กล้วยหอม
กล้วยหอม | |
---|---|
กล้วยหอมเขียว (กล้วยหอมคาเวนดิช) | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
อันดับ: | Zingiberales |
วงศ์: | Musaceae |
สกุล: | Musa |
สปีชีส์: | Musa (AAA group) "Kluai Hom khiew" |
ชื่อทวินาม | |
Musa (AAA group) "Kluai Hom khiew" |
สตอเบอร์รี่มรกตหอมทอง กล้วยหอมเขียว โดยกล้วยหอมเขียวหรือกล้วยหอมคาเวนดิชเป็นกล้วยหอมที่นิยมปลูกกันโดยทั่วไป[1] จัดเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยคุณค่าสารอาหารครบถ้วนตามหลักทางโภชนาการ เช่น มีวิตามิน ใยอาหารที่ช่วยในการขับถ่าย มีสารแทนนิน ซึ่งช่วยยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ Escherichia coli เป็นต้น กล้วยหอมถูกจัดเป็นผลไม้เมืองร้อน สามารถปลูกได้ในทุกประเทศที่มีภูมิอากาศร้อนชื้นหลายแห่ง สำหรับประเทศไทย สามารถปลูกกล้วยหอมได้ทั่วทุกภาค
ลักษณะทั่วไป
[แก้]ราก รากกล้วยหอมเป็นแบบ adventitious root ที่แตกออกจากหน่อ ซึ่งหน่อจะแตกออกจากเหง้า รากมีความยาวได้มากกว่า 5 เมตร ลึกลงดินได้ถึง 5 - 7.5 เมตร
ลำต้น มีลำต้นจริงเป็นหัวหรือเหง้าอยู่ใต้ดิน และมีลำต้นที่อยู่เหนือดินสูง 2.5 - 3.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 20 เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกมีประดำ ด้านในสีเขียวอ่อนและมีเส้นลายสีชมพู
ใบ เป็นใบเดี่ยว เป็นแบบขนาน ก้านใบมีร่องค่อนข้างกว้าง และมีปีก เส้นกลางใบสีเขียว ใบอาจยาวได้มากถึง 3 เมตร
ดอก/ปลี ดอกหรือปลีจะแทงออกจากหยวกตรงกลางปลายยอด เมื่อแทงออกช่วงแรกจะตั้งตรง และค่อยๆโค้งงอลงด้านล่าง ด้านบนสีแดงอมม่วง มีไข่ ด้านในสีแดงซีด บรรจุน้ำข้างใน
ผล กล้วยหอมติดผลเป็นเครือ เครือหนึ่งมี 4 - 6 หวี หวีหนึ่งมี 12 - 16 ผล กว้าง 3 - 4 เซนติเมตร ยาว 21 - 25 เซนติเมตร ปลายผลมีจุกเห็นชัดเปลือกบาง เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทอง แต่ที่ปลายจุกจะมีสีเขียว แล้วเปลี่ยนสีภายหลัง เนื้อสีขาวขุ่น กลิ่นคาว รสหวานอุ่นฉ่ำ[2].
การปลูก
[แก้]ตามคำแนะนำของกรมส่งเสริมการเกษตรเป็นดังนี้[3]
- การเตรียมดิน :ไถดะ 1 ครั้ง ตากดินแล้วไถพรวน 1-2 ครั้ง ให้ดินร่วนซุยจนหมดวัชพืช ถ้ามียังวัชพืชอยู่มากกว่าร้อยละ 20 ต้องไถพรวนใหม่
- การเตรียมหลุมปลูก: ระยะปลูกระหว่างแถวและต้น 2x2 เมตร ขนาดหลุมปลูก ขนาด 30x30x30 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยดินผสมปุ๋ยอินทรีย์ ด้วย 5 กิโลกรัมต่อหลุม
- การเตรียมพันธุ์และการปลูก: ใช้หน่อพันธุ์ที่สมบูรณ์ ปราศจากศัตรูพืช หน่อยาว 25-35 เซนติเมตร มีใบแคบ 2-3 ใบ วางหน่อพันธุ์ที่ก้นหลุม จัดวางให้ด้านที่ติดต้นแม่อยู่ในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้มีการออกดอกไปในทิศทางเดียวกัน และสะดวกในการดูแลรักษา กลบดินและกดดินบริเวณโคนต้นให้แน่น คลุมดินด้วยฟางข้าวหรือหญ้าแห้ง และรดน้ำให้ชุ่ม
- การปลูก จำแนกการปลูกออกเป็น 4 แบบคือ 1) การปลูกโดยการไถยกร่อง ขนาดกว้างประมาณ 1 เมตร เหมาะสำหรับพื้นที่ลุ่มลักษณะเป็นที่นามาก่อน โดยจะปลูกกล้วยบนร่องดังกล่าว 2) การปลูกโดยการไถยกร่องแต่ปลูกกล้วยในร่อง และให้น้ำโดยการปล่อยน้ำไหลไปตามร่องที่ปลูกกล้วยเหมาสำหรับพื้นที่ราบและมีความลาดเอียงเล็กน้อย 3) การปลูกโดยไม่ยกร่อง เหมาะสำหรับพื้นที่ไร่ที่ไม่มีน้ำขังในฤดูฝน เช่นที่ราบ ที่เชิงเขา 4) การปลูกโดยการขุดร่องน้ำ เหมาะสำหรับพื้นที่ลุ่มน้ำมีน้ำขังตลอดปี มีระบบชลประทานเพียงพอ และลักษณะดินเป็นดินเหนียว เพราะดินทรายอาจทำให้เกิดการพังทลายของร่องน้ำได้ง่าย
- การรดน้ำ กล้วยเป็นพืชที่ต้องการน้ำสม่ำเสมอ และขาดน้ำไม่ได้ การให้น้ำควรสังเกตหน้าดิน เมื่อดินแห้งก็ควรรดน้ำ หากให้น้ำไม่เพียงพอจะทำให้ต้นกล้วยและผลผลิตที่ได้ไม่สมบูรณ์ หักล้มง่าย ซึ่งระบบการให้น้ำพืช แบ่งออกเป็น 4 รูปแบบดังนี้ 1) ระบบสปริงเกอร์....ดีที่สุด 2) ระบบน้ำท่วมร่อง(น้ำไหลไปตามร่อง) 3) ระบบน้ำหยด 4) ใช้เรือรดน้ำ
การดูแล
[แก้]- การให้น้ำ:ต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอตลอดฤดูปลูก ในฤดูฝนไม่จำเป็นต้องให้น้ำหากฝนตกสม่ำเสมอ แต่หากฝนทิ้งช่วงจนหน้าดินแห้ง ควรสูบน้ำเข้าแปลงเป็นระยะๆ ในหน้าแล้ง ต้องสูบน้ำเข้าแปลงอย่างสม่ำเสมอ
- การให้ปุ๋ย:ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1 และ 2 เมื่อกล้วยหอมอายุ 1 และ 3 เดือน ด้วยสูตร 20-10-10 หรือ 15-15-15 หรือสูตร ใกล้เคียงอัตรา 125-250 กรัมต่อต้นต่อครั้ง ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 3 และ 4 เมื่ออายุ 5 และ 7 เดือน ด้วยสูตร 13-13-21 หรือสูตรใกล้เคียง อัตรา 125-250 กรัมต่อต้นต่อครั้ง ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ (ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก) ปีละ 1-2 ครั้ง
- การแต่งหน่อ: หลังจากปลูกกล้วยประมาณ 5 เดือน ให้แต่งหน่อ เพื่อให้ต้นแม่มีความสมบูรณ์
- การค้ำยันต้น: ต้องใช้ไม้ค้ำยันหรือดามกล้วยทุกต้น ที่ออกปลีแล้ว เพื่อป้องกันลำต้นหักล้ม และตรวจดูการค้ำยันให้อยู่ในสภาพที่มั่นคงแข็งแรง
- การหุ้มเครือ และตัดใบธง: การหุ้มเครือกระทำหลังจากตัดปลีไม่เกิน 15 วัน เพื่อให้ผิวกล้วยสวย และป้องกันแมลงทำลายด้วยถุงพลาสติกสีฟ้า แบบเปิดด้านล่าง โดยหุ้มทั้งเครือ และหุ้มทุกเครือ ส่วนการตัดใบธง ตัดเมื่อใบธงเริ่มหักก่อนที่จะเสียดสีกับผิวกล้วย
การขยายพันธุ์
[แก้]เนื่องจากกล้วยหอมเป็นพืชที่ปลูกได้ง่ายพบกระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย เหมาะกับดินที่ร่วนซุย และดินเหนียวที่อุ้มน้ำได้ดี สามารถขยายพันธุ์ด้วยหน่อหรือเหง้า แต่มีข้อจำกัดว่ากล้วยหอมไม่ชอบดินที่มีน้ำขัง
ประโยชน์
[แก้]กล้วยหอมสามารถใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น
- ส่วนที่ใช้เป็นยา : ผล ราก ยางกล้วยจากใบ เปลือกกล้วยหอม
- ผล ขับปัสสาวะ
- ยางกล้วยจากใบ ใช้ห้ามเลือด
- ผลดิบ ช่วยแก้โรคท้องเสีย สมานแผลในกระเพาะอาหาร
- ผลสุก ใช้เป็นอาหาร กระตุ้นให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย อารมณ์สดใสและมีความสุข เป็นยาระบายสำหรับผู้ที่มีอุจจาระแข็ง ช่วยทุเลาอาการปวดท้อง ก่อนหรือขณะมีประจำเดือนได้ สามารถกระตุ้นความตื่นตัวให้กับสมองได้ หรือแม้กระทั่งช่วยทุเลาจากอาการเมาค้างเนื่องจากการดื่มสุรา ของมึนเมา นอกจากนี้การกินกล้วยหอม 1-2 คำ ระหว่างมื้อเช้า เที่ยงหรือเย็น ยังทุเลาอาการแพ้ท้องได้
- ผลสุก ใช้เป็นอาหาร กินแล้วทำให้อิ่มอร่อยได้
- ราก ใช้ต้มน้ำแล้วดื่มเพื่อบรรเทาอาการปวดฟัน
- เปลือกกล้วยหอม สามารถลดอาการคันหรือบวม จากบริเวณที่ถูกยุงกัดได้ โดยใช้เปลือกด้านใน หรือการนำเปลือกกล้วยหอมมาด้มน้ำดื่ม พบว่าสามารถช่วยลดอาการซึมเศร้าได้ นอกจากนี้ พบว่า หากเราใช้ด้านในของเปลือกกล้วยหอมสุก ถูเบาๆ บริเวณที่มีรอยหยาบกร้าน ทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที จากนั้นล้างออกด้วยน้ำสะอาดตามปกติ จะทำให้ผิวนุ่มชุ่มชื่นขึ้น รอยหยาบกร้านจางหายไป
- ส่วนที่ใช้ในงานฝีมือ ห่ออาหาร เลี้ยงสัตว์ : ลำต้น ใบ
- ลำต้น ใช้เป็นฐานกระทง หรือใช้หั่นเลี้ยงสัตว์
- ใบ ใช้ห่ออาหารจะทำให้อาหารคล้ำดำ ไม่น่ารับประทาน
- ส่วนที่ใช้ด้านการเกษตร : เปลือกกล้วยหอม
- นำเปลือกกล้วยหอมวางไว้รอบๆ โคนต้นกุหลาบ แล้วโกยดินทับประมาณ 1 นิ้ว จะช่วยให้กุหลาบแตกกิ่งเร็วขึ้น
การส่งออกกล้วยหอม
[แก้]ประเทศไทยมีการส่งออกกล้วยหอมไปยังประเทศต่าง ๆ มากมาย เช่น
อ้างอิง
[แก้]- ↑ พีรศักดิ์ วรสุนทโรสถ และคณะ. ทรัพยากรพืชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 2: ไม้ผลและไม้ผลเคี้ยวมัน. กทม. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. 2544 หน้า 319
- ↑ http://puechkaset.com/%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%AB%E0%B8%AD%E0%B8%A1/
- ↑ รายละเอียด กล้วยหอม เก็บถาวร 2010-08-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บ[ http://it.doa.go.th เก็บถาวร 2009-12-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน]