การทดสอบด้วยพจน์ที่ n
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ |
แคลคูลัส |
---|
ในทางคณิตศาสตร์ การทดสอบด้วยพจน์ที่ n เพื่อหาการลู่ออก (อังกฤษ: nth-term test for divergence) เป็นการทดสอบเพื่อหาการลู่ออกของอนุกรมอนันต์ที่เรียบง่าย
ถ้า หรือถ้าไม่มีลิมิต แล้ว จะลู่ออก
ผู้เขียนหลายรายไม่ได้ตั้งชื่อการทดสอบนี้ไว้หรือใช้ชื่อที่สั้นกว่า [1]
เมื่อทดสอบว่าอนุกรมลู่เข้าหรือลู่ออก โดยทั่วไปการทดสอบนี้จะได้รับการใช้ก่อนเนื่องจากใช้งานง่าย
ในกรณีของการวิเคราะห์ p-แอดิก การทดสอบพจน์เป็นเงื่อนไขที่จำเป็นและเพียงพอสำหรับการลู่เข้าเนื่องมาจากอสมการสามเหลี่ยมอัลตราเมตริกที่ไม่ใช่แบบอาร์คิมีดี
การใช้งาน
[แก้]ไม่เหมือนกับการทดสอบการลู่เข้าอื่น ๆ ที่เข้มกว่า การทดสอบนโดยพจน์ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าอนุกรมนั้นลู่เข้า โดยเฉพาะบทกลับของการทดสอบนั้นไม่จริง สิ่งที่สามารถพูดได้คือ
ถ้า แล้ว อาจลู่เข้าหรือไม่ก็ได้ อีกนัยหนึ่งคือถ้า การทดสอบสรุปไม่ได้
อนุกรมฮาร์มอนิกเป็นตัวอย่างของอนุกรมลู่ออกซึ่งมีพจน์เข้าใกล้ศูนย์ในลิมิตเมื่อ
คลาสทั่วไปของอนุกรมพี
ตัวอย่างผลลัพธ์ที่เป็นไปได้ของการทดสอบ
- หาก p ≤ 0 การทดสอบพจน์ที่ n บ่งบอกว่าอนุกรมลู่ออก
- หาก 0 < p ≤ 1 การทดสอบพจน์ที่ n บ่งบอกว่าไม่มีข้อสรุป แต่อนุกรมนี้ลู่ออกจากการทดสอบปริพันธ์เพื่อหาการลู่เข้า
- หาก 1 < p การทดสอบพจน์ที่ n จะไม่มีข้อสรุป แต่อนุกรมนี้ลู่เข้า โดยการทดสอบปริพันธ์เพื่อหาการลู่เข้า
พิสูจน์
[แก้]โดยทั่วไปการทดสอบจะได้รับการพิสูจน์ในรูปประพจน์แย้งสลับที่
ถ้า ลู่เข้าแล้ว
การเปลี่ยนรูปลิมิต
[แก้]ถ้า sn เป็นผลรวมย่อยของอนุกรม ดังนั้นสมมติฐานที่ว่าอนุกรมลู่เข้าหมายความว่า
สำหรับจำนวน L บางตัว แล้ว
หลักเกณฑ์ของโคชี
[แก้]การสมมตืให้อนุกรมลู่เข้า แสดงว่าอนุกรมนี้ผ่านการทดสอบการลู่เข้าของโคชี สำหรับทุก มี N ที่ทำให้
เป็นจริงสำหรับทุก n > N และ p ≥ 1 ทั้งหมด การตั้งให้ p = 1 จะได้ว่า[2]
ขอบเขต
[แก้]การทดสอบพจน์ในรูปแบบที่ง่ายที่สุดนั้น ใช้ได้กับอนุกรมอนันต์ของจำนวนจริง บทพิสูจน์สองข้อข้างต้น โดยการอ้างถึงหลักเกณฑ์โคชีหรือความเชิงเส้นของลิมิต ยังใช้ได้กับปริภูมิเวกเตอร์ระบุขนาดอื่น ๆ หรือกรุปอาบีเลียนที่เขียนแบบการบวกใด ๆ ได้ด้วย
หมายเหตุ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- Brabenec, Robert (2005). Resources for the study of real analysis. MAA. ISBN 0883857375.
- Hansen, Vagn Lundsgaard (2006). Functional Analysis: Entering Hilbert Space. World Scientific. ISBN 9812565639.
- Kaczor, Wiesława and Maria Nowak (2003). Problems in Mathematical Analysis. American Mathematical Society. ISBN 0821820508.
- Rudin, Walter (1976) [1953]. Principles of mathematical analysis (3e ed.). McGraw-Hill. ISBN 0-07-054235-X.
- Spivak, Michael (2008). Calculus (4th ed.). Houston, TX: Publish or Perish. ISBN 978-0-914098-91-1.
- Stewart, James (1999). Calculus: Early transcendentals (4e ed.). Brooks/Cole. ISBN 0-534-36298-2.
- Șuhubi, Erdoğan S. (2003). Functional Analysis. Springer. ISBN 1402016166.