ข้ามไปเนื้อหา

การล้อมกาแล

พิกัด: 50°57′22.12″N 1°50′28.90″E / 50.9561444°N 1.8413611°E / 50.9561444; 1.8413611
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การล้อมกาแล
ส่วนหนึ่งของ ยุทธการที่ฝรั่งเศส

ยุทธการที่ฝรั่งเศส, สถานการณ์เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม – 4 มิถุนายน ค.ศ. 1940
วันที่22–26 พฤษภาคม ค.ศ. 1940
สถานที่50°57′22.12″N 1°50′28.90″E / 50.9561444°N 1.8413611°E / 50.9561444; 1.8413611
ผล เยอรมันชนะ
คู่สงคราม
 สหราชอาณาจักร
ฝรั่งเศส ฝรั่งเศส
 เบลเยียม
 ไรช์เยอรมัน
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
สหราชอาณาจักร Claude Nicholson  (เชลย)
ฝรั่งเศส Charles de Lambertye  
ฝรั่งเศส Raymond Le Tellier  (เชลย)
นาซีเยอรมนี Ferdinand Schaal
กำลัง
ป.4,000 men
40 tanks
1 panzer division
ความสูญเสีย
British: 300 killed
200 wounded (evacuated)
3,500 captured
French, Belgian and Dutch: 16,000 POW
Unknown
แม่แบบ:Campaignbox Battle of France แม่แบบ:Campaignbox Western Front (World War II)

การล้อมกาแล(ค.ศ.1940)เป็นเหตุการณ์สู้รบจากท่าเรือและเมืองที่กาแลในช่วงยุทธการที่ฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1940 การปิดล้อมเป็นการสู้รบในเวลาเดียวกันที่ยุทธการที่บูโลญ จากช่วงก่อนปฏิบัติการไดนาโมด้วยการอพยพของกองกำลังปฏิบัติการทางทหารของอังกฤษ(British Expeditionary Forces หรือ B.E.F.)ผ่านดันเคริก์ ภายหลังจากฝรั่งเศสและอังกฤษได้โจมตีโต้กลับที่ยุทธการที่อารัส(21 พฤษภาคม) หน่วยทหารเยอรมันได้เตรียมความพร้อมที่จะเริ่มทำการโจมตี เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม แม้จะได้รับการทัดทานของนายพลไฮนซ์ กูเดเรียน ผู้บัญชาการของกองทัพเหล่าที่ 19 (XIX Armee Korps) ที่ต้องการจะให้เคลื่อนทัพไปยังทางเหนือของช่องแคบอังกฤษเพื่อเข้ายึดครองบูโลญ กาแล และดันเคิร์ก การโจมตีของกองทัพเหล่าที่ 19 ไม่ได้รับการอนุมัติจนกระทั่งเวลา 12:40 น. ในช่วงคืนที่ 21/22 เดือนพฤษภาคม

ในช่วงเวลาที่กองพลแพนเซอร์ที่ 10ได้เตรียมพร้อมที่จะเข้าโจมตีกาแล กองพันยานยนต์ที่ 30 และหน่วยรถถังที่ 30 จากอังกฤษได้ทำการเสริมกำลังแก่ทหารฝรั่งเศสและอังกฤษในท่าเรือ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ทหารอังกฤษได้สร้างสิ่งกีดขวางถนนด้านนอกของเมืองและทหารกองหลังของฝรั่งเศสได้เข้าต่อสู้กับหน่วยยานเกราะของเยอรมัน ขณะที่พวกเขาได้รุกไปยังกาแล รถถังอังกฤษและทหารราบได้รับคำสั่งไปยังทางใต้เพื่อเสริมกำลังที่บูโลญ แต่กลับสายเกินไป จากนั้นพวกเขาก็ได้รับคำสั่งให้การคุ้มขบวนเรือขนส่งอาหารไปยังดันเคริก์ แต่พบสิ่งกีดขวางถนนโดยทหารเยอรมัน ในวันที่ 23 พฤษภาคม อังกฤษได้เริ่มที่จะถอนกำลังจากกำแพงเก่าของกาแล(ถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1670) และเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม การล้อมได้เริ่มต้นขึ้น การโจมตีโดยกองพลแพนเซอร์ที่ 10 เป็นความล้มเหลวส่วนใหญ่และด้วยความมืด เยอรมันได้รายงานว่าประมาณครึ่งหนึ่งของรถถังของพวกเขาได้ถูกจัดการและสามส่วนของทหารราบกลายเป็นผู้เสียชีวิต การโจมตีของเยอรมันได้รับการสนับสนุนจากกองทัพอากาศลุฟท์วัฟเฟอและกองทัพเรือฝ่ายสัมพันธมิตรได้ส่งเสบียง, อพยพทหารเจ็บ และกระหน่ำปืนใหญ่ยิงใส่เป้าหมายเยอรมันบริเวณรอบๆท่าเรือ

ในคืนวันที่ 24/25 เดือนพฤษภาคม ฝ่ายป้องกันได้ถูกบีบบังคับให้ถอดถอนกำลังจากทางใต้ของแนวล้อมไปยังแนวตลอดของเมืองเก่าและซิทาเดล การโจมตีในวันต่อมาด้วยการสู้รบที่แนวรบที่สั้นนี้ได้ถูกขับไล่ เยอรมันได้พยายามหลายครั้งในการเกลี้ยมกล่อมให้ทหารรักษาการณ์ยอมจำนน แต่คำสั่งที่ได้รับจากลอนดอนได้ถูกเก็บออกไป เพราะการอพยพนั้นได้ถูกห้ามโดยผู้บัญชาการฝรั่งเศสจากท่าเรือทางเหนือ ด้วยการโจมตีหลายครั้งของเยอรมันในช่วงต้นของวันที่ 26 พฤษภาคมได้ล้มเหลวและผู้บัญชาการเยอรมันได้รับยื่นคำขาดว่าถ้ายึดครองกาแลไม่ได้ภายในเวลา 14:00 น. ทหารที่ได้เข้าโจมตีก็จะถูกสั่งให้ถอยกลับและเมืองก็จะถูกทำลายโดยลุฟท์วัฟเฟอ การป้องกันของอังกฤษและฝรั่งเศสได้เริ่มแตกในช่วงต้นของบ่ายและเวลา 4 นาฬิกา ด้วยคำสั่ง"ทุกคนเพื่อตัวเอง"("every man for himself") ได้มอบให้กับฝ่ายป้องกัน Le Tellier, ผู้บัญชาการฝรั่งเศสได้ตัดสินใจยอมจำนน วันต่อมา กองเรือขนาดเล็กได้เข้าเทียบท่าเรือและได้บรรทุกจำนวน 400 นาย ในขณะที่เครื่องบินรบจากกองทัพอากาศอังกฤษและกองทัพอากาศฝรั่งเศสได้ทิ้งสัมภาระและเข้าจู่โจมจุดฐานที่ตั้งปืนใหญ่ของเยอรมัน.

เชอร์ชิลได้เขียนประพันธ์ในปี ค.ศ. 1949 ว่าด้วยการป้องกันที่กาแลนั้นทำให้เกิดความล่าช้าในการโจมตีของเยอรมันบนดันเคิร์กและช่วยชีวิตแก่ทหารของกองกำลังปฏิบัติการทางทหารของอังกฤษ.ในปี ค.ศ. 1950 กูเดเรียนได้ออกมาปฏิเสธครั้งนี้ แต่ในปี ค.ศ. 1966 L. F. Ellis, นักประวัติศาสตร์เจ้าหน้าที่อังกฤษ ได้เขียนประพันธ์ว่ากองพลแพนเซอร์ทั้งสามได้ถูกเบียงเบนความสนใจจากการป้องกันบูโลญและกาแล ทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรมีเวลาเพื่อเร่งให้ทหารไปยังตะวันตกของดันเคิร์ก ในปี ค.ศ. 2006 K-H. Frieser ได้เขียนประพันธ์ว่าด้วยคำสั่งหยุดไปยังหน่วยบัญชาการเยอรมันเพราะการโจมตีอังกฤษ-ฝรั่งเศสที่ยุทธการที่อารัส(21 พฤษภาคม)มีผลมากกว่าการล้อม ฮิตเลอร์และผู้บัญชาการระดับสูงเยอรมันได้เกิดความตื่นตระหนก เพราะความกลัวของพวกเขาจากการโจมตีที่ปีกกองทัพ เมื่ออันตรายที่แท้จริงของฝ่ายสัมพันธมิตรได้ถอนกำลังออกจากชายฝั่งไปก่อนที่พวกเขาจะได้เข้าขัดขวาง การเสริมกำลังของอังกฤษที่บูโลญและกาแลได้มาถึงในเวลาที่จะยับยั้งเยอรมัน เมื่อพวกเขาได้รุกอีกครั้งเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม