หน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำแม่น้ำโขง
หน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำแม่น้ำโขง | |
---|---|
![]() สถานีเรือเชียงของ นขร.เขตเชียงราย | |
ประจำการ | 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 |
ประเทศ | ![]() |
เหล่า | ![]() |
รูปแบบ | หน่วยเฉพาะกิจ |
บทบาท | [[ป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดกฎหมาย คุ้มครองและช่วยเหลือประชาชนจากภัยพิบัติต่าง ๆ ตามหลักมนุษยธรรมในพื้นที่รับผิดชอบเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำแม่น้ำโขง สนับสนุนกำลังทางบกในการรักษาความมั่นคงและป้องกันประเทศ รวมทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน ]] |
ขึ้นกับ | กองเรือลำน้ำ กองเรือยุทธการ |
กองบัญชาการ | ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม |
สมญา | นรข. |
คำขวัญ | อริล้ำมิรั้งรอ นรข.จะต่อตี ใต้ร่มธงนาวี ปฐพีจักร่มเย็น |
ปฏิบัติการสำคัญ | การก่อการกำเริบคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย |
เว็บไซต์ | www |
ผู้บังคับบัญชา | |
ผบ.นรข. | พลเรือตรี ณรงค์ เอมดี |
รอง ผบ.นรข. | นาวาเอก สุชาติ อุดมนาค |
เสนาธิการ | นาวาเอก อูนนที มุสิกะนันทน์ |
เครื่องหมายสังกัด | |
ธงราชนาวี | ![]() |
หน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำแม่น้ำโขง (อังกฤษ: Mekong Riverine Unit/MRU.) หรือย่อว่า นรข. คือหน่วยเฉพาะกิจของกองทัพเรือไทยในการปฏิบัติการทางเรือในแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างประเทศไทยและประเทศลาวในภาคหนือ พื้นที่รับผิดชอบทางน้ำรวม 96 กม. และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พื้นที่รับผิดชอบทางน้ำรวม 832 กม. รวมระยะทางความยาวทั้งสิ้น 928 กิโลเมตร[1]
ประวัติ
[แก้]แต่เดิม หน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำแม่น้ำโขง (นรข.) มีชื่อว่า หน่วยปฏิบัติการตามลำแม่น้ำโขง (นปข.) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นหน่วยปฏิบัติการในการเอาชนะการต่อสู้กับลัทธิคอมมิวนิสต์ อยู่ในสังกัดของกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) ในเวลาต่อมา ภัยจากลัทธิคอมมิวนิสต์ได้ลดความรุนแรง ซึ่งภัยคุกคามได้เปลี่ยนไปจากในประเทศเป็นจากนอกประเทศ ทำให้หน่วยปฏิบัติการตามลำแม่น้ำโขงได้ถูกปรับให้เป็นหน่วยงานตามแผนป้องกันประเทศเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2531 ในฐานะของหน่วยเฉพาะกิจของกองทัพเรือ และขึ้นตรงด้านยุทธการกับกองทัพภาคที่ 2 กองทัพบกไทย[2]
ต่อมาในพื้นที่จังหวัดเชียงรายซึ่งมีแม่น้ำโขงเป็นแนวพรมแดนเช่นเดียวกันได้เกิดปัญหายาเสพติด และการลักลอบเข้าเมืองผ่านทางพรมแดนธรรมชาติคือแม่น้ำโขง จึงได้มีการประสานและร้องขอไปยังกองทัพเรือให้จัดกำลังเข้าปฏิบัติการในแม่น้ำโขงช่วงจังหวัดเชียงรายเช่นเดียวกับในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2538 กองทัพเรือได้จัดตั้งหน่วยปฏิบัติการตามลำแม่น้ำโขง เขตเชียงราย เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการป้องกันประเทศในพื้นที่จังหวัดเชียงราย และขึ้นตรงด้านยุทธการกับกองทัพภาคที่ 3[2]
จากนั้นได้มีการประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมไทย - ลาว ที่เมืองปากเซ แขวงจำปาสัก ประเทศลาว และจังหวัดอุบลราชธานีในวันที่ 20-21 มีนาคม พ.ศ.2547 ซึ่งได้หารือเกี่ยวกับประเด็นด้านความมั่นคง และมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นกับหน่วยปฏิบัติการตามลำแม่น้ำโขง โดยได้เปลี่ยนชื่อหน่วยปฏิบัติการตามลำแม่น้ำโขง และมอบหมายภารกิจในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดเป็นหลัก และได้รับภารกิจในการป้องกันอาชญากรรมข้ามชาติมาด้วยหลังจากนั้น ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงกลาโหมในการเปลี่ยนชื่อเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ.2547 จากชื่อเดิม หน่วยปฏิบัติการตามลำแม่น้ำโขง คำย่อ "นปข." เป็น หน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำแม่น้ำโขง คำย่อ "นรข." มอบหมายภารกิจในการรักษาความสงบเรียบร้อยตลอดลำแม่น้ำโขงรวมไปถึงพื้นที่ชายฝั่งแม่น้ำ เน้นไปในการปฏิบัติการป้องกันการกระทำที่ผิดกฎหมายที่ส่งผลต่อความมั่นคงของชาติ และการช่วยเหลือประชาชนจากภัยพิบัติต่าง ๆ ตามกรอบของหลักมนุษยธรรม[2]
โครงสร้าง
[แก้]ส่วนบัญชาการ
[แก้]หน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำแม่น้ำโขง มีการจัดหน่วยภายในส่วนบัญชาการ ได้แก่
- แผนกธุรการและกำลังพล นรข. (ธก.-กพ.นรข.)
- แผนกยุทธการและการข่าว นรข. (ยก.-ขว.นรข.)
- แผนกส่งกำลังบำรุง นรข. (กบ.นรข.)
- แผนกการเงิน
- หมวดคลังพัคดุสลังพัสดุสรรพาวุธ
- หมวดขนส่ง
- หมวดพยาบาล
- แผนกฝ่ายกิจการพลเรือน นรข. (กพร.นรข.)
- ปฏิบัติการจิตวิทยา (ปจว.นรข.)
- แผนกซ่อมบำรุง นรข. (ซบ.นรข.)
- หมวดซ่อมเครื่องจักรใหญ่
- หมวดซ่อมรถยนค์
- หมวดซ่อมเครื่องยนต์เล็ก
- หมวดช่างไฟฟ้า
- หมวดช่างอิเล็กทรอนิกส์
- หมวดช่างตัวเรือ
- แผนกคลังและบริการ นรข. (คลังและบริการ นรข.)
- หมวดพลาธิการ
- ชุดปฏิบัติการพิเศษ นรข. (ชปพ.นรข.)
- กองร้อยป้องกัน นรข. (ร้อย.ป้องกัน นรข.)
หน่วยขึ้นตรง
[แก้]หน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำแม่น้ำโขง มีส่วนปฏิบัติการสถานีเรือเป็นฐานปฏิบัติการตลอดแม่น้ำโขงส่วนที่เป็นพรมแดนระหว่างประเทศไทยและประเทศลาว กินพื้นที่จำนวน 8 จังหวัด แบ่งออกเป็น 4 เขต 14 สถานีเรือ และ 1 หน่วยเรือ[3] ดังนี้[4]
สถานีเรือ | อำเภอ | จังหวัด | หมายเหตุ | ||
---|---|---|---|---|---|
หน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำแม่น้ำโขง | เมืองนครพนม | นครพนม | ที่ตั้งกองบัญชาการ | ||
เขตเชียงราย | |||||
สถานีเรือเชียงแสน | เชียงแสน | เชียงราย | ที่ตั้งกองบังคับการเขต | ||
สถานีเรือเชียงของ | เชียงของ | เชียงราย | |||
เขตหนองคาย | |||||
สถานีเรือเชียงคาน | เชียงคาน | เลย | |||
สถานีเรือสังคม | สังคม | หนองคาย | |||
สถานีเรือหนองคาย | เมืองหนองคาย | หนองคาย | |||
สถานีเรือรัตนวาปี | รัตนวาปี | หนองคาย | |||
หน่วยเรือโพนพิสัย | โพนพิสัย | หนองคาย | หน่วยเรือ | ||
สถานีเรือศรีเชียงใหม่ | ศรีเชียงใหม่ | หนองคาย | ที่ตั้งกองบังคับการเขต | ||
สถานีเรือบึงกาฬ | เมืองบึงกาฬ | บึงกาฬ | |||
เขตนครพนม | |||||
สถานีเรือบ้านแพง | บ้านแพง | นครพนม | |||
สถานีเรือนครพนม | เมืองนครพนม | นครพนม | |||
สถานีเรือธาตุพนม | ธาตุพนม | นครพนม | |||
สถานีเรือมุกดาหาร | เมืองมุกดาหาร | มุกดาหาร | |||
เขตอุบลราชธานี | |||||
สถานีเรือเขมราฐ | เขมราฐ | อุบลราชธานี | ที่ตั้งกองบังคับการเขต | ||
สถานีเรือโขงเจียม | โขงเจียม | อุบลราชธานี |
ภารกิจ
[แก้]ป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดกฎหมาย คุ้มครองและช่วยเหลือประชาชนจากภัยพิบัติต่าง ๆ ตามหลักมนุษยธรรมในพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำแม่น้ำโขง รวมทั้งสนับสนุนกำลังทางบก ในการรักษาความมั่นคง และป้องกันประเทศ[5]
ในการปฏิบัติงาน หน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำแม่น้ำโขงจะปฏิบัติงานร่วมกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฎหมายต่าง ๆ ในการปราบปรามการกระทำที่ผิดกฎหมาย เช่น การลักลอบขนของผิดกฎหมาย การลักลอบขนยาเสพติด รวมไปถึงการลักลอบหลบหนีเข้าเมือง
ยุทโธปกรณ์
[แก้]![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/f/fa/U.S._Sailors_assigned_to_Security_Forces_Assistance_Detachment%2C_Maritime_Civil_Affairs_and_Security_Training_Command_ride_in_riverine_boats_with_Thai_marines_and_sailors_in_the_Nakhon_Nayok_River_during_130608-N-RG360-209.jpg/220px-thumbnail.jpg)
หน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำแม่น้ำโขง ใช้อาวุธและยุทโธปกรณ์ในอัตราของกองเรือลำน้ำ กองเรือยุทธการ ในการลาดตระเวนตรวจการณ์ในลำแม่น้ำโขง ซึ่งเรือหลักที่ใช้งานคือ
วัฒนธรรมประชานิยม
[แก้]หน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำแม่น้ำโขง ถูกกล่าวถึงในบทเพลงผ่านชื่อเก่าของหน่วยในบทเพลงชื่อว่า หนุ่ม นปข. แต่งโดย ครูสุรินทร์ ภาคศิริ[9] ต้นฉบับขับร้องโดย สุริยา ฟ้าปทุม เมื่อปี พ.ศ. 2515 และนำมาขับร้องใหม่อีกครั้งโดย ไผ่ พงศธร ในปี พ.ศ. 2555 ทำให้ได้รับรางวัลมหานครอวอร์ดส ครั้งที่ 9 ประจำปี 2555 สาขา เพลงลูกทุ่งฮิตเก่าทำใหม่ยอดนิยม[10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ผู้บัญชาการทหารเรือตรวจเยี่ยมหน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำแม่น้ำโขง เขตเชียงราย". www.navy.mi.th.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 2.0 2.1 2.2 "Royal Thai Navy - Detail History". www.mru.navy.mi.th.
- ↑ ""บิ๊กดุง" นำคณะตรวจเยี่ยม นรข.นครพนม ชมกำลังพลช่วยปราบปรามการทำผิด กม". www.thairath.co.th. 2024-02-07.
- ↑ "แผนผังการจัดหน่วย". www.mru.navy.mi.th.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "วิสัยทัศน์ - Royal Thai Navy". www.mru.navy.mi.th.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 6.0 6.1 "กองเรือลำน้ำ - Detail History". www.riverine.navy.mi.th.
- ↑ นาคพุ่ม, เอกพล (วันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2565). "AAG_th บันทึกประจำวัน: Marsun เป็นผู้ชนะโครงการสร้างเรือเร็วตรวจการณ์ลำน้ำใหม่ ๔ลำแก่กองทัพเรือไทย". AAG_th บันทึกประจำวัน.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "นรข.นครพนมยึดอีก! ไม้พะยูงกว่า 52 ท่อน ขณะกำลังขนลงเรือส่งไปประเทศเพื่อนบ้าน". mgronline.com. 2023-12-08.
- ↑ "สังสัรรค์ศิษย์ทิดโส ฉลองวันเกิด 4 ครูเพลง". komchadluek. 2010-12-22.
- ↑ "ประวัติ ไผ่ พงศธร หรือ พงศธร ศรีจันทร์". music.trueid.net.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)