ข้ามไปเนื้อหา

อสัญกรรมของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
"ฮิตเลอร์ตายแล้ว" หน้าแรกของหนังสือพิมพ์ของกองทัพสหรัฐ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1945

ระหว่างที่กรุงเบอร์ลินกำลังถูกโซเวียตบุกนั้นเอง อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ได้ยิงตัวตายเมื่อวันที่ 30 เมษายน 1945 ในฟือเรอร์บุงเคอร์ ส่วนภรรยาของเขา เอฟา เบราน์ ได้ฆ่าตัวตายด้วยยาพิษไซยาไนด์ ทั้งนี้ ศพของทั้งสองได้ถูกเคลื่อนย้ายไปยังทางออกฉุกเฉินของบังเกอร์ตามคำสั่งเสียของฮิตเลอร์ ทหารนำศพทั้งสองจัดวางในหลุมที่ขุดเตรียมไว้บริเวณด้านหลังทำเนียบนายกรัฐมนตรีไรช์[1][2] จากนั้นก็จัดการราดน้ำมันเชื้อเพลิงพร้อมกับจุดไฟเผาเพื่อป้องกันไม่ให้ทหารฝ่ายศัตรูนำไปประจานและกระทำยำยีอย่างเช่นที่เกิดขึ้นกับเบนิโต มุสโสลินี ผู้นำอิตาลี จากบันทึกของพวกโซเวียตระบุว่า ทหารโซเวียตได้ขุดร่างของฮิตเลอร์ขึ้นมา และนำไปฝังไว้ในหลายสถานที่ด้วยกันจนถึงปี 1970 ที่ร่างซึ่งโซเวียตอ้างว่าเป็นของฮิตเลอร์ถูกขุดขึ้นมาเป็นครั้งสุดท้าย ก่อนจะถูกนำไปเผาและโปรยเถ้า

ด้วยรายงานที่มีความแตกต่างกันออกไปที่ได้ระบุสาเหตุการตาย; บางกรณีได้ระบุว่า เขาตายด้วยยาพิษเท่านั้นและอีกบางกรณีหนึ่งคือเขาตายด้วยการใช้ปืนยิงศีรษะตัวเองพร้อมกับกัดแคปซูลบรรจุสารพิษไซยาไนด์ แต่นักประวัติศาสตร์สมัยนั้นได้ปฏิเสธรายงานเหล่านี้เพราะเป็นการโฆษณาชวนเชื่อของสหภาพโซเวียตหรือความพยายามการประนีประนอมเพื่อหาข้อสรุปที่แตกต่างกัน พยานคนหนึ่งได้บันทึกเอาไว้ว่า ศพมีรอยบาดแผลจากการถูกยิงทะลุผ่านปาก แต่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามันเป็นไปไม่ได้ นอกจากนี้ยังมีข้อถกเถียงเกี่ยวกับกระโหลกศีรษะและกระดูกขากรรไกรที่ถูกขุดขึ้นได้โดยระบุว่าเป็นของฮิตเลอร์จริงหรือไม่

ในปี ค.ศ. 2009 นักวิจัยชาวอเมริกันได้ทำการตรวจดีเอ็นเอบนกระโหลกศีรษะที่เจ้าหน้าที่ของโซเวียตได้เชื่อมั่นมานานแล้วว่าเป็นของฮิตเลอร์แน่ๆ แต่การทดสอบและการตรวจสอบได้พบว่า กะโหลกศีรษะนั้นเป็นของผู้หญิงที่มีอายุน้อยกว่า 40 ปี[3][4] ส่วนกระดูกขากรรไกรที่ถูกขุดขึ้นมายังไม่ได้รับการตรวจสอบใดๆเลย เท่ากับว่าในปัจจุบันนี้ ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ใดๆที่ยืนยันถึงการมีอยู่ของร่างของฮิตเลอร์

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Kershaw 2008, pp. 954, 956.
  2. Linge 2009, pp. 199, 200.
  3. Goñi 2009.
  4. CNN staff 2009.