ข้ามไปเนื้อหา

จีอีเอ (รถจักร)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก จีอีเอ)
General Electric CM22-7i / GEA
รถจักรดีเซลไฟฟ้า GEA 4551 จอดในย่านสถานีอุบลราชธานี
ประเภทและที่มา
ประเภทเครื่องยนต์รถจักรดีเซลไฟฟ้า
ผู้สร้างGeneral Electric Transportation
หมายเลขตัวรถ4523 – 4560
โมเดลCM22-7i
จำนวนผลิต38 คัน
คุณลักษณะ
การกำหนดค่า:
 • AARCo-Co
ช่วงกว้างราง1,000 mm (3 ft 3 38 in)
เส้นผ่าศูนย์กลางล้อ914 mm (36.0 in)
รัศมีโค้งแคบ122 m (400 ft)
ความยาว19.355 m (762.0 in)
ความกว้าง2.820 m (111.0 in)
ความสูง3.635 m (143.1 in)
น้ำหนักกดเพลา15 ตัน ต่อเพลา (U15)
น้ำหนักทำงาน90 ตัน
ความจุเชื้อเพลิง4,540 ลิตร
ความจุน้ำมันหล่อลื่น212 ลิตร ต่อเครื่อง
ความจุน้ำ397 ลิตร
ความจุทราย500 ลิตร
เครื่องยนต์Cummins KTA50-L x 2
พิสัยรอบต่อนาที700 - 1800 รอบต่อนาที
ชนิดเครื่องยนต์4 จังหวะ V16 Diesel
Aspirationเทอร์โบชาร์จเจอร์
เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสลับ5 GMG 200 x 2
มอเตอร์ลากจูง5GE792 A1 x 6
ระบบส่งกำลังDC-DC-DC (Electric transmission)
ระบบเบรคทั้งหมดWabco-26L (ลมอัด)
เครื่องปั้มลมอัดKnorr VV450/150-3 x 2 ที่ 1800 รอบต่อนาที (3200 ลิตร)
ค่าประสิทธิภาพ
ความเร็วสูงสุด100 km/h (62 mph)
กำลังขาออก2,500 แรงม้า (1,900 กิโลวัตต์) ที่ 1,800 รอบต่อนาที
แรงฉุด:
 • เริ่มต้น265 kN (60,000 lbf)
 • ต่อเนื่อง174 kN (39,000 lbf) ที่ 32.1 km/h (20 mph)
**แรงดึงเทียบเท่าหรือมากกว่า HID
การบริการ
ผู้ให้บริการการรถไฟแห่งประเทศไทย
ประจำการครั้งแรกพ.ศ. 2538
ปลดประจำการ2 คัน
การจัดการประจำการในปัจจุบัน 36 คัน
รถจักร GEA หมายเลข 4557 จอดอยู่ข้างโรงซ่อมดีเซลรางกรุงเทพ โดยมีรถดีเซลราง ASR หมายเลข 2505 จอดอยู่ข้างๆ

เจเนอรัล อิเล็กทริก ซีเอ็ม22-7ไอ (General Electric CM22-7i) หรือ จีอีเอ (GEA) เป็นรถจักรดีเซลไฟฟ้าของการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่สั่งนำเข้ามาเพื่อใช้ในการทำขบวนรถโดยสารและขบวนรถสินค้า สั่งซื้อจากบริษัท General Electric Transportation รัฐเพนซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2538 จำนวนทั้งสิ้น 38 คัน[1]

รถจักร GEA หมายเลข 4534 จอดอยู่หน้าโรงรถจักรบางซื่อ

หลังจากได้นำเข้ารถจักร เอชไอดี จำนวน 22 คันเข้ามา[1] ภายหลังก็ได้มีการนำเข้ารถจักร GEA เข้ามาเพื่อใช้งานในการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งรถจักรนี้มีบทบาทอย่างมากในการทำขบวนรถไฟโดยสาร และยังสามารถพบเห็นได้ทั่วไปตามขบวนรถด่วนพิเศษ ขบวนรถด่วน ขบวนรถเร็ว ขบวนรถธรรมดา ขบวนรถชานเมือง ขบวนรถท้องถิ่น และขบวนรถสินค้า โดยประเภทขบวนรถทั้งหมดที่ว่ามาขึ้นอยู่กับสถานการณ์และความจำเป็นในการพร้อมใช้งานเพื่อทำขบวนนั้นๆ ไม่สามารถระบุได้อย่างแน่ชัด[2]

รถจักร GEA หมายเลข 4549 จอดอยู่อุบลราขธานี ทำ ข.542 บ้านป๊อกแป๊ก - อุบลราชธานี

รถจักร GEA คือรถจักรที่มีเครื่องยนต์ 2 เครื่อง ใช้เป็น Cummins KTA50-L 4 จังหวะ V16 เครื่องยนต์ดีเซล ให้กำลังรวมอยู่ที่ 2,500 แรงม้า สามารถรับน้ำมันได้ 4,540 ลิตร ความเร็วสูงสุดที่สามารถวิ่งได้คือ 100 กม./ชม. ซึ่งมีความคล้ายกับรถจักร เอชไอดี ในปัจจุบันต่างกันแค่รหัสของเครื่องยนต์ แคร่ของรถจักรนี้มีมอเตอร์ลากจูงหรือที่เรียกว่า Traction motor แบบ DC ติดตั้งอยู่ 1 ตัวต่อเพลา ดังนั้นมีทั้งหมด 6 ตัว ในการช่วยขับเคลื่อนรถจักรเพื่อลากจูงรถโดยสาร และรถสินค้าหนักๆได้สบาย ด้วยแรงดึงเริ่มต้นที่ 265 kN และแรงดึงต่อเนื่องที่ 174 kN ที่ความเร็ว 32.1 กม./ชม. และเนื่องด้วยรถจักรมีระบบระบายความร้อนแบบเก่า เมื่อเวลาทำขบวนรถหนักขึ้นทางภูเขาเครื่องยนต์อาจร้อนได้ง่าย เมื่อเทียบกับรถจักรใหม่ CSR และ QSY ที่การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ใช้งานอยู่ [3]

รถจักรที่ตัดบัญชี

[แก้]
หมายเลข ลักษณะอุบัติเหตุ ขบวนที่ทำ วันที่ สถานที่ ความเสียหาย สถานะปัจจุบัน อ้างอิง
†4526 ชนกับรถบรรทุก ขบวนรถด่วนพิเศษระหว่างประเทศที่ 36 (บัตเตอร์เวอร์ธกรุงเทพ (หัวลําโพง)) 22 มีนาคม พ.ศ. 2549 สถานีรถไฟบ้านคูบัว จังหวัดราชบุรี เสียหายทั้งหมด ตัดบัญชี [4]
†4544 ตกราง ขบวนรถด่วนที่ 84 (ตรัง–กรุงเทพ) 5 ตุลาคม พ.ศ. 2552 สถานีรถไฟเขาเต่า จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เสียหายทั้งหมด ตัดบัญชี [5]

รายชื่อหมายเลขรถจักร

[แก้]
เจเนอรัล อิเล็กทริก ซีเอ็ม22-7ไอ (General Electric CM22-7i)
หมายเลขรถจักร หมายเลขที่ผลิต รุ่น แรงม้า เครื่องยนต์ ล้อ ปีที่เข้าประจำการ หมายเหตุ
4523 48681 CM22-7I 2500 แรงม้า KTA50L x 2 Co-Co สิงหาคม พ.ศ. 2538 - มีนาคม พ.ศ. 2539
4524 48682
4525 48683
4526 48684 ชนกับรถบรรทุกขณะทำขบวนรถด่วนพิเศษระหว่างประเทศที่ 36 (บัตเตอร์เวอร์ธกรุงเทพ (หัวลําโพง)) ที่สถานีรถไฟบ้านคูบัว จังหวัดราชบุรี
4527 48685
4528 48686
4529 48687
4530 48688
4531 48689
4532 48690
4533 48691
4534 48692
4535 48693
4536 48694
4537 48695
4538 48696
4539 48697
4540 48698
4541 48699
4542 48700
4543 48701
4544 48702 ตกรางขณะทำขบวนรถด่วนที่ 84 (ตรัง–กรุงเทพ) ที่สถานีรถไฟเขาเต่า จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ก่อนหน้านั้นเคยเป็นรถจักรทำขบวนพิธีเปิดทางรถไฟสายหนองคาย–เวียงจันทน์ โดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นพิธีเปิดทางรถไฟเส้นนี้
4545 48703
4546 48704
4547 48705
4548 48706
4549 48707
4550 48708
4551 48709
4552 48710
4553 48711
4554 48712
4555 48713
4556 48714
4557 48715
4558 48716
4559 48717
4560 48718

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 รู้หรือไม่รถจักรดีเซลไฟฟ้า จีอีเอ (GEA) สืบค้นเมื่อ 2024-12-20
  2. GEA (General Electric) หมายเลข 4523-4560 จำนวน 38 คัน คือรถจักรรุ่นสุดท้ายที่การรถไฟสั่งเข้ามาใช้งาน สืบค้นเมื่อ 2024-12-20
  3. "ข้อมูลหัวรถจักรดีเซลและรถดีเซลราง ของการรถไฟฯ". www.geocities.ws. สืบค้นเมื่อ 2024-12-20
  4. ตัดหน้ารถด่วน ขยี้สิบล้อ 6 ศพ สืบค้นเมื่อ 2019-04-20
  5. เบื้องหลัง รถไฟตกราง ที่เขาเต่า อ.หัวหิน สืบค้นเมื่อ 2019-04-10

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]