เชฟกระทะเหล็ก ประเทศไทย
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
เชฟกระทะเหล็ก ประเทศไทย | |
---|---|
อังกฤษ | Iron Chef Thailand |
ประเภท | เกมโชว์แข่งขันการทำอาหาร |
สร้างโดย | กิติกร เพ็ญโรจน์ บริษัท เฮลิโคเนีย เอช กรุ๊ป จำกัด |
เค้าโครงจาก | ยุทธการกระทะเหล็ก โดย ฟูจิ ครีเอทีฟ คอร์ปอเรชั่น |
พิธีกร | ประธานสถาบัน สันติ เศวตวิมล (25 มกราคม พ.ศ. 2555 - 21 มีนาคม พ.ศ. 2563) หม่อมหลวงภาสันต์ สวัสดิวัตน์ (18 มิถุนายน พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน) รองประธานสถาบัน สมศักดิ์ รารองคํา (18 มิถุนายน พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน) พิธีกร ชาคริต แย้มนาม (25 มกราคม พ.ศ. 2555 - 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560) นภัสรัญชน์ มิตรธีรโรจน์ (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 - ปัจจุบัน) ศกุนตลา เทียนไพโรจน์ (11 พฤศจิกายน พ.ศ 2560 - 20 ตุลาคม พ.ศ. 2561) ไดอาน่า จงจินตนาการ (2 มิถุนายน พ.ศ. 2561[1] และ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2561 - ปัจจุบัน) พิธีกรภาคสนาม ณัฐพงษ์ สมรรคเสวี ชัชชัย จำเนียรกุล ไดอาน่า จงจินตนาการ |
แสดงนำ | เชฟกระทะเหล็ก พงศ์ธวัช เฉลิมกิตติชัย (เชฟเอียน) บุญธรรม ภาคโพธิ์ (เชฟบุญธรรม) ธนรักษ์ ชูโต (เชฟป้อม) ธนัญญา วิลคินซัน (เชฟไก่) ณัฐวุฒิ ธรรมพันธุ์ (เชฟอ๊อฟ) พฤกษ์ สัมพันธวรบุตร (เชฟพฤกษ์) ธีรภัทร ตียาสุนทรานนท์ (เชฟอาร์) มาร์ติน บลูโนส (เชฟมาร์ติน) |
บรรยายโดย | ณัฐพงษ์ สมรรคเสวี |
ประเทศแหล่งกำเนิด | ไทย |
ภาษาต้นฉบับ | ไทย |
จำนวนฤดูกาล | 9 |
จำนวนตอน | 231 (รายชื่อตอน) |
การผลิต | |
ผู้อำนวยการผลิต | กิติกร เพ็ญโรจน์ |
ผู้อำนวยการสร้าง | จุฑาณี แซ่ฮึง |
สถานที่ถ่ายทำ | มงคลสตูดิโอ |
ผู้กำกับภาพ |
|
ผู้ลำดับภาพ | ปาริตร ธนรัช |
กล้อง | กล้องหลายตัว |
ความยาวตอน | 1 ชั่วโมง 50 นาที |
บริษัทผู้ผลิต | บริษัท เฮลิโคเนีย เอช กรุ๊ป จำกัด |
ออกอากาศ | |
เครือข่าย | ช่อง 7HD |
ออกอากาศ | 25 มกราคม 2555 – ปัจจุบัน |
การแสดงที่เกี่ยวข้อง | |
เชฟกระทะเหล็ก ศึกวันล้างตา เชฟกระทะเหล็ก ประเทศไทย โรงเรียนกระทะเหล็ก เชฟกระทะเด็ก เชฟกระทะเหล็ก ประเทศไทย สุดยอดเซเลบริตี้เชฟ เชฟกระทะเหล็ก ประเทศไทย ศึกค้นหาเชฟกระทะเหล็ก |
เชฟกระทะเหล็ก ประเทศไทย (อังกฤษ: Iron Chef Thailand) เป็นรายการเกมโชว์แข่งขันการทำอาหาร โดย บริษัท เฮลิโคเนีย เอช กรุ๊ป จำกัด ซื้อลิขสิทธิ์รายการ ยุทธการกระทะเหล็ก (อังกฤษ: Iron Chef ญี่ปุ่น: 料理の鉄人) จากบริษัท ฟูจิ ครีเอทีฟ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ของประเทศญี่ปุ่น มาผลิตในรูปแบบของประเทศไทย เริ่มอากาศครั้งแรกเมื่อวันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555 ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ต่อมามีการต่อยอดรายการมาเป็นรายการเรียลลิตีเต็มรูปแบบ โดยการนำเชฟมืออาชีพมาแข่งขันกันเพื่อค้นหาเชฟกระทะเหล็กคนใหม่ โดยใช้ชื่อว่า ศึกค้นหาเชฟกระทะเหล็ก (อังกฤษ: The Next Iron Chef)
ในปี พ.ศ. 2565 ได้มีการปรับรูปแบบการแข่งขันเป็นรูปแบบ One-On-One Battle โดยในการแข่งขันรอบปกติจะมีการตัดเชฟผู้ช่วยออกทุก ๆ 20 นาที จำนวน 2 ครั้ง และในรอบ One-On-One Battle จะเหลือเพียงเชฟผู้ท้าชิงและเชฟกระทะเหล็กที่ต้องทำอาหารแข่งขันกันแบบตัวต่อตัวตามชื่อการแข่งขัน
พิธีกร
[แก้]รายการเชฟกระทะเหล็ก ประเทศไทย ได้มีการปรับเปลี่ยนพิธีกรดังนี้
- ปัจจุบัน:
- นภัสรัญชน์ มิตรธีรโรจน์ (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 - ปัจจุบัน)
- ไดอาน่า จงจินตนาการ (19 พฤษภาคม - 2 มิถุนายน และ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2561 - ปัจจุบัน)
- อดีต:
- ชาคริต แย้มนาม (25 มกราคม พ.ศ. 2555 - 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560)
- ศกุนตลา เทียนไพโรจน์ (11 พฤศจิกายน พ.ศ 2560 - 20 ตุลาคม พ.ศ. 2561)
ระยะเวลาในการออกอากาศ
[แก้]สถานีโทรทัศน์ที่ออกอากาศ | วัน | เวลา | ช่วงระหว่าง |
---|---|---|---|
สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 | พุธ | 23:00 - 01:00 น. | 25 มกราคม พ.ศ. 2555 - 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 |
23:15 - 01:15 น. | 4 มิถุนายน พ.ศ. 2557 - 25 มีนาคม พ.ศ. 2558 | ||
เสาร์ | 12:00 - 13:00 น. | 4 เมษายน พ.ศ. 2558 - 6 มิถุนายน พ.ศ. 2558 | |
11:45 - 12:45 น. | 13 มิถุนายน พ.ศ. 2558 - 24 มิถุนายน พ.ศ. 2560 | ||
11:45 - 13:00 น. | 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 - 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 | ||
12:00 - 13:15 น. | 3 มีนาคม พ.ศ. 2561 - 16 มิถุนายน พ.ศ. 2561 | ||
สถานีโทรทัศน์ช่อง 7 เอชดี | 23 มิถุนายน พ.ศ. 2561 - 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 | ||
18.00 - 19.50 น. | 18 มิถุนายน พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน | ||
20.30 - 22.20 น. | ในบางโอกาส |
ในช่วงปี พ.ศ. 2564 เนื่องจากสถานการณ์การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศไทย ทางรายการจึงมีการยุติการออกอากาศชั่วคราว โดยออกอากาศเทปสุดท้ายเมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2564 และตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 ทางรายการได้นำตอนที่ออกอากาศในปี พ.ศ. 2564 นำมารีรันใหม่ในเวลาเดียวกัน (อาจมีของปี พ.ศ. 2563 มาออกอากาศบ้าง) และเริ่มออกอากาศตอนใหม่ตามปกติตั้งแต่วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564
รูปแบบของรายการ
[แก้]อดีต
[แก้]รูปแบบที่ 1
ใช้ในวันที่ 25 มกราคม – 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
ช่วงประลองยุทธ์
3 ผู้เข้าแข่งขันที่ได้รับการคัดเลือกจากประธานสรรหาทั้ง 3 ท่าน จะต้องทำการประลองยุทธ์กับทีม เชฟกระทะแหลก (ดารารับเชิญ 6 ท่าน) ซึ่งภายหลังได้เปลี่ยนมาเป็นแสดงภาพผู้เข้าแข่งขันทั้ง 3 ท่าน เวลาแข่งขัน โดยตัดภาพทีม เชฟกระทะแหลก ออกไป เนื่องจากมีผู้ชมจำนวนมากไม่พอใจเกี่ยวกับท่าทางในการทำอาหารด้าน เชฟกระทะแหลก ผู้เข้าแข่งขันจะได้รับวัตถุดิบหลักในการทำอาหารคนละ 1 อย่างตามจำนวนที่จำกัดไว้ โดยทำการจับฉลากล่วงหน้า ซึ่งผู้เข้าแข่งขัน ก็ไม่สามารถทราบว่า ได้วัตถุดิบคืออะไร และจะทำอย่างไร ให้วัตถุดิบปริศนาถูกแปลงสภาพมาเป็นอาหารชั้นเลิศตามเวลาที่กำหนดให้ (เวลาที่กำหนดในการแข่งขัน คือ 15 นาที)
ช่วงนักชิมปริศนา
3 ผู้เข้าแข่งขัน จะได้รับโจทย์การทำอาหาร ให้กลุ่มผู้ชิมที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละสัปดาห์ ยกตัวอย่างเช่น “ทำอาหารแคลลอร์รี่ต่ำ” ให้สาวงาม 20 คน หรือ นักมวย 30 คน เป็นต้น ผู้แข่งขันเพียง 1 คน จะได้รับการคัดเลือกเข้าไปเป็น ผู้ท้าชิง กับ เชฟกระทะเหล็กประเทศไทย (เวลาที่กำหนดในการแข่งขัน คือ 20 นาที)
ช่วงเชฟกระทะเหล็ก
เชฟผู้ท้าชิงจะต้องแข่งขันทำอาหารกับเชฟกระทะเหล็กประจำรายการ โดยผู้ท้าชิงมีสิทธิ์เลือกว่าต้องการอยากประลองยุทธ์กับเชฟกระทะเหล็กท่านใด (เชฟกระทะเหล็ก อาหารไทย, เชฟกระทะเหล็ก อาหารญี่ปุ่น, เชฟกระทะเหล็ก อาหารตะวันตก และ เชฟกระทะเหล็ก อาหารจีน) โดยทั้งสองฝ่ายจะมีวัตถุดิบหลักและเวลาเป็นตัวกำหนดสำหรับการแข่งขัน (เวลาที่กำหนดในการแข่งขัน คือ 60 นาที) มีการนำเสนอ, การแสดงความคิดเห็น และการตัดสิน หลังผู้ท้าชิงและเชฟกระทะเหล็ก ทำอาหารเสร็จเรียบร้อย จะต้องนำเสนออาหารของตัวเองต่อกรรมการก่อนชิม จากนั้นคณะกรรมการจะทำการแสดงความคิดเห็น พร้อมตัดสินว่า...อาหารจานใดระหว่าง เชฟผู้ท้าชิง หรือ เชฟกระทะเหล็ก จะมีรสชาติชนะใจกรรมการ ในกรณีที่ผลการแข่งขันเสมอกัน จะมีการแข่งขันแบบต่อเวลาพิเศษอีก 30 นาที โดยเชฟทั้งสองฝ่ายจะต้องทำอาหารเพิ่มขึ้นอีก 1 เมนู โดยใช้วัตถุดิบพิเศษที่รายการกำหนดไว้ให้
รูปแบบที่ 2
ช่วงสรรหาผู้ท้าชิงและเมนูพิเศษเฉพาะตัว
ประธานสรรหาทั้ง 3 คน จะทำการคัดสรรเชฟที่มีฝีมือจากทั่วสารทิศ มาเป็น เชฟผู้ท้าชิง พร้อมกับดารารับเชิญ 3 ท่าน หรืออาจจะมากกว่านั้น ซึ่งเชฟผู้ท้าชิงจะมาทำอาหารเมนูพิเศษตามความถนัดของตนเอง จากแบบทดสอบพิเศษ ซึ่งจะเปลี่ยนไปในแต่ละสัปดาห์ เวลาที่กำหนดในการทำอาหาร คือ 30 นาที โดยจะมีรูปแบบแบบทดสอบพิเศษต่างๆ กันไป ดังนี้
- แบบเมนูประจำตัว (Signature Dish) เชฟผู้ท้าชิง จะทำอาหารด้วยวัตถุดิบที่เชฟจัดเตรียมมาสำหรับการนำเสนอเมนูของตัวเองโดยเฉพาะ
- แบบอาหารตามสั่ง (Made To Order) เชฟผู้ท้าชิง จะทำอาหารจากโจทย์วัตถุดิบหลักและโจทย์รูปแบบการทำอาหาร ในไตล์ต่างๆ อาทิเช่น ไทย, จีน, ยุโรป และอื่นๆ ที่ทางรายการกำหนดมาให้ ซึ่งเปรียบเสมือนการรับรายการจากลูกค้าในรูปแบบอาหารตามสั่ง ให้ประธานสรรหาและดารารับเชิญ 3 ท่านชิมกัน
- แบบ 3 วัตถุดิบปริศนา (Secret Ingredient) เชฟผู้ท้าชิง จะทำอาหารจากโจทย์วัตถุดิบปริศนา ที่ทางรายการกำหนดให้จำนวน 3 อย่าง โดยจะต้องชูรสชาติ ของวัตถุดิบลับทั้ง 3 อย่างให้ได้มากที่สุด ในบางครั้งทางรายการจะบอกวัตถุดิบปริศนามาก่อน 1 อย่าง โดยวัตถุดิบปริศนา 2 อย่างที่เหลือ จะถูกเลือกผ่านมาจาก นักช็อปปริศนา ให้ประธานสรรหาและดารารับเชิญ 3 ท่านชิมกัน
- แบบบอกคำปริศนา (Story Telling) เชฟผู้ท้าชิง จะทำอาหารจากโจทย์ปริศนา 1 ประโยคจากบุคคลพิเศษ เพื่อสื่อถึงปริศนานั้น ซึ่งเปรียบเสมือนการเล่าเรื่องราวศิลปะต่างๆ ผ่านจานอาหารนั้นๆ ให้ประธานสรรหาและดารารับเชิญ 3 ท่านชิมกัน
- แบบเครื่องมือปริศนา (Secret Equipment) เชฟผู้ท้าชิง จะทำอาหารจากโจทย์อุปกรณ์ปริศนา ที่ทางรายการกำหนดให้จำนวน 1 ชิ้น โดยเชฟผู้ท้าชิงต้องใช้อุปกรณ์ปริศนานั้น เป็นอุปกรณ์หลักในการทำอาหาร ให้ประธานสรรหาและดารารับเชิญ 3 ท่านชิมกัน
- แบบนักชิมปริศนา (Mystery Judges) เชฟผู้ท้าชิง จะต้องทำอาหารจานพิเศษ สำหรับกลุ่มนักชิมปริศนา โดยตอบโจทย์ความต้องการของนักชิมปริศนา ให้เสร็จทันเวลาที่กำหนดและครบตามจำนวนนักชิม
ช่วงเชฟกระทะเหล็ก
เชฟผู้ท้าชิงจะต้องแข่งขันทำอาหารกับเชฟกระทะเหล็กประจำรายการ โดยผู้ท้าชิงมีสิทธิ์เลือกว่าต้องการอยากประลองยุทธ์กับเชฟกระทะเหล็กท่านใด (เชฟกระทะเหล็ก อาหารไทย, เชฟกระทะเหล็ก อาหารญี่ปุ่น, เชฟกระทะเหล็ก อาหารตะวันตก และ เชฟกระทะเหล็ก อาหารจีน) โดยทั้งสองฝ่ายจะมีวัตถุดิบหลักและเวลาเป็นตัวกำหนดสำหรับการแข่งขัน (เวลาที่กำหนดในการแข่งขัน คือ 60 นาที) มีการนำเสนอ, การแสดงความคิดเห็น และการตัดสิน หลังผู้ท้าชิงและเชฟกระทะเหล็ก ทำอาหารเสร็จเรียบร้อย จะต้องนำเสนออาหารของตัวเองต่อกรรมการก่อนชิม จากนั้นคณะกรรมการจะทำการแสดงความคิดเห็น พร้อมตัดสินว่า...อาหารจานใดระหว่าง เชฟผู้ท้าชิง หรือ เชฟกระทะเหล็ก จะมีรสชาติชนะใจกรรมการ ในกรณีที่ผลการแข่งขันเสมอกัน จะมีการแข่งขันแบบต่อเวลาพิเศษอีก 30 นาที โดยเชฟทั้งสองฝ่ายจะต้องทำอาหารเพิ่มขึ้นอีก 1 เมนู โดยใช้วัตถุดิบพิเศษที่รายการกำหนดไว้ให้
ช่วงโรงเรียนกระทะเหล็ก
เชฟกระทะเหล็ก จะมาสาธิตการทำอาหารให้แก่ดารารับเชิญและผู้ชมทางบ้านที่สมัครเข้ารวมรายการ รวม 6 ท่าน หรืออาจจะมากกว่านั้น และทุกวันพุธสุดท้ายของแต่ละเดือน เชฟผู้ท้าชิงที่เคยแข่งขันในรายการ จะมาสาธิตการทำอาหารแทนเชฟกระทะเหล็ก หลังจากนั้นจะเลือกผู้ร่วมรายการ 2 ท่าน มาทำอาหารตามเชฟกระทะเหล็กหรือเชฟผู้ท้าชิงที่เคยแข่งขันในรายการ ซึ่งผู้ร่วมรายการที่เหลือ 4 คน จะทำการชิมและให้คะแนนว่าอาหารที่คนไหนทำ อร่อยกว่ากัน คนที่ได้คะแนนมากกว่า จะได้เป็น นักเรียนดีเด่น และได้รับประกาศนียบัตรเป็นของที่ระลึก
รูปแบบที่ 3
ประชันวัตถุดิบ
จะมีวัตถุดิบ 2 ชนิดออกมาให้ได้ชมกัน โดยหนึ่งในนั้นจะเป็นวัตถุดิบหลักที่ใช้แข่งในวันนั้นจริงๆ หรือบางครั้งอาจจะไม่เกี่ยวกับวัตถุดิบเลย แต่จะเป็นการทำอาหารให้แขกรับเชิญได้รับประทานกัน โดยจะมีเชฟประสพโชค ตระกูลแพทย์ (เชฟอาร์ต), เชฟบรรณ บริบูรณ์ (เชฟอิ๊ค), เชฟธัชพล ชุมดวง (เชฟตูน) สลับเปลี่ยนหมุนเวียนกันมา สัปดาห์ละ 2 คนเพื่อเป็นตัวแทนและนำเสนอวัตถุดิบอย่างละฝ่าย พร้อมทั้งทำอาหารจากวัตถุดิบนั้นๆ ให้กับแขกรับเชิญได้รับประทานด้วย
ช่วงเชฟกระทะเหล็ก
เชฟผู้ท้าชิงจะต้องแข่งขันทำอาหารกับเชฟกระทะเหล็กประจำรายการ โดยผู้ท้าชิงมีสิทธิ์เลือกว่าต้องการอยากประลองยุทธ์กับเชฟกระทะเหล็กท่านใด (เชฟกระทะเหล็ก อาหารไทย, เชฟกระทะเหล็ก อาหารญี่ปุ่น, เชฟกระทะเหล็ก อาหารตะวันตก และ เชฟกระทะเหล็ก อาหารจีน) โดยทั้งสองฝ่ายจะมีวัตถุดิบหลักและเวลาเป็นตัวกำหนดสำหรับการแข่งขัน (เวลาที่กำหนดในการแข่งขัน คือ 60 นาที) มีการนำเสนอ, การแสดงความคิดเห็น และการตัดสิน หลังผู้ท้าชิงและเชฟกระทะเหล็ก ทำอาหารเสร็จเรียบร้อย จะต้องนำเสนออาหารของตัวเองต่อกรรมการก่อนชิม จากนั้นคณะกรรมการจะทำการแสดงความคิดเห็น พร้อมตัดสินว่า...อาหารจานใดระหว่าง เชฟผู้ท้าชิง หรือ เชฟกระทะเหล็ก จะมีรสชาติชนะใจกรรมการ ในกรณีที่ผลการแข่งขันเสมอกัน อาจจะมีการแข่งขันแบบต่อเวลาพิเศษอีก 30 นาที โดยเชฟทั้งสองฝ่ายจะต้องทำอาหารเพิ่มขึ้นอีก 1 เมนู โดยใช้วัตถุดิบพิเศษที่รายการกำหนดไว้ให้ หรืออาจจะไม่มีการต่อเวลา และคงผลเสมอไว้เช่นเดิม
รูปแบบที่ 4
ช่วงเชฟกระทะเหล็ก
รูปแบบจะคล้ายคลึงกับ เชฟกระทะเหล็ก ประเทศสหรัฐอเมริกา (อังกฤษ: Iron Chef America) ซึ่งเชฟทั้งสองฝ่ายจะมีเวลาในการแข่งขัน 60 นาที เหมือนเดิม โดยภายใน 20 นาทีแรกนั้น เชฟทั้งสองฝ่ายจะต้องทำอาหาร 1 เมนู ให้เสร็จเรียบร้อย พร้อมเสิร์ฟด้วยตนเองให้กับคณะกรรมการได้ชิมกันจานต่อจาน โดยคณะกรรมการ 3 คน จะทำการชิมพร้อมกับแสดงความคิดเห็นและให้คะแนนกันแบบระบบเวลาจริงเลย มีคะแนนส่วนนี้ให้ 5 คะแนน ถ้าทำไม่ทัน คะแนนส่วนนี้จะเป็น 0 คะแนนโดยทันที จากนั้นอีก 40 นาทีที่เหลือเชฟทั้งสองฝ่าย ต้องรังสรรค์อย่างน้อย 4 เมนูให้เสร็จทันเวลา ที่มากไปกว่านั้นเพื่อเพิ่มความท้าทายและความกดดันให้กับเชฟทั้งสองฝ่าย ท่านประธานสันติได้เพิ่ม โจทย์พิเศษ (Culinary Curve Ball) ที่สามารถเป็นได้ทั้งวัตถุดิบหรืออุปกรณ์เสริม ซึ่งเชฟทั้งสองฝ่าย ต้องใช้โจทย์พิเศษนี้เป็นองค์ประกอบในเมนูใดเมนูหนึ่งให้ได้นั้นเอง ซึ่งเราจะได้ประหลาดใจไปกับวิธีการแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าของเชฟแต่ละท่าน แถมยังได้เห็นถึงจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของพวกเขา มีคะแนนส่วนนี้ให้ 5 คะแนน และคณะกรรมการ 3 คน ทำการให้คะแนน โดยจะพิจารณาจากคะแนนด้านรสชาติความอร่อย 10 คะแนน, ด้านความสวยงามและความคิดสร้างสรรค์ 5 คะแนน และด้านความสามารถในการดึงรสชาติของวัตถุดิบหลัก 5 คะแนน
ช่วงโรงเรียนกระทะเหล็ก
เชฟกระทะเหล็ก จะมาสาธิตการทำอาหารให้แก่ดารารับเชิญและผู้ชมทางบ้านที่สมัครเข้ารวมรายการ รวม 6 ท่าน หรืออาจจะมากกว่านั้น และทุกวันพุธสุดท้ายของแต่ละเดือน เชฟผู้ท้าชิงที่เคยแข่งขันในรายการ จะมาสาธิตการทำอาหารแทนเชฟกระทะเหล็ก หลังจากนั้นจะเลือกผู้ร่วมรายการ 2 ท่าน มาทำอาหารตามเชฟกระทะเหล็กหรือเชฟผู้ท้าชิงที่เคยแข่งขันในรายการ ซึ่งผู้ร่วมรายการที่เหลือ 4 คน จะทำการชิมและให้คะแนนว่าอาหารที่คนไหนทำ อร่อยกว่ากัน คนที่ได้คะแนนมากกว่า จะได้เป็น นักเรียนดีเด่น และได้รับประกาศนียบัตรเป็นของที่ระลึก
รูปแบบที่ 5
ช่วงเชฟกระทะเหล็ก
เชฟผู้ท้าชิงจะต้องแข่งขันทำอาหารกับเชฟกระทะเหล็กประจำรายการ โดยผู้ท้าชิงมีสิทธิ์เลือกว่าต้องการอยากประลองยุทธ์กับเชฟกระทะเหล็กท่านใด (เชฟกระทะเหล็ก อาหารไทย, เชฟกระทะเหล็ก อาหารญี่ปุ่น, เชฟกระทะเหล็ก อาหารตะวันตก แนวอินโนเวทีฟ, เชฟกระทะเหล็ก อาหารจีนร่วมสมัย, เชฟกระะทะเหล็ก อาหารหวาน, เชฟกระทะเหล็ก อาหารเอเชี่ยนทวิสต์คิวชีน และเชฟกระทะเหล็ก อาหารยุโรป) โดยทั้งสองฝ่ายจะมีวัตถุดิบหลักและจะมีเวลาในการแข่งขัน 60 นาที เป็นตัวกำหนดสำหรับการแข่งขัน โดยภายใน 20 นาทีแรกนั้น เชฟทั้งสองฝ่ายจะต้องทำอาหาร 1 เมนู ให้เสร็จเรียบร้อย พร้อมเสิร์ฟด้วยตนเองให้กับคณะกรรมการได้ชิมกันจานต่อจาน โดยคณะกรรมการ 3 คน จะทำการชิมพร้อมกับแสดงความคิดเห็นและให้คะแนนกันแบบระบบเวลาจริงเลย มีคะแนนส่วนนี้ให้คนละ 5 คะแนน ถ้าทำไม่ทัน คะแนนส่วนนี้จะเป็น 0 คะแนนโดยทันที จากนั้นอีก 40 นาทีที่เหลือเชฟทั้งสองฝ่าย ต้องรังสรรค์อย่างน้อย 4 เมนูให้เสร็จทันเวลา
การตัดสิน
คณะกรรมการ 3 คน จะทำการชิมอาหารและแสดงความคิดเห็นให้กับเชฟทั้งสองฝ่าย จากนั้นคณะกรรมการ 3 คน จะทำการให้คะแนน โดยจะพิจารณาจากคะแนนด้านจานแรกคนละ 5 คะแนน, รสชาติความอร่อยคนละ 10 คะแนน, ด้านความสวยงามและความคิดสร้างสรรค์คนละ 5 คะแนน และด้านความสามารถในการดึงรสชาติของวัตถุดิบหลักคนละ 5 คะแนน รวม 75 คะแนน
รูปแบบที่ 6
ใช้ในวันที่ 8 กรกฎาคม – 9 กันยายน พ.ศ. 2560
ช่วง World Ingredient ภารกิจตามล่าวัตถุดิบสุดขอบโลก
ในช่วงนี้ จะมีลักษณะคล้ายกับช่วงประชันวัตถุดิบในรูปแบบที่ 3 แต่จะเป็นการให้พิธีกรร่วม 2 ท่านคือ เบญจพล เชยอรุณ (กอล์ฟ) และ ชล วจนานนท์ (ชลลี่) มานำเสนอวัตถุดิบที่จะให้ประธานสันติเป็นผู้คัดเลือก เพื่อนำมาใช้ในการแข่งขัน และผู้ชมทางบ้านจะสามารถร่วมสนุกว่าประธานสันติจะเลือกวัตถุดิบชนิดใด เพื่อชิงบัตรกำนัลมูลค่า 10,000 บาท
ช่วงเชฟกระทะเหล็ก
เชฟผู้ท้าชิงจะต้องแข่งขันทำอาหารกับเชฟกระทะเหล็กประจำรายการ โดยผู้ท้าชิงมีสิทธิ์เลือกว่าต้องการอยากประลองยุทธ์กับเชฟกระทะเหล็กท่านใด (เชฟกระทะเหล็ก อาหารไทย, เชฟกระทะเหล็ก อาหารญี่ปุ่น, เชฟกระทะเหล็ก อาหารตะวันตก แนวอินโนเวทีฟ, เชฟกระทะเหล็ก อาหารจีนร่วมสมัย, เชฟกระะทะเหล็ก อาหารหวาน, เชฟกระทะเหล็ก อาหารเอเชี่ยนทวิสต์คิวชีน และเชฟกระทะเหล็ก อาหารยุโรป) โดยทั้งสองฝ่ายจะมีวัตถุดิบหลักและจะมีเวลาในการแข่งขัน 60 นาที เป็นตัวกำหนดสำหรับการแข่งขัน โดยภายใน 20 นาทีแรกนั้น เชฟทั้งสองฝ่ายจะต้องทำอาหาร 1 เมนู ให้เสร็จเรียบร้อย พร้อมเสิร์ฟด้วยตนเองให้กับคณะกรรมการได้ชิมกันจานต่อจาน จากนั้นอีก 40 นาทีที่เหลือเชฟทั้งสองฝ่าย ต้องรังสรรค์อย่างน้อย 4 เมนูให้เสร็จทันเวลา
การตัดสิน
คณะกรรมการ 3 คน จะทำการชิมอาหารและแสดงความคิดเห็นให้กับเชฟทั้งสองฝ่าย จากนั้นคณะกรรมการ 3 คน จะทำการให้คะแนน โดยจะพิจารณาจากคะแนนด้านจานแรกคนละ 5 คะแนน, รสชาติความอร่อยคนละ 10 คะแนน, ด้านความสวยงามและความคิดสร้างสรรค์คนละ 5 คะแนน และด้านความสามารถในการดึงรสชาติของวัตถุดิบหลักคนละ 5 คะแนน รวม 75 คะแนน
แบบที่ 7
ใช้ในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 – 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2565
ช่วงเชฟกระทะเหล็ก
เชฟผู้ท้าชิงจะต้องแข่งขันทำอาหารกับเชฟกระทะเหล็กประจำรายการ โดยผู้ท้าชิงมีสิทธิ์เลือกว่าต้องการอยากประลองยุทธ์กับเชฟกระทะเหล็กท่านใด (เชฟกระทะเหล็ก อาหารญี่ปุ่น, เชฟกระทะเหล็ก อาหารตะวันตก แนวอินโนเวทีฟ, เชฟกระทะเหล็ก อาหารจีนร่วมสมัย, เชฟกระะทะเหล็ก อาหารหวาน, เชฟกระทะเหล็ก อาหารเอเชี่ยนแนวผสมผสาน, เชฟกระทะเหล็ก อาหารตะวันตกแนวผสมผสาน และเชฟกระทะเหล็ก อาหารฝรั่งเศส) โดยทั้งสองฝ่ายจะมีวัตถุดิบหลักและจะมีเวลาในการแข่งขัน 60 นาที เป็นตัวกำหนดสำหรับการแข่งขัน เชฟทั้งสองฝ่ายจะต้องรังสรรค์ 5 เมนู ให้เสร็จทันเวลา จากนั้นเมื่อผ่านไป 45 นาที จะมีวัตถุดิบปริศนา (Culinary Curve Ball) ซึ่งเชฟทั้งสองฝ่ายจะต้องนำวัตถุดิบปริศนามาใช้ทำอาหารเป็นวัตถุดิบหลักในเมนูสุดท้ายจาก 5 เมนู (มีเพียงเทปวันที่ 11 และ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ที่ใช้กติกาจากรูปแบบรายการแบบที่ 4 คือเชฟทั้งสองฝ่ายจะต้องนำวัตถุดิบปริศนานำมาประกอบการรังสรรค์อย่างน้อย 1 เมนูจาก 5 เมนู)
การตัดสิน
จะมีคณะกรรมการ 3 และ 4 คน จะทำการให้คะแนน ซึ่งเกณฑ์การตัดสินคะแนนจะพิจารณาด้านความอร่อย 50 คะแนน, ความคิดสร้างสรรค์เมนู 25 คะแนน, ความคิดสร้างสรรค์ตกแต่งจาน 25 คะแนน และการชูวัตถุดิบหลัก 50 คะแนน รวม 150 คะแนน (ในช่วงวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 - 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 จะใช้เกณฑ์การตัดสินจะพิจารณาด้านความอร่อย 10 คะแนน, ความคิดสร้างสรรค์และตกแต่งจาน 5 คะแนน, การชูวัตถุดิบหลัก 5 คะแนน และวัตถุดิบปริศนา 5 คะแนน (ในเทปวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2561 ซึ่งจะมีคะแนนพิเศษซึ่งก็คือ โจทย์พิเศษ 2 อีกคนละ 5 คะแนน))
รูปแบบที่ 1 Blind Tasting
ในรูปแบบ Blind Tasting คณะกรรมการจะไม่ทราบมาก่อนว่าเมนูอาหารแต่ละจานที่จะได้รับประทานนั้นเป็นของเชฟท่านใด เพื่อป้องกันปัญหาการล็อกผล โดยกรรมการทั้งสี่จะเก็บตัวในระหว่างที่เชฟทั้งสองทำการรังสรรค์เมนู และเมื่อเข้าสู่ช่วงการตัดสิน เชฟทั้งสองจะถูกนำไปเก็บตัวและดูการตัดสินผ่านทางจอมอนิเตอร์ และอาหารของเชฟทั้งสองจะถูกเสิร์ฟให้แก่คณะกรรมการทำการตัดสิน โดยคณะกรรมการจะทำการตัดสินหน้าเวทีของ Kitchen Stadium (ในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 – 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563) ต่อมาเปลี่ยนเป็นห้อง Bidding Battle ของ ศึกค้นหาเชฟกระทะเหล็ก (28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 - 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2565) โดยจะใช้อักษรย่อว่าเป็นเชฟ A หรือ B ในการแทนตัวเชฟผู้ท้าชิงและเชฟกระทะเหล็ก เริ่มใช้ในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 – 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 และ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 - 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 นอกจากนี้ตั้งแต่วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 - 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 จะสลับจานเสิร์ฟในแต่ละเมนู ทำให้กรรมการคาดเดาแนวทางการทำอาหารของเชฟได้ยากขึ้น
รูปแบบที่ 2 เปิดเผย
ในรูปแบบเปิดเผย จะให้ทั้งเชฟกระทะเหล็กและเชฟผู้ท้าชิงเข้าไปในห้อง Bidding Battle ของ ศึกค้นหาเชฟกระทะเหล็ก โดยจะมีคณะกรรมการมานั่งชิมอาหารของเชฟกระทะเหล็กและเชฟผู้ท้าชิงพร้อมกัน โดยมีการเปิดเผยหน้าเชฟกระทะเหล็กและเชฟผู้ท้าชิงแบบให้เห็นแบบต่อหน้าต่อตา แต่จะยังมีการวิจารณ์คล้าย ๆ กับรูปแบบ Blind Tasting เดิม เริ่มใช้ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2563 – 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564
ปัจจุบัน (แบบที่ 8)
[แก้]ใช้ในวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน
ช่วงแนะนำผู้ท้าชิง
[แก้]ในช่วงเริ่มรายการ กอล์ฟ - สัญญา ธาดาธนวงศ์ และกระติ๊บ - ชวัลกร วรรธนพิสิฐกุล ซึ่งเป็นพิธีกรภาคสนาม จะเดินทางไปยังร้านอาหารของเชฟผู้ท้าชิง เพื่อแนะนำและทำความรู้จักกับเชฟผู้ท้าชิง โดยเชฟผู้ท้าชิงยังมีการทำเมนูเอกลักษณ์ (Signature Dish) ให้พิธีกรภาคสนามได้รับประทานก่อนจะเข้าสู่การแข่งขันจริง โดยช่วงนี้ใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 - 1 เมษายน พ.ศ. 2566
ช่วงเชฟกระทะเหล็ก
[แก้]เชฟผู้ท้าชิงจะต้องแข่งขันทำอาหารกับเชฟกระทะเหล็กประจำรายการ โดยผู้ท้าชิงมีสิทธิ์เลือกว่าต้องการอยากประลองยุทธ์กับเชฟกระทะเหล็กท่านใด (เชฟกระทะเหล็ก อาหารญี่ปุ่น, เชฟกระทะเหล็ก อาหารตะวันตกแนวอินโนเวทีฟ, เชฟกระทะเหล็ก อาหารจีนร่วมสมัย, เชฟกระทะเหล็ก อาหารหวาน, เชฟกระทะเหล็ก อาหารตะวันตกแนวผสมผสาน, เชฟกระทะเหล็ก อาหารฝรั่งเศส, เชฟกระทะเหล็ก อาหารยุโรปแนวผสมผสาน, เชฟกระทะเหล็ก อาหารยุโรปร่วมสมัย) โดยผู้ท้าชิงสามารถกำหนดโจทย์เพื่อทดสอบเชฟกระทะเหล็กได้ด้วย โดยจะต้องแข่งขันทั้งหมด 2 รอบ ดังนี้
รอบแรก
[แก้]ทั้งสองเชฟจะมีวัตถุดิบหลักอย่างแรกซึ่งจะใช้ในการทำเมนูที่ 1 และเมนูที่ 2 ไปก่อน และจะมีเวลาในการแข่งขัน 60 นาที เป็นตัวกำหนดสำหรับการแข่งขัน โดยเชฟทั้งสองฝ่ายจะต้องทำอาหาร 1 เมนู ให้เสร็จเรียบร้อย และต้องเสิร์ฟเมนูแรกให้คณะกรรมการชิมไปก่อนภายใน 15 นาทีแรก จึงจะกลับมาแข่งขันต่อได้ จากนั้นอีก 5 นาทีต่อมา จะต้องตัดเชฟผู้ช่วยออก 1 คน (จะเหลือ 3 คน) และจะมีวัตถุดิบที่ 2 ซึ่งจะใช้ในการทำเมนูที่ 3 และเมนูที่ 4 และเมื่อเหลือ 20 นาทีสุดท้าย จะต้องตัดเชฟผู้ช่วยออกอีก 1 คน (จะเหลือ 2 คน) และจะมีวัตถุดิบปริศนา (Culinary Curve Ball) ซึ่งเชฟทั้งสองฝ่ายจะต้องนำวัตถุดิบปริศนามาใช้ทำอาหารเป็นวัตถุดิบหลักในเมนูที่ 5 และเมื่อหมดเวลา ทั้งสองเชฟจะต้องเสิร์ฟทั้ง 4 เมนูที่เหลือให้คณะกรรมการได้ชิมในลำดับต่อไป เมื่อคณะกรรมการชิมอาหารทั้ง 4 เมนูเสร็จสิ้น จะต้องไปแข่งขันต่อในรอบ One-On-One Battle หรือการแข่งขันแบบตัวต่อตัวต่อไป
ตั้งแต่วันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2565 ได้มีการปรับเปลี่ยนกติกาเล็กน้อย โดยเมื่อเปิดตัววัตถุดิบที่ 2 ไปแล้ว จะมีเวลาเหลืออีก 15 นาทีที่เชฟทั้งสองฝ่ายจะต้องทำอาหารและเสิร์ฟเมนูจากวัตถุดิบที่ 2 อีก 1 เมนูให้คณะกรรมการชิม และเมื่อหมดเวลา 60 นาที ทั้งสองเชฟจะต้องเสิร์ฟทั้ง 3 เมนูที่เหลือให้คณะกรรมการได้ชิมในลำดับต่อไป
รอบ One-On-One Battle (การแข่งขันแบบตัวต่อตัว)
[แก้]ทั้งสองเชฟจะต้องแข่งขันกันแบบตัวต่อตัว โดยไม่มีเชฟผู้ช่วยเลย โดยจะต้องรังสรรค์อาหารจากวัตถุดิบหลัก 1 อย่าง และเมื่อประตู Supermaket เปิด ทั้งสองเชฟจะต้องไปช็อปปิ้งวัตถุดิบเพิ่มเติมใน Supermaket ภายใน 3 นาที เมื่อหมดเวลาประตูจะปิด ถ้าออกมาไม่ทันจะถูกขังไว้ใน Supermaket เป็นเวลา 5 นาที และจะต้องทำอาหารเมนูที่ 6 เมนูสุดท้ายภายในเวลา 30 นาที หลังเปิดตัววัตถุดิบ เมื่อหมดเวลาทั้งสองเชฟจะต้องเสิร์ฟเมนูที่ 6 เมนูสุดท้าย ให้คณะกรรมการได้ชิมในลำดับต่อไป
ตั้งแต่วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน ได้มีการปรับกติกาการช็อปปิ้งวัตถุดิบใน Supermarket เล็กน้อย โดยอิงจากการเปลี่ยนสีของไฟฉากเป็นสีแดง ซึ่งยังคงมีเวลาในการช็อปปิ้งเพียง 3 นาทีนับตั้งแต่ไฟเปลี่ยนสี แต่จะไม่มีการขัง โดยหลังหมดเวลา ไฟฉากจะเปลี่ยนสีจากสีแดงกลับไปเป็นสีขาว และเชฟทั้งคู่จะต้องออกจาก Supermarket ทันที โดยไม่สามารถเข้าไปได้อีก
รูปแบบพิเศษ Fast & Delicious
[แก้]ใช้ในวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2566 และ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567
เชฟทั้งสองฝ่ายจะมีเวลาทั้งหมด 75 นาที สำหรับการทำอาหารทั้ง 6 เมนู โดยทั้งสองฝ่ายจะไม่ทราบว่าโจทย์วัตถุดิบจะออกมาในเวลาใด และต้องเสิร์ฟให้กับคณะกรรมการภายในเวลาใด ซึ่งเชฟทั้งสองฝ่ายจะต้องบริหารเวลาด้วยตนเอง[2]
การตัดสิน
[แก้]ให้ทั้งเชฟกระทะเหล็กและเชฟผู้ท้าชิงนำอาหารเข้าไปที่ห้อง Bidding Battle ของศึกค้นหาเชฟกระทะเหล็ก (ในวันที่ 18 มิถุนายน - 17 ธันวาคม พ.ศ. 2565) หรือโต๊ะกรรมการด้านหลังของ Kitchen Stadium (11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน) และอธิบายอาหารด้วยตัวเองเพื่อเสิร์ฟให้คณะกรรมการ 4 คน ที่มานั่งชิมอาหารพร้อมกัน โดยยังคงมีการวิจารณ์อาหารคล้าย ๆ กับรูปแบบก่อนหน้า ซึ่งมีเกณฑ์การตัดสินคะแนนคือ รสชาติ, ความคิดสร้างสรรค์ และการชูวัตถุดิบหลัก ส่วนลำดับเวลาการเสิร์ฟและคะแนนการตัดสินเป็นดังนี้
วันที่ใช้ \ เวลาเสิร์ฟ | รอบแรก | รอบ One-on-One Battle | คะแนนสูงสุดต่อจาน | ||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
นาทีที่ 15 | นาทีที่ 35 | หลังจบรอบ | หลังจบรอบ | เมนูที่ 1-5 | เมนูที่ 6 | รวม | |
18 มิถุนายน - 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 | เสิร์ฟ 1 เมนูจากวัตถุดิบที่ 1 | ไม่ต้องเสิร์ฟ | เสิร์ฟ 4 เมนูที่เหลือ | เสิร์ฟเมนูที่ 6 | 15 คะแนน | 30 คะแนน | 105 คะแนน |
6 สิงหาคม - 10 กันยายน พ.ศ. 2565 | 10 คะแนน | 50 คะแนน | 100 คะแนน | ||||
17 กันยายน พ.ศ. 2565 - ปัจจุบัน | เสิร์ฟ 1 เมนูจากวัตถุดิบที่ 2 | เสิร์ฟ 3 เมนูที่เหลือ |
สำหรับรูปแบบ Fast & Delicious มีเกณฑ์การตัดสินคะแนนคือ รสชาติ, ความคิดสร้างสรรค์ และการชูวัตถุดิบหลัก ซึ่งจะให้คะแนนสูงสุด 10 คะแนนต่อจาน รวมคะแนนสูงสุด 60 คะแนน[3]
ทั้งนี้ หากเชฟผู้ท้าชิงสามารถชนะเชฟกระทะเหล็กได้ จะได้รับถ้วยรางวัลเชฟกระทะเหล็ก (Iron Chef Trophy) ไปครอบครองด้วย
เชฟกระทะเหล็ก
[แก้]รายชื่อเชฟกระทะเหล็กที่ปรากฏในรายการ ซึ่งแสดงสถิติการแข่งขันผลชนะ เสมอ แพ้ ของเชฟกระทะเหล็กแต่ละคน โดยกล่องสีจะแทนแถบสีของชุดเชฟกระทะเหล็ก
เชฟกระทะเหล็ก | ความเชี่ยวชาญด้านอาหาร | ชนะ | เสมอ | แพ้ | ทั้งหมด | % ชนะ | สถานะ |
---|---|---|---|---|---|---|---|
ชัยเทพ ภัทรพรไพศาล | อาหารจีน (Chinese Cuisine) | 1 | 0 | 1 | 2 | 50.0% | ✖ |
พงษ์ธวัช เฉลิมกิตติชัย | อาหารตะวันตก (Western Cuisine) | 70 | 4 | 12 | 86 | 83.7% | ✔ |
บุญธรรม ภาคโพธิ์ | อาหารญี่ปุ่น (Japanese Cuisine) | 45 | 4 | 16 | 65 | 73.5% | ✔ |
ชุมพล แจ้งไพร | อาหารไทย (Thai Cuisine) | 45 | 4 | 5 | 54 | 87.0% | ✖ |
เฮง ชุง ไล | อาหารจีน (Chinese Cuisine) | 1 | 1 | 5 | 7 | 21.4% | ✖ |
ธนรักษ์ ชูโต | อาหารจีน (Chinese Cuisine) | 68 | 4 | 9 | 81 | 86.4% | ✔ |
ธนัญญา ไข่แก้ว | อาหารหวาน (Dessert) | 54 | 2 | 33 | 91 | 60.1% | ✔ |
ธนินธร จันทรวรรณ | อาหารอิตาเลียน (Italian Cuisine) | 6 | 2 | 4 | 12 | 58.3% | ✖ |
ประสพโชค ตระกูลแพทย์ | อาหารเอเชียน (Asian Cuisine) | 40 | 0 | 16 | 56 | 71.4% | ✖ |
ธรรมศักดิ์ ชูทอง | อาหารยุโรป (European Cuisine) | 5 | 0 | 3 | 8 | 62.5% | ✖ |
ณัฐวุฒิ ธรรมพันธุ์ | อาหารฟิวชัน (Fusion Cuisine) | 23 | 0 | 11 | 34 | 67.6% | ✔ |
พฤกษ์ สัมพันธวรบุตร | อาหารฝรั่งเศส (French Cuisine) | 13 | 1 | 10 | 24 | 56.3% | ✔ |
ธีรภัทร ตียาสุนทรานนท์ | อาหารยุโรป (European Cuisine) | 18 | 0 | 10 | 28 | 64.3% | ✔ |
มาร์ติน บลูโนส | อาหารตะวันตก (Western Cuisine) | 6 | 1 | 1 | 8 | 81.3% | ✔ |
การแข่งขัน
[แก้]วัตถุดิบหลักที่นำมาใช้รายการบางครั้งก็จะมีราคาแพงและแปลกใหม่ เช่น ปลาเก๋ามังกร, ปลาแซลมอน, ปลาหมึกยักษ์, ปูทาราบะ แต่บางครั้งก็จะเป็นวัตถุดิบที่หาได้ง่ายโดยทั่วไป เช่น กุ้งแม่น้ำ, กะหล่ำปลี เป็นต้น ซึ่งบางครั้งก็แสดงถึงความเป็นพื้นบ้านในประเทศไทย เช่น ปลาร้า, ไก่บ้าน โดยวัตถุดิบหลักในแต่ละสัปดาห์ทั้งเชฟผู้ท้าชิงและเชฟกระทะเหล็กจะต้องนำมาทำอาหาร 5 เมนู ซึ่งจำนวนจานของอาหารแต่ละอย่างที่ต้องเตรียมในการตัดสินนั้นจะมีอย่างน้อย 6 จาน กล่าวคือ เตรียมให้ประธาน 1 จาน และคณะกรรมการตามจำนวนคณะกรรมการในแต่ละสัปดาห์ และต้องเตรียม 1 จาน ของอาหารแต่ละอย่างออกมาต่างหากสำหรับการถ่ายภาพและการนำเสนอ โดยอาหารทั้งหมดจะทำด้วยเชฟกระทะเหล็กและมีผู้ช่วย ปกติแล้วทั้งเชฟผู้ท้าชิงและเชฟกระทะเหล็กจะเตรียมผู้ช่วยเชฟมาเองจำนวน 2 คน (ปัจจุบันต้องเตรียมผู้ช่วยเชฟ 3 คน เนื่องจากในการแข่งขันรอบปกติ จะต้องมีเชฟผู้ช่วยตลอดการแข่งขัน และมีการตัดผู้ช่วยเชฟออก 2 ครั้ง) และอุปกรณ์เครื่องครัว นอกเหนือจากทางรายการที่มีอยู่นำมาใช้ในรายการได้
กรรมการตัดสินในรายการ
[แก้]ในการตัดสินแต่ละครั้งจะมีกรรมการ 5 คน แต่บางครั้งอาจมี 4-6 คน ทั้งนี้อาจมีแขกรับเชิญเป็นดารา นักแสดงหรือผู้มีชื่อเสียงในวงการบันเทิง 1-2 คนรวมอยู่ด้วย ต่อมาภายหลังมีการเปลี่ยนแปลงจนเหลือกรรมการเพียง 4 ท่าน โดยกรรมการส่วนใหญ่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านวงการอาหาร และมีชาวต่างชาติด้วยเป็นบางครั้ง เนื่องจากเป็นเชฟที่ประจำอยู่ตามภัคตาคารต่าง ๆ ที่มีชื่อเสียง
กรรมการประจำรายการ
[แก้]ตัวอย่างเช่น
- สมศักดิ์ รารองคำ (เชฟสมศักดิ์) นายกสมาคมเชฟประเทศไทย กรรมการผู้ตัดสินการแข่งขันทำอาหารเวทีโลก
- หม่อมหลวงภาสันต์ สวัสดิวัตน์ (คุณอิงค์) สุดยอดนักชิมและนักวิจารณ์อาหาร ผู้รอบรู้เรื่องวัตถุดิบ เดินทางชิมอาหารมาแล้วทั่วทุกมุมโลก
- ลลนา พานิช (แมว) นักเดินทาง และนักชิมอาหารทั่วโลก
- วรรณศิริ ศรีวราธนบูลย์ (กุ้ง) บรรณาธิการบริหาร ไทยคลาส มีเดียกรุป
- พีระพัฒน์ ตุลยาเดชานนท์ (พีท) Food Blogger ชื่อดัง เจ้าของแฟนเพจ และยูทูปช่อง กินกับพีท (Eat with Pete)
- สิริวธู รักษาเกียรติ (ตั๊ก) เค้กดีไซน์เนอร์ และ Food And Bakery คอนเซาท์แท่น ที่ปรึกษาด้านอาหารคาวหวาน นักชิมและนักวิจารณ์อาหาร
- เนตรอำไพ สาระโกเศศ (เชฟเนตร) Executive Chef แถวหน้าของประเทศไทย ที่ดูแลร้านอาหารมากกว่า 20 สาขา
- ชลทิพย์ ระยามาศ (โบว์ลิ่ง) บล็อกเกอร์ชื่อดัง จาก Eat and Shout กูรูนักชิมระดับประเทศ และคนไทยคนแรกที่ได้รับรางวัล ฟู้ดอินฟอเรนเซอร์ จากสิงคโปร์
- แมทธิว เบลเล็ค (เชฟแมทธิว) ผู้อำนวยการฝ่ายอาหารและเครื่องดืม โรงแรมรอยัลออคิดเชอราตัน กรุงเทพมหานคร และโรงแรมรอยัลออคิดเชอราตัน หัวหินรีสอร์ทแอนด์สปา จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
- โอลิวิเย่ร์ คาสเทล่า (เชฟโอลิวิเย่ร์) Co-owner ร้าน 31 Degree Bistro และ President of Bocuse D’or Thailand
- กิตติเดช วิมลรัตน์ (แทน) นักวิจารณ์อาหารและ Blogger เจ้าของเพจ ITan - แทนไร้เทียมทาน
- อุบลรัตน์ ช่อธีระพฤกษ์ (มาดามตวง) Food Celeb แถวหน้าของประเทศไทย พิธีกรรายการอาหาร ที่ปรึกษาธุรกิจด้านอาหาร
- จำนงค์ นิรังสรรค์ (เชฟจำนงค์) ที่ปรึกษาสมาคมเชฟประเทศไทย
- ศุภมงคล ศุภพิพัฒน์ (เชฟอาร์ต) เจ้าของ Chef’s table by Chef Art และคณะกรรมการตัดสินรายการแข่งขันทำอาหาร ท็อปเชฟ ไทยแลนด์ (TOP CHEF Thailand)
- ภาคภูมิ สุวรรณเตมีย์ (คุณอาร์ต) คณะกรรมการเชลล์ชวนชิม และเจ้าของเพจเจริญพุงพเนจร ตามรอยตำนานร้านดัง
- ชัชชญา รักตะกนิษฐ (อาจารย์บิ๊บ) เชฟ อาจารย์ และกรรมการผู้เชี่ยวชาญอาหารนานาชาติ
- วิลเมนท์ ลีออง (เชฟวิลแมน) Continental Director of Asia, Worldchefs - World Association of Chefs' Societies, อุปนายกสมาคมเชฟประเทศไทย, ผู้ก่อตั้งสถาบัน Thailand Culinary Academy (สถาบันฝึกและส่งเชฟเยาวชนและมืออาชีพไปแข่งขันในเวทีโลก), หัวหน้าคณะกรรมการตัดสินรายการแข่งขันทำอาหาร ท็อปเชฟ ไทยแลนด์ (TOP CHEF Thailand) และพิธีกร/คณะกรรมการตัดสินรายการเฟ้นหาหัวหน้าเชฟ เฮลล์คิทเช่น ไทยแลนด์ (Hell's Kitchen Thailand)
ฯลฯ
สิ่งสืบเนื่อง
[แก้]ภัตตาคาร
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ (สิงหาคม 2024) |
สินค้า
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ (สิงหาคม 2024) |
อ้างอิง
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เชฟกระทะเหล็ก ประเทศไทย
- รายการโทรทัศน์ช่อง 7
- รายการโทรทัศน์ช่อง 7 เอชดี
- รายการโทรทัศน์โดยเฮลิโคเนีย เอช กรุ๊ป
- รายการโทรทัศน์ไทยที่สร้างจากรายการโทรทัศน์ญี่ปุ่น
- การแข่งขันทำอาหารในประเทศไทย
- รายการโทรทัศน์ไทยที่เริ่มออกอากาศตั้งแต่ พ.ศ. 2555
- เกมโชว์ไทยในคริสต์ทศวรรษ 2010
- รายการการทำอาหารทางโทรทัศน์ไทยในคริสต์ทศวรรษ 2010
- เกมโชว์ไทยในคริสต์ทศวรรษ 2020
- รายการการทำอาหารทางโทรทัศน์ไทยในคริสต์ทศวรรษ 2020