ข้ามไปเนื้อหา

ปูอัด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปูอัด
ปูอัด
ชื่ออื่นเนื้อปูเทียม
แหล่งกำเนิดประเทศญี่ปุ่น
ส่วนผสมหลักปลาเนื้อสีขาว

ปูอัด[1] เป็นอาหารประเภทคามาโบโกะ มีส่วนผสมในการผลิตคือเนื้อปลาบด มีรูปร่างคล้ายก้ามปูหรือขาปูโดยที่เห็นบ่อย ๆ ในตลาดจะมีรูปแบบคล้ายขาของปูหิมะหรือปูแมงมุมญี่ปุ่น[2]

ส่วนมากปูอัดจะทำมาจากปลาอะแลสกาพอลล็อกซึ่งสามารถพบในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนเหนือ และส่วนผสมอื่น ๆ เช่น ข้าวสาลี ไข่ขาว[2]หรืออาจเพิ่มสารประกอบอื่น ๆ ด้วย เช่น กลิ่นปูเทียม[3] และสีแดงที่ผิวด้านนอก

ประวัติ

[แก้]

บริบัทซูงิโย (Sugiyo Co., Ltd., ญี่ปุ่น: スギヨโรมาจิSugiyo) ของประเทศญี่ปุ่นได้จดสิทธิบัตรเนื้อปูเทียมขึ้นใน ค.ศ. 1973 ในชื่อคานิกามะ (Kanikama)

ใน ค.ศ. 1974 บริษัทโอซากิ (Osaki Suisan Co., Ltd.,) ของประเทศญี่ปุ่นได้จดสิทธิบัตรเนื้อปูเทียมที่มีลักษณะเป็นแท่งขึ้น

ใน ค.ศ. 1976 บริษัทบาเรลซัน (The Berelson Company) ในซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐ ซึ่งทำงานกับบริบัทซูงิโยได้แนะนำว่าคานิกามะนั้นเป็นชื่อที่ใช้ในประเทศญี่ปุ่น แต่ในต่างประเทศนั้นได้ใช้ชื่อว่า Krab Sticks, Ocean Sticks, Sea Legs และ Imitation Crab Sticks เนื่องจากในทางกฎหมายนั้นไม่สามารถใช้ชื่อ Crab Sticks ได้เพราะเนื่อปูเทียมนี้ไม่มีส่วนผสมของเนื้อปู[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ราชบัณฑิตยสถาน (2009). พจนานุกรมคำใหม่ เล่ม 2 ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (PDF). กรุงเทพฯ: ยูเนียนอุลตร้าไวโอเร็ต. p. 79.
  2. 2.0 2.1 Laura, Campo-Deano; Clara Tovar (October 2009). "The effect of egg albumen on the viscoelasticity of crab sticks made from Alaska Pollock and Pacific Whiting surimi". Food Hydrocolloids. 23 (7): 1641–1646. doi:10.1016/j.foodhyd.2009.03.013.
  3. Gritzer, Daniel (July 22, 2008). "Mystery science eater – Time Out New York". Newyork.timeout.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-14. สืบค้นเมื่อ 2017-06-30.
  4. "What's in a Name: Crabless Crab Legs No Longer Imitation". Wall Street Journal. December 13, 2006. สืบค้นเมื่อ August 31, 2010.(ต้องรับบริการ)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]