เกรเดียนต์
ในแคลคูลัสเวกเตอร์ เกรเดียนต์ (อังกฤษ: gradient) คือการดำเนินการกับฟังก์ชันหลายตัวแปร ซึ่งหาอนุพันธ์ได้ซึ่งมีค่าเป็นสเกลาร์ ผลลัพธ์ที่ได้คือสนามเวกเตอร์ ที่ค่าที่แต่ละจุดจะชี้ไปในทิศทางที่ มีค่ามากขึ้นที่สุด[1] และขนาดของเวกเตอร์เท่ากับอัตราการเพิ่มขึ้นในทิศทางนั้น ๆ เรียกสนามเวกเตอร์นี้ว่า เกรเดียนต์ของ สัญลักษณ์ เรียกว่าสัญลักษณ์นาบลา (nabla) หรือ เดล (del)
เนื่องจากเกรเดียนต์ระบุทิศทางที่ฟังก์ชันมีค่าเพิ่มขึ้นมากที่สุด และทิศทางตรงกันข้ามของเกรเดียนต์ฟังก์ชันจะมีค่าน้อยที่สุด เกรเดียนต์จึงมีความสำคัญในวิชาการหาค่าเหมาะที่สุด เพื่อหาค่าที่น้อยที่สุดของฟังก์ชัน ด้วยขั้นตอนวิธีการเคลื่อนลงตามความชัน (gradient descent)
แนวคิดจูงใจของเกรเดียนต์
[แก้]พิจารณาห้องที่อุณหภูมิภายในกำหนดด้วยฟังก์ชันค่าสเกลาร์ นั่นคือที่จุด อุณหภูมิที่ตำแหน่งนั้นคือ และเป็นอิสระจากเวลา
เกรเดียนต์ของ ที่จุด จะบอกทิศทางที่อุณหภูมิเพิ่มขึ้นเร็วที่สุดเมื่อเดินทางออกจากจุด และขนาดของเกรเดียนต์จะระบุอัตราเร็วที่อุณหภูมิเพิ่มขึ้นในทิศทางนั้น
พิจารณาพื้นผิวที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลที่จุด กำหนดโดยฟังก์ชัน เกรเดียนต์ของ ที่จุด จะเป็นเวกเตอร์ที่ชี้บอกทิศทางที่ชันมากที่สุดจากจุดนั้น และความชันจะเท่ากับขนาดของเวกเตอร์เกรเดียนต์
นอกจากนี้ เกรเดียนต์ยังสามารถใช้วัดอัตราการเปลี่ยนแปลงของฟังก์ชันค่าสเกลาร์ในทิศทางอื่นนอกเหนือไปจากทิศทางของเกรเดียนต์เอง โดยการหาผลคูณจุด สมมติว่าความชันสูงสุดที่จุด ๆ หนึ่งบนเนินเขาเท่ากับ 40% ถนนขึ้นเนินที่ทำมุมอื่น ๆ ย่อมจะมีความชันน้อยกว่า เราสามารถหาความชันได้โดยหาผลคูณจุดระหว่างเกรเดียนต์ที่จุดที่สนใจ และเวกเตอร์หน่วยที่ชี้ไปตามทิศทางของถนน
โดยทั่วไปกว่านั้น ถ้าฟังก์ชัน ที่ระบุความสูงของเนิน เป็นฟังก์ชันหาอนุพันธ์ได้ แล้วเกรเดียนต์ของ คูณสเกลาร์กับเวกเตอร์หน่วยจะเท่ากับความชันของเนินในทิศทางนั้น หรือก็คืออนุพันธ์ระบุทิศทางของ ในทิศทางของเวกเตอร์หน่วยนั้น
สัญลักษณ์ที่ใช้
[แก้]เกรเดียนต์ของฟังก์ชัน ที่จุด นิยมเขียนแทนด้วย แต่อาจจะมีสัญลักษณ์อื่น ๆ เช่น
- : เพื่อเจาะจงความเป็นเวกเตอร์ของเกรเดียนต์
- and : โดยใช้สัญกรณ์ของไอน์ชไตน์ (Einstein notation) โดยดรรชนีที่ซ้ำให้ถือว่าถูกบวกอยู่ (i)
นิยาม
[แก้]เกรเดียนต์ของฟังก์ชันสเกลาร์ เขียนแทนด้วย หรือ นิยามให้เป็นสนามเวกเตอร์ซึ่งมีเพียงแบบเดียวที่ผลคูณจุดกับเวกเตอร์ ที่จุด จะเท่ากับอนุพันธ์ระบุทิศทางของ ไปตาม [2]นั่นคือ
เมื่อพจน์ทางขวามือคืออนุพันธ์ระบุทิศทางของฟังก์ชัน ในทางรูปนัยเราจะกล่าวว่าการหาอนุพันธ์เป็นดูอัลของเกรเดียนต์ มีวิธีการหาค่าของเกรเดียนต์หลายวิธีซึ่งเสนอไว้ด้านล่าง
สัญลักษณ์ เรียกว่าตัวดำเนินการเชิงอนุพันธ์สำหรับเวกเตอร์
ขนาดและทิศทางของเกรเดียนต์ไม่ขึ้นกับระบบพิกัดที่ใช้[3][4]
ระบบพิกัดคาร์ทีเซียน
[แก้]ในระบบพิกัดคาร์ทีเซียนสามมิติพร้อมกับเมตริกแบบยูคลิด เกรเดียนต์ถ้ามีค่าจะเป็นไปตามสมการ
เมื่อ i, j, k เป็นเวกเตอร์หนึ่งหน่วยมาตรฐานในทิศทางของระบบพิกัด x, y และ z ตามลำดับ ตัวอย่างเช่น เกรเดียนต์ของฟังก์ชันคือหรือเขียนแทนด้วย
ในบางการใช้งานนิยมเขียนเกรเดียนต์เป็นเวกเตอร์แถวหรือเวกเตอร์หลัก
อ้างอิง
[แก้]- ↑ * Bachman (2007, p. 77)
- Downing (2010, pp. 316–317)
- Kreyszig (1972, p. 309)
- McGraw-Hill (2007, p. 196)
- Moise (1967, p. 684)
- Protter & Morrey (1970, p. 715)
- Swokowski et al. (1994, pp. 1036, 1038–1039)
- ↑ Garling, D. J. H. (2013). A course in mathematical analysis. Cambridge: Cambridge University Press. p. 486. ISBN 978-1-107-03203-3.
- ↑ Kreyszig (1972, pp. 308–309)
- ↑ Stoker (1969, p. 292)
บรรณานุกรม
[แก้]- Bachman, David (2007), Advanced Calculus Demystified, New York: McGraw-Hill, ISBN 978-0-07-148121-2
- Beauregard, Raymond A.; Fraleigh, John B. (1973), A First Course In Linear Algebra: with Optional Introduction to Groups, Rings, and Fields, Boston: Houghton Mifflin Company, ISBN 0-395-14017-X
- Downing, Douglas, Ph.D. (2010), Barron's E-Z Calculus, New York: Barron's, ISBN 978-0-7641-4461-5
- Dubrovin, B. A.; Fomenko, A. T.; Novikov, S. P. (1991). Modern Geometry—Methods and Applications: Part I: The Geometry of Surfaces, Transformation Groups, and Fields. Graduate Texts in Mathematics (2nd ed.). Springer. ISBN 978-0-387-97663-1.
- Harper, Charlie (1976), Introduction to Mathematical Physics, New Jersey: Prentice-Hall, ISBN 0-13-487538-9
- Kreyszig, Erwin (1972), Advanced Engineering Mathematics (3rd ed.), New York: Wiley, ISBN 0-471-50728-8
- "McGraw Hill Encyclopedia of Science & Technology". McGraw-Hill Encyclopedia of Science & Technology (10th ed.). New York: McGraw-Hill. 2007. ISBN 978-0-07-144143-8.
- Moise, Edwin E. (1967), Calculus: Complete, Reading: Addison-Wesley
- Protter, Murray H.; Morrey, Charles B. Jr. (1970), College Calculus with Analytic Geometry (2nd ed.), Reading: Addison-Wesley, LCCN 76087042
- Schey, H. M. (1992). Div, Grad, Curl, and All That (2nd ed.). W. W. Norton. ISBN 0-393-96251-2. OCLC 25048561.
- Stoker, J. J. (1969), Differential Geometry, New York: Wiley, ISBN 0-471-82825-4
- Swokowski, Earl W.; Olinick, Michael; Pence, Dennis; Cole, Jeffery A. (1994), Calculus (6th ed.), Boston: PWS Publishing Company, ISBN 0-534-93624-5
- Arens, T.; Hettlich, F.; Karpfinger, C.; Kockelkorn, U.; Lichtenegger, K.; Stachel, H. (2022), Mathematik (5th ed.), Springer Spektrum Berlin, ISBN 978-3-662-64388-4