ข้ามไปเนื้อหา

การบุกครองเยอรมนีของสัมพันธมิตรตะวันตก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การบุกครองเยอรมนีของฝ่ายสัมพันธมิตร
ส่วนหนึ่งของ แนวรบด้านตะวันตก ใน สงครามโลกครั้งที่สอง
United States Army soldiers supported by a M4 Sherman tank move through a smoke filled street in Wernberg, Germany during April 1945
ทหารราบอเมริกันของกองพลยานเกราะที่ 11 แห่งสหรัฐ ได้รับการสนับสนุนโดยรถถังเอ็ม4 เชอร์แมน มุ่งผ่านถนนที่เต็มไปด้วยหมอกควันในเมือง Wernberg, เยอรมนี, เมษายน ค.ศ. 1945.
วันที่22 มีนาคม – 8 พฤษภาคม 1945
สถานที่
ตะวันตกของเยอรมนี, ตอนใต้ของเยอรมนี
ผล

ฝ่ายสัมพันธมิตรได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาด

คู่สงคราม
 สหรัฐอเมริกา
 สหราชอาณาจักร
ฝรั่งเศส ฝรั่งเศส
 แคนาดา
โปแลนด์ โปแลนด์
 นอร์เวย์
 เดนมาร์ก
 เนเธอร์แลนด์
 เบลเยียม
นาซีเยอรมนี นาซีเยอรมนี  Surrendered
ฮังการี ฮังการี[1]
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
สหรัฐอเมริกา ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์
สหราชอาณาจักร เบอร์นาร์ด มอนต์โกเมอรี
สหรัฐอเมริกา โอมาร์ แบรดลีย์
สหรัฐอเมริกา Jacob Devers
อดอล์ฟ ฮิตเลอร์
อัลแบร์ท เค็สเซิลริง
เกิร์ด ฟอน รุนด์ชเทดท์
ไวล์แทร์ มอเดิล 
เพาล์ เฮาส์เซอร์
โยฮันเนิส บลัสโควิทซ์
หน่วยที่เกี่ยวข้อง

สหรัฐอเมริกาสหราชอาณาจักร 1st Allied Airborne Army
สหรัฐอเมริกา 12th Army Group

สหราชอาณาจักร 21st Army Group

สหรัฐอเมริกา 6th Army Group

Army Group B

Army Group G

Army Group H

กำลัง
ทหาร 4.5 ล้านนาย (91 กองพล) [2][3]
รถถัง 17,000 คัน[4]
เครื่องบินโจมตี 28,000 ลำ[5]
ปืนใหญ่ 63,000 กระบอก [6]
ยานพาหนะเคลื่อนที่ 970,000 คัน[5]
Initial:
~ทหาร 1 ล้านนาย [7][8]
ปืนจู่โจมและรถถัง 500 คัน[9]
เครื่องบินรบโจมตี 2,000 ลำ[10]
ความสูญเสีย
United States
62,704 casualties including 15,009 killed[11]
Canada
6,298 casualties including 1,482 killed[12]

up to 410,000 battle deaths, deaths from other causes and missing[13]


3,000,000+ captured (most from the eastern front)[14]

การบุกครองเยอรมนีของฝ่ายสัมพันธมิตร เป็นการประสานงานร่วมกันโดยฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกในช่วงเดือนสุดท้ายของสงครามในเขตสงครามยุโรปของสงครามโลกครั้งที่สอง ในการเตรียมความพร้อมสำหรับการบุกครองเยอรมนีของฝ่ายสัมพันธมิตร หนึ่งในปฏิบัติการรุกได้ถูกออกแบบมาเพื่อทำการยึดและเข้ายึดทางตะวันออกและตะวันตกของฝั่งแม่น้ำไรน์: ปฏิบัติการเวริเทเบิลและปฏิบัติการเกรเนดในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1945 และปฏิบัติการลัมเบอร์แจ็คและปฏิบัติการอันเดอร์โทน ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1945 การบุกครองเยอรมนีของฝ่ายสัมพันธมิตรได้เริ่มต้นด้วยฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกทำการข้ามแม่น้ำไรน์ เมื่อวันที่ 22 มีนาคม ค.ศ. 1945 ก่อนที่จะทำการกวาดล้างและเข้ายึดครองเยอรมนีตะวันตกทั้งหมดจากทะเลบอลติกในทางเหนือไปจนถึงเทือกเขาแอลป์ทางตอนใต้ซึ่งพวกเขาจะเข้าสมทบกับกองกำลังทหารของกองทัพสหรัฐที่ห้าในอิตาลี เมื่อร่วมกับการเข้ายึดเมืองแบร์ชเทิสกาเดิน ที่เป็นความหวังของเหล่าผู้นำนาซีที่ยังคงทำสงครามต่อไปจากสิ่งที่เรียกกันว่า "ฐานที่มั่นแห่งชาติ" หรือการหลบหนีผ่านทางเทือกเขาแอลป์ก็ถูกทำลายลง ตามมาด้วยการยอมจำนนโดยไม่มีเงื่อนไขของเยอรมันในวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 เหตุการณ์นี้ถูกเรียกว่า "การทัพยุโรปกลาง" ในประวัติศาสตร์การทหารของสหรัฐ

ในช่วงต้นปี ค.ศ. 1945 เหตุการณ์ต่างๆ ที่เป็นที่ชื่นชอบของกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรในยุโรป ในแนวรบด้านตะวันตก ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ต่อสู้รบในเยอรมนีด้วยการทัพต่อแนวซีคฟรีท นับตั้งแต่ยุทธการที่อาเคินและยุทธการที่ป่าเฮือร์ทเกินในปลายปี ค.ศ. 1944 และในเดือนมกราคม ค.ศ. 1945 ได้ผลักดันเยอรมันกลับไปยังจุดเริ่มต้นในช่วงยุทธการตอกลิ่ม ด้วยความล้มเหลวของการรุกครั้งนี้ทำให้กองกำลังสำรองทางยุทธศาสตร์ของเยอรมนีหมดลง ซึ่งไม่พร้อมที่จะต่อต้านการทัพครั้งสุดท้ายของฝ่ายสัมพันธมิตรในยุโรป ความสูญเสียที่เพิ่มมากขึ้นในไรน์ลันด์ยิ่งทำให้กองทัพบกเยอรมันอ่อนแอลง โดยหน่วยทหารที่แตกกระจายออกไป เพื่อปกป้องฝั่งตะวันออกของแม่น้ำไรน์ ในวันที่ 7 มีนาคม ฝ่ายสัมพันธมิตรได้เข้ายึดสะพานแห่งสุดท้ายที่ยังคงสภาพสมบูรณ์เพื่อข้ามแม่น้ำไรน์ที่เรมาเกิน และได้สร้างหัวสะพานขนาดใหญ่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ ในช่วงปฏิบัติการลัมเบอร์แจ็ค ปฏิบัติการพลันเดอร์และปฏิบัติการอันเดอร์โทนในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1945 เยอรมันได้ประสบความสูญเสียในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ค.ศ. 1945 ประมาณ 400,000 นาย รวมทั้ง 280,000 นายที่ถูกจับกุมเป็นเชลยสงคราม[15]

ในแนวรบด้านตะวันออก กองทัพแดงโซเวียต (รวมทั้งกองทัพโปแลนด์ในตะวันออกภายใต้บัญชาการของโซเวียต) พร้อมกับฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตก ได้เข้ายึดครองส่วนใหญ่ของโปแลนด์และเริ่มการรุกเข้าสู่เยอรมนีตะวันออกในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1945 และในเดือนมีนาคมซึ่งอยู่ห่างไม่ไกลจากกรุงเบอร์ลิน การรุกครั้งแรกในการเข้าสู่โรมาเนีย การรุกยาช–คีชีเนฟครั้งที่หนึ่งในเดือนเมษายนและพฤษภาคม ค.ศ. 1944 ได้ประสบความล้มเหลว การรุกยาช–คีชีเนฟครั้งที่สองในเดือนสิงหาคมซึ่งประสบความสำเร็จ กองทัพแดงยังรุกเข้าลึกไปยังฮังการี(การรุกบูดาเปสต์) และทางตะวันออกของเชโกสโลวาเกีย และหยุดเคลื่อนทัพชั่วคราวไว้ที่แนวโอเดอร์-นีสเซ บริเวณชายแดนระหว่างเยอรมัน-โปแลนด์ในยุคปัจจุบัน การรุกอย่างรวดเร็วในแนวรบด้านตะวันออกได้ทำลายหน่วยรบของเยอรมันที่ผ่านศึกมามากขึ้นและจำกัดขีดความสามารถของผู้นำเยอรมัน อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ อย่างสาหัสเพื่อเสริมกำลังในการป้องกันแม่น้ำไรน์ เมื่อฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกได้เตรียมการครั้งสุดท้ายสำหรับการรุกที่ทรงพลังของพวกเขาในการเข้าไปยังใจกลางของเยอรมัน ชัยชนะกำลังใกล้เข้ามาแล้ว

อ้างอิง

[แก้]
  1. Szélinger & Tóth 2010, p. 94.
  2. MacDonald 2005, p. 322.
  3. Includes 25 armored divisions and 5 airborne divisions. Includes 61 American divisions, 13 British divisions, 11 French divisions, 5 Canadian divisions, and 1 Polish division, as well as several independent brigades. One of the British divisions arrived from Italy after the start of the campaign.
  4. "Tanks and AFV News", January 27, 2015. Zaloga gives the number of American tanks and tank destroyers as 11,000. The Americans comprised 2/3 of the Allied forces, and other Allied forces were generally equipped to the same standard.
  5. 5.0 5.1 MacDonald 2005, p. 478.
  6. S. L. A. Marshall. ["ON HEAVYthi ARTILLERY: AMERICAN EXPERIENCE IN FOUR WARS"]. Journal of the US Army War College. Page 10. "The ETO", a term generally only used to refer to American forces in the Western European Theater, fielded 42,000 pieces of artillery; American forces comprised approximately 2/3 of all Allied forces during the campaign.
  7. Glantz 1995, p. 304.
  8. Zimmerman 2008, p. 277.
  9. "Tanks and AFV News", January 27, 2015. Quoting an estimate given in an interview with Steven Zaloga.
  10. Alfred Price. Luftwaffe Data Book. Greenhill Books. 1997. Total given for serviceable Luftwaffe strength by April 9 1945 is 3,331 aircraft. See: Luftwaffe serviceable aircraft strengths (1940–45).
  11. Dept of the Army 1953, p. 92.
  12. Stacey & Bond 1960, p. 611.
  13. Rüdiger Overmans, Soldaten hinter Stacheldraht. Deutsche Kriegsgefangene des Zweiten Weltkriege. Ullstein Taschenbuchvlg., 2002. German POWs in Allied hands in the west are listed as numbering 920,000 in the first quarter of 1945. German POWs in the west numbered 4,209,840 by the time Germany surrendered (see Disarmed Enemy Forces). This would mean ~3.3 million German soldiers were captured from late March to early May
  14. Zaloga & Dennis 2006, p. 88.