ข้ามไปเนื้อหา

สตรอว์เบอร์รี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สตรอว์เบอร์รี
ผลของสตรอว์เบอร์รี
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: พืช
หมวด: พืชดอก
ชั้น: พืชใบเลี้ยงคู่
อันดับ: กุหลาบ
วงศ์: กุหลาบ
วงศ์ย่อย: Rosoideae
เผ่า: Potentilleae
เผ่าย่อย: Fragariinae[1]
สกุล: Fragaria
L.
สปีชีส์

มีมากกว่า 20 ชนิด

สตรอว์เบอร์รี (อังกฤษ: strawberry) เป็นสกุลไม้ดอกในวงศ์กุหลาบ ผลสามารถรับประทานได้ ในอดีตปลูกเป็นพืชคลุมดินให้กับต้นไม้ปลูกเลี้ยงอื่น ซึ่งอาจเป็นที่มาของชื่อก็เป็นได้[2] มีมากกว่า 20 สปีชีส์ และมีลูกผสมมากมาย แต่สตรอว์เบอร์รีที่นิยมปลูกมากในปัจจุบันก็คือสตรอว์เบอร์รีสวน (Fragaria × ananassa) ผลของสตรอว์เบอร์รีมีรสชาติหลากหลายขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ มีตั้งแต่รสหวานจนถึงเปรี้ยว สตรอว์เบอร์รีเป็นผลไม้ทางการค้าที่สำคัญ มีปลูกกันเป็นวงกว้างหลายสภาพอากาศทั่วโลก

การเพาะปลูก

[แก้]

แนวโน้มการผลิต

[แก้]
สตรอว์เบอร์รีของโลกซึ่งมีหน่วยเป็นตัน[3]
อันดับ ประเทศ ค.ศ. 2006 ค.ศ. 2007 ค.ศ. 2008 ค.ศ. 2009 ค.ศ. 2010 ค.ศ. 2011 ค.ศ. 2012
1  สหรัฐ 1,090,436 1,109,215 1,148,350 1,270,640 1,293,650 1,316,150 1,384,360
2  สเปน 330,485 269,139 281,240 266,772 275,355 262,730 290,843
3  ตุรกี 211,127 250,316 261,078 291,996 299,940 302,416 351,834
4  เม็กซิโก 191,843 176,396 207,485 233,041 226,657 228,900 360,426
5  อียิปต์ 128,349 174,414 200,254 242,776 238,432 240,284 242,297
6  เกาหลีใต้ 205,307 203,227 192,296 203,772 231,803 171,519 192,140
7  รัสเซีย 227,000 230,400 180,000 185,000 165,000 184,000 174,000
8  ญี่ปุ่น 190,700 191,400 190,700 184,700 177,500 177,300 163,200
9  โปแลนด์ 193,666 174,578 200,723 198,907 153,410 166,159 150,151
10  เยอรมนี 173,230 158,658 150,854 158,563 156,911 154,418 155,828
11  โมร็อกโก 143,315 160,558 155,583 163,044 153,875 150,000 132,292
12  อิตาลี 143,315 160,558 155,583 163,044 153,875 150,000 132,292
13  อังกฤษ 73,900 92,100 104,900 109,900 102,900 101,859 94,843
14  ยูเครน 47,800 40,700 52,900 57,900 57,200 56,000 60,000
15  เบลารุส 47,800 41,800 47,400 54,000 59,200 50,000 47,000
16  ฝรั่งเศส 50,334 44,713 44,142 46,683 51,801 52,481 55,624
17  เนเธอร์แลนด์ 39,200 43,000 42,200 43,000 42,700 47,000 49,700
18  โคลอมเบีย 32,884 40,710 43,920 48,709 43,255 45,024 43,445
19  ชิลี 33,000 40,000 41,000 40,761 40,453 39,260 42,138
20  เบลเยียม 40,500 41,000 37,400 33,000 35,000 37,500 40,500
รวมทั้งโลก 3,931,716 3,962,869 4,122,527 4,593,537 4,361,873 4,235,589 4,621,273

รูปลักษณะ

[แก้]

เป็นพืชล้มลุก แตกกิ่งก้านแผ่ปกคลุมดิน ใบจะรวมกันอยู่ 3 ใบใน 1 ก้าน ขอบใบมีรอยหยัก มีดอกสีขาว ผลมีก้านยาวเชื่อมกับต้น มีเสี้ยนเล็ก ๆ บาง ๆ กระจายอยู่ทั่วผล มีกลีบเลี้ยงบนขั้วของผล เมื่ออ่อนมีสีขาว เหลือง เมื่อสุกจะเป็นสีส้ม หรือแดง รสชาติอมเปรี้ยวถึงหวาน ขึ้นอยู่กับผลที่สุก

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

[แก้]
ไร่สตรอว์เบอร์รี
ผลสตรอว์เบอร์รีที่ยังไม่นำออกจากต้น
  • พื้นที่ที่มีระดับความสูงจากน้ำทะเล800เมตร
  • พื้นที่ที่มีอุณหภูมิ 10-25 องศาเซลเซียส (มีอากาศเย็นตลอดปี)
  • พื้นที่ที่มีดินอุดมสมบูรณ์ เช่น ดินแบบทุ่งหญ้าแพรรี หรือดินร่วนที่อุดมสมบูรณ์
  • มีแสงที่เหมาะสม โดยพืชต้องได้รับแสงประมาณ 8 ชั่วโมงต่อวัน
  • ดินที่ใช้ปลูกควรเป็นดินร่วนปนทราย มีการระบายน้ำได้ดี และมีค่า pH ประมาณ 5.5 – 6.5

ฤดูกาล

[แก้]
  • เริ่มปลูกในช่วงเดือนปลายสิงหาคม ถึง ปลายตุลาคม
  • เริ่มเก็บเกี่ยวช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงช่วงเดือนเมษายนของปีถัดไป

พันธุ์ที่นิยมปลูกในประเทศไทย

[แก้]
  • พันธุ์พระราชทาน 16
  • พันธุ์พระราชทาน 20
  • พันธุ์พระราชทาน 50 (เป็นพันธุ์ที่มูลนิธิโครงการหลวงส่งเสริมให้ปลูก) เป็นพันธุ์ที่เกิดจากการผสมในประเทศสหรัฐอเมริกา และนำเข้ามาคัดเลือกโดยการผสมตัวเองตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 เจริญเติบโตและให้ผลผลิตได้ดีในสภาพอากาศเย็นปานกลาง ทรงพุ่มปานกลางถึงค่อนข้างแน่น ผลผลิตมีคุณภาพดีโดยเฉพาะใกล้สุกเต็มที่ น้ำหนักต่อผล 12 -18 กรัม รูปร่างเป็นลิ่มสีแดงถึงสีแดงเข้มค่อนข้างแข็ง ไม่ต้านทานต่อไร แต่ต้านทานราแป้งได้ดี
  • พันธุ์พระราชทาน 70 (เป็นพันธุ์ที่มูลนิธิโครงการหลวงส่งเสริมให้ปลูก) เป็นสายพันธุ์จากประเทศญี่ปุ่น ใบมีลักษณะกลมใหญ่ และสีเขียวเข้มไม่ทนต่อราแป้ง แต่ทนต่อโรคเหี่ยว ให้ผลผลิตค่อนข้างสูง น้ำหนักต่อผล 11.5 - 13.0 กรัม ผลมีลักษณะทรงกลมหรือทรงกรวย สีแดงสดใสแต่ไม่สม่ำเสมอ เนื้อและผลค่อนข้างแข็ง มีกลิ่นหอม มีความฉ่ำและรสชาติหวาน เปอร์เซ็นต์ความหวาน 9.6° Brix
  • พันธุ์พระราชทาน 72 (เป็นพันธุ์ที่มูลนิธิโครงการหลวงส่งเสริมให้ปลูก) เป็นสายพันธุ์นำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่น ชื่อพันธุ์ TOCHIOTOME ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 น้ำหนักต่อผล 14 กรัม เนื้อผลแข็งกว่าพันธุ์พระราชทาน 70 แต่มีความหวานน้อยกว่าคือ 9.3° Brix มีกลิ่นหอมเมื่อเริ่มสุก เนื้อภายในผลมีสีขาว ผิวผลเมื่อสุกเต็มที่จะมีสีแดงถึงแดงจัด เงาเป็นมันที่ผิวผล ทนต่อการขนส่งมากกว่าพันธุ์อื่น
  • พันธุ์พระราชทาน 80 (เป็นพันธุ์ที่มูลนิธิโครงการหลวงส่งเสริมให้ปลูก ตั้งแต่ปีพ พ.ศ. 2552 เป็นต้นมา) เป็นสายพันธุ์ที่มาจากประเทศญี่ปุ่น ชื่อพันธุ์ Royal Queen
  • พันธุ์ 329 (Yale) เป็นพันธุ์ที่กรมส่งเสริมการเกษตรส่งเสริมให้กับเกษตรกรปลูก เป็นพันธุ์ที่มาจากประเทศอิสราเอล

สารอาหาร

[แก้]

แหล่งปลูกที่สำคัญในประเทศไทย

[แก้]

พันธุศาสตร์

[แก้]

สตรอว์เบอร์รีมีพันธุศาสตร์ออกตะพลอยด์ที่ซับซ้อน (8 โครโมโซม)[4] ตลอดจนการสกัดดีเอ็นเอลักษณะนิยม ทั้งนี้ สตรอว์เบอร์รีมีลำดับที่ได้รับการค้นพบเป็นจำนวน 7,096 ยีน[5]

อาการแพ้

[แก้]

ผู้คนบางรายมีประสบการณ์ในการมีอาการแอนาฟิแล็กซิสจากการรับประทานสตรอว์เบอร์รี[6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Fragaria". Germplasm Resources Information Network. United States Department of Agriculture. 2008-03-03. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-15. สืบค้นเมื่อ 2009-02-17.
  2. Wiktionary entry for "strawberry"
  3. "Faostat". Faostat.fao.org. 16 January 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-19. สืบค้นเมื่อ 9 March 2013.
  4. PMID 24282021 (PMID 24282021)
    Citation will be completed automatically in a few minutes. Jump the queue or expand by hand
  5. PMID 20849591 (PMID 20849591)
    Citation will be completed automatically in a few minutes. Jump the queue or expand by hand
  6. "Children and food allergies". California Pacific Medical Center. 2013. สืบค้นเมื่อ 27 April 2014.

หนังสืออ่านเพิ่ม

[แก้]
  • Khanizadeh, S. and J. DeEll. 2005. "Our Strawberries/ Les Fraisiers de Chez Nous ", A Description of Over 170 Strawberry Cultivars along with Regional Evaluation and Details Information Used for Plant Breeder’s Right Office. PWGSC, Publishing and Depository Services, Ottawa, Ont. ISBN 0-660-62338-2.
  • Hancock, J.F. (1999). Strawberries (Crop Production Science in Horticulture). CABI. ISBN 978-0-85199-339-3

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]