มาสเตอร์เชฟ ออล สตาร์ส ไทยแลนด์
มาสเตอร์เชฟ ออล สตาร์ส ไทยแลนด์ | |
---|---|
พิธีกร | ปิยธิดา มิตรธีรโรจน์ |
กรรมการ | ม.ล.ภาสันต์ สวัสดิวัตน์ ม.ล.ขวัญทิพย์ เทวกุล พงษ์ธวัช เฉลิมกิตติชัย |
ประเทศแหล่งกำเนิด | ไทย |
จำนวนตอน | 17 |
การผลิต | |
ผู้อำนวยการผลิต | กิติกร เพ็ญโรจน์, บริษัท เฮลิโคเนีย เฮช กรุ๊ป จำกัด |
ความยาวตอน | 85-90 นาที (ตอนที่ 1-8) 110-120 นาที (ตอนที่ 9 เป็นต้นไป) |
ออกอากาศ | |
เครือข่าย | ช่อง 7 เอชดี |
ออกอากาศ | 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 – 2 สิงหาคม พ.ศ. 2563 |
มาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ เป็นรายการเกมโชว์ทำอาหาร โดยในฤดูกาลนี้ทำออกมาในรูปแบบ ออล สตาร์ส ซึ่งเป็นการนำผู้เข้าแข่งขันที่มีความโดดเด่นจากฤดูกาลก่อน มาแข่งขันอีกครั้งหนึ่ง ออกอากาศครั้งแรกในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ทางช่อง 7 เอชดี ดำเนินรายการโดยปิยธิดา มิตรธีรโรจน์ (ป๊อก) และมีกรรมการคือ หม่อมหลวงภาสันต์ สวัสดิวัตน์ (คุณอิงค์), หม่อมหลวงขวัญทิพย์ เทวกุล (เชฟป้อม) และพงษ์ธวัช เฉลิมกิตติชัย (เชฟเอียน)[1][2][3] รายการออกอากาศจนถึงวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2563 ก่อนจะพักการออกอากาศอย่างไม่มีกำหนด เนื่องจากการระบาดทั่วของไวรัสโคโรนาในประเทศไทย ทำให้ไม่สามารถถ่ายทำรายการต่อได้ จนกระทั่งวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2563 จึงได้มีการออกอากาศตามปกติอีกครั้ง
กติกา
[แก้]รอบกล่องปริศนา (Mystery Box)
[แก้]ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำอาหาร 1 จานจากวัตถุดิบในกล่องปริศนาและวัตถุดิบเสริมที่จัดเตรียมไว้ให้เท่านั้น โดยคณะกรรมการจะทำการคัดเลือกอาหารจำนวน 3 จานที่ดีที่สุดมาชิมอีกครั้งที่โต๊ะของกรรมการและเลือกจานที่ดีที่สุดจาก 3 จานดังกล่าวเพียง 1 จานเท่านั้น โดยผู้เข้าแข่งขันที่เป็นผู้ชนะในรอบนี้จะได้รับสิทธิพิเศษแตกต่างกันออกไปในแต่ละรอบ และจะไม่มีการคัดออกใด ๆ ในรอบนี้ ยกเว้นในบางรอบที่อาจมีการคัดออกในรอบนี้โดยกรรมการจะแจ้งให้ทราบทุกครั้งหากมีการคัดออกในรอบนี้ ในบางครั้ง หากมีการคัดออก จะคัดเลือกอาหารในกลุ่มที่แย่ที่สุดมาชิมอีกครั้งเพื่อหาผู้ที่ถูกคัดออก
รอบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ (Invention Test)
[แก้]ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำอาหาร 1 จานจากโจทย์และวัตถุดิบหลักที่กำหนดให้และต้องทำให้เสร็จภายในเวลาที่กำหนด โดยผู้เข้าแข่งขันสามารถเลือกวัตถุดิบที่จำเป็นต้องใช้ภายในเวลา 3 - 5 นาทีจากห้องจัดเก็บอาหาร (Food Pantry) ของมาสเตอร์เชฟ เมื่อหมดเวลาแล้วผู้เข้าแข่งขันทุกคนจะต้องนำจานอาหารของตนเองมาเสิร์ฟที่โต๊ะของกรรมการตามลำดับการเรียกชื่อของพิธีกร ผู้เข้าแข่งขัน 2 คนที่ทำอาหารได้ดีที่สุดจะได้เป็นหัวหน้าทีมในการแข่งขันรอบการแข่งขันแบบทีมต่อไป ส่วนผู้เข้าแข่งขันที่ทำอาหารได้แย่ที่สุดจะถูกคัดออกจากการแข่งขัน
รอบการแข่งขันแบบทีม (Team Challenge)
[แก้]ผู้เข้าแข่งขันที่เป็นหัวหน้าทีมจะมีสิทธิเลือกผู้เข้าแข่งขันคนอื่นเข้าสู่ทีม โดยผู้ชนะอันดับ 1 จากรอบทดสอบความคิดสร้างสรรค์จะได้สิทธิในการเลือกสมาชิกทีมก่อน และมีสิทธิที่จะเลือกผู้เข้าแข่งขันคนสุดท้ายที่ยังไม่ได้ถูกเลือกเข้าสู่ทีมให้กับอีกทีมหนึ่ง หรือเลือกที่จะเก็บไว้ในทีมตัวเองก็ได้ ในรอบนี้ทั้ง 2 ทีมจะต้องทำอาหารให้กับผู้ลงคะแนนที่ทางรายการเชิญมาในสถานการณ์และวัตถุดิบหลักที่แตกต่างกันในแต่ละรอบ โดยผลแพ้หรือชนะนั้นจะมาจากการที่ผู้ลงคะแนนเลือกที่จะให้คะแนนทีมใดทีมหนึ่งเป็นจำนวนมากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ลงคะแนนทั้งหมด โดยทีมที่ชนะจะได้ผ่านเข้าสู่รอบต่อไปทันที ส่วนทีมที่แพ้นั้นจะต้องแข่งขันในรอบทดสอบความละเอียดและแม่นยำอีกครั้งเพื่อหาผู้เข้าแข่งขันที่ต้องออกจากการแข่งขันต่อไป
รอบทดสอบความละเอียดและความแม่นยำ (Pressure Test)
[แก้]ทีมที่แพ้ในรอบการแข่งขันแบบทีมจะต้องมาแข่งขันในรอบทดสอบความละเอียดและแม่นยำอีกครั้ง เพื่อหาผู้ที่ต้องออกจากแข่งขันอย่างน้อย 1 คน ในบางรอบหัวหน้าของทีมที่แพ้ หรือหัวหน้าทีมของทีมที่ชนะในการแข่งขันในรอบการแข่งขันแบบทีมสามารถเลือกผู้เข้าแข่งขันหรือตัวเองเพื่อผ่านเข้าสู่รอบต่อไปได้โดยไม่ต้องแข่งขันในรอบทดสอบความละเอียดและแม่นยำ ส่วนผู้เข้าแข่งขันที่ทำอาหารได้แย่ที่สุดจะถูกคัดออกจากการแข่งขัน
ผู้เข้าแข่งขัน
[แก้]ผู้เข้าแข่งขัน 20 คนสุดท้าย
[แก้]ชื่อ | อายุ[^] | ภูมิลำเนา | อาชีพก่อนเข้ามาแข่งขัน | จากซีซัน | ลำดับเดิม | ลำดับการแข่งขัน | จำนวนชนะ |
---|---|---|---|---|---|---|---|
เจสสิก้า หวัง (เป่าเป้) | 25 | กรุงเทพมหานคร | ธุรกิจส่วนตัว | 3 | 4 | ชนะเลิศ วันที่ 2 สิงหาคม |
7 |
น้ำทิพย์ ภูศรี (จ๋า) | 28 | กรุงเทพมหานคร | ช่างซ่อมรถยนต์ | 2 | 4 | รองชนะเลิศ วันที่ 2 สิงหาคม |
4 |
ชานิน จีมะ (เควส) | 27 | กรุงเทพมหานคร | นักวาดรูปอิสระ | 3 | 2 | 5 | |
รภัสสรณ์ จิรจุรีย์ชัย (ลัท) | 32 | ลำปาง | ขายของออนไลน์ | 2 | 2 | ถูกคัดออก วันที่ 26 กรกฎาคม |
4 |
แบงค์ เจตะสานนท์ (แบงค์) | 40 | กรุงเทพมหานคร | พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน | 2 | 4 | 3 | |
อลิษา ดอว์สัน (ริซ่า) | 32 | กรุงเทพมหานคร | ครูสอนภาษาอังกฤษ | 1 | 2 | ถูกคัดออก วันที่ 12 กรกฎาคม |
5 |
สัญญา ธาดาธนวงศ์ (กอล์ฟ) | 39 | กรุงเทพมหานคร | ช่างภาพอิสระ | 2 | 9 | 3 | |
คมสันต์ วงค์ษา (เดียว) | 28 | แม่ฮ่องสอน | นักจัดดอกไม้ | 2 | 3 | ถูกคัดออก วันที่ 5 กรกฎาคม |
5 |
ณัฐนิชา บุญเลิศ (พลอย) | 29 | ปทุมธานี | พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน | 1 | 3 | 3 | |
พัดชา กัลยาณมิตร (เตย) | 27 | กรุงเทพมหานคร | ธุรกิจส่วนตัว | 3 | 2 | ถูกคัดออก วันที่ 28 มิถุนายน |
4 |
จิตศักดิ์ หลิมภากรกุล (จีโน่) | 43 | ภูเก็ต | ผู้อำนวยการด้านแบรนด์และการตลาด | 3 | 9 | ถูกคัดออก วันที่ 5 เมษายน |
4 |
สหดล ตันตราพิมพ์ (ปอนด์) | 28 | เชียงใหม่ | พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน | 3 | 5 | ถูกคัดออก วันที่ 29 มีนาคม |
2 |
ชานนท์ เรืองศรี (ชานนท์) | 24 | อุทัยธานี | ค้าขาย | 3 | 7 | ถูกคัดออก วันที่ 22 มีนาคม |
3 |
จำลอง ศรีรักษา (จำลอง) | 34 | ระยอง | เจ้าของบ่อตกปลา | 1 | 3 | ถูกคัดออก วันที่ 15 มีนาคม |
2 |
รภัสสา ศิริเลิศโสภณ (ลูกเกด) | 36 | กรุงเทพมหานคร | ธุรกิจส่วนตัว, ครูสอนทำขนม | 3 | 8 | 2 | |
ดิษกุล ประสิทธิ์เรืองสุข (หมอตั้ม) | 27 | กรุงเทพมหานคร | แพทย์ | 2 | 6 | ถูกคัดออก วันที่ 8 มีนาคม |
1 |
มณีพร พรโชติทวีรัตน์ (เบลล่า) | 35 | กรุงเทพมหานคร | ผู้จัดการฝ่ายการตลาด | 2 | 12 | ถูกคัดออก วันที่ 1 มีนาคม |
2 |
อิศรา ดรลีเคน (กะปอม) | 28 | มหาสารคาม | เกษตรกร | 2 | 8 | ถูกคัดออก วันที่ 23 กุมภาพันธ์ |
1 |
สุชาติ ใจฉ่ำ (บอล) | 31 | นครนายก | เจ้าของบ่อตกกุ้ง | 3 | 6 | ถูกคัดออก วันที่ 16 กุมภาพันธ์ |
1 |
นิกูล พยุงพงศ์ (นิค) | 31 | กรุงเทพมหานคร | นักแข่งรถ | 1 | 9 | ถอนตัว วันที่ 9 กุมภาพันธ์ |
1 |
ข้อมูลการแข่งขัน
[แก้]ตารางการคัดออก
[แก้]อันดับ | ผู้เข้าแข่งขัน | ตอนที่ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15/16 | 16/17 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||
1 | เป่าเป้ | ชนะ | กดดัน | ผ่าน | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | ผ่าน | กดดัน | ชนะ | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | สูง | กดดัน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | ชนะเลิศ | ||||||||||||||||||||||||
2 | จ๋า | ชนะ | กดดัน | ผ่าน | ผ่าน | ชนะ | สูง | ผ่าน | กดดัน | ผ่าน | ผ่าน | กดดัน | ผ่าน | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | กดดัน | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | รองชนะเลิศ | |||||||||||||||||||||||
เควส | ชนะ | กดดัน | สูง | ชนะ | ชนะ | ผ่าน | ผ่าน | กดดัน | ผ่าน | ผ่าน | เสี่ยง | ชนะ | ผ่าน | กดดัน | ผ่าน | ผ่าน | เสี่ยง | ผ่าน | ผ่าน | สูง | กดดัน | ต่ำ | ผ่าน | ชนะ | |||||||||||||||||||||||||
4 | ลัท | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | ผ่าน | กดดัน | ชนะ | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | เสี่ยง | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | สูง | สูง | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | กดดัน | ผ่าน | ผ่าน | ออก | ||||||||||||||||||||||||
แบงค์ | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | ผ่าน | กดดัน | ผ่าน | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | ผ่าน | กดดัน | ผ่าน | ผ่าน | ชนะ | เสี่ยง | ผ่าน | ผ่าน | เสี่ยง | ผ่าน | ผ่าน | ออก | |||||||||||||||||||||||||
6 | ริซ่า | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | สูง | กดดัน | ผ่าน | ชนะ | ชนะ | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ชนะ | ชนะ | ผ่าน | สูง | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | สูง | ออก | |||||||||||||||||||||||||||
กอล์ฟ | ผ่าน | ชนะ | สูง | เสี่ยง | ชนะ | ผ่าน | ผ่าน | เสี่ยง | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | ผ่าน | เสี่ยง | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ออก | ||||||||||||||||||||||||||||
8 | เดียว | ชนะ | กดดัน | ผ่าน | ผ่าน | กดดัน | ผ่าน | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | สูง | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | ผ่าน | ออก | |||||||||||||||||||||||||||||
พลอย | ชนะ | กดดัน | ชนะ | ผ่าน | เสี่ยง | สูง | ผ่าน | ชนะ | สูง | ผ่าน | ผ่าน | สูง | ผ่าน | กดดัน | ผ่าน | ผ่าน | ผ่าน | ออก | |||||||||||||||||||||||||||||||
10 | เตย | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | ต่ำ | กดดัน | ผ่าน | ผ่าน | ชนะ | เสี่ยง | เสี่ยง | ชนะ | ผ่าน | ต่ำ | ชนะ | ผ่าน | ผ่าน | ออก | |||||||||||||||||||||||||||||||
11 | จีโน่ | ชนะ | กดดัน | ผ่าน | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | เสี่ยง | ออก | ||||||||||||||||||||||||||||||||||
12 | ปอนด์ | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | ผ่าน | กดดัน | ผ่าน | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | ผ่าน | กดดัน | ผ่าน | ออก | ร่วม | ||||||||||||||||||||||||||||||||||
13 | ชานนท์ | ชนะ | กดดัน | ผ่าน | ต่ำ | ชนะ | ผ่าน | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | ผ่าน | ออก | ร่วม | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||
14 | จำลอง | ชนะ | กดดัน | ผ่าน | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | ผ่าน | กดดัน | ผ่าน | ออก | ร่วม | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||
15 | ลูกเกด | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | สูง | กดดัน | ออก | ร่วม | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
16 | หมอตั้ม | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | ผ่าน | เสี่ยง | ผ่าน | ผ่าน | ออก | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
17 | เบลล่า | ชนะ | กดดัน | ผ่าน | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | ออก | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
18 | กะปอม | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | ผ่าน | ออก | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
19 | บอล | ผ่าน | ชนะ | ผ่าน | ออก | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
20 | นิค | ชนะ | ถอนตัว |
- (ชนะเลิศ) ผู้ชนะเลิศการแข่งขัน
- (รองชนะเลิศ) รองชนะเลิศการแข่งขัน
- (ชนะ) ผู้เข้าแข่งขันที่ชนะชาแลนจ์ (กล่องปริศนา หรือ บททดสอบความคิดสร้างสรรค์)
- (ชนะ) ผู้เข้าแข่งขันที่ชนะชาแลนจ์ (การแข่งขันแบบตัวต่อตัว)
- (ชนะ) ผู้เข้าแข่งขันที่ชนะในรอบทีม
- (สูง) ผู้เข้าแข่งขันที่เข้าชิงเป็นจานที่ดีที่สุด
- (ผ่าน) ผู้เข้าแข่งขันที่ผ่านเข้ารอบต่อไป
- (ผ่าน) ผู้เข้าแข่งขันที่ผ่านเข้ารอบต่อไป ในการแข่งขันแบบคู่และแบบทีม
- (ผ่าน) ผู้เข้าแข่งขันที่ได้รับสิทธิ์การคุ้มกัน ทำให้ผ่านเข้ารอบต่อไปในทันที
- (กดดัน) ผู้เข้าแข่งขันที่ต้องเข้าแข่งขันในรอบคัดออก (บททดสอบความละเอียดและความแม่นยำ)
- (กดดัน) ผู้เข้าแข่งขันที่ไม่สามารถเข้าแข่งขันในรอบทีมได้ และต้องเข้าแข่งรอบคัดออก (บททดสอบความละเอียดและความแม่นยำ)
- (ต่ำ) ผู้เข้าแข่งขันที่ยืนเป็น 1 ในจานที่แย่ที่สุด
- (ต่ำ) ผู้เข้าแข่งขันที่ทำผลงานได้แย่ที่สุด แต่ไม่ต้องออกจากการแข่งขัน
- (เสี่ยง) ผู้เข้าแข่งขันที่เสี่ยงในการถูกคัดออก
- (ถอนตัว) ผู้เข้าแข่งขันที่ถอนตัวออกจากการแข่งขัน
- (ออก) ผู้เข้าแข่งขันที่ถูกคัดออกประจำสัปดาห์
- (ร่วม) ผู้เข้าแข่งขันที่ถูกคัดออกไปแล้ว แต่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมการแข่งขัน
ข้อมูลการออกอากาศ
[แก้]ตอนที่ 1 : รอบคัดเลือก แข่งขันแบบตัวต่อตัวด้วยวัตถุดิบเดียวกัน
[แก้]- ออกอากาศ 2 กุมภาพันธ์ 2563
ในรอบนี้ ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 20 คน จะได้รับบัตรอวยพร โดยจะมีทั้งหมด 10 สี สีละ 2 ใบ ผู้ที่ได้สีเดียวกันจะต้องจับคู่กันเพื่อเปิดกล่องของขวัญสีนั้น ๆ ภายในกล่องมีวัตถุดิบหลักที่แต่ละคู่จะต้องแข่งขันกันเอง และตัดสินโดยใช้วิธี Blind Tasting จากคณะกรรมการรับเชิญ 4 ท่าน คือ เชฟสมศักดิ์ รารองคำ, เชฟบุญเชิด ศรสุวรรณ, เชฟพฤกษ์ สัมพันธวรบุตร, และเชฟแก้ว ปวีณ์นุช ยอดปรีชาวิจิตร ผู้เข้าแข่งขันที่ชนะทั้งหมดจะได้อยู่ทีมเดียวกันในสัปดาห์ต่อไป ส่วนผู้แพ้ทั้งหมดจะอยู่อีกทีม
คู่ | ส่วนผสมหลัก | ผู้ชนะ | ผู้แพ้ |
---|---|---|---|
1 | ลอบสเตอร์ | ชานนท์ | กอล์ฟ |
2 | ปลาร้า | เควส | ปอนด์ |
3 | บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป | เดียว | ริซ่า |
4 | เบอร์รีรวม | เป่าเป้ | ลัท |
5 | กบ | พลอย | หมอตั้ม |
6 | เนื้อวากีวริบอาย เกรด A5 | จำลอง | กะปอม |
7 | ทุเรียน | เบลล่า | แบงค์ |
8 | ไก่บ้าน | จีโน่ | เตย |
9 | อัณฑะวัว | นิค | บอล |
10 | หัวหมู | จ๋า | ลูกเกด |
ตอนที่ 2 : การทำอาหารตามสั่งระดับพรีเมียม
[แก้]- ออกอากาศ 9 กุมภาพันธ์ 2563
โดยการแข่งขันในรอบนี้ผู้เข้าแข่งทุกคนจะต้องทำอาหารตามสั่งระดับพรีเมี่ยมให้แก่ผู้เข้าแข่งขัน Master Chef Junior Thailand ทั้งสองซีซัน โดยที่หม่อมหลวงภาสันต์ สวัสดิวัตน์ และ คุณป๊อก ปิยธิดา เป็นผู้ไปรับออเดอร์จากผู้เข้าแข่งขัน Master Chef Junior Thailand ทั้งสองซีซัน โดยทั้งสองทีมจะมีเวลาทำอาหารเรียกน้ำย่อย 30 นาที และอาหารจานหลัก 1 ชั่วโมง โดยออเดอร์ของทั้ง 2 ทีมมีดังนี้
- ทีมสีน้ำเงิน อาหารเรียกน้ำย่อย กุ้งพันอ้อย 4 จาน, ฟัวกราตอร์เตลินี่ทรัฟเฟิลครีมซอส 8 จาน และโครเกต์ปูซอสแกงกะหรี่ 7 จาน ส่วนอาหารจานหลัก เฟตตูชินี่เส้นสดซอสมัสมั่นแกะ 4 จาน, ล็อบเตอร์รีซ๊อตโตมารีนาราซอส 5 จาน และบีฟเวลลิงตัน 10 จาน
- ทีมสีแดง อาหารเรียกน้ำย่อย กุ้งพันอ้อย 4 จาน, ฟัวกราตอร์เตลินี่ทรัฟเฟิลครีมซอส 10 จาน และโครเกต์ปูซอสแกงกะหรี่ 5 จาน ส่วนอาหารจานหลัก เฟตตูชินี่เส้นสดซอสมัสมั่นแกะ 4 จาน, ล็อบเตอร์รีซ๊อตโตมารีนาราซอส 8 จาน และบีฟเวลลิงตัน 7 จาน
- บททดสอบภารกิจแบบทีม: โดยสัปดาห์นี้ได้แบ่งทีมเป็นสองทีม โดยผู้ชนะในสัปดาห์ที่แล้วจะอยู่ทีมเดียวกัน ส่วนผู้แพ้จะอยู่อีกทีม และแต่ละทีมจะต้องเลือกหัวหน้าทีมเอง โดยทีมผู้ชนะ (ทีมสีน้ำเงิน) จะได้สิทธิ์ทำอาหารก่อนทีมผู้แพ้ (ทีมสีแดง) 10 นาที
หัวหน้าทีม | สมาชิก |
---|---|
จ๋า | พลอย, จำลอง, นิค, เดียว, เบลล่า, เควส, เป่าเป้, ชานนท์ และจีโน่ |
ริซ่า | ลัท, แบงค์, หมอตั้ม, กะปอม, กอล์ฟ, เตย, บอล, ปอนด์ และลูกเกด |
ในระหว่างการแข่งขันช่วงอาหารจานหลัก อาหารเรียกน้ำย่อยของทีมสีน้ำเงินถูกตีกลับมาเนื่องจากพบเส้นผมและเส้นด้ายอยู่ในจานอาหาร 2 จาน เชฟป้อมจึงสั่งให้ทั้งทีมหยุดทำอาหาร 5 นาที หลังจากกลับไปทำอาหารได้สักพัก อาหารเรียกน้ำย่อยของทีมสีน้ำเงินก็ถูกตีกลับอีกครั้งเนื่องจากแป้งฟัวกราไม่สุก เชฟป้อมจึงสั่งให้ทั้งทีมหยุดทำอาหารอีก 5 นาที ซึ่งหลังจากกลับไปทำอาหารอีกครั้ง ก็ไม่มีจานอาหารที่ถูกตีกลับอีก
- ทีมที่ชนะ: สีแดง
- รอบทดสอบความละเอียดและความแม่นยำ: จากบททดสอบภารกิจแบบทีมในครั้งนี้ เนื่องจากทีมสีแดงเป็นฝ่ายชนะและผ่านเข้ารอบ จึงทำให้ทีมแพ้คือทีมสีน้ำเงินต้องมาเผชิญกับการแข่งขันทดสอบความละเอียดและความแม่นยำ โดยในการแข่งขันบททดสอบในรอบนี้คือ "ขนมเบื้องญวนสูตรดั้งเดิม" เป็นโจทย์ที่เคยใช้เดียวกันกับ มาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ ซีซันที่ 2 ตอนที่ 7 แต่ความแตกต่างนั่นก็คือ เวลาการทำจากเดิม 45 นาที ถูกลดเหลือเพียง 35 นาที ในระหว่างการแข่งขัน นิค ได้ทำเมนูออกมาในแบบฉบับของเขาโดยไม่สนใจโจทย์ที่กำหนดไว้ เชฟป้อมจึงได้เข้าไปพูดคุยกับ นิค ในระหว่างนั้น นิค ได้พูดถึงเหตุผลของเขาที่มีต่อรายการในลักษณะที่ไม่เหมาะสมอีกทั้งมีท่าทีที่ไม่อยากอยู่ในรายการอีกต่อไป คุณอิงค์ จึงได้ไปบอก นิค ให้ออกจากรายการไปในทันที เมื่อ นิค ถอนตัวออกไป เชฟป้อมได้สั่งให้ทุกคนที่เหลือหยุดการแข่งขันในรอบนี้ทั้งหมด
- ผู้ที่ถอนตัวจากการแข่งขัน: นิค
ตอนที่ 3 : การทำอาหารจากขิง
[แก้]- ออกอากาศ 16 กุมภาพันธ์ 2563
- การแข่งกล่องปริศนา : ในการแข่งขันรอบกล่องปริศนาครั้งแรกของพวกเขาทั้ง 19 คน กับโจทย์ การทำพาสตาเส้นสด ซึ่งเคยเป็นโจทย์การแข่งขันบททดสอบความละเอียดและแม่นยำใน มาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ ซีซันที่ 1 แต่ครั้งนี้ พวกเขามีแค่กระทะเพียง 1 ใบ ในการรังสรรค์เมนูให้ออกมาสร้างสรรค์ที่สุด โดยพวกเขามีเวลา 60 นาทีในการทำ และ 3 นาทีในซูเปอร์มาร์เก็ต กับผลการตัดสิน สามจานที่ดีที่สุดตกเป็นของเควส, พลอย และกอล์ฟ โดยพลอยเป็นผู้ชนะในรอบนี้
- ผู้ชนะกล่องปริศนา: พลอย
- บททดสอบความคิดสร้างสรรค์ : จากที่พลอยเป็นผู้ชนะในรอบที่แล้ว เขาจึงได้ผ่านเข้ารอบไปโดยไม่ต้องทำการแข่งขันในรอบนี้ และเขายังมีสิทธ์ที่จะกำจัดผู้เข้าแข่งขันได้ถึง 9 คน โดยเขาได้เลือกเควส, เตย, จ๋า, ริซ่า, บอล, ปอนด์, จีโน่, กอล์ฟ และชานนท์ ส่วนจำลอง, ลัท, เดียว, แบงค์, หมอตั้ม, กะปอม, เบลล่า, เป่าเป้ และลูกเกด ได้ผ่านเข้ารอบทันที ใน 9 คนที่พลอยได้กำจัด พวกเขาจะต้องเจอโจทย์การรังสรรค์เมนูระดับห้าดาว จากวัตถุดิบ ขิง ซึ่งเคยเป็นโจทย์ทักษะในการใช้มีดของ มาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ ซีซันที่ 1 และเขามีเวลา 60 นาทีในการทำ กับ 3 นาทีในซูเปอร์มาร์เก็ตเช่นเดิม โดยเควสเป็นผู้ชนะในรอบนี้ ส่วนริซ่ามาเป็นที่สอง พวกเขาจะต้องทำหน้าที่เป็นหัวหน้าทีมในการแข่งขันรอบต่อไป ส่วนเตย, ชานนท์, กอล์ฟ และบอล ตกเป็นสี่จานที่แย่ที่สุด และบอลเป็นคนที่ต้องออกจากการแข่งขันไป
- ผู้ชนะในรอบนี้ : เควส
- ผู้ที่ตกเป็นสี่อันดับอาหารไม่สร้างสรรค์: เตย, บอล, กอล์ฟ และชานนท์
- ผู้ที่ถูกคัดออก: บอล
ตอนที่ 4 : การทำอาหารจากส้มโอทับทิมสยาม
[แก้]- ออกอากาศ 23 กุมภาพันธ์ 2563
- บททดสอบภารกิจแบบทีม: โดยสัปดาห์นี้ได้แบ่งทีมเป็นสองทีม โดยผู้ที่ชนะจากรอบที่แล้ว คือ เควส และริซ่าที่เป็นรองชนะเลิศ มาเป็นหัวหน้าทีมทั้งสองสี โดยให้ผู้เข้าแข่งขันวิ่งขึ้นรถของคนที่อยากร่วมทีมด้วย ผู้เข้าแข่งขันวิ่งเข้าทีมของเควส 5 คน และวิ่งเข้าทีมของริซ่า 11 คน ทางรายการจึงให้ริซ่าแบ่งผู้เข้าแข่งขันไปทีมของเควส 3 คน ได้แก่ จำลอง เบลล่า และชานนท์
หัวหน้าทีม | สมาชิก |
---|---|
เควส | ลูกเกด, จ๋า, เป่าเป้, เบลล่า, จีโน่, ชานนท์, จำลอง และกอล์ฟ |
ริซ่า | หมอตั้ม, กะปอม, พลอย, ลัท, เตย, ปอนด์, เดียว และแบงค์ |
ในการแข่งขันบททดสอบภารกิจแบบทีมครั้งที่สอง ได้นำผู้เข้าแข่งขันมาที่ตลาดไท จังหวัดปทุมธานี โดยผู้เข้าแข่งขันต้องทำอาหารให้กับคนขับรถบรรทุกทั้งหมด 201 คน ต่อรถบรรทุก 100 คัน และโจทย์ในการทำอาหารวันนี้ก็คือ "ส้มโอทับทิมสยาม" โดยต้องนำมาทำอาหารทั้งคาวและหวาน โดยทีมสีนํ้าเงินได้เลือกทำ ข้าวอบสมุนไพร เสริฟ์พร้อมกับพล่าส้มโอและหมูย่าง (พล่าเซิร์ฟแอนด์เทิร์ฟทับทิมสยาม หมูย่างโอชา เสิร์ฟพร้อมข้าวมันขิง) พร้อมของหวานส้มโอลอยแก้ว (ซอร์เบต์ทับทิมสยาม 3 กษัตริย์) ส่วนทีมสีแดงนั้นได้ทำ ข้าวผัดส้มโอออนท็อปด้วยกุ้งเทมปุระ (ข้าวผัดสุดเฟี้ยว เลี้ยวโค้งสุดซอย) เสิร์ฟพร้อมของหวานส้มฉุนส้มโอ (ส้มฉุนสะท้านฟ้า เซี้ยวซ่าสุดทรวง) และผลการลงคะแนนจากคนขับรถบรรทุกสีน้ำเงินก็รับชัยชนะไปส่วนทีมสีแดงนั้นก็ไปแข่งขันในรอบบททดสอบความละเอียดและความแม่นยำ
- ทีมที่ชนะ: สีน้ำเงิน
- บททดสอบความละเอียดและความแม่นยำ: ในรอบทดสอบความละเอียดและความแม่นยำทีมสีแดงที่เป็นทีมแพ้ในรอบภารกิจแบบทีม ต้องมาเผชิญกับการแข่งขันทดสอบความละเอียดและความแม่นยำ โดยโจทย์ในรอบทดสอบความละเอียดและความแม่นยำคือ ไข่ 3 สัญชาติ ซึ่งประกอบไปด้วย ไข่ดาวน้ำ, ไข่ดาวกรอบ และข้าวห่อไข่แบบญี่ปุ่น "ข้าวโอมุ" (จาก มาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ ซีซันที่ 2 ในตอนที่ 5) โดยได้แบ่งการแข่งขันออกเป็น 3 รอบ ดังนี้
- รอบที่ 1 แข่งขันในโจทย์ไข่ดาวน้ำ เพื่อหาผู้เข้าแข่งขัน 3 คนที่ทำออกมาได้ดีที่สุด โดยผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำไข่ดาวน้ำทั้งหมด 3 ฟอง ภายในเวลา 10 นาที สิ่งสำคัญในการทำอาหารจานนี้คือ ไข่ทุกฟองผิวด้านนอกต้องมีสัมผัสเรียบลื่น และเมื่อผ่าออกมาแล้วไข่แดงด้านในต้องไหลเยิ้ม ความท้าทายของโจทย์นี้คือมีไข่ให้เพียงแค่ 3 ฟองเท่านั้น ผลการตัดสินผู้ที่ทำออกมาได้ดีที่สุด 3 คนคือ ลัท, ปอนด์ และริซ่า ส่วนผู้เข้าแข่งขันที่เหลือต้องไปแข่งขันต่อในรอบต่อไป
- รอบที่ 2 แข่งขันในโจทย์ไข่ดาวกรอบ เพื่อหาผู้เข้าแข่งขัน 3 คนที่ทำออกมาได้ดีที่สุด โดยผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำไข่ดาวกรอบทั้งหมด 3 ฟอง ภายในเวลา 7 นาที สิ่งสำคัญในการทำอาหารจานนี้คือ ไข่ขาวต้องสุกกรอบจนขอบเป็นสีน้ำตาลแต่ต้องไม่เกรียมจนเกินไป และเมื่อตัดออกมาแล้วไข่แดงต้องไหลเยิ้ม ความท้าทายของโจทย์นี้คือมีไข่ให้เพียงแค่ 3 ฟองเช่นเดียวกับรอบที่ 1 ผลการตัดสินผู้ที่ทำออกมาได้ดีที่สุด 3 คนคือ เดียว, เตย และแบงค์ ส่วนผู้เข้าแข่งขันที่เหลือต้องไปแข่งขันต่อในรอบต่อไป
- รอบที่ 3 แข่งขันในโจทย์ข้าวห่อไข่แบบญี่ปุ่น เพื่อหาผู้เข้าแข่งขันที่ทำออกมาได้แย่ที่สุด โดยผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำข้าวห่อไข่แบบญี่ปุ่นภายในเวลา 5 นาที สิ่งสำคัญในการทำอาหารจานนี้คือ เนื้อไข่ด้านนอกเนียนละเอียด และเมื่อผ่าด้านในไข่ด้านในจะต้องไหลเยิ้ม โดยคนที่ตกเป็นจานที่ทำอาหารได้ผิดพลาดมากที่สุดและต้องออกจากการแข่งขันในสัปดาห์นี้คือ กะปอม
- ผู้ที่ตกเป็นสองอันดับอาหารแย่ที่สุด: กะปอม และหมอตั้ม
- ผู้ที่ถูกคัดออก: กะปอม
ตอนที่ 5 : การทำเลเยอร์เค้ก 6 ชั้น
[แก้]- ออกอากาศ 1 มีนาคม 2563
- การแข่งกล่องปริศนา : ในการแข่งขันรอบกล่องปริศนา โจทย์ในวันนี้คือ การสร้างสรรค์วุ้นในแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน วัตถุดิบในกล่องประกอบไปด้วยหูหมู, หัวใจหมู, ตับไก่, ผ้าขี้ริ้ววัว, เนื้อขาวัวติดกระดูก, ปลาแซลมอน, สะตอ, ต้นกระเทียมญี่ปุ่น, มะม่วง, ราสเบอร์รี, แห้ว และวุ้นผง โดยผู้เข้าแข่งขันทั้ง 17 คน จะต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างสรรค์เมนูวุ้นที่ไม่เหมือนใคร โดยผู้เข้าแข่งขันมีเวลาในการทำวุ้น 60 นาที หลังจากคณะกรรมการได้ชิมอาหารของผู้เข้าแข่งขันทุกคน โดยอาหาร 3 จานที่ดีทีสุดในรอบนี้คือ พลอย, จ๋า และลัท โดยลัทก็คือผู้ชนะในรอบกล่องปริศนา
- ผู้ชนะกล่องปริศนา: ลัท
- บททดสอบความคิดสร้างสรรค์ : จากการที่ลัทเป็นผู้ชนะในรอบกล่องปริศนา จึงได้รับสิทธิ์ผ่านเข้ารอบต่อไปโดยไม่ต้องแข่งขันในรอบบททดสอบความคิดสร้างสรรค์ นอกจากนี้ยังได้สิทธิ์ในการเลือกผู้เข้าแข่งขันอีก 2 คนให้ผ่านเข้ารอบต่อไปโดยไม่ต้องแข่งขันในรอบบททดสอบความคิดสร้างสรรค์ โดยคนที่ถูกเลือกคือพลอยและจ๋า โจทย์ในการแข่งขันในรอบนี้คือ การทำเลเยอร์เค้ก 6 ชั้น ซึ่งคล้ายกับมาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ ซีซันที่ 1 ตอนที่ 12 แต่ความแตกต่างนั่นก็คือจำนวนชั้นของเค้กที่เพิ่มขึ้นจาก 4 ชั้นเป็น 6 ชั้น โดยผู้เข้าแข่งขันมีเวลาในการทำเลเยอร์เค้ก 2 ชั่วโมง หลังหมดเวลาการแข่งขัน ลัทซึ่งเป็นผู้ชนะในรอบกล่องปริศนา ได้สิทธิ์ในการเลือกผู้เข้าแข่งขันอีก 2 คนให้ผ่านเข้ารอบต่อไปโดยไม่ต้องให้กรรมการชิมเค้ก โดยคนที่ถูกเลือกคือเดียวและแบงค์ ผู้ที่ชนะในรอบบททดสอบความคิดสร้างสรรค์คือ ริซ่า และลูกเกดเป็นรองชนะเลิศ โดยทั้งสองคนจะต้องเป็นหัวหน้าทีมในการแข่งขันรอบต่อไป และคนที่ตกเป็นจานที่ทำอาหารได้ผิดพลาดมากที่สุดและต้องออกจากการแข่งขันในสัปดาห์นี้คือ เบลล่า
- ผู้ชนะ : ริซ่า
- ผู้ที่ถูกคัดออก: เบลล่า
ตอนที่ 6 : ภารกิจแบบทีม ต้อนรับสื่อมวลชนเพื่อเปิดตัวผู้เข้าแข่งขันในฐานะเชฟมืออาชีพ
[แก้]- ออกอากาศ 8 มีนาคม 2563
- บททดสอบภารกิจแบบทีม: โดยสัปดาห์นี้ได้แบ่งทีมเป็นสองทีม โดยผู้ที่ชนะจากรอบที่แล้ว คือ ริซ่า และลูกเกดที่เป็นรองชนะเลิศ มาเป็นหัวหน้าทีมทั้งสองสี
หัวหน้าทีม | สมาชิก |
---|---|
ลูกเกด | หมอตั้ม, เป่าเป้, กอล์ฟ, จ๋า, เควส และจำลอง |
ริซ่า | เตย, ปอนด์, พลอย, ลัท, ชานนท์, เดียว และจีโน่ |
ในการแข่งขันบททดสอบภารกิจแบบทีมครั้งนี้ ได้นำผู้เข้าแข่งขันมาที่เอเชียทีค เดอะริเวอร์ฟรอนต์ เพื่อขึ้นเรือวันเดอร์ฟูล เพิร์ล แต่เนื่องจากแบงค์ไม่สบายในระหว่างเดินทางมา ทำให้ไม่สามารถเข้าร่วมแข่งขันได้ ทำให้แบงค์ต้องไปแข่งในรอบบททดสอบความละเอียดและความแม่นยำกับทีมที่แพ้ในการแข่งขันครั้งนี้ และบททดสอบในรอบนี้คือ การทำอาหารให้แก่สื่อมวลชนซึ่งมีทั้งผู้บริหาร บรรณาธิการข่าว จากสำนักข่าวต่าง ๆ เช่น ไทยรัฐ ข่าวสด คมชัดลึก รวมไปถึงทีมผู้ประกาศข่าวจากช่อง 7 เอชดี รวมทั้งสิ้น 71 คน ผู้เข้าแข่งขันต้องทำอาหาร 3 อย่าง 3 สัญชาติ โดยประกอบไปด้วย อาหารเรียกน้ำย่อย 1 สัญชาติ ซุป 1 สัญชาติ และอาหารจานหลัก 1 สัญชาติ โดยมีเวลาในการทำอาหารเรียกน้ำย่อยและซุปให้เสร็จภายในเวลา 90 นาที หลังจากนั้นจะต้องเสิร์ฟทั้ง 2 อย่าง และมีเวลาในการทำอาหารจานหลักต่อให้เสร็จภายในเวลา 60 นาที ทีมสีแดงได้เลือกทำไอศกรีมซีฟูดเสิร์ฟพร้อมกุ้ง, ซุปดาชิคมบุมิโซะและบิสกิตดาชิ เสิร์ฟพร้อมขาปูโพชในผิวมะนาว และปลากะพงเสิร์ฟพร้อมมันบด ส่วนทีมสีน้ำเงินทำกุ้งสะดุ้งในน้ำกะทิ คลุกเคล้าน้ำยำสับปะรด, ซุปเห็ดรวมปรุงรสชาติด้วยมิโซะญี่ปุ่นและครีม และปลากะพงอบกับใบไทม์และโรสแมรี กินคู่กับขนมปังกรอบป่นและซอสกุ้งแบบฝรั่งเศส โดยผลจากการตัดสิน ทีมสีน้ำเงินได้คะแนนไป 27 คะแนน ส่วนสีแดงได้ไป 44 คะแนน
- ทีมที่ชนะ: สีแดง
- บททดสอบความละเอียดและความแม่นยำ จากที่ทีมสีน้ำเงินแพ้ในการแข่งขันภารกิจแบบทีม โดยแบงค์ซึ่งไม่สามารถแข่งขันในภารกิจแบบทีมได้ ต้องมาแข่งขันในรอบนี้ด้วย โดยการแข่งขันรอบนี้คือ ไก่ยัดไส้ โดยจะต้องทำส่วนปีก 5 ชิ้น และส่วนน่องอีก 5 ชิ้น รวมเป็น 10 ชิ้น โดยคุณสมบัติที่ดีของไก่ยัดไส้คือ เมื่อถอดกระดูกออกมาแล้วหนังไก่จะต้องสมบูรณ์ไม่ชำรุด หนังไก่จะต้องออกมาเป็นสีเหลืองทอง และไส้ด้านในจะต้องสุก แน่น ไม่กลวง ความท้าทายของโจทย์นี้คือ จะต้องรู้จักวิธีถอดชิ้นส่วนกระดูกไก่ออกมาทั้งหมด ก่อนที่จะทำการยัดไส้ลงไป โดยผู้เข้าแข่งขันมีเวลาในการทำอาหาร 50 นาที และสองคนที่ตกเป็นสองจานที่ทำอาหารได้ไม่ดีคือ กอล์ฟและหมอตั้ม โดยคนที่ต้องออกจากการแข่งขันในสัปดาห์นี้คือ หมอตั้ม
- ผู้ที่ตกเป็นสองอันดับอาหารที่ผิดพลาดมากที่สุด: กอล์ฟและหมอตั้ม
- ผู้ที่ถูกคัดออก: หมอตั้ม
ตอนที่ 7 : มาสเตอร์เชฟ เซอร์ไววัล
[แก้]- ออกอากาศ 15 มีนาคม 2563
- การแข่งกล่องปริศนา : ในการแข่งขันรอบกล่องปริศนานั้น วัตถุดิบในกล่องประกอบไปด้วยล็อบสเตอร์, หอยเชลล์โฮตาเตะ, ขาปูทาราบะ, ปลาทูน่า, สตรอเบอร์รี, เมลอนญี่ปุ่น, เนยแข็งปาร์มีจาโนเรจจาโน, หน่อไม้ฝรั่งขาว, ผักไวลด์ร็อกเก็ต, ช็อกโกแลต, ทรัฟเฟิล และข้าวโอ๊ต แต่ในกล่องมีผ้ากันเปื้อนสีดำอยู่ด้วย ซึ่งปกติจะใช้ในรอบทดสอบความละเอียดและแม่นยำ เท่านั้น ดังนั้นในรอบนี่จะมีผู้ถูกคัดออก 1 คน โดยผู้เข้าแข่งขันทั้ง 15 คน จะต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างสรรค์เมนูที่ไม่เหมือนใคร โดยผู้เข้าแข่งขันมีเวลาในการทำอาหาร 60 นาที หลังจากคณะกรรมการได้ชิมอาหารของผู้เข้าแข่งขันทุกคน โดยอาหาร 2 จานที่ดีทีสุดในรอบนี้คือ พลอยและเป่าเป้ โดยเป่าเป้ก็คือผู้ชนะในรอบกล่องปริศนา และสองคนที่ตกเป็นสองจานที่ทำอาหารได้ไม่ดีคือ เตยและลูกเกด โดยคนที่ต้องออกจากการแข่งขันในรอบนี้คือ ลูกเกด
- ผู้ชนะกล่องปริศนา: เป่าเป้
- ผู้ที่ตกเป็นสองอันดับอาหารไม่สร้างสรรค์: เตยและลูกเกด
- ผู้ที่ถูกคัดออก: ลูกเกด
- บททดสอบความคิดสร้างสรรค์ : จากการที่เป่าเป้เป็นผู้ชนะในรอบกล่องปริศนา จึงได้รับสิทธิ์ผ่านเข้ารอบต่อไปโดยไม่ต้องแข่งขันในรอบบททดสอบความคิดสร้างสรรค์ โจทย์ในการแข่งขันในรอบนี้คือ วัตถุดิบแห่งอนาคต โดยวัตถุดิบของการแข่งขันรอบนี้คือ แมลงหลากหลายชนิด โดยผู้เข้าแข่งขันทั้ง 13 คน จะต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างสรรค์เมนูที่อร่อยและน่ารับประทาน โดยผู้เข้าแข่งขันมีเวลาในการทำอาหาร 60 นาที ผู้ที่ชนะในรอบบททดสอบความคิดสร้างสรรค์คือ เดียว และสามคนที่ตกเป็นสามจานที่ทำอาหารได้ไม่ดีคือ เตย, ลัท และจำลอง โดยคนที่ต้องออกจากการแข่งขันในรอบนี้คือ จำลอง
- ผู้ชนะในรอบนี้ : เดียว
- ผู้ที่ตกเป็นสามอันดับอาหารไม่สร้างสรรค์: เตย, ลัท และจำลอง
- ผู้ที่ถูกคัดออก: จำลอง
ตอนที่ 8 : การทำอาหารเช้าชุดใหญ่
[แก้]- ออกอากาศ 22 มีนาคม 2563
- บททดสอบภารกิจแบบทีม: โดยสัปดาห์นี้ได้แบ่งทีมเป็นสามทีม โดยผู้ที่ชนะจากรอบที่แล้ว คือ เดียว สามารถผ่านเข้าสู่รอบต่อไปได้โดยไม่ต้องแข่งขัน และยังมีสิทธิ์เลือกทีมให้ผู้เข้าแข่งขันคนอื่นได้อีกด้วย
หัวหน้าทีม | สมาชิก |
---|---|
เป่าเป้ | จีโน่, เตย และแบงค์ |
กอล์ฟ | ลัท, พลอย และริซ่า |
จ๋า | เควส, ปอนด์ และชานนท์ |
โดยโจทย์ในการแข่งขันในครั้งนี้ คือ อาหารเช้าชุดใหญ่ โดยใน 1 จานประกอบไปด้วย เบคอนทอด 3 ชิ้น, แฮชบราวน์ 2 ชิ้น, ไข่คน, เห็ดผัดเนย 3 ชิ้น, สลัดผัก, ขนมปังฝรั่งเศส และไส้กรอกทำเอง 2 ชิ้น โดยทั้ง 3 ทีมจะต้องทำอาหารเช้าชุดใหญ่ให้สมบูรณ์แบบเหมือนต้นฉบับและมีจำนวนจานมากที่สุด โดยจานที่สมบูรณ์แบบ ส่วนประกอบต่าง ๆ จะต้องมีจำนวนตามต้นฉบับ ไส้กรอกจะต้องสุก และเบคอนจะต้องไม่แตก โดยมีเวลาในการทำอาหารทั้งหมด 45 นาที โดยทีมสีน้ำเงินมีจานที่สมบูรณ์แบบมากที่สุดถึง 13 จาน จึงได้ผ่านเข้ารอบเป็นทีมแรก ส่วนทีมสีแดงและสีเขียวมีจานที่สมบูรณ์แบบเท่ากันที่ 11 จาน แต่ภาพรวมของทีมสีแดงยังสมบูรณ์มากกว่า จึงได้ผ่านเข้ารอบไปเป็นทีมที่สอง
- ทีมที่ชนะ: สีน้ำเงิน
- รอบทดสอบความละเอียดและความแม่นยำ: ในรอบทดสอบความละเอียดและความแม่นยำทีมสีเขียวที่เป็นทีมแพ้ในรอบภารกิจแบบทีม ต้องมาเผชิญกับการแข่งขันทดสอบความละเอียดและความแม่นยำ โดยในครั้งนี้ได้มีการเชิญเชฟพฤกษ์ สัมพันธวรบุตร เชฟกระทะเหล็กประเทศไทย และ อาจารย์สถาบันสอนทำอาหารระดับโลก เลอ กอร์ดองเบลอ มาเป็นผู้แจกโจทย์และเป็นกรรมการตัดสินแทนเชฟเอียน โดยโจทย์ในรอบทดสอบความละเอียดและความแม่นยำครั้งนี้คือ สเต๊กแบเลแลน (belle Hélène) ซึ่งเป็นสเต๊กฝรั่งเศสแบบดั้งเดิม โดยจะประกอบด้วยมันฝรั่งก้านไม้ขีด ซึ่งจะต้องเล็กฝอย ขนาดเท่ากันทุกชิ้น สีต้องเหลืองกรอบน่ารับประทาน, ซอสโซลีเยอ (Saulieu) หรือซอสไวน์ขาวฝรั่งเศส ซึ่งจะต้องไม่เปรี้ยวเกินไป และสเต๊กเนื้อสันใน ที่ความสุกต้องอยู่ที่ระดับ "แซญ็อง" (saignant) หรือ "มีเดียมแรร์" (Medium rare) ความท้าทายของโจทย์นี้คือ จะต้องใช้วิธีการทำสเต๊กแบบดั้งเดิมของฝรั่งเศส คือ ห้ามใช้เตาอบ โดยมีเวลาในการทำอาหารเพียง 30 นาที และสองคนที่ตกเป็นสองจานที่ทำอาหารได้ไม่ดีคือ เควสและชานนท์ โดยคนที่ต้องออกจากการแข่งขันในสัปดาห์นี้คือ ชานนท์
- ผู้ที่ตกเป็นสองอันดับอาหารที่ผิดพลาดมากที่สุด: เควสและชานนท์
- ผู้ที่ถูกคัดออก: ชานนท์
ตอนที่ 9 : การสร้างสรรค์ไอศกรีมโดยคงรสชาติตามอาหารต้นแบบ
[แก้]- ออกอากาศ 29 มีนาคม 2563
ในครั้งนี้ได้มีการเชิญเชฟพฤกษ์ สัมพันธวรบุตร อาจารย์สถาบันสอนทำอาหารระดับโลก เลอ กอร์ดองเบลอ มาเป็นกรรมการตัดสินแทนเชฟเอียน ซึ่งก่อนหน้านี้ได้เดินทางไปต่างประเทศ และเมื่อกลับมาได้เฝ้าระวังตนเองจากการระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 ทำให้ไม่สามารถมาถ่ายรายการในครั้งนี้ได้
- การแข่งกล่องปริศนา : ในการแข่งขันรอบกล่องปริศนา โจทย์ในวันนี้คือ ของหวาน วัตถุดิบในกล่องประกอบไปด้วยแอปเปิ้ล, ลูกพีช, เชอร์รี่, บลูเบอร์รี, ส้มซันคิส, ถั่วแมคาเดเมีย, อัลมอนด์, ช็อกโกแลต, อบเชยแท่ง และรังนก โดยผู้เข้าแข่งขันมีเวลาในการทำของหวาน 60 นาที หลังจากคณะกรรมการได้ชิมอาหารของผู้เข้าแข่งขันทุกคน โดยอาหาร 3 จานที่ดีทีสุดในรอบนี้คือ เควส, พลอย และเดียว โดยเควสก็คือผู้ชนะในรอบกล่องปริศนา
- ผู้ชนะกล่องปริศนา: เควส
- บททดสอบความคิดสร้างสรรค์ : จากการที่เควสชนะในรอบกล่องปริศนา จึงได้รับสิทธิ์ผ่านเข้ารอบต่อไปโดยไม่ต้องแข่งขันในรอบบททดสอบความคิดสร้างสรรค์ โจทย์ในการแข่งขันในรอบนี้คือ การสร้างสรรค์ไอศกรีม โดยคงรสชาติตามอาหารต้นแบบ โดยอาหารทั้งสามเมนูประกอบไปด้วย รสบัวลอยไข่หวาน, รสส้มตำปูปลาร้า และรสปลาดุกย่าง สะเดา น้ำปลาหวาน โดยเควสมีสิทธิพิเศษในการเลือกรสชาติของอาหารต้นแบบให้ผู้เข้าแข่งขันแต่ละคน โดยเควสได้เลือกบัวลอยไข่หวานให้กอล์ฟ, เดียว, จีโน่ และเป่าเป้ เลือกส้มตำปูปลาร้าให้ลัท, จ๋า และริซ่า และเลือกปลาดุกย่างสะเดา น้ำปลาหวานให้พลอย, เตย, ปอนด์ และแบงค์ โดยผู้เข้าแข่งขันมีเวลาในการทำไอศกรีมจำนวน 60 นาที หลังจากคณะกรรมการได้ชิมไอศกรีมของผู้เข้าแข่งขันทุกคน ผู้ที่ชนะในรอบบททดสอบความคิดสร้างสรรค์คือ ริซ่า และเป่าเป้เป็นรองชนะเลิศ โดยทั้งสองคนจะต้องเป็นหัวหน้าทีมในการแข่งขันรอบต่อไป และสามคนที่ตกเป็นสามจานที่ทำอาหารได้ไม่ดีคือ เตย, จีโน่ และปอนด์ โดยคนที่ต้องออกจากการแข่งขันในสัปดาห์นี้คือ ปอนด์
- ผู้ชนะในรอบนี้ : ริซ่า
- ผู้ที่ตกเป็นสามอันดับอาหารไม่สร้างสรรค์: เตย, จีโน่ และปอนด์
- ผู้ที่ถูกคัดออก: ปอนด์
ตอนที่ 10 : การทำอาหารในรูปแบบเดลิเวอรี่ออนไลน์
[แก้]- ออกอากาศ 5 เมษายน 2563
- บททดสอบภารกิจแบบทีม: โดยสัปดาห์นี้ได้แบ่งทีมเป็นสองทีม โดยผู้ที่ชนะจากรอบที่แล้ว คือ ริซ่า และเป่าเป้ที่เป็นรองชนะเลิศ มาเป็นหัวหน้าทีมทั้งสองสี และในครั้งนี้ได้เชิญผู้เข้าแข่งขันที่ตกรอบไปแล้วมาเป็นสมาชิกในทีมด้วย ซึ่งประกอบไปด้วย ปอนด์, ชานนท์, จำลอง และลูกเกด
หัวหน้าทีม | สมาชิก | สมาชิกสมทบ |
---|---|---|
เป่าเป้ | พลอย, เควส, แบงค์, จีโน่ | ปอนด์, จำลอง, ลูกเกด |
ริซ่า | จ๋า, ลัท, เตย, กอล์ฟ, เดียว | ชานนท์ |
ในการแข่งขันบททดสอบภารกิจแบบทีมครั้งนี้ ได้นำผู้เข้าแข่งขันมาที่ลานกิจกรรมหน้าศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ โดยบททดสอบในครั้งนี้คือ การขายอาหารให้ผู้คนทั่วกรุงเทพมหานครในรูปแบบเดลิเวอรี่ออนไลน์ ให้กลุ่มลูกค้าและพนักงานออฟฟิศจากบริษัทต่างๆ ที่เป็นผู้สนับสนุนทางรายการ รวมทั้งสิ้น 600 คน ผู้เข้าแข่งขันต้องทำอาหารใส่กล่องซึ่งแบ่งเป็น 5 ช่องอย่างสร้างสรรค์ โดยมีเวลาทั้งหมด 30 นาทีในการทำอาหารตัวอย่าง หลังจากนั้นจะต้องถ่ายรูปและโพสต์เพื่อให้ลูกค้าตัดสินใจเลือกซื้อ หลังจากนั้นจะมีเวลาในการทำอาหารทั้งหมด 2 ชั่วโมง 30 นาที โดยทีมสีแดงได้เลือกนำเสนอเมนูมีชื่อว่า "เบ็นโตญี่ปุ่นหมูทอดปลอดภัย" ทำข้าวญี่ปุ่นหุงคมบุโรยด้วยงาดำคั่ว, หมูทอดทงกัตสึและกุ้งย่างเกลือ, สลัดเบอร์รีพนซุ, ซอสทาร์ทาร์ และฟริตตาตาดาชิ ส่วนทีมสีน้ำเงินนำเสนอเมนูมีชื่อว่า "ข้าวกล่องวิ่งสู้ฟัด จักรพรรดิ์ยังร้อง ...ว้าว" ทำข้าวอบสมุนไพร, หมูทอดทงคัตสึ, ปลาหมึกผัดพริกเผา, ซัลซาแพสชันฟรุต และครัมเบิล ผลไม้สดวานิลลาซอสและสตรอว์เบอร์รีซอส โดยผลจากการตัดสินมาจากจำนวนยอดสั่งซื้อ, จำนวนยอดส่งของ และความพึงพอใจของลูกค้า โดยมียอดสั่งอาหารรวมทั้งหมด 496 คน โดยทีมสีน้ำเงินมียอดสั่งอาหาร 293 คน สามารถทำส่งได้จริง 202 กล่อง แต่เมื่อนำมาหักกับจำนวนลูกค้าที่ไม่พึงพอใจทำให้มีคะแนนเหลือ 127 คะแนน ในขณะที่ทีมสีแดงมียอดสั่งอาหาร 203 คน สามารถทำส่งได้จริง 192 กล่อง แต่เมื่อนำมาหักกับจำนวนลูกค้าที่ไม่พึงพอใจทำให้มีคะแนนเหลือ 130 คะแนน จากผลการตัดสินทำให้ทีมสีแดงเป็นทีมที่ชนะ
- ทีมที่ชนะ: สีแดง
- รอบทดสอบความละเอียดและความแม่นยำ: ในรอบทดสอบความละเอียดและความแม่นยำทีมสีน้ำเงินที่เป็นทีมแพ้ในรอบภารกิจแบบทีม ต้องมาเผชิญกับการแข่งขันทดสอบความละเอียดและความแม่นยำ โดยในครั้งนี้ได้มีการเชิญเชฟอ๊อฟ ณัฐวุฒิ ธรรมพันธุ์ เชฟกระทะเหล็กประเทศไทย มาเป็นผู้แจกโจทย์และเป็นกรรมการตัดสินร่วมด้วย โดยโจทย์ในรอบทดสอบความละเอียดและความแม่นยำครั้งนี้คือ ซี่โครงแกะย่างเฮิร์บกับคันเนลโลนีไส้ผักดอง รีค็อตตาชีสมากับสไปซีมูสกะทิ ซึ่งเป็นอาหารสไตล์เอเชี่ยนทวิสต์ และยังเป็น Signature Dish ของเชฟอ๊อฟอีกด้วย โดยจะประกอบด้วยซี่โครงแกะ ซึ่งจะต้องตกแต่งให้สวยงามและมีความสุกอยู่ที่ระดับมีเดียมแรร์, เส้นพาสต้าคาเนลโรนี่ทรงกระบอก ซึ่งจะต้องมีความสุกแบบ Al dente คือเส้นมีความหนึบอยู่ ไม่นิ่มและไม่สุกเกินไป และสไปซีมูสกะทิต้องขึ้นทรงในรูปแบบของมูส ไม่เหลวเป็นน้ำ โดยที่รสชาติและการตกแต่งจานจะต้องเหมือนต้นฉบับ โดยผู้เข้าแข่งขันมีเวลาในการทำอาหาร 60 นาที และคนที่ทำอาหารได้ผิดพลาดมากที่สุดและต้องออกจากการแข่งขันในสัปดาห์นี้คือ จีโน่
- ผู้ที่ถูกคัดออก: จีโน่
ตอนที่ 11 : 10 คนสุดท้าย ออลสตาร์
[แก้]- ออกอากาศ 21 มิถุนายน 2563
เป็นเทปพิเศษที่รวมเรื่องราวของ 10 คนสุดท้ายในออลสตาร์ ได้แก่ ริซ่า พลอย ลัท เดียว จ๋า แบงค์ กอล์ฟ เตย เควส และเป่าเป้ ซึ่งเกี่ยวกับการแข่งขันที่ผ่านมาตั้งแต่เริ่มต้นก้าวเข้ามาในรายการมาสเตอร์เชฟไทยแลนด์
ตอนที่ 12 : เมนูในความทรงจำ
[แก้]- ออกอากาศ 28 มิถุนายน 2563
การแข่งขันในตอนนี้มีการบันทึกเทปตั้งแต่เดือนมีนาคม จึงทำให้คาบเกี่ยวไปถึงช่วงเทศกาลสงกรานต์ในปีนี้ เดิมวันออกอากาศคือ 12 เมษายน 2563 แต่ได้ถูกเลื่อนการออกอากาศไปเนื่องจากการระบาดของไวรัสโคโรนาในประเทศไทย
- การแข่งกล่องปริศนา : ในการแข่งขันรอบกล่องปริศนานั้น โจทย์ในวันนี้คือ เมนูแห่งความทรงจำในครอบครัวเนื่องด้วยช่วงเทศกาลสงกรานต์และปีใหม่ไทย (ขันน้ำ ดอกไม้ พวงมาลัย และเครื่องหอมเป็นเพียงแค่พร็อพประกอบเท่านั้น) ผู้เข้าแข่งขันสามารถทำอาหารใดๆ ก็ได้ เพื่อสื่อถึงความทรงจำและความรักแก่คนในครอบครัว โดยมีเวลาในการอาหาร 60 นาที หลังจากคณะกรรมการได้ชิมอาหารของผู้เข้าแข่งขันทุกคน เมนู 3 จานที่ดีทีสุดในรอบนี้คือ เดียว, ลัท และริซ่า โดยผู้ชนะในรอบกล่องปริศนาได้แก่ เดียว
- ผู้ชนะกล่องปริศนา: เดียว
- บททดสอบความคิดสร้างสรรค์ : จากการที่เดียวชนะในรอบกล่องปริศนา จึงได้รับสิทธิ์ผ่านเข้ารอบต่อไปโดยไม่ต้องแข่งขันในรอบบททดสอบความคิดสร้างสรรค์ โจทย์ในการแข่งขันในรอบนี้คือ เมนูในความทรงจำของแชมป์มาสเตอร์เชฟ ซีซั่น 1-3 ซึ่งได้แก่ "สปาเกตตี้มีทบอล" ของแก้ว แชมป์มาสเตอร์เชฟซีซั่นที่ 1, "ไข่ป่าม" ของเฟิร์ส แชมป์มาสเตอร์เชฟซีซั่นที่ 2 และ "ชูครีม" ของแมกซ์ แชมป์มาสเตอร์เชฟซีซั่นที่ 3 โดยเดียวมีสิทธิพิเศษในการเลือกเมนูต้นแบบให้ผู้เข้าแข่งขันแต่ละคน ซึ่งเดียวได้เลือกสปาเกตตี้มีทบอลให้ริซ่า, พลอย และ กอล์ฟ เลือกไข่ป่ามให้ลัท, เตย และแบงค์ และเลือกชูครีมให้เป่าเป้, เควส และจ๋า โดยผู้เข้าแข่งขันมีเวลาในการทำอาหารจำนวน 60 นาที หลังจากคณะกรรมการได้ชิมอาหารของผู้เข้าแข่งขันทุกคน ผู้ที่ชนะในรอบบททดสอบความคิดสร้างสรรค์คือ แบงค์ และลัทเป็นรองชนะเลิศ สามคนที่ตกเป็นสามจานที่ทำอาหารได้ไม่ดีคือ กอล์ฟ, เควส และเตย โดยคนที่ต้องออกจากการแข่งขันในสัปดาห์นี้คือ เตย เนื่องจากผลงานของเธอผิดโจทย์ แม้จะมีความคิดสร้างสรรค์มากกว่าผู้เข้าแข่งขันคนอื่นในอันดับอาหารแย่ที่สุด
- ผู้ชนะในรอบนี้ : แบงค์
- ผู้ที่ตกเป็นสามอันดับอาหารไม่สร้างสรรค์: กอล์ฟ, เควส และเตย
- ผู้ที่ถูกคัดออก: เตย
ตอนที่ 13 : การแข่งขันทำอาหารอิตาเลียนและอาหารอินเดีย
[แก้]- ออกอากาศ 5 กรกฎาคม 2563
ตั้งแต่ตอนที่ 13 เป็นต้นไป ได้ถ่ายทำรายการโดยมีมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
การแข่งขันในสัปดาห์นี้จะถูกแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ในแต่ละกลุ่มจะต้องแข่งกันเอง ผู้เข้าแข่งขัน 1 คนที่ทำอาหารผิดพลาดมากที่สุดในแต่ละกลุ่มจะต้องกลับบ้านไป แบงค์ ซึ่งเป็นผู้ชนะในการแข่งขันสัปดาห์ที่แล้ว จะได้สิทธิ์เลือกแบ่งผู้เข้าแข่งขันออกเป็น 2 กลุ่ม ส่วนลัท ผู้ที่ได้เป็น 1 ใน 2 จานที่ดีที่สุดจากสัปดาห์ก่อน จะได้รับสิทธิในการเลือกโจทย์อาหารจากมาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ ซีซันที่ 2 ตอนที่ 15 : การทำอาหารนานาชาติให้แต่ละกลุ่ม
โจทย์อาหาร | ผู้เข้าแข่งขัน |
---|---|
อิตาเลียน | แบงค์, จ๋า, เป่าเป้, พลอย และกอล์ฟ |
อินเดีย | ลัท, ริซ่า, เควส และเดียว |
- การแข่งขันทำอาหารอิตาเลียน : วัตถุดิบภายใต้กล่องดำประกอบไปด้วย เนื้อวัวแองกัสส่วนสันใน ปลากะพง พาร์ม่าแฮม เห็ดทรัฟเฟิล เห็ดแชมปิญอง มอสซาเรลล่าชีส ข้าวริซอสโต้ ส้มซันคิส สตรอว์เบอร์รี่และนมสด ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 5 คนมีเวลาในการทำอาหาร 60 นาที โดยทุกคนต้องทำอาหารจำนวน 3 จาน เพื่อแยกเสริฟให้กับกรรมการแต่ละท่าน หลังจากคณะกรรมการได้ชิมอาหารของผู้เข้าแข่งขันทุกคน สองคนที่ตกเป็นสองจานที่ทำอาหารได้ไม่ดีคือ แบงค์และพลอย โดยคนที่ต้องออกจากการแข่งขันในรอบนี้คือ พลอย
- ผู้ที่ตกเป็นสองอันดับอาหารไม่สร้างสรรค์: แบงค์และพลอย
- ผู้ที่ถูกคัดออก: พลอย
- การแข่งขันทำอาหารอินเดีย : วัตถุดิบภายใต้กล่องดำประกอบไปด้วย ขาแกะ อกไก่ กุ้งลายเสือ ข้าวบาสมาติ แป้งนาน ผงมาซาลา ลูกกระวานเขียว พริกป่นอินเดีย ผงกะหรี่ ใบกะหรี่ เมล็ดแบล็คมัสตาร์ด รีคอตต้าชีส และนมสด ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 4 คนมีเวลาในการทำอาหาร 60 นาที โดยทุกคนต้องทำอาหารจำนวน 3 จาน เพื่อแยกเสริฟให้กับกรรมการแต่ละท่าน หลังจากคณะกรรมการได้ชิมอาหารของผู้เข้าแข่งขันทุกคนแล้ว เดียว เป็นผู้ที่ต้องออกจากการแข่งขันไป เนื่องจากแป้งโรตีที่ทำออกมานั้นไม่สุก
- ผู้ที่ถูกคัดออก: เดียว
ตอนที่ 14 : วัตถุดิบและเมนูประจำตัวของเชฟแอน
[แก้]- ออกอากาศ 12 กรกฎาคม 2563
- การแข่งกล่องปริศนา : ในการแข่งขันรอบกล่องปริศนานั้น โจทย์ในวันนี้คือ การทำอาหารโดยใช้วัตถุดิบที่ไม่เข้าพวก 3 อย่างให้เป็นเมนูที่สร้างสรรค์ รับประทานรวมกันในหนึ่งเมนูได้อย่างลงตัว ชูรสชาติวัตถุดิบหลักได้โดดเด่น วัตถุดิบในกล่องประกอบไปด้วยกล้วยหอมดิบ ปูเค็ม และนมข้นหวาน ผู้เข้าแข่งขันมีเวลาในการทำอาหาร 60 นาที โดยทุกคนต้องทำอาหารจำนวน 3 จาน เพื่อแยกเสริฟให้กับกรรมการแต่ละท่าน หลังจากคณะกรรมการได้ชิมอาหารของผู้เข้าแข่งขันทุกคน เมนู 3 จานที่ดีทีสุดในรอบนี้คือ ริซ่า, เป่าเป้ และเควส โดยผู้ชนะในรอบกล่องปริศนาได้แก่ เป่าเป้ ซึ่งได้ผ่านเข้าสู่รอบรองชนะเลิศ (Semi-Final) ไปทันที
- ผู้ชนะกล่องปริศนา: เป่าเป้
- รอบทดสอบความละเอียดและความแม่นยำ: ผู้เข้าแข่งขันที่เหลือ 6 คนต้องมาเผชิญกับการแข่งขันทดสอบความละเอียดและความแม่นยำ โดยในครั้งนี้ได้มีการเชิญเชฟแอน ภาวิตา แซ่เจ้า ซึ่งทำงานร่วมกับเชฟเอียนมามากกว่า 10 ปี และเป็น 1 ในผู้เข้าแข่งขันจากรายการศึกค้นหาเชฟกระทะเหล็ก The Next Iron Chef โดยโจทย์ในรอบทดสอบความละเอียดและความแม่นยำครั้งนี้คือ เสี่ยวหลงเปา ถั่วงอกเต้าหู้ไก่สับซอสไวต์บอลแซมิก ซึ่งจะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
- 1. ตัวแป้งจะต้องบาง ไม่หนา ด้านหน้าต้องจับจีบอย่างสวยงามและปิดสนิท ไม่มีรอยแตกหรือรอยรั่ว
- 2. ไส้ต้องชูความเป็นถั่วงอกอย่างชัดเจน มีอัตราส่วนที่เหมาะสมระหว่างเต้าหู้ ไก่สับและถั่วงอกตามต้นฉบับ
- 3. ซอสไวต์บอลแซมิกต้องมีรสชาติตรงตามต้นฉบับ
- 4. เมื่อตัดเสี่ยวหลงเปา ด้านในต้องมีน้ำซุปไหลเยิ้มออกมาอย่างชุ่มฉ่ำ ไม่แห้ง
- เนื่องจากทุกขั้นตอนของโจทย์ต้องอาศัยความละเอียดและความแม่นยำอย่างมาก เชฟแอนจึงได้สาธิตเทคนิคและวิธีการทำให้ผู้เข้าแข่งขันทุกคนได้ดูก่อนที่จะเริ่มแข่งขันจริง โดยมีเวลา 60 นาที ในการทำเมนูออกมาให้ได้จำนวน 8 ชิ้น ผู้ที่ทำอาหารออกมาผิดพลาดมากที่สุด 3 คนคือ แบงค์, ริซ่า และกอล์ฟ โดยผู้ที่ต้องออกจากการแข่งขันในสัปดาห์นี้ 2 คนคือ ริซ่าและกอล์ฟ
- ผู้ที่ตกเป็นสามอันดับอาหารที่ผิดพลาดมากที่สุด: แบงค์, ริซ่า และกอล์ฟ
- ผู้ที่ถูกคัดออก: ริซ่าและกอล์ฟ
ตอนที่ 15-16 : การแข่งขันรอบรองชนะเลิศ
[แก้]- ออกอากาศ 19 และ 26 กรกฎาคม 2563
- การแข่งกล่องปริศนาครั้งสุดท้าย : ในการแข่งขันรอบกล่องปริศนานั้น โจทย์ในวันนี้คือ การทำอาหารโดยใช้วัตถุดิบในช่วงการกักตัว ซึ่งเป็นวัตถุดิบพื้นฐานที่ทุกบ้านคุ้นเคยเป็นอย่างดี วัตถุดิบในกล่องประกอบไปด้วยกุนเชียง ปลาแห้ง กุ้งแห้ง ผักกาดกระป๋อง พีชกระป๋อง ไข่เยี่ยวม้า เต้าหู้ยี้ มะกอกดำ ข้าวโพดกระป๋อง แคร็กเกอร์ และวุ้นเส้น ผู้เข้าแข่งขันมีเวลาในการทำอาหาร 60 นาที ผู้ที่ทำอาหารออกมาได้ดีที่สุด 1 คนจะได้ผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศทันที และหลังจากคณะกรรมการได้ชิมอาหารของผู้เข้าแข่งขันทุกคนแล้ว ผู้ชนะในการแข่งขันรอบนี้ได้แก่ เป่าเป้ ส่วนเควส เป็นผู้ที่ทำผลงานได้แย่ที่สุดเนื่องจากองค์ประกอบในจานอาหารที่เป็นแป้งนั้นไม่สุก ทำให้กรรมการไม่สามารถชิมอาหารได้ และเป็นความผิดพลาดที่ยอมรับไม่ได้ในรอบรองชนะเลิศ แต่ในรอบนี้ไม่มีการคัดผู้เข้าแข่งขันออก ทำให้เควสยังมีโอกาสในการผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ
- ผู้ชนะ : เป่าเป้
- ผู้ที่ตกเป็นอันดับอาหารไม่สร้างสรรค์ : เควส†
- บททดสอบความคิดสร้างสรรค์ : ผู้เข้าแข่งขันที่เหลืออีก 4 คนจะต้องมาแข่งในรอบบททดสอบความคิดสร้างสรรค์ โจทย์ในการแข่งขันในรอบนี้ การนำวัตถุดิบระดับโลกอย่าง ไข่หอยเม่น(อูนิ) มาสร้างสรรค์ให้เป็นเมนูที่โดดเด่นและรักษารสชาติของไข่หอยเม่นไว้ให้ได้มากที่สุด ผู้เข้าแข่งขันมีเวลาในการทำอาหาร 60 นาที ผู้ที่ทำอาหารออกมาได้ดีที่สุด 1 คนจะได้ผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ หลังจากคณะกรรมการได้ชิมอาหารของผู้เข้าแข่งขันทุกคนแล้ว ผู้ชนะในการแข่งขันรอบนี้ได้แก่ จ๋า
- ผู้ชนะ : จ๋า
- รอบทดสอบความละเอียดและความแม่นยำ : ผู้แข่งขันที่เหลือ 3 คนจะต้องมาแข่งขันในรอบบททดสอบความละเอียดและความแม่นยำ โจทย์ในรอบนี้คือ กะปิคั่วปลาช่อนฟู ซึ่งเป็นอาหารไทยโบราณประเภทเครื่องจิ้ม ลักษณะเด่นของเมนูนี้จะหอมกลิ่นกะปิและเครื่องสมุนไพรต่างๆ มีรสชาติเข้มข้น รับประทานคู่กับปลาช่อนฟูกรอบและผักเคียง ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำอาหารออกมาให้ได้สมบูรณ์เหมือนต้นฉบับ โดยมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
- 1. ปลาช่อนฟูต้องกรอบฟู มีสีเหลืองทอง ไม่อมน้ำมัน เนื้อปลาช่อนเกาะกันเป็นรูปทรงกระบอกขนาดความยาว 3 นิ้ว เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5 นิ้ว
- 2. เครื่องจิ้มหรือกะปิคั่ว ต้องมีรสชาติตามต้นฉบับ เนื้อสัมผัสต้องละเอียดเสมอกัน กะทิต้องแตกมันลอยหน้าสวยงาม ห้ามเหลวจนเกินไป นอกจากนี้ยังได้เพิ่มวัตถุดิบพิเศษขึ้นมาได้แก่ มะอึก ซึ่งผู้เข้าแข่งขันจะต้องชิมและแกะสูตรของเครื่องจิ้มเอง
- ผู้เข้าแข่งขันมีเวลาในการทำอาหาร 60 นาที โดยที่จะต้องเลือกวัตถุดิบมาทำอาหารเองเนื่องจากไม่มีวัตถุดิบเตรียมมาให้ หลังจากคณะกรรมการได้ชิมอาหารของผู้เข้าแข่งขันทุกคนแล้ว เควส คือผู้ที่ทำอาหารออกมาได้ตรงตามต้นฉบับมากที่สุด ทำให้ได้เข้าสู่รอบชิงชนะเลิศเป็นคนสุดท้าย ส่วนลัทและแบงค์ ต้องออกจากการแข่งขันไปในรอบนี้
- ผู้ชนะ : เควส
- ผู้ที่ถูกคัดออก : ลัทและแบงค์
หมายเหตุ † หมายถึง ผู้เข้าแข่งขันที่ถูกเชฟเอียน (พงษ์ธวัช เฉลิมกิตติชัย) ทิ้งอาหารโดยไม่มีการชิมในการแข่งขันนั้น
ตอนที่ 16-17 : การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ
[แก้]- ออกอากาศ 26 กรกฎาคม และ 2 สิงหาคม 2563
- รอบชิงชนะเลิศ : ผู้เข้าแข่งขันทั้งสามคนได้แก่ เป่าเป้, จ๋า และเควส จะต้องรังสรรค์คอร์สอาหารทั้งสามเมนูได้แก่ อาหารเรียกน้ำย่อย (Appetizers), อาหารจานหลัก (Main Course) และของหวาน (Dessert) โดยจะแข่งทีละเมนู แต่ละเมนูมีเวลาทำอาหาร 60 นาที ผู้ที่ทำผลงานได้ดีที่สุดจะได้เป็นมาสเตอร์เชฟ ออลสตาร์ คนแรกของประเทศไทย
- ผู้ชนะมาสเตอร์เชฟ ออลสตาร์ ไทยแลนด์ : เป่าเป้
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ""มาสเตอร์เชฟ ออลสตาร์" เปิดฉากร้องจ๊าก โหดกันตั้งแต่วันแรก!". www.sanook.com. สืบค้นเมื่อ 2020-02-02.
- ↑ ""มาสเตอร์เชฟ ออลสตาร์" เปิดฉาก ผู้เข้าแข่งขัน 20 ชีวิต ร้องจ๊าก". www.thairath.co.th. สืบค้นเมื่อ 2020-02-02.
- ↑ ""มาสเตอร์เชฟ ออลสตาร์" เปิดฉาก". today.line.me. สืบค้นเมื่อ 2020-02-02.