ข้ามไปเนื้อหา

กองร้อยทหารช่างผสม ไทย/บุรุนดี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กองร้อยทหารช่างผสม ไทย/บุรุนดี
พิธีอำลาและมอบเหรียญสหประชาชาติให้กับกำลังพลของผลัดที่ 3
ประจำการ1 มิถุนายน 2548 – 23 ธันวาคม 2549
ประเทศไทย
เหล่า กองทัพไทย
รูปแบบผู้มิใช่พลรบ
บทบาทการทำลายล้างวัตถุระเบิด
การป้องกันกำลังรบ
ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม
การแทรกแซงด้านมนุษยธรรม
วิศวกรรมการทหาร
การส่งกำลังบำรุงทางทหาร
การตรวจตราทางทหาร
การรักษาสันติภาพ
การลาดตระเวน
การสงครามในเมือง
กำลังรบ
  • 525 นาย
    • 175 นาย (ผลัดที่ 1)
    • 175 นาย (ผลัดที่ 2)
    • 175 นาย (ผลัดที่ 3)
ขึ้นกับสหประชาชาติ ปฏิบัติการสหประชาชาติในบุรุนดี
กองบัญชาการแคมป์ไทย บูจุมบูรา ประเทศบุรุนดี
ผู้บังคับบัญชา
ผบ.ร้อย.ช.ผสม
ผลัดที่ 1
พันโท สุรเชษฐ์ คำพุฒ
ผบ.ร้อย.ช.ผสม
ผลัดที่ 2
พันโท ชิษณุพงษ์ ปุ่นศิริ
ผบ.ร้อย.ช.ผสม
ผลัดที่ 3
พันโท ตวงทิพย์ ติณเวส

กองร้อยทหารช่างผสม ไทย/บุรุนดี (อังกฤษ: Thai Combined Engineer Company; Royal Thai Engineer Task Force) หรือ ร้อย.ช.ผสม ไทย/บุรุนดี เป็นหน่วยทหารช่างของ กองทัพไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการสหประชาชาติในบุรุนดี (ONUB)

ภารกิจของหน่วยคือการปฏิบัติการด้านมนุษยธรรมในบุรุนดีหลังจากสภาวะสงครามกลางเมืองบุรุนดี โดยประเทศไทยได้ส่งกำลังทหารที่ไม่ใช่พลรบจำนวน 3 ผลัด[1] รวมทั้งสิ้น 525 นาย[2]

ประวัติ

[แก้]

ปฏิบัติการสหประชาชาติในบุรุนดี (ONUB) ก่อตั้งโดยคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2547 เพื่อให้แน่ใจว่าความตกลงสันติภาพและการปรองดองอารูชาที่ลงนามเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2543 ยังคงดำเนินต่อไป[3]

สำหรับประเทศไทยนั้น คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้กองทัพไทยส่งกำลังผู้สังเกตการณ์ทางทหารแห่งสหประชาชาติ (UNMO) เข้าร่วมจำนวน 3 นาย วาระละ 1 ปี[4] จำนวน 2 ชุด ปฏิบัติงานระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2547 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2549[5]

จากนั้น เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2548 คณะรัฐมนตรีมีมติให้กองทัพไทยได้จัดกำลังในรูปแบบหน่วยทหารในชื่อ "กองร้อยทหารช่างผสม ไทย/บุรุนดี" (Combined Engineer Company)[4] แบ่งเป็น 3 ผลัด เพื่อปฏิบัติการระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2548 และสิ้นสุดเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ปฏิบัติงานในส่วนของงานช่าง การก่อสร้างทางดิ่งและระดับ การทำลายและเก็บกู้วัตถุระเบิด มีกองบัญชาการตั้งอยู่ที่แคมป์ไทย (Thai Camp) เมืองบูจุมบูราซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศ[5]

ภาพรวมของกองกำลัง

[แก้]
พื้นที่รั้วรอบค่ายและประชาชนในพื้นที่

กองร้อยทหารช่างผสม ไทย/บุรุนดี มีกำลังพลทั้งสิ้นจำนวน 525 นาย[2] แบ่งเป็น

  • ผลัดที่ 1 จำนวน 175 นาย[4] ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2548 – 1 ธันวาคม พ.ศ. 2548[6] มี พันโท สุรเชษฐ์ คำพุฒ เป็นผู้บังคับกองร้อยทหารช่างผสม ไทย/บุรุนดี ผลัดที่ 1
  • ผลัดที่ 2 จำนวน 175 นาย ระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548[7] – 3 มิถุนายน พ.ศ. 2549[8] มี พันโท ชิษณุพงษ์ ปุ่นศิริ เป็นผู้บังคับกองร้อยทหารช่างผสม ไทย/บุรุนดี ผลัดที่ 2
  • ผลัดที่ 3 จำนวน 175 นาย ระหว่างวันที่ 29 พฤษภาคม[9] – 23 ธันวาคม พ.ศ. 2549[5] มี พันโท ตวงทิพย์ ติณเวส เป็นผู้บังคับกองร้อยทหารช่างผสม ไทย/บุรุนดี ผลัดที่ 3[10]

การจัดกำลัง มีการจัดกำลังจากกองทัพบก นอกจากนี้ยังมีกำลังจากหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน กองทัพเรือ จำนวนผลัดละ 1 หมวดทหารช่าง

นอกจากนี้ ยังมีกำลังพลส่วนอื่น ๆ ที่รวมปฏิบัติงาน คือ

  • ผู้สังเกตการณ์ทางทหารแห่งสหประชาชาติ (UNMO) จำนวน 2 ผลัด ผลัดละ 3 นาย รวมเป็น 6 นาย ปฏิบัติงานระหว่างวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2547 ถึงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2549[4]
  • ฝ่ายอำนวยการ จำนวน 2 ผลัด ผลัดละ 2 นาย รวมเป็น 4 นาย ปฏิบัติงานระหว่างวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2548 ถึงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2549[4]

ปฏิบัติการ

[แก้]
กำลังพลและเจ้าหน้าที่พลเรือนของสหประชาติในพื้นที่

กองร้อยทหารช่างผสม ไทย/บุรุนดี มีภารกิจในการสนับสนุนการปฏิบัติงานของสหประชาชาติในการฟื้นฟูประเทศบุรุนดีในด้านต่าง ๆ ทั้งการก่อสร้างถนน การซ่อมแซมโรงเรียน สถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้า สนามกีฬา การทำลายวัตถุระเบิดและทุ่นระเบิดที่ได้มาจากฝ่ายต่อต้านรัฐบาล การขุดลอกลำน้ำ และลำคลอง การปรับปรุงก่อสร้างสำนักงานและค่ายของกองกำลังสหประชาชาติอื่น ๆ และการปฏิบัติอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งผลการปฏิบัติได้รับคำชมเชยจากผู้บัญชาการกองกำลังรักษาสันติภาพว่ามีวินัย และทำงานออกมาได้ดี ทำงานได้ตามกำหนดการโดยตลอด[11]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 136 ปี เหล่าทหารช่าง: ผลการปฏิบัติงานที่สำคัญ ร่วมรักษาสันติภาพเพื่อมนุษยธรรมในประชาคมโลก (PDF). กรมการทหารช่าง. pp. 48–51.
  2. 2.0 2.1 รายงานผลการดำเนินการตามนโยบายของคณะรัฐมนตรี รัฐบาล พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์: นโยบายการรักษาความมั่นคงของรัฐ (PDF). รัฐบาลไทย. p. 109.
  3. (2004)Resolution 1545 S-RES-1545 (2004) on 21 May 2004 (retrieved 2008-08-28)
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 บทบาทของกองทัพไทยในปฏิบัติการเพื่อสันติภาพ (PDF). ศูนย์ปฏิบัติการเพื่อสันติภาพ กรมยุทธการทหาร. pp. 52–53.[ลิงก์เสีย]
  5. 5.0 5.1 5.2 banchurn19. ประวัติศาสตร์ทหาร. pp. 158–159.
  6. "กรมการทหารช่าง :: กิจกรรมทหารช่าง เดือนธันวาคม 2548". www.engrdept.com.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. "กรมการทหารช่าง :: กิจกรรมทหารช่าง พฤศจิกายน 2548". www.engrdept.com.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. "..:: กรมการทหารช่าง ค่ายภาณุรังษี อ.เมือง จว.ราชบุรี ::." www.engrdept.com.
  9. "..:: กรมการทหารช่าง ค่ายภาณุรังษี อ.เมือง จว.ราชบุรี ::." www.engrdept.com.
  10. "..:: กรมการทหารช่าง ค่ายภาณุรังษี อ.เมือง จว.ราชบุรี ::.. พิธีต้อนรับกำลังพล ร้อย.ช.ผสม. ไทย/บุรุนดี ผลัดที่ 3 จบภารกิจจากสาธารณรัฐบุรุนดี เดินทางกลับประเทศไทย เมื่อวันที่ 23 ธ.ค.49". www.engrdept.com.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  11. ประสบการณ์ชีวิตในการปฏิบัติภารกิจรักษาสันติภาพในประเทศสาธารณรัฐบุรุนดี ผลัดที่ 3 ทวีปแอฟริกากลาง (PDF). ศูนย์ปฏิบัติการเพื่อสันติภาพ กรมยุทธการทหาร.