นรายการที่ได้รับความนิยมสูงรายการหนึ่งในเน็ตฟลิกซ์ของประเทศไทย[2][3]

รูปแบบรายการ

[แก้]

รูปแบบรายการส่วนใหญ่ยังเป็นรูปแบบเดิมจากมาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ในฤดูกาลปกติส่วนใหญ่ แต่มีความยากมากขึ้นตามระดับของผู้เข้าแข่งขันที่เป็นเชฟมืออาชีพแล้ว และเคยมีประสบการณ์ในการแข่งขันรายการทำอาหารในเครือมาก่อน และในฤดูกาลนี้ได้มีการเพิ่มการแข่งขันเปิดครัวระดับมืออาชีพเข้ามาเพื่อทดสอบผู้เข้าแข่งขันที่เป็นเชฟมืออาชีพทั้ง 18 คนอีกด้วย

รอบการแข่งขันเปิดครัวระดับมืออาชีพ

[แก้]

ผู้เข้าแข่งขันจะถูกแบ่งทีม และต้องแข่งขันเปิดครัวระดับมืออาชีพ เพื่อเสิร์ฟอาหารไม่ต่ำกว่า 200 จาน ภายในเวลา 7 นาทีต่อออเดอร์ ไม่ว่าออเดอร์นั้นจะเข้ามากี่จานก็ตาม โดยมีเฮดเชฟคอยควบคุม ในรอบนี้ 2 ทีมที่มีข้อผิดพลาดมากที่สุดจะต้องแข่งขันต่อเพื่อหาผู้เข้าแข่งขันที่ต้องออกจากการแข่งขันต่อไป

ผู้เข้าแข่งขัน

[แก้]

ผู้เข้าแข่งขัน 18 คนสุดท้าย[4]

[แก้]
ชื่อ ตำแหน่ง รายการ รางวัล/อันดับ ลำดับการแข่งขัน[^] จำนวนชนะ
ธนภัทร สุยาว (เชฟเฟิร์ส) Chef Owner มาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ ซีซันที่ 2 ชนะเลิศ 1
ศึกค้นหาเชฟกระทะเหล็ก (ฤดูกาลที่ 1) อันดับที่ 5
วิสาขา ระวิจันทร์ (เชฟเกด) Chef Owner ท็อปเชฟไทยแลนด์ 2023 รองชนะเลิศ 4
ชภรภัช ดาภาชุติสรรค์ (เชฟจิ๊บ) Thai Chef de Cuisine เฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์ อันดับที่ 3 3
ราชวัติ วิเชียรรัตน์ (เชฟเก่ง) Executive Chef & Owner ศึกค้นหาเชฟกระทะเหล็ก (ฤดูกาลที่ 2) รองชนะเลิศ 3
เฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์ อันดับที่ 6
ณัฐศิมาภรณ์ หลักไชย (เชฟเคอร์) Chef Owner เฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์ รองชนะเลิศ
บุญยวีร์ ภาคย์วิศาล (เชฟลูกจรรย์) Creative Chef & Consultant เฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์ อันดับที่ 3
ณัฐนิชา บุญเลิศ (เชฟพลอย) Chef Owner มาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ ซีซันที่ 1 อันดับที่ 3 4
มาสเตอร์เชฟ ออล สตาร์ส ไทยแลนด์ อันดับที่ 9
ท็อปเชฟไทยแลนด์ 2023 อันดับที่ 4
เทียนชัย พีรพงศธร (เชฟเทียน) Chef Owner ท็อปเชฟไทยแลนด์ 2023 อันดับที่ 6 2
Bid Coin Chef สุดยอดเชฟหักเหลี่ยมโหด (ฤดูกาลที่ 2) รองชนะเลิศ
สหรัฐ แตงไทย (เชฟเตย) Chef Owner ศึกค้นหาเชฟกระทะเหล็ก (ฤดูกาลที่ 1) อันดับที่ 6 2
วลาสุระ ณ ลำปาง (เชฟซีตรอง) Chef Owner มาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ ซีซันที่ 6 ชนะเลิศ ถูกคัดออก
วันที่ 20 เมษายน
1
สราวุธ เนียรวิฑูรย์ (เชฟแมน) Chef Instructor, Culinary Arts ศึกค้นหาเชฟกระทะเหล็ก (ฤดูกาลที่ 1) อันดับที่ 3 ถูกคัดออก
วันที่ 6 เมษายน
2
ชานิน จีมะ (เชฟเควส) Co-Chef Owner มาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ ซีซันที่ 3 รองชนะเลิศ ถูกคัดออก
วันที่ 30 มีนาคม
2
มาสเตอร์เชฟ ออล สตาร์ส ไทยแลนด์ รองชนะเลิศ
จารึก ศรีอรุณ (เชฟจารึก) Culinary Lecturer ศึกค้นหาเชฟกระทะเหล็ก (ฤดูกาลที่ 2) อันดับที่ 6 2
ท็อปเชฟไทยแลนด์ 2023 อันดับที่ 5
Bid Coin Chef สุดยอดเชฟหักเหลี่ยมโหด (ฤดูกาลที่ 2) รองชนะเลิศ
พิเชษฐ์ สนั่นก้อง (เชฟเชษฐ์) Executive Chef ท็อปเชฟไทยแลนด์ 2023 อันดับที่ 7 ถูกคัดออก
วันที่ 9 มีนาคม
2
วายุภักษุ์ ม่วงจร (เชฟจอม) Executive Area Chef ศึกค้นหาเชฟกระทะเหล็ก (ฤดูกาลที่ 1) อันดับที่ 8 ถูกคัดออก
วันที่ 2 มีนาคม
1
Bid Coin Chef สุดยอดเชฟหักเหลี่ยมโหด (ฤดูกาลที่ 1) ชนะเลิศ
ปวีณ์นุช ยอดปรีชาวิจิตร (เชฟแก้ว) Private Chef & Catering มาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ ซีซันที่ 1 ชนะเลิศ ถูกคัดออก
วันที่ 23 กุมภาพันธ์
1
ศึกค้นหาเชฟกระทะเหล็ก (ฤดูกาลที่ 2) อันดับที่ 4
นราดล ภู่อักษร (เชฟเบียร์) Chef Owner เฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์ อันดับที่ 5 ถูกคัดออก
วันที่ 16 กุมภาพันธ์
0
นันทวัฒน์ จรรยาลิขิต (เชฟแมกซ์) Chef Owner มาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ ซีซันที่ 3 ชนะเลิศ 0

ข้อมูลการแข่งขัน

[แก้]

ตารางการคัดออก

[แก้]
อันดับ ผู้เข้าแข่งขัน ตอนที่
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10
TBA เชฟเฟิร์ส ผ่าน ผ่าน สูง ผ่าน ผ่าน ผ่าน กดดัน ต่ำ ผ่าน ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน
เชฟเกด ต่ำ ชนะ ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน ต่ำ เสี่ยง ชนะ ผ่าน ต่ำ ชนะ สูง ผ่าน เสี่ยง สูง ผ่าน
เชฟจิ๊บ ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน สูง ผ่าน ผ่าน เสี่ยง ชนะ ผ่าน เสี่ยง ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน
เชฟเก่ง ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ชนะ สูง ผ่าน ผ่าน เสี่ยง ชนะ ผ่าน ผ่าน สูง ผ่าน ชนะ ผ่าน
เชฟเคอร์ สูง ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน กดดัน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน กดดัน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ต่ำ ผ่าน ผ่าน
เชฟลูกจรรย์ ต่ำ เสี่ยง เสี่ยง ผ่าน ผ่าน ผ่าน กดดัน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน กดดัน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ต่ำ ผ่าน
เชฟพลอย ชนะ ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน ต่ำ ผ่าน สูง ชนะ กดดัน ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน ผ่าน ผ่าน
เชฟเทียน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน ต่ำ สูง ผ่าน ผ่าน กดดัน ผ่าน ชนะ สูง สูง เสี่ยง ผ่าน
เชฟเตย ต่ำ ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน เสี่ยง ชนะ ผ่าน ผ่าน สูง ชนะ ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน
10 เชฟซีตรอง ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน เสี่ยง ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน กดดัน ผ่าน เสี่ยง ผ่าน ชนะ ออก
11 เชฟแมน ต่ำ เสี่ยง ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน ต่ำ เสี่ยง ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน ผ่าน ผ่าน ออก
12 เชฟเควส สูง ผ่าน สูง ผ่าน ชนะ ผ่าน ต่ำ ผ่าน สูง ผ่าน ชนะ ผ่าน ออก
13 เชฟจารึก ต่ำ สูง ผ่าน ชนะ ผ่าน ต่ำ ชนะ ผ่าน ผ่าน ต่ำ ออก
14 เชฟเชษฐ์ ชนะ ผ่าน สูง ชนะ ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ออก
15 เชฟจอม สูง ผ่าน เสี่ยง ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน ต่ำ ออก
16 เชฟแก้ว ชนะ ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ออก
17 เชฟเบียร์ ผ่าน ผ่าน ออก
18 เชฟแมกซ์ ต่ำ ออก
  (ชนะเลิศ) ผู้ชนะเลิศการแข่งขัน
  (รองชนะเลิศ) รองชนะเลิศการแข่งขัน
  (ชนะ) ผู้เข้าแข่งขันที่ชนะชาแลนจ์ (กล่องปริศนา หรือ บททดสอบความคิดสร้างสรรค์)
  (ชนะ) ผู้เข้าแข่งขันที่ชนะในรอบทีมและเข้ารอบทั้งทีม
  (สูง) ผู้เข้าแข่งขันที่เข้าชิงเป็นจานที่ดีที่สุด
  (ผ่าน) ผู้เข้าแข่งขันที่ผ่านเข้ารอบต่อไป
  (ผ่าน) ผู้เข้าแข่งขันที่ผ่านเข้ารอบต่อไป ในการแข่งขันแบบคู่/กลุ่ม
  (ผ่าน) ผู้เข้าแข่งขันที่ได้รับสิทธิ์การคุ้มกัน ทำให้ผ่านเข้ารอบต่อไปในทันที
  (กดดัน) ผู้เข้าแข่งขันที่แพ้ในรอบทีม และต้องเข้าแข่งรอบคัดออก (บททดสอบความละเอียด และแม่นยำ)
  (กดดัน) ผู้เข้าแข่งขันที่ไม่สามารถเข้าแข่งขันในรอบทีมได้ และต้องเข้าแข่งรอบคัดออก (บททดสอบความละเอียด และแม่นยำ)
  (ต่ำ) ผู้เข้าแข่งขันที่ยืนเป็น 1 ในจานที่แย่ที่สุด
  (ต่ำ) ผู้เข้าแข่งขันแบบคู่/กลุ่มที่ยืนเป็น 1 ในทีมที่แย่ที่สุด
  (เสี่ยง) ผู้เข้าแข่งขันที่เสี่ยงในการถูกคัดออก
  (ต่ำ) ผู้เข้าแข่งขันที่ทำผลงานได้แย่ที่สุด แต่ไม่ต้องออกจากการแข่งขัน
  (ออก) ผู้เข้าแข่งขันที่ถูกคัดออกประจำสัปดาห์
  (ออก) ผู้เข้าแข่งขันที่ตกรอบไปแล้ว และได้โอกาสกลับมาแข่งขันอีกครั้ง แต่ไม่ชนะรอบแข่งชิงโอกาสครั้งที่ 2
  (กลับ) ผู้เข้าแข่งขันที่ตกรอบไปแล้ว แต่ชนะในการแข่งชิงโอกาสครั้งที่ 2 ทำให้ได้กลับเข้ามาร่วมแข่งขันอีกครั้ง

รายชื่อตอน

[แก้]

ตอนที่ 1: การรวมตัวครั้งสำคัญกับการเปิดครัวระดับมืออาชีพ

[แก้]

ออกอากาศ 9 กุมภาพันธ์ 2568[5][2]

ก่อนเริ่มการแข่งขัน เชฟเอียนได้ฉลองม็อกเทลหลากสีเพื่อให้ผู้เข้าแข่งขันทุกคนไม่เครียดกับการแข่งขันมากเกินไปและให้ผู้แข่งขันเลือกหยิบแก้วด้วยตนเอง แต่เชฟป้อมได้ประกาศว่าแก้วม็อกเทลที่ผู้เข้าแข่งขันเลือกดื่มได้แบ่งทีมเป็น 6 ทีมโดยแบ่งตามตัวอักษรที่ติดอยู่ใต้แก้วม็อกเทล ซึ่งมีตัวอักษรทั้งหมด 6 ตัว คือ I, PR, W, PO, O และ R

  • รอบการแข่งขันเปิดครัวระดับมืออาชีพ: ในรอบนี้ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องแข่งขันเปิดครัวระดับมืออาชีพเพื่อเสิร์ฟอาหารไม่ต่ำกว่า 200 จาน ซึ่งแต่ละทีมจะมีเฮดเชฟคอยควบคุม หากอาหารไม่ผ่านมาตรฐานระดับเชฟอาชีพ อาหารทั้งหมดจะถูกตีกลับทันที และเฮดเชฟที่จะมาควบคุมในรอบนี้ คือ เหล่าเฮดเชฟและผู้ช่วยเชฟจากรายการเฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์ (เชฟอ๊อฟ, เชฟพฤกษ์, เชฟวิลแมน, เชฟเอียน, เชฟป้อม และเชฟอาร์) สำหรับผลการแบ่งทีม เฮดเชฟ และเมนูที่ต้องรับผิดชอบ มีดังต่อไปนี้
สี ตัวอักษร เฮดเชฟ สมาชิก เมนูที่ต้องรับผิดชอบ
ทีมสีแดง I เชฟเอียน เชฟจอม, เชฟเคอร์, เชฟเควส Beef tenderloin Beef Jus Sauce
ทีมสีเหลือง PR เชฟพฤกษ์ เชฟแมน, เชฟเกด, เชฟเตย Salmon Orloff Beurre Rouge Sauce
ทีมสีส้ม W เชฟวิลแมน เชฟเบียร์, เชฟเทียน, เชฟซีตรอง Trio Texture Salmon
ทีมสีม่วง O เชฟอ๊อฟ เชฟเชษฐ์, เชฟแก้ว, เชฟพลอย Pinwheel Steak Lemon Miso Orecchiette
ทีมสีน้ำเงิน R เชฟอาร์ เชฟเก่ง, เชฟจิ๊บ, เชฟเฟิร์ส Poach Scallop roulade with Scallop Croquette
ทีมสีเขียว PO เชฟป้อม เชฟจารึก, เชฟแมกซ์, เชฟลูกจรรย์ ยำใหญ่
ผู้เข้าแข่งขันจะต้องศึกษาสูตรอาหารที่ตนเองรับผิดชอบด้วยตนเอง และจะไม่มีการสอนใด ๆ ทั้งสิ้น โดยที่ผู้เข้าแข่งขันมีเวลาในการเตรียมอาหาร 60 นาทีเท่านั้น และแต่ละออเดอร์ที่ถูกเรียกจะต้องเสิร์ฟภายใน 7 นาที ไม่ว่าออเดอร์นั้นจะมากี่จานก็ตาม และในรอบนี้ 2 ทีมที่ผิดพลาดมากที่สุดจะต้องแข่งขันต่อในรอบถัดไป หลังจากการเสิร์ฟอาหารเสร็จสิ้น เฮดเชฟทั้งหมดจะชิมอาหารทั้ง 6 ทีมเพื่อตรวจสอบคุณภาพของจานและรสชาติ เพื่อนำไปประกอบการตัดสิน เกณฑ์การตัดสินในรอบนี้มีทั้งหมด 3 ข้อ คือ การปรุงอาหารให้รสชาติใกล้เคียงหรือเหมือนต้นฉบับมากที่สุด ความคิดเห็นจากผู้ชิมอาหาร และการเสิร์ฟอาหารได้ตามเวลาที่กำหนด โดยทีมที่ทำเวลาในการเสิร์ฟอาหารได้ดีที่สุด คือ ทีมสีม่วง ส่วนทีมที่ปรุงอาหารได้ตรงตามต้นฉบับมากที่สุด คือ ทีมสีแดง ทั้งนี้ คณะกรรมการต้องตัดสินโดยใช้เกณฑ์ทั้ง 2 ข้อและคะแนนจากผู้ชิมอาหารมารวมกันทั้งหมด ซึ่งทีมแรกที่ได้ผ่านเข้ารอบและเป็นทีมที่ชนะในรอบนี้ คือ ทีมสีม่วง และรองลงมาคือ ทีมสีแดง ทีมสีส้ม และ ทีมสีน้ำเงิน ตามลำดับ ส่วนทีมสีเหลือง และ ทีมสีเขียว คือ 2 ทีมที่มีข้อผิดพลาดมากที่สุด จะต้องแข่งขันต่อเพื่อหาผู้ที่ต้องออกจากการแข่งขันต่อไป
  • ทีมที่ชนะ: ทีมสีม่วง
  • 2 ทีมที่ผิดพลาดมากที่สุดและต้องแข่งขันต่อในรอบถัดไป: ทีมสีเหลือง และ ทีมสีเขียว

ตอนที่ 2: ไร้ความปรานี ทำ 20 จาน จานละ 3 นาที

[แก้]

ออกอากาศ 16 กุมภาพันธ์ 2568[6]

  • บททดสอบความคิดสร้างสรรค์ระดับมืออาชีพ (Invention Restaurant): ในรอบนี้ ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 6 คนจะต้องแข่งขันต่อ โดยมีวัตถุดิบหลักคือ เครื่องในวัวและหมู ซึ่งประกอบด้วย เซี่ยงจี๊หมู ตับหมู ปอดหมู ผ้าขี้ริ้วดำ ม้าม และ ไส้อ่อน แต่เพื่อไม่อยากให้ผู้เข้าแข่งขันเครียดกับการแข่งขันมากเกินไป เชฟเอียนจึงได้เลี้ยงม็อกเทลหลากสีอีกครั้ง แต่ในรอบนี้ สีแก้วม็อกเทลคือตัวกำหนดวัตถุดิบหลักที่จะได้รับ โดยเชฟเกดได้แก้วสีแดง วัตถุดิบหลักคือเซี่ยงจี๊หมู เชฟจารึกได้แก้วสีเหลือง วัตถุดิบหลักคือตับหมู เชฟลูกจรรย์ได้แก้วสีส้ม วัตถุดิบหลักคือปอดหมู เชฟแมกซ์ได้แก้วสีม่วง วัตถุดิบหลักคือผ้าขี้ริ้วดำ เชฟแมนได้แก้วสีเขียว วัตถุดิบหลักคือม้าม และเชฟเตยได้แก้วสีน้ำเงิน วัตถุดิบหลักคือไส้อ่อน โดยในรอบนี้ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำอาหารในโจทย์ สตรีทฟู้ดไทยสุดสร้างสรรค์ ซึ่งต้องเสิร์ฟให้กับคณะกรรมการหลักและคณะกรรมการจากรายการ The Spoon ช้อนทองคำ รวมจำนวน 20 คน นั่นคือ ผู้เข้าแข่งขันต้องทำอาหารทั้งหมด 20 จาน ภายในเวลาเพียง 60 นาทีเท่านั้น หลังจากคณะกรรมการทั้งหมดชิมอาหารของผู้เข้าแข่งขันทุกคนและลงคะแนนแล้ว ผู้ที่ผ่านเข้ารอบเป็นคนแรกและเป็นผู้ชนะในรอบนี้คือ เชฟเกด และรองลงมา คือ เชฟจารึก และ เชฟเตย ตามลำดับ ส่วนเชฟลูกจรรย์ เชฟแมกซ์ และ เชฟแมน คือผู้ที่ทำผลงานได้แย่ที่สุด โดยผู้ที่ต้องออกจากการแข่งขันในรอบนี้ คือ เชฟแมกซ์
  • ผู้ชนะ: เชฟเกด
  • ผู้ที่ตกเป็น 3 จานที่ผลงานแย่ที่สุด: เชฟลูกจรรย์ เชฟแมกซ์ และ เชฟแมน
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: เชฟแมกซ์
  • การแข่งขันกล่องปริศนา (Mystery Box): ในรอบนี้ ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 17 คนจะต้องแข่งขันกับในรอบกล่องปริศนาสีดำ (Black Box) นั่นหมายความว่าจะต้องมี 1 คนที่ต้องออกจากการแข่งขันในรอบนี้ โดยวัตถุดิบภายในกล่องปริศนามีเพียง 4 อย่างเท่านั้น คือ ข้าวโพด 1 ฝัก ไข่ไก่ 1 ฟอง มะเขือเทศ 1 ลูก และ ปูอัด 3 ชิ้น โดยผู้เข้าแข่งขันจะต้องนำวัตถุดิบพื้นฐานที่มีอย่างจำกัดมาสร้างสรรค์ให้เป็นจานอาหารระดับมาสเตอร์เชฟ โพรเฟสชันนัลส์ ผู้เข้าแข่งขันมีเวลาในการทำอาหาร 60 นาที โดยที่ด้านใต้สเตชันของแต่ละคนมีวัตถุเสริมอย่างจำกัดในการปรุงอาหาร หลังจากคณะกรรมการชิมอาหารของผู้เข้าแข่งขันทุกคนแล้ว 4 จานที่ทำผลงานดีที่สุด คือ เชฟจิ๊บ เชฟเฟิร์ส เชฟเควส และ เชฟเชษฐ์ และจานที่ดีที่สุดในรอบนี้คือ เชฟจิ๊บ
  • 4 จานที่ผลงานดีที่สุด: เชฟจิ๊บ เชฟเฟิร์ส เชฟเควส และ เชฟเชษฐ์
  • ผู้ชนะ: เชฟจิ๊บ
แต่เนื่องจากการแข่งขันในรอบนี้คือกล่องปริศนาสีดำ ฉะนั้นคณะกรรมการจะต้องหาจานที่แย่ที่สุดเพื่อหาผู้ที่ต้องออกจากแข่งขันในรอบนี้ ซึ่ง 3 จานที่ทำผลงานแย่ที่สุด คือ เชฟจอม เชฟลูกจรรย์ และ เชฟเบียร์ โดยเชฟจอมรสชาติในจานจืดทั้งหมด เชฟลูกจรรย์รสชาติในจานหวานทั้งหมด ส่วนเชฟเบียร์รสชาติองค์ประกอบแต่ละอย่างมีความหนักเกินไป และข้าวโพดทอดค่อนข้างแห้ง และผู้ที่ต้องออกจากการแข่งขันในรอบนี้ คือ เชฟเบียร์
  • ผู้ที่ตกเป็น 3 จานที่ผลงานแย่ที่สุด: เชฟจอม เชฟลูกจรรย์ และ เชฟเบียร์
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: เชฟเบียร์

ตอนที่ 3: ที่สุดของทักษะการเตรียมอาหาร

[แก้]

ออกอากาศ 23 กุมภาพันธ์ 2568[7]

  • บททดสอบทักษะการเตรียมอาหาร (Skill Test): ในรอบนี้จะแบ่งการแข่งขันเป็น 3 รอบ แต่ละรอบจะมีผู้ชนะเพียง 3 คนเท่านั้น รวม 9 คน และ 7 คนที่เหลือต้องแข่งขันต่อเพื่อหาผู้ที่ต้องออกจากการแข่งขันต่อไป
    • รอบที่ 1: ในรอบแรก ผู้เข้าแข่งขันทุกคนจะต้องถอดกระดูกไก่ (Tunnel bone) โดยที่ไม่ให้เนื้อไก่ฉีกขาดออกจากกัน ไม่มีกระดูกเหลือภายใน (แต่สามารถเหลือกระดูกตรงปีกไก่ได้เท่านั้น) และไก่ต้องคงรูปสมบูรณ์ ทางรายการเตรียมไก่ให้ผู้เข้าแข่งขันเพียง 2 ตัว นั่นคือสามารถทำผิดพลาดได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น หากทำผิดพลาดทั้ง 2 ตัว ผู้เข้าแข่งขันจะหมดสิทธิ์เข้ารอบทันที ซึ่ง 3 คนแรกที่ทำได้เร็วและสมบูรณ์แบบจะได้ผ่านเข้ารอบทันที
    • ผู้ชนะ: เชฟเทียน เชฟเชษฐ์ และ เชฟจารึก
    • รอบที่ 2: ในรอบที่ 2 ผู้เข้าแข่งขันที่เหลือจะต้องแล่ปลาทูแบ่งกลางเป็นรูปปีกผีเสื้อ (แบบบัตเตอร์ฟลาย) โดยที่แนวกลางและเนื้อปลาไม่ขาดออกจากกัน ต้องเอาก้างกลางและก้างที่ท้องออก ล้างเลือดและอวัยวะภายในปลาออกให้หมด และเพื่อพิสูจน์ความละเอียดและทักษะ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องแล่ปลาให้สมบูรณ์ทั้งหมด 5 ตัว โดยที่ทางรายการเตรียมปลาทูเพียง 10 ตัวเท่านั้น ซึ่ง 3 คนแรกที่ทำได้เร็วและสมบูรณ์แบบจะได้ผ่านเข้ารอบทันที
    • ผู้ชนะ: เชฟเกด เชฟแมน และ เชฟเควส
    • รอบที่ 3: ในรอบที่ 3 ผู้เข้าแข่งขันที่เหลือจะต้องทำน้ำปลาพริกแบบมืออาชีพ โดยใช้พริกจินดาแดง 50 กรัม พริกจินดาเขียว 50 กรัม หอมแดง 50 กรัม และกระเทียม 50 กรัม ผู้เข้าแข่งขันทุกคนต้องซอยพริก ซอยหอมแดง หั่นกระเทียมให้เท่ากัน และนอกจากนี้ รสชาติน้ำปลาพริกต้องดีตามมาตรฐานอีกด้วย ผู้เข้าแข่งขันจะต้องใช้วัตถุดิบที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า และห้ามทิ้งขว้าง หากกรรมการพบเจอผู้เข้าแข่งขันที่ใช้วัตถุดิบอย่างทิ้งขว้าง ผู้เข้าแข่งขันคนนั้นจะถูกคัดออกทันที ซึ่ง 3 คนแรกที่ทำได้เร็วและสมบูรณ์แบบจะได้ผ่านเข้ารอบทันที
    • ผู้ชนะ: เชฟพลอย เชฟจิ๊บ และ เชฟจอม
  • ผู้ที่ผ่านเข้ารอบทั้ง 3 รอบ: เชฟเทียน เชฟเชษฐ์ เชฟจารึก เชฟเกด เชฟแมน เชฟเควส เชฟพลอย เชฟจิ๊บ และเชฟจอม
  • บททดสอบความละเอียดและแม่นยำ (Pressure Test): เนื่องจากผู้เข้าแข่งขัน 7 คนที่เหลือไม่สามารถชนะทั้ง 3 ภารกิจในบททดสอบทักษะการเตรียมอาหารได้ ส่งผลให้ต้องมาแข่งขันต่อในรอบนี้ โดยในรอบนี้ มีแขกรับเชิญคือ เชฟแพม - พิชญา สุนทรญาณกิจ เจ้าของรางวัลเชฟหญิงยอดเยี่ยมแห่งเอเชีย เจ้าของร้านโพทง (Potong) ที่ได้รับรางวัลมิชลิน 1 ดาวและติดอันดับ 50 ร้านอาหารยอดเยี่ยมแห่งเอเชีย กรรมการจากรายการท็อปเชฟไทยแลนด์ และ Head Chef Trainer จากรายการ The Restaurant War Thailand ศึกพ่อค้าซ่าแม่ค้าแซ่บ โจทย์ในการแข่งขันรอบนี้ คือ นกพิราบซอสไวน์แดงและแยมพริกไทยดำ ซึ่งมีทั้งหมด 6 องค์ประกอบ นั่นคือ สเต็กอกนกพิราบ ขานกพิราบกงฟี ซอสไวน์แดง เกาลัดปูว์เร แยมพริกไทยดำ และเครื่องเคียงต้นกระเทียมทอด เกณฑ์ในการตัดสินมีทั้งหมด 4 ข้อ ดังนี้
  1. อกนกพิราบหนังต้องกรอบ เนื้อด้านในต้องสุกระดับมีเดียมแรร์
  2. ขานกพิราบต้องสุกและเนื้อนุ่ม
  3. เกาลัดปูว์เรต้องมีเนื้อเนียนละเอียดและไม่แห้ง
  4. ต้องมีครบทุกองค์ประกอบ และรสชาติเหมือนต้นฉบับ
ผู้เข้าแข่งขันมีเวลา 60 นาทีในการทำอาหารให้เหมือนต้นฉบับทั้งหน้าตาและรสชาติ และเนื่องจากผู้เข้าแข่งขันเป็นเชฟระดับมืออาชีพ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องศึกษาเองจากสูตรที่ได้รับและจะได้รับสิทธิ์ในการชิมอาหารตัวอย่างเท่านั้น จะไม่มีการสอนวิธีการทำอาหารใด ๆ อย่างเด็ดขาด ทั้งนี้ เชฟแพม เจ้าของโจทย์การแข่งขันในรอบนี้ จะอยู่ร่วมเป็นกรรมการตัดสินจานอาหารของผู้เข้าแข่งขันด้วย หลังจากคณะกรรมการชิมอาหารของผู้เข้าแข่งขันทุกคนแล้ว ผู้ที่ผ่านเข้ารอบเป็นคนแรกและเป็นผู้ชนะในรอบนี้คือ เชฟเก่ง และรองลงมา คือ เชฟเคอร์ เชฟลูกจรรย์ และ เชฟเฟิร์ส ตามลำดับ ส่วนเชฟแก้ว เชฟซีตรอง และ เชฟเตย คือผู้ที่ทำผลงานได้แย่ที่สุด โดยผู้ที่ต้องออกจากการแข่งขันในรอบนี้ คือ เชฟแก้ว
  • ผู้ชนะ: เชฟเก่ง
  • ผู้ที่ตกเป็น 3 จานที่ผลงานแย่ที่สุด: เชฟแก้ว เชฟซีตรอง และ เชฟเตย
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: เชฟแก้ว

ตอนที่ 4: Food Truck สุดโหด

[แก้]

ออกอากาศ 2 มีนาคม 2568[8]

  • การแข่งขันกล่องปริศนาแบบทีม (Mystery Box Team Challenge): ในรอบนี้ ให้ผู้เข้าแข่งขันจับคู่กันเพื่อทำอาหารที่สามารถบรรจุใน Food Truck ได้ และนำไปบริการให้กับนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 300 คน จากโรงเรียนอนุบาลชุมชนบางบ่อ (ศุภพิพัฒน์รังสรรค์) โดยมีวัตถุดิบ คือ น่องไก่ แคร์รอต ข้าวโพด มะเขือเทศ ชีส ไข่ไก่ หอมหัวใหญ่ มันฝรั่ง และต้นหอม โดยผู้เข้าแข่งขันที่จับคู่จะได้นั่งรถ Food Truck รูปแบบจักรยาน ส่วนอีกคนที่ไม่มีคู่จะเป็นรถเข็นแทน ผู้เข้าแข่งขันมีเวลา 60 นาทึในการเตรียมอาหาร หลังจากเวลาในการเตรียมอาหารสิ้นสุดลง Food Truck ทุกคันจะต้องออกไปบริการทันที และจะต้องปั่นหรือเข็นไปบริการด้วยตนเอง โดยมีเวลาในการบริการ 90 นาที และจะเริ่มจับเวลาตั้งแต่ Food Truck คันแรกไปถึงจุดหมาย ในรอบนี้ 4 ทีมที่ทำยอดขายน้อยที่สุดจะต้องแข่งขันต่อเพื่อหาผู้ที่ต้องออกจากการแข่งขันต่อไป สำหรับผลการจับคู่และยอดขายทั้งหมด มีดังต่อไปนี้
สีของ Food Truck สมาชิก อันดับยอดขาย หมายเหตุ
สีชมพู เชฟเตย อันดับที่ 1 เป็นรถเข็น Food Truck คันเดียวที่ไม่มีพ่วงจักรยาน
สีเหลือง เชฟจิ๊บ และ เชฟเก่ง อันดับที่ 2
สีน้ำเงิน เชฟเคอร์ และ เชฟลูกจรรย์ อันดับที่ 3
สีม่วง เชฟเชษฐ์ และ เชฟซีตรอง อันดับที่ 4
สีดำ เชฟแมน และ เชฟจอม ไม่ผ่าน
สีส้ม เชฟเกด และ เชฟจารึก
สีเขียว เชฟเทียน และ เชฟพลอย
สีแดง เชฟเควส และ เชฟเฟิร์ส
  • ทีมที่ชนะ: ทีมสีชมพู
  • 4 ทีมที่ทำยอดขายน้อยที่สุดและต้องแข่งขันต่อในรอบถัดไป: ทีมสีดำ ทีมสีส้ม ทีมสีเขียว และ ทีมสีแดง
  • บททดสอบความคิดสร้างสรรค์ (Invention Test): ในรอบนี้ ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 8 คนจะต้องพัฒนาเมนูต้มยำที่คนไทยคุ้นเคย ให้เป็นเมนูที่มีความคิดสร้างสรรค์ระดับโลก โดยมีวัตถุดิบหลักคือ ปูอลาสก้า (ซึ่งเป็นปูแช่แข็ง) และ สุดยอดน้ำพริกเผา ผู้เข้าแข่งขันมีเวลาในการทำอาหาร 60 นาที หลังจากคณะกรรมการชิมอาหารของผู้เข้าแข่งขันทุกคนแล้ว จานที่ดีที่สุดในรอบนี้คือ เชฟจารึก และรองลงมา คือ เชฟเทียน ส่วนผู้ที่ทำผลงานแย่ที่สุด คือ เชฟเกด เชฟแมน และ เชฟจอม โดยเชฟเกดรสชาติในจานเค็มจนกลบความเป็นต้มยำ เชฟแมนรสชาติในจานเค็มเรื่อย ๆ และมีแกนกลางภายในปูติดมา ส่วนเชฟจอมชูวัตถุดิบหลักซึ่งเป็นปูอลาสก้าได้ไม่เพียงพอเนื่องจากมีเนื้อปูน้อยเกินไป และรสชาติเปรี้ยวเกินไป และผู้ที่ต้องออกจากการแข่งขันในรอบนี้ คือ เชฟจอม
  • ผู้ชนะ: เชฟจารึก
  • ผู้ที่ตกเป็น 3 จานที่ผลงานแย่ที่สุด: เชฟเกด เชฟแมน และ เชฟจอม
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: เชฟจอม

ตอนที่ 5: คำตัดสินที่ถูกคัดค้าน

[แก้]

ออกอากาศ 9 มีนาคม 2568[9]

  • การแข่งขันกล่องปริศนา (Mystery Box): ในรอบนี้ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องเลือกสเตชันกันเองซึ่งมีทั้งหมด 14 ตำแหน่ง โดยวัตถุดิบปริศนาภายในกล่องคือ ผงกะหรี่ และอีก 1 วัตถุดิบหลักที่แต่ละคนจะต้องทำคู่กัน ซึ่งภายในรถเข็นมีวัตถุดิบทั้งหมด 14 อย่าง โดยที่แต่ละคนสามารถเลือกได้เพียง 1 อย่างเท่านั้น โดยที่การเลือกวัตถุดิบหลักที่ 2 จะได้เลือกตามตำแหน่งที่แต่ละคนเลือก วัตถุดิบหลักที่ 2 ที่แต่ละคนเลือกมีดังต่อไปนี้
ตำแหน่ง ผู้เข้าแข่งขัน วัตถุดิบหลักที่ 2 ตำแหน่ง ผู้เข้าแข่งขัน วัตถุดิบหลักที่ 2
1 เชฟเฟิร์ส ทุเรียน 2 เชฟแมน ปลาทับทิม
3 เชฟเตย เต้าหู้ 4 เชฟเควส สตรอว์เบอร์รี
5 เชฟเกด ลูกพลับ 6 เชฟพลอย ตับวัว
7 เชฟเทียน สันนอกหมู 8 เชฟเคอร์ ลูกหม่อน
9 เชฟจารึก หอยแมลงภู่ 10 เชฟซีตรอง เนื้อ Angus (ส่วน Ribeye)
11 เชฟเชษฐ์ หนังหมู 12 เชฟลูกจรรย์ ปลาหมึก
13 เชฟเก่ง แมงกะพรุน 14 เชฟจิ๊บ ปูม้า
ผู้เข้าแข่งขันมีเวลาในการทำอาหาร 60 นาที หลังจากคณะกรรมการชิมอาหารของผู้เข้าแข่งขันทุกคนแล้ว 3 จานที่ทำผลงานดีที่สุด คือ เชฟเควส เชฟเกด และ เชฟพลอย และจานที่ดีที่สุดในรอบนี้คือ เชฟเกด จะได้ผ่านเข้ารอบทันทีโดยไม่ต้องแข่งขันต่อในรอบถัดไป
  • 3 จานที่ผลงานดีที่สุด: เชฟเควส เชฟเกด และ เชฟพลอย
  • ผู้ชนะ: เชฟเกด
  • บททดสอบความคิดสร้างสรรค์ (Invention Test): ในรอบนี้ ผู้เข้าแข่งขันสามารถรังสรรค์ Signature Dish ของตัวเองได้แบบอิสระ แต่มีเวลาเพียง 2 นาทีในการหยิบวัตถุดิบภายในซูเปอร์มาร์เก็ตเท่านั้น และเมื่อผู้เข้าแข่งขันเข้าไป ภายในซูเปอร์มาร์เก็ตกลับเต็มไปด้วยแอปเปิลหลายสายพันธุ์ให้เลือก และไม่มีวัตถุดิบอื่น ๆ ภายในอีกเลย โดยเชฟป้อมประกาศว่า Signature Dish ที่ผู้เข้าแข่งขันต้องรังสรรค์ในรอบนี้จะต้องทำเป็นรูปแบบของหวาน แต่ก่อนเริ่มการแข่งขัน เนื่องจากเชฟเกดเป็นผู้ชนะการแข่งขันในรอบก่อนหน้านี้ เชฟเกดจะได้รับสิทธิพิเศษเพิ่มอีก 1 ข้อ นั่นคือ สามารถนำตะกร้าที่มีแอปเปิลที่เชฟเกดเลือกเพียง 1 ลูก ไปแลกกับตะกร้าของผู้เข้าแข่งขันที่มีแอปเปิลหลายลูก และสามารถเลือกเพื่อไปแลกให้ผู้เข้าแข่งขันได้ 5 คน และคนที่ถูกเลือกคือ เชฟเชษฐ์ เชฟเควส เชฟเคอร์ เชฟเก่ง และ เชฟแมน ผู้เข้าแข่งขันมีเวลาในการทำอาหาร 60 นาที หลังจากคณะกรรมการชิมอาหารของผู้เข้าแข่งขันทุกคนแล้ว จานที่ดีที่สุดในรอบนี้คือ เชฟพลอย และรองลงมา คือ เชฟเตย ส่วนผู้ที่ทำผลงานแย่ที่สุด คือ เชฟเก่ง เชฟจิ๊บ และ เชฟเชษฐ์ และผู้ที่ต้องออกจากการแข่งขันในรอบนี้ คือ เชฟเชษฐ์ เนื่องจากแป้งพัฟภายในพายแอปเปิลไม่สุก
  • ผู้ชนะ: เชฟพลอย
  • ผู้ที่ตกเป็น 3 จานที่ผลงานแย่ที่สุด: เชฟเก่ง เชฟจิ๊บ และ เชฟเชษฐ์
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: เชฟเชษฐ์

แต่หลังจากการตัดสิน เชฟเชษฐ์กลับคัดค้านและให้คณะกรรมการตรวจสอบอีกครั้ง ซึ่งคณะกรรมการตรวจสอบให้เชฟเชษฐ์เห็นอย่างชัดเจนว่าไม่สุก แต่เชฟเชษฐ์ยังไม่ยอมรับ สุดท้ายต้องออกจากการแข่งขันไปด้วยตัวเอง

ตอนที่ 6: เชฟมืออาชีพ VS. พ่อค้าซ่าแม่ค้าแซ่บ

[แก้]

ออกอากาศ 23 มีนาคม 2568[10]

  • บททดสอบภารกิจแบบทีม (Team Challenge): โจทย์การแข่งขันในรอบนี้คือ อาหารรสเปรี้ยว จี๊ดจ๊าด แซ่บนัว โดยมีวัตถุดิบคือ ผงรสมะนาว โดยทั้ง 2 ทีมต้องทำทั้งของคาวและของหวาน อย่างละ 2 เมนู รวม 4 เมนู โดยมีผงรสมะนาวเป็นส่วนประกอบในทุกเมนู เนื่องจากเชฟพลอย และ เชฟเตย เป็น 2 จานที่ดีที่สุดในรอบก่อนหน้านี้ จึงได้เป็นหัวหน้าทีมในรอบนี้ โดยทั้ง 2 ทีมต้องเสิร์ฟอาหารให้กับคณะกรรมการหลัก และเหล่าพ่อค้าซ่าแม่ค้าแซ่บจำนวน 100 คน (ส่วนหนึ่งเป็นผู้เข้าแข่งขันจากรายการ The Restaurant War Thailand ศึกพ่อค้าซ่าแม่ค้าแซ่บ) ซึ่งต้องทำอาหารทั้งหมด 416 จาน โดยสมาชิกในแต่ละทีมมีดังต่อไปนี้
หัวหน้าทีม สมาชิก
เชฟพลอย เชฟเกด, เชฟซีตรอง, เชฟจารึก, เชฟเทียน, เชฟลูกจรรย์, เชฟเคอร์
เชฟเตย เชฟเควส, เชฟเก่ง, เชฟจิ๊บ, เชฟแมน, เชฟเฟิร์ส
ผู้เข้าแข่งขันมีเวลา 60 นาทีในการเตรียมอาหาร และมีเวลาอีก 40 นาทีในการเสิร์ฟอาหาร หากหมดเวลา จะต้องหยุดทำอาหารและหยุดเสิร์ฟทันที หลังจากนั้นเหล่าพ่อค้าซ่าแม่ค้าแซ่บจะนำคูปองมาหยอดให้กับทีมที่ชอบมากที่สุด โดยที่เหล่าพ่อค้าซ่าแม่ค้าแซ่บจะได้รับคูปองคนละ 3 ใบ (รวม 300 ใบ) ซึ่งทีมที่ได้รับคูปองรวมมากที่สุดจะชนะและผ่านเข้ารอบทันทีโดยไม่ต้องแข่งขันต่อในรอบถัดไป โดยเมนูของแต่ละทีมมีดังต่อไปนี้
ทีม เมนูของคาว เมนูของหวาน
ทีมสีแดง กุ้งย่างซอสแซ่บ ยำส้มโอจำแลง ไอศกรีมมะนาวกับครัมเบิล เค้กใบเตยซอสมะนาวเคิร์ด
ทีมสีน้ำเงิน ไก่ย่างไม่เคยอร่อยขนาดนี้ !!! นี่มันไก่ซัมบัล ทะเลยำปลาป่นกับซัลซามะม่วง เค้กมะนาวเร้าใจ โอ้ว ว้าว!! มะนาวกรอบ
  • ทีมที่ชนะ: ทีมสีน้ำเงิน (ชนะไปด้วยคะแนน 158 ต่อ 142)
  • บททดสอบความละเอียดและแม่นยำ (Pressure Test): เนื่องจากทีมสีแดงเป็นทีมที่แพ้ในภารกิจแบบทีม ส่งผลให้ต้องมาแข่งขันต่อในรอบนี้ โดยในรอบนี้ มีแขกรับเชิญคือ เชฟอาร์ต - ศุภมงคล ศุภพิพัฒน์ เชฟผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารยุโรป ผู้บุกเบิกร้านอาหารในแนวคิด Chef's Table คนแรกของประเทศไทย กรรมการจากรายการท็อปเชฟไทยแลนด์ และ Head Chef Trainer จากรายการ The Restaurant War Thailand ศึกพ่อค้าซ่าแม่ค้าแซ่บ วัตถุดิบหลักในรอบนี้ คือ ปลากระพง และ ขนมปัง และโจทย์ในการแข่งขันรอบนี้ คือ ปลากระพงเกล็ดขนมปังกรอบและซอส Rose Bell Pepper Garlic ซึ่งมีทั้งหมด 5 องค์ประกอบ นั่นคือ ปลากระพงเกล็ดขนมปังกรอบ มูสซีฟู้ด (ที่อยู่ด้านในฟิลเลต์ปลา) ซอส Rose Bell Pepper Garlic ผักเคียงที่ตกแต่งเป็นลูกรักบี้ห้าเหลี่ยม และเกล็ดสมุนไพร เกณฑ์ในการตัดสินมีทั้งหมด 5 ข้อ ดังนี้
  1. ปลากระพงแล่แบบบัตเตอร์ฟลาย เนื้อไม่ขาดออกจากกัน และต้องมีขนาดเท่ากันทั้ง 2 ด้าน
  2. เกล็ดขนมปังต้องเรียงให้เหมือนเกล็ดปลาสวยงาม และมีสีเหลืองทอง-กรอบ
  3. ซอส Rose Bell Pepper Garlic เนื้อเนียนละเอียด ไม่เหลวและไม่ข้นจนเกินไป
  4. ผักเคียงต้องนุ่มพอดี และมีรูปทรงเป็นลูกรักบี้ห้าเหลี่ยม
  5. ต้องมีครบทุกองค์ประกอบ และรสชาติเหมือนต้นฉบับ
ผู้เข้าแข่งขันมีเวลา 60 นาทีในการทำอาหารให้เหมือนต้นฉบับทั้งหน้าตาและรสชาติ และผู้เข้าแข่งขันจะต้องศึกษาเองจากสูตรที่ได้รับและจะได้รับสิทธิ์ในการชิมอาหารตัวอย่างเท่านั้น จะไม่มีการสอนวิธีการทำอาหารใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งนี้ เชฟอาร์ต เจ้าของโจทย์การแข่งขันในรอบนี้ จะอยู่ร่วมเป็นกรรมการตัดสินจานอาหารของผู้เข้าแข่งขันด้วย หลังจากคณะกรรมการชิมอาหารของผู้เข้าแข่งขันทุกคนแล้ว ผู้ที่ตกเป็น 2 จานที่แย่ที่สุด คือ เชฟเกด และ เชฟจารึก เนื่องจากปลากระพงซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักในจานไม่สุกทั้ง 2 คน แต่คณะกรรมการลงมติให้ทั้ง 2 คนสู้กันแบบตัวต่อตัวในรอบถัดไป และจะมี 1 คนที่ต้องออกจากการแข่งขัน
  • ผู้ที่ตกเป็น 2 จานที่ผลงานแย่ที่สุด: เชฟเกด และ เชฟจารึก

ตอนที่ 7: ศิษย์รัก หักเหลี่ยมโหด

[แก้]

ออกอากาศ 30 มีนาคม 2568[11]

  • การแข่งขันกล่องปริศนา (Mystery Box): เนื่องจากเชฟเกด และ เชฟจารึก เป็น 2 จานที่ผิดพลาดมากที่สุดในรอบบททดสอบความละเอียดและแม่นยำ ส่งผลให้ต้องมาแข่งขันต่อในรอบนี้แบบตัวต่อตัว โดยในรอบนี้ วัตถุดิบภายในกล่องปริศนาประกอบไปด้วย ไข่ผำ มะเขือเทศ ฟักทอง มะระ กะหล่ำดาว เบบี้แคร์รอต พาร์เมซานชีส ช็อกโกแลต กีวี อัลมอนด์ แป้งพัฟเพสทรี ถั่วแดง และใบเตย ซึ่งภายในกล่องไม่มีโปรตีนแม้แต่อย่างเดียว เพราะทางรายการได้เลือกโปรตีนไว้แล้ว ซึ่งโปรตีนหลักคือ ลิ้นวัว ซึ่งมีเวลาในการทำอาหารเพียง 40 นาทีเท่านั้น แต่ในช่วง 10 นาทีสุดท้ายของการแข่งขัน เชฟป้อมได้สั่งให้หยุดทำอาหาร โดยประกาศว่าต้องทำเพิ่มอีกหนึ่งเมนู ซึ่งมีวัตถุดิบหลักคือ กึ๋นไก่ โดยขยายเวลาต่อให้ 15 นาที (รวมกับเวลาเดิม 10 นาทีเป็น 25 นาที) และมีวัตถุดิบเสริมเท่าที่เหลือภายในกล่องเท่านั้น และในช่วง 15 นาทีสุดท้าย คุณอิงค์ได้ประกาศว่าต้องทำเพิ่มอีกหนึ่งเมนู ซึ่งมีวัตถุดิบหลักคือ ทับทิม โดยให้ทำเป็นเมนูของหวาน และขยายเวลาต่อให้อีก 10 นาที (รวมกับเวลาเดิม 15 นาทีเป็น 25 นาที) นั่นเท่ากับต้องทำอาหารทั้ง 3 เมนู ภายในเวลาเพียง 65 นาทีเท่านั้น หลังจากคณะกรรมการชิมอาหารของผู้เข้าแข่งขันทั้ง 3 เมนูแล้ว ในเมนูแรกซึ่งมีวัตถุดิบหลักคือ ลิ้นวัว ผู้ชนะคือ เชฟเกด ส่วนในเมนูที่ 2 ซึ่งมีวัตถุดิบหลักคือ กึ๋นไก่ เสมอกัน เนื่องจากทั้ง 2 คนชูวัตถุดิบหลักได้ไม่เพียงพอ และในเมนูที่ 3 ซึ่งมีวัตถุดิบหลักคือ ทับทิม ผู้ชนะคือ เชฟเกด เนื่องจากเมนูของเชฟจารึกชูวัตถุดิบหลักได้ไม่เพียงพอ ส่งผลให้เชฟจารึกต้องออกจากการแข่งขันโดยปริยาย
  • ผู้ชนะ: เชฟเกด
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: เชฟจารึก
  • บททดสอบความคิดสร้างสรรค์ (Invention Test): ในรอบนี้ มีวัตถุดิบหลักคือ พริกไทย และอีก 1 วัตถุดิบหลักที่แต่ละคนจะต้องเลือกกล่องจุ่มกันเอง ซี่งมีทั้งหมด 12 กล่อง โดยแต่ละคนจะได้วัตถุดิบไม่เหมือนกัน ซึ่งมีทั้งกลุ่มวัตถุดิบระดับพรีเมียม กลุ่มวัตถุดิบที่เหมาะกับการทำเมนูของหวาน และวัตถุดิบที่จัดการยากที่สุด วัตถุดิบหลักที่ 2 ที่แต่ละคนได้รับมีดังต่อไปนี้
กลุ่มวัตถุดิบระดับพรีเมียม กลุ่มวัตถุดิบที่เหมาะกับการทำเมนูของหวาน กลุ่มวัตถุดิบที่จัดการยากที่สุด
กล่อง ผู้เข้าแข่งขัน วัตถุดิบหลักที่ 2 กล่อง ผู้เข้าแข่งขัน วัตถุดิบหลักที่ 2 กล่อง ผู้เข้าแข่งขัน วัตถุดิบหลักที่ 2
1 เชฟเฟิร์ส เนื้อวากิว A5 5 เชฟจิ๊บ มะละกอสุก 9 เชฟซีตรอง แมงป่อง
2 เชฟแมน กุ้งลายเสือ 6 เชฟพลอย มะม่วงสุก 10 เชฟเควส ปลาร้า
3 เชฟเตย ปลาหิมะ 7 เชฟเคอร์ รวมเบอร์รี 11 เชฟเกด ไขกระดูกวัว
4 เชฟเก่ง หอยเป๋าฮื้อ 8 เชฟลูกจรรย์ กล้วยหอมสุก 12 เชฟเทียน ขาหมู
ผู้เข้าแข่งขันมีเวลา 3 นาทีในการไปหยิบวัตถุดิบเสริมในซูเปอร์มาร์เก็ต ซึ่งสามารถหยิบได้เพียง 12 อย่างเท่านั้น แต่ก่อนเริ่มการแข่งขัน เชฟเอียนได้ประกาศให้ผู้เข้าแข่งขันทุกคนสลับตะกร้าวัตถุดิบเสริมกัน โดยเชฟซีตรองสลับกับเชฟเตย เชฟเก่งสลับกับเชฟเทียน เชฟลูกจรรย์สลับกับเชฟเคอร์ เชฟพลอยสลับกับเชฟเฟิร์ส เชฟเกดสลับกับเชฟเควส และเชฟแมนสลับกับเชฟจิ๊บ ผู้เข้าแข่งขันมีเวลาในการทำอาหาร 60 นาที หลังจากคณะกรรมการชิมอาหารของผู้เข้าแข่งขันทุกคนแล้ว จานที่ดีที่สุดในรอบนี้คือ เชฟเทียน และรองลงมา คือ เชฟเกด ส่วนผู้ที่ทำผลงานแย่ที่สุด คือ เชฟจิ๊บ เชฟซีตรอง และ เชฟเควส โดยเชฟจิ๊บทำขนมหวานผสมที่ไม่เข้ากัน และแป้งหนืด เชฟซีตรองรสชาติในจานหวานทั้งหมดจนไม่สามารถรับประทานได้ และชูวัตถุดิบหลักที่ 2 ซึ่งเป็นแมงป่องในทางที่แย่ ส่วนเชฟเควสใช้วัตถุดิบเสริมอย่างไม่คุ้มค่า ปลาร้ามีกลิ่นคาวมาก และไม่สามารถชูวัตถุดิบหลักที่เป็นพริกไทยได้ และผู้ที่ต้องออกจากการแข่งขันในรอบนี้ คือ เชฟเควส
  • ผู้ชนะ: เชฟเทียน
  • ผู้ที่ตกเป็น 3 จานที่ผลงานแย่ที่สุด: เชฟจิ๊บ เชฟซีตรอง และ เชฟเควส
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: เชฟเควส

ตอนที่ 8: คุณเป็นคนไทยจริงรึเปล่า?

[แก้]

ออกอากาศ 6 เมษายน 2568[12]

  • การแข่งขันกล่องปริศนา (Mystery Box): ในรอบนี้ ภายในกล่องปริศนาคือ แซนดี้ - ญาณิศา บุณยตุลย์ ศิลปินสาวสังกัดเฮลิโคเนีย มิวสิค มาร่วมแสดงเพลง "จากนี้ฉันจะกินกินกิน"...
  • 3 จานที่ผลงานดีที่สุด: เชฟเก่ง เชฟพลอย และ เชฟเทียน
  • ผู้ชนะ: เชฟพลอย
  • บททดสอบความคิดสร้างสรรค์ (Invention Test): ในรอบนี้...
  • ผู้ชนะ: เชฟซีตรอง
  • ผู้ที่ตกเป็น 3 จานที่ผลงานแย่ที่สุด: เชฟแมน เชฟเกด และ เชฟเคอร์
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: เชฟแมน

ตอนที่ 9: โอกาสครั้งที่ 2 ของเชฟที่ถูกคัดออก

[แก้]

ออกอากาศ 20 เมษายน 2568[13]

  • การแข่งขันกล่องปริศนา (Mystery Box): ในรอบนี้...
  • 2 จานที่ผลงานดีที่สุด: เชฟเกด และ เชฟเก่ง
  • ผู้ชนะ: เชฟเก่ง
  • ผู้ที่ตกเป็น 3 จานที่ผลงานแย่ที่สุด: เชฟเทียน เชฟลูกจรรย์ และ เชฟซีตรอง
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: เชฟซีตรอง

แต่ก่อนที่เชฟซีตรองออกจากการแข่งขัน คณะกรรมการลงมติให้โอกาสครั้งที่ 2 กับเชฟซีตรองและผู้เข้าแข่งขันที่ถูกคัดออกแล้วมาแข่งขันในรอบถัดไปอีกครั้ง

  • การแข่งขันของผู้ที่ถูกคัดออกแล้ว (Vote Back): ในรอบนี้...
  • ผู้ชนะและกลับเข้าสู่การแข่งขันอีกครั้ง: เชฟ...

ตอนที่ 10: Top 10 Professionals

[แก้]

ออกอากาศ 27 เมษายน 2568[14]

ตอนที่ 11:

[แก้]

ออกอากาศ 4 พฤษภาคม 2568

ตอนที่ 12:

[แก้]

ออกอากาศ 11 พฤษภาคม 2568

ตอนที่ 13:

[แก้]

ออกอากาศ 18 พฤษภาคม 2568

ตอนที่ 14:

[แก้]

ออกอากาศ 25 พฤษภาคม 2568

ตอนที่ 15:

[แก้]

ออกอากาศ 1 มิถุนายน 2568

ข้อวิจารณ์

[แก้]

ในการออกอากาศในตอนที่ 5 ในรอบบททดสอบความคิดสร้างสรรค์ เชฟเชษฐ์ - พิเชษฐ์ สนั่นก้อง ถูกตัดสินว่าเป็น 1 ใน 3 จานที่พลาดมากที่สุดและต้องออกจากการแข่งขันในครั้งนี้ เนื่องจากทำแป้งพายชั้นดิบ ทำให้กรรมการไม่สามารถรับประทานได้ แต่เชฟเชษฐ์ไม่ยอมรับการตัดสินดังกล่าว เชฟป้อมจึงนำจานของเชฟเชษฐ์ไปให้ผู้เข้าแข่งขันคนอื่น ๆ ชิม โดยผู้เข้าแข่งขันคนอื่น ๆ ก็พบว่าแป้งดิบเช่นเดียวกัน แต่เชฟเชษฐ์ก็ยังไม่ยอมรับและประกาศออกจากการแข่งขันในที่สุด ก่อนที่เพจเฟซบุ๊กของมาสเตอร์เชฟไทยแลนด์จะเผยแพร่คำพูดของเชฟเชษฐ์ที่ระบุในท่อนหนึ่งว่า "กรรมการเขาตัดสิน เขาไม่เป็นมืออาชีพพอ" เหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลให้ผู้ใช้สื่อสังคมวิพากษ์วิจารณ์เชฟเชษฐ์อย่างกว้างขวาง[15]

ในการออกอากาศในตอนที่ 6 ในรอบบททดสอบความละเอียดและแม่นยำ เชฟเกด - วิสาขา ระวิจันทร์ และ เชฟจารึก - จารึก ศรีอรุณ ถูกตัดสินให้เป็นจานที่แย่ที่สุดเนื่องจากทำปลากระพงไม่สุกและมีสิทธิ์ที่จะต้องตกรอบทั้งสองคน ซึ่งตามปกติในหลายฤดูกาล ถ้าองค์ประกอบในอาหารไม่สุกจะต้องออกจากการแข่งขันทันที แม้ทำอาหารไม่สุกพร้อมกันทั้งสองคนก็ควรจะต้องออกจากการแข่งขันทั้งคู่ เหตุการณ์รูปแบบนี้เคยมีมาก่อนหน้านี้หลายครั้งแล้ว แต่ในครั้งนี้ไม่ได้โดนคัดออกทั้งสองคน แถมยังมีโอกาสได้แก้ตัวใหม่อีกรอบในสัปดาห์ต่อไป ผู้ใช้สื่อสังคมจึงวิพากษ์วิจารณ์กรรมการเป็นจำนวนมากเกี่ยวกับการตัดสิน[16]

ในการออกอากาศในตอนที่ 7 ในรอบบททดสอบความคิดสร้างสรรค์ เชฟเควส - ชานิน จีมะ ได้วัตถุดิบหลักที่ 2 คือ ปลาร้า ต้องสลับตะกร้ากับเชฟเกด โดยเชฟเควสไม่สามารถทำอาหารจากปลาร้าออกมาได้ เนื่องจากในตะกร้าของเชฟเกดไม่มีโปรตีนที่สามารถนำมาช่วยสร้างสรรค์กับเมนูปลาร้าได้ดีเลย ทำให้เชฟเควสต้องถูกคัดออกจากการแข่งขัน เหตุการณ์นี้สังคมวิพากษ์วิจารณ์ถึงทางทีมงานของรายการที่คิดโจทย์การแข่งขันดังกล่าวว่าทำให้รายการไม่เป็นมืออาชีพตามชื่อรายการมากเพียงพอ เนื่องจากเป็นโจทย์ที่ไม่ได้วัดที่ฝืมือในการทำอาหารอย่างแท้จริง แต่เป็นการวัดดวงมากกว่า[17]

ในการออกอากาศในตอนที่ 8 ในรอบบททดสอบความคิดสร้างสรรค์ เชฟแมน - สราวุธ เนียรวิฑูรย์ ได้สุ่มวัดดวงจากตู้กาชาปองได้แกงโสฬส ซึ่งเป็นแกงไทยโบราณที่หารับประทานได้ยากมากในปัจจุบัน เนื่องจากส่วนประกอบของแกงโสฬสมีไข่เต่าตนุซึ่งเป็นไข่จากสัตว์สงวน ทำให้เชฟแมนไม่รู้จักแกงโสฬส ไม่เคยได้ยินชื่อมาก่อน ไม่เคยรับประทานมาก่อน และไม่รู้ส่วนผสมในการทำแกงว่าต้องใส่วัตถุดิบอะไรลงไปบ้าง ส่งผลให้เชฟแมนไม่สามารถทำแกงโสฬสออกมาให้เหมือนต้นฉบับได้ ทำให้เชฟแมนต้องถูกคัดออกจากการแข่งขัน ในเหตุการณ์ดังกล่าวมีผู้ใช้สื่อสังคมวิพากษ์วิจารณ์รายการเป็นจำนวนมากว่าเป็นการวัดดวงมากกว่าการวัดฝืมือในการทำอาหารเช่นเดียวกับตอนที่ 7 ทั้ง ๆ ที่เชฟทุกคนควรได้รับโจทย์แกงไทยโบราณประเภทเดียวกันทั้งหมด และมองว่าคนที่ได้แกงง่าย ๆ แถมได้การ์ดบอกวัตถุดิบการทำเครื่องแกง แต่ทำอาหารได้จานที่แย่ที่สุด (กรณีนี้คือเชฟเกด - วิสาขา ระวิจันทร์) ควรออกการแข่งขันมากกว่า[18] ต่อมา กิติกร เพ็ญโรจน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของเฮลิโคเนีย เอช กรุ๊ป ออกมาโพสต์ในเฟซบุ๊กของตนโดยมีใจความระบุว่า ในการปฐมนิเทศก่อนเริ่มฤดูกาล และในบางสัปดาห์ รายการได้ให้ผู้เข้าแข่งขันไปศึกษาแกงไทยโบราณมาให้ลึกและมากที่สุดเท่าที่จะทำได้โดยไม่เฉลยโจทย์ เพื่อสืบสานความเป็นไทย ดังนั้น ทุกคนจึงมีเวลาศึกษามาก่อนแข่ง และตอนที่ 8 เปรียบเสมือนการทำข้อสอบ โดยมีผู้แสดงความคิดเห็นเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและผู้ที่ไม่เห็นด้วย และมีบางความคิดเห็นที่เปรียบเทียบกับรายการทำอาหารอื่น ๆ ในเครือ[19][ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "มาแล้ว! รายการดังรวมสุดยอดเชฟมากฝีมือจากหลากหลายเวที". ดาราเดลี่. 23 มกราคม 2025. สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2025.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. 2.0 2.1 "MasterChef The Professionals Thailand สุดปัง ร้อนแรง..ทะยานครองความเป็นหนึ่งบน Netflix". แนวหน้า. 11 กุมภาพันธ์ 2025. สืบค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2025.
  3. "เริ่ด! รายการดังรวมสุดยอดเชฟมากฝีมือแชมป์ต่อไม่รอแล้วนะ". ดาราเดลี่. 18 กุมภาพันธ์ 2025. สืบค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2025.
  4. "18 เชฟเปิดศึกเดือดแห่งศักดิ์ศรีใน "MasterChef The Professionals Thailand"". ไทยรัฐ. 31 มกราคม 2025. สืบค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2025.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. "เปิดฉาก MasterChef The Professionals Thailand สุดดุเดือด 18 เชฟถูกจัดหนัก". ไทยรัฐ. 8 กุมภาพันธ์ 2025. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2025.
  6. "เชฟจารึก-เชฟเกด-เชฟแมน-เชฟแมกซ์-เชฟลูกจรรย์-เชฟเตย เจอบททดสอบสุดโหดไร้ความปรานี". ไทยรัฐ. 15 กุมภาพันธ์ 2025. สืบค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2025.
  7. "17 เชฟ ของัดที่สุดของทักษะ ดิ้นรนหนีรอดพ้นหายนะ". มายาแชนแนล. 21 กุมภาพันธ์ 2025. สืบค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2025.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. "ศึก Food Truck โหดหิน 15 เชฟมืออาชีพสุดทรหดใน MasterChef The Professionals Thailand". สนุก.คอม. 1 มีนาคม 2025. สืบค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2025.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. "MasterChef The Professionals EP.5 : 14 เชฟติดกับดัก ชีวิตสุดวิกฤต ต้องดิ้นรนหนีตาย". ทรูไอดี. 6 มีนาคม 2025. สืบค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2025.
  10. "MasterChef The Professionals EP.6 : 13 เชฟปั่นป่วน หวั่นทำอาหารไร้รสชาติ". ไทยรัฐ. 20 มีนาคม 2025. สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2025.
  11. "เพื่อนรักหักเหลี่ยมโหด "เชฟจารึก" ปะทะ "เชฟเกด" ใน MasterChef The Professionals". ไทยรัฐ. 30 มีนาคม 2025. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2025.
  12. "MasterChef The Professionals EP.8 : เมื่อความหวานสดใส ถูกแปรเปลี่ยนเป็นความขม". ทรูไอดี. 3 เมษายน 2025. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2025.
  13. "MasterChef The Professionals EP.9 : เปิดเกม Vote back หาเพียงหนึ่งเดียวคืนสนามตัวจริง". ทรูไอดี. 16 เมษายน 2025. สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2025.
  14. "MasterChef The Professionals EP.10 : 9 เชฟลุ้นตัวโก่ง ทั้งกดดันทั้งเครียด". ทรูไอดี. 24 เมษายน 2025. สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2025.
  15. "ดราม่า MasterChef Professionals เชฟเชษฐ์ตกรอบ เจ้าตัวโต้กรรมการวุ่น งานนี้ใครผิด". กระปุก.คอม. 10 มีนาคม 2025. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2025.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  16. "ดราม่า MasterChef Professionals เชฟเกด เชฟจารึก ได้แก้ตัวใหม่ทั้งๆที่ทำปลาไม่สุก ควรตกรอบทั้งคู่หรือไม่?". ch7.com. 23 มีนาคม 2025. สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2025.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  17. "ดราม่า MasterChef Professionals เชฟเควส ได้วัตถุดิบเป็นปลาร้าแถมโดนสลับตะกร้าอีก! ความเท่าเทียมอยู่ตรงไหน รายการโปรพอไหม?". daradaily.com. 30 มีนาคม 2025. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2025.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  18. "ดราม่า MasterChef Professionals เชฟแมน โชคร้ายเจอการสุ่มวัดดวงได้แกงโสฬสที่เป็นแกงไทยโบราณที่น้อยคนจะรู้จัก ส่วนคนอื่นสุ่มได้แกงง่าย รายการนี้ไม่ได้วัดฝีมือแต่เป็นการวัดดวง? ความยุติธรรมอยู่ตรงไหน!". ch7.com. 6 เมษายน 2025. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2025.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  19. "Facebook". www.facebook.com. 8 เมษายน 2025. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2025.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]