ข้ามไปเนื้อหา

มาสเตอร์เชฟจูเนียร์ไทยแลนด์ (ฤดูกาลที่ 3)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มาสเตอร์เชฟจูเนียร์ไทยแลนด์
ฤดูกาลที่ 3
พิธีกรปิยธิดา มิตรธีรโรจน์
กรรมการ
จำนวนผู้เข้าแข่งขัน25
สถานที่แข่งขันเดอะ สตูดิโอ พาร์ค อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ
ประเทศประเทศไทย
จำนวนตอน1 (ณ วันที่ 2 มิถุนายน 2567 (2567-06-02))
การออกอากาศ
เครือข่ายช่อง 7HD
ออกอากาศ2 มิถุนายน 2567 (2567-06-02) –
ปัจจุบัน
ลำดับฤดูกาลที่
← ก่อนหน้า
ฤดูกาลที่ 2

มาสเตอร์เชฟจูเนียร์ไทยแลนด์ ฤดูกาลที่ 3 เป็นรายการเรียลลิตีโชว์แข่งขันทำอาหารสำหรับเด็กในฤดูกาลที่ 3 และเป็นการกลับมาออกอากาศอีกครั้งในรอบ 5 ปี ของมาสเตอร์เชฟจูเนียร์ไทยแลนด์ ผลิตโดย บริษัท เฮลิโคเนีย เอช กรุ๊ป จำกัด ดำเนินรายการโดยปิยธิดา มิตรธีรโรจน์ (ป๊อก) และมีคณะกรรมการในการตัดสินคือ หม่อมหลวงภาสันต์ สวัสดิวัตน์ (คุณอิงค์), หม่อมหลวงขวัญทิพย์ เทวกุล (คุณป้อม) และพงษ์ธวัช เฉลิมกิตติชัย (เชฟเอียน) ออกอากาศทางช่อง 7HD เริ่มออกอากาศครั้งแรกในวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2567

รูปแบบรายการ[แก้]

งานสร้าง[แก้]

เมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2567 มีการประกาศผลิตรายการมาสเตอร์เชฟจูเนียร์ไทยแลนด์ เป็นฤดูกาลที่ 3 โดยเปิดรับสมัครผู้เข้าแข่งขันสำหรับฤดูกาลนี้ ซึ่งได้ปรับลดอายุผู้เข้าแข่งขันลงมาเล็กน้อย จากเดิม 8-13 ปี เป็น 8-12 ปี[1] ต่อมาเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม ได้ประกาศว่ารายการจะเริ่มออกอากาศครั้งแรกในวันที่ 2 มิถุนายน โดยยังคงใช้พิธีกรและกรรมการชุดเดิมจากมาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ทุกเวอร์ชั่นทั้งหมด[2] แต่มีการปรับเปลี่ยนพื้นหลังของห้องสัมภาษณ์ใหม่

ผู้เข้าแข่งขัน[แก้]

ชื่อ อายุ[^] ภูมิลำเนา ลำดับการแข่งขัน จำนวนชนะ
ณัฐพิสิษฐ์ เลิศมุกดา (คานี่) 9 กรุงเทพมหานคร อยู่ในระหว่างการแข่งขัน 2
พิทย์รดา วศินพงศ์วณิช (เกรซ) 8 จังหวัดนนทบุรี 0
กร อมาตยกุล (ดราโก้) 11 กรุงเทพมหานคร 1
เอดิสันต์ เชน (ซัญ) 8 กรุงเทพมหานคร 1
แพนเตอร์ คอร์ป ไดเรนดัล (แพนเตอร์) 9 กรุงเทพมหานคร 0
ภควุฒิ ศิริบรรจงโชค (วิน) 8 กรุงเทพมหานคร 1
ณธกร บุญกาญจนรัตน์ (ฟรอยด์) 9 กรุงเทพมหานคร 0
เอกตระการ เชี่ยวพัทธยากร (เอตะ) 11 จังหวัดร้อยเอ็ด 1
ซันนี่ ซู บริบูรณ์ (ซันนี่) 9 กรุงเทพมหานคร 0
แอรี่เม แซ่เจ๋า (แอรี่) 11 จังหวัดเชียงราย 1
ชัยกฤต เลาหะวัฒนะ (แซค) 11 กรุงเทพมหานคร 1
ธัญชนก รัตตะมณี (น้ำใจ) 9 จังหวัดเชียงใหม่ 0
กรรณปกร อภิบุญอำไพ (ซันจิ) 11 กรุงเทพมหานคร 2
อลีนา มารี จาง (อลีน่า) 8 กรุงเทพมหานคร 1
สุคนธา วัชรพินธุ์ (บัวหอม) 11 จังหวัดภูเก็ต 2
อนัญญา วราเศรษฐ์ (เอญ่า) 10 กรุงเทพมหานคร 1
นรโชติ ศิริบรรจงโชค (ชิน) 11 จังหวัดขอนแก่น 0
ณัฐวรรธน์ ศรีวานิชภูมิ (คอปเตอร์) 8 กรุงเทพมหานคร 0
วิกตอเรีย ยูจิน จู (ยูจิน) 9 กรุงเทพมหานคร 1
ภีมพศ แก้วสีหาบุตร (รถถัง) 11 จังหวัดสมุทรปราการ 1
พูมา คอร์ป ไดเรนดัล (พูม่า) 8 กรุงเทพมหานคร 0
ปาณพุฒิ ศักตายาวนิช (ปาณพุฒิ) 8 จังหวัดชลบุรี ถูกคัดออก
วันที่ 9 มิถุนายน
0
เฌอนิตา ศรีจันทร์งาม (ผิงอัน) 8 จังหวัดเชียงใหม่ 0
นภัทร พงษ์จรัสพันธ์ (พร้อม) 10 กรุงเทพมหานคร ถูกคัดออก
วันที่ 2 มิถุนายน
0
นัทธ์ชวัล พงศ์ภัทรวิจิตร (เพลงเพราะ) 11 จังหวัดขอนแก่น 0

ข้อมูลการแข่งขัน[แก้]

ตารางการคัดออก[แก้]

อันดับ ผู้เข้าแข่งขัน ตอนที่
1 2 3
รอประกาศ เอตะ ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน
แซค ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน
เอญ่า ผ่าน เสี่ยง ชนะ ผ่าน
บัวหอม ผ่าน ชนะ ชนะ ผ่าน
คานี่ ชนะ ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน
แอรี่ ผ่าน ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน
ยูจิน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน
ซัญ ผ่าน ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน
ดราโก้ ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน
วิน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน
ซันจิ ผ่าน ชนะ ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน
รถถัง สูง ผ่าน ผ่าน ผ่าน ชนะ ผ่าน
คอปเตอร์ ผ่าน เสี่ยง ผ่าน ผ่าน ผ่าน ชนะ
ฟรอยด์ ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน สูง
แพนเตอร์ ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน
ซันนี่ ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน
น้ำใจ ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน
อลีน่า ผ่าน ชนะ ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน
พูม่า ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน
ชิน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน
เกรซ สูง ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน เสี่ยง
22 ปานพุฒิ ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ออก
ผิงอัน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ออก
24 พร้อม ผ่าน ออก
เพลงเพราะ ผ่าน ออก
  (ชนะเลิศ) ผู้ชนะเลิศการแข่งขัน
  (รองชนะเลิศ) รองชนะเลิศการแข่งขัน
  (ชนะ) ผู้เข้าแข่งขันที่ชนะชาแลนจ์ (กล่องปริศนา หรือ บททดสอบความคิดสร้างสรรค์)
  (ชนะ) ผู้เข้าแข่งขันที่ชนะในรอบทีม
  (สูง) ผู้เข้าแข่งขันที่เข้าชิงเป็นจานที่ดีที่สุด
  (ผ่าน) ผู้เข้าแข่งขันที่ผ่านเข้ารอบต่อไป
  (ผ่าน) ผู้เข้าแข่งขันที่ได้รับสิทธิ์การคุ้มกัน ทำให้ผ่านเข้ารอบต่อไปในทันที
  (กดดัน) ผู้เข้าแข่งขันที่ต้องเข้าแข่งขันในรอบคัดออก (บททดสอบความละเอียดและความแม่นยำ)
  (ต่ำ) ผู้เข้าแข่งขันที่ยืนเป็น 1 ในจานที่แย่ที่สุด
  (ต่ำ) ผู้เข้าแข่งขันที่ทำผลงานได้แย่ที่สุด แต่ไม่ต้องออกจากการแข่งขัน
  (เสี่ยง) ผู้เข้าแข่งขันที่เสี่ยงในการถูกคัดออก
  (ถอนตัว) ผู้เข้าแข่งขันที่ถอนตัวออกจากการแข่งขัน
  (ออก) ผู้เข้าแข่งขันที่ถูกคัดออกประจำสัปดาห์

ข้อมูลการออกอากาศ[แก้]

ตอนที่ 1 : การทดสอบทักษะการทำอาหารขั้นพื้นฐาน[แก้]

ออกอากาศ 2 มิถุนายน 2567

ก่อนเริ่มการแข่งขัน คณะกรรมการได้มอบผ้ากันเปื้อนให้น้อง ๆ ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 25 คน โดยผ้ากันเปื้อนซ่อนอยู่ในลูกโป่งใบใหญ่ (ลักษณะเดียวกับในฤดูกาลที่ 2) น้อง ๆ ผู้เข้าแข่งขันต้องทำลายลูกโป่งให้แตกจึงจะได้ผ้ากันเปื้อนไป แต่ทว่าเชฟเอียนได้อำน้อง ๆ ผู้เข้าแข่งขัน โดยบอกว่ามีผ้ากันเปื้อนไม่ครบ ซึ่งสุดท้ายมี 2 คนที่ไม่ได้ผ้ากันเปื้อน เชฟเอียนจึงประกาศให้ทั้งคู่กลับบ้าน แต่หลังจากนั้นเชฟเอียนก็หยิบผ้ากันเปื้อนออกมามอบให้น้อง ๆ อีก 2 คนที่เหลือกลับเข้าแข่งขันตามเดิม

  • การแข่งขันรอบกล่องปริศนา: ภายในกล่องปริศนามี อกไก่ ข้าวหอมมะลิ เส้นสปาเกตตี เบบี้แครอท บรอกโคลี โหระพา มันฝรั่ง ชีส มะเขือเทศ มะเขือเปราะ ไข่ไก่ และลิ้นวัว น้อง ๆ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องนำวัตถุดิบเหล่านี้มาทำอาหารที่ดีที่สุด 1 เมนู เพื่อทดสอบทักษะการทำอาหารขั้นพื้นฐาน โดยมีเวลาในการทำอาหาร 60 นาที หลังจากที่กรรมการได้ชิมอาหารของน้อง ๆ ผู้เข้าแข่งขันแล้ว ผู้ที่เป็น 3 จานที่ดีที่สุดในรอบนี้ คือ รถถัง, คานี่ และ เกรซ และผู้ชนะ ได้แก่ คานี่ โดยได้ผ่านเข้ารอบโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องแข่งขันในรอบถัดไป และยังได้สิทธิ์นำ "แอปเปิลแดงแทนหัวใจ" จำนวน 11 ลูก ไปมอบให้เพื่อนอีก 11 คน ให้ผ่านเข้ารอบไปด้วยโดยไม่ต้องทำการแข่งขัน โดยคานี่ได้มอบแอปเปิลให้แก่ ดราโก้, เกรซ, ซัญ, แพนเตอร์, วิน, ฟรอยด์, เอตะ, ซันนี่, แอรี่, แซค และ น้ำใจ
  • ผู้ที่ได้เข้าชิงเป็นจานที่ดีที่สุด: รถถัง, คานี่ และ เกรซ
  • ผู้ชนะ: คานี่
  • บททดสอบความคิดสร้างสรรค์: โจทย์ในการแข่งขันรอบบททดสอบความคิดสร้างสรรค์ คือ หมู โดยเชฟเอียนได้ให้น้อง ๆ ผู้เข้าแข่งขันซึ่งเหลืออยู่ 13 คน ไปจับหมูมาคนละ 1 ตัว แต่หลังจากนั้นเชฟเอียนได้เรียกคืนหมูตัวเป็น ๆ ทั้งหมด และเปลี่ยนมานำหมูสามชั้นมามอบให้แทน น้อง ๆ ผู้เข้าแข่งขันจะต้องใช้หมูสามชั้นมาเป็นวัตถุดิบหลักในการทำอาหาร โดยมีเวลาในการทำอาหาร 60 นาที หลังจากที่กรรมการได้ชิมอาหารของน้อง ๆ ผู้เข้าแข่งขันแล้ว ผู้ที่เป็น 3 จานที่ดีที่สุดในรอบนี้ คือ ซันจิ, อลีน่า และ บัวหอม ส่วนผู้เข้าแข่งขัน 4 คนที่ทำอาหารออกมาได้ผิดพลาดมากที่สุดคือ คอปเตอร์, พร้อม, เพลงเพราะ และ เอญ่า โดยคณะกรรมการเห็นว่าความคิดสร้างสรรค์ของทั้ง 4 คนไม่เพียงพอ แต่คอปเตอร์ชูวัตถุดิบหลักได้ดีที่สุดใน 4 คน และเอญ่าชูวัตถุดิบหลักได้พอใช้ ทั้ง 2 คนจึงได้กลับเข้าแข่งขันต่อ ส่งผลให้ผู้ที่ต้องออกจากการแข่งขันคือ พร้อม และ เพลงเพราะ
  • ผู้ที่เป็นสามจานที่ดีที่สุด: ซันจิ, อลีน่า และ บัวหอม
  • ผู้ที่ตกเป็นสี่อันดับอาหารไม่สร้างสรรค์: คอปเตอร์, พร้อม, เพลงเพราะ และ เอญ่า
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: พร้อม และ เพลงเพราะ

ตอนที่ 2 : กรรมการรับเชิญที่เด็กๆ ต้องหวาดกลัว[แก้]

ออกอากาศ 9 มิถุนายน 2567

ในตอนนี้ เนื่องจากเชฟเอียนไม่อยู่เพื่อเตรียมสถานที่สำหรับการแข่งขันในรอบต่อไป จึงมีแขกรับเชิญคือ เชฟวิลแมน ลีออง เชฟผู้ก่อตั้งสถาบัน Thailand Culinary Academy สถาบันฝึกสอนเชฟทีมชาติไทย และกรรมการตัดสินรายการท็อปเชฟไทยแลนด์และเฮลล์คิทเช่นไทยแลนด์ ซึ่งเชฟวิลแมนเคยมาเป็นแขกรับเชิญในรายการจูเนียร์ มาสเตอร์เชฟ ไทยแลนด์ และ มาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ ซีซันที่ 6 ตอนที่ 15 - ตอนที่ 16

  • บททดสอบทักษะการทำอาหาร: ในรอบนี้จะแบ่งออกเป็น 3 รอบ โดยในแต่ละรอบจะคัดน้อง ๆ ผู้เข้าแข่งขันผ่านเข้ารอบทันที จำนวนรอบละ 4 คน รวม 12 คน
    • รอบที่ 1: ภายในตะกร้ามีไข่ น้อง ๆ ผู้เข้าแข่งขัน จะต้องแยกไข่แดง-ไข่ดาว จำนวน 15 ฟอง โดยไข่แดงจะต้องไม่แตก และไม่มีไข่ขาวปน โดยเชฟวิลแมนจะเป็นผู้ตัดสิน ซึ่ง 4 คนแรกที่ทำได้ถูกต้องและเร็วที่สุด จะผ่านเข้ารอบต่อไป
    • ผู้ที่ผ่านเข้ารอบ: เอตะ แซค เอญ่า และบัวหอม
    • รอบที่ 2: น้อง ๆ ผู้เข้าแข่งขัน จะต้องขอดเกล็ดและให้ควักไส้ปลากะพง เพื่อวัดทักษะขั้นพื้นฐานในการจัดการวัตถุดิบ โดยเชฟป้อมจะเป็นผู้ตัดสิน ซึ่ง 4 คนแรกที่ทำได้เร็วที่สุด จะผ่านเข้ารอบต่อไป
    • ผู้ที่ผ่านเข้ารอบ: คานี่ แอรี่ ยูจิน และซัญ
    • รอบที่ 3: น้อง ๆ ผู้เข้าแข่งขัน จะต้องทำข้าวผัดกุ้งคนละ 1 จาน เพื่อวัดทักษะด้านรสชาติ โดยหม่อมหลวงภาสันต์จะเป็นผู้ตัดสิน ซึ่ง 4 คนที่ทำได้รสชาติอร่อยและเร็วที่สุด จะผ่านเข้ารอบต่อไป
    • ผู้ที่ผ่านเข้ารอบ: ดราโก้ วิน ซันจิ และรถถัง
  • ผู้ที่ผ่านเข้ารอบทั้ง 3 รอบ: เอตะ แซค เอญ่า บัวหอม คานี่ แอรี่ ยูจิน ซัญ ดราโก้ วิน ซันจิ และรถถัง
  • บททดสอบความคิดสร้างสรรค์: โจทย์ในการแข่งขันรอบบททดสอบความคิดสร้างสรรค์ คือ ขนมปังแผ่นฟาร์มเฮาส์ อิงลิช เบรด น้อง ๆ ผู้เข้าแข่งขันที่เหลืออยู่ 11 คน จะต้องนำขนมปังแผ่นมาทำเป็นนิวแซนด์วิชสุดสร้างสรรค์คนละ 1 เมนู โดยสามารถใส่ไส้ได้ตามใจชอบ มีเวลาในการทำอาหาร 60 นาที หลังจากที่กรรมการได้ชิมอาหารของน้อง ๆ ผู้เข้าแข่งขันแล้ว (รอเพิ่มข้อมูล)
  • ผู้ที่เป็นสองจานที่ดีที่สุด: คอปเตอร์ และ ฟรอยด์
  • ผู้ชนะ: คอปเตอร์
  • ผู้ที่ตกเป็นสามอันดับอาหารไม่สร้างสรรค์: เกรซ, ปาณพุฒิ และ ผิงอัน
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: ปาณพุฒิ และ ผิงอัน

ตอนที่ 3 : ภารกิจแบบทีมครั้งแรกของฤดูกาล[แก้]

  • บททดสอบภารกิจแบบทีม: สัปดาห์นี้ได้แบ่งทีมเป็นสองทีม โดยผู้ที่ชนะจากรอบสัปดาห์ที่แล้ว คือ คอปเตอร์ และฟรอยด์ที่เป็นรองชนะเลิศ มาเป็นหัวหน้าทีมทั้ง 2 ทีม โดยผลัดกันเลือกลูกทีมทีละคนเข้าทีม ผลออกมาดังนี้ (รอเพิ่มข้อมูล)

ข้อวิจารณ์[แก้]

ในช่วงต้นของการออกอากาศตอนแรกในฤดูกาลนี้ มีผู้เข้าแข่งขันของรายการคนหนึ่งพูดพาดพิงถึงเชฟป้อม (คณะกรรมการ) ในเชิงลบในรายการ จึงถูกแฟนคลับรายการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับมารยาททางสังคมของเขา แต่หลังจากรายการออกอากาศตอนแรกเสร็จสิ้น เชฟบิ๊ก - อรรถสิทธิ์ พัฒนเสถียรกุล ผู้ชนะเลิศของท็อปเชฟไทยแลนด์ 2023 ซึ่งเป็นญาติของผู้เข้าแข่งขันคนดังกล่าว ได้โพสต์เฟซบุ๊กว่า หลังจากเหตุการณ์เกิดขึ้น ผู้เข้าแข่งขันคนนั้นได้ขอโทษเชฟป้อมหลังไมค์แล้ว และครอบครัวจะอบรมผู้เข้าแข่งขันคนดังกล่าวเพิ่มเติม[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. @masterchef_thailand (22 มกราคม 2024). "MasterChef Junior Thailand Season 3 เปิดรับสมัครแล้ว". สืบค้นเมื่อ 23 พฤษภาคม 2024 – โดยทาง อินสตาแกรม.
  2. @masterchef_thailand (23 พฤษภาคม 2024). "2 มิ.ย. นี้ ! กลับมาอีกครั้งในรอบ 5 ปี ของรายการเรียลลิตี้แข่งขันทำอาหารรุ่นเด็กที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก". สืบค้นเมื่อ 23 พฤษภาคม 2024 – โดยทาง อินสตาแกรม.
  3. "Facebook". www.facebook.com.