หน่วยปฏิบัติการเกาะกูด
หน่วยปฏิบัติการเกาะกูด | |
---|---|
เครื่องหมาย | |
ประจำการ | หน่วยตรวจการพิเศษที่ 1 (พ.ศ. 2521–2529) หน่วยปฏิบัติการเกาะกูด (พ.ศ. 2529–ปัจจุบัน) |
ประเทศ | ไทย |
ขึ้นต่อ | กรมรักษาฝั่งที่ 1 หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง |
เหล่า | กองทัพเรือไทย |
รูปแบบ | หน่วยเฉพาะกิจ |
บทบาท | การสงครามต่อสู้อากาศยาน หน่วยยามฝั่ง |
ขึ้นกับ | กองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด |
กองบัญชาการ | เกาะกูด อำเภอเกาะกูด จังหวัดตราด |
ผู้บังคับบัญชา | |
ผบ.นปก. | นาวาโท รัฐวิชญ์ โชติสุริยกาญจน์ |
หน่วยปฏิบัติการเกาะกูด (อังกฤษ: Koh Kood Operations Unit; อักษรย่อ: นปก.) เป็นหน่วยเฉพาะกิจของหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง ขึ้นการควบคุมทางยุทธการกับกองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด ตั้งอยู่บนเกาะกูด อำเภอเกาะกูด จังหวัดตราด[1]
ประวัติ
[แก้]หน่วยปฏิบัติการเกาะกูด ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2521 ในชื่อว่า หน่วยตรวจการณ์พิเศษที่ 1 จากนั้นในปี พ.ศ. 2529 กองทัพเรือได้อนุมัติให้เปลี่ยนชื่อหน่วยจากเดิมคือหน่วยตรวจการณ์พิเศษที่ 1 เป็นหน่วยปฏิบัติการเกาะกูด และกองทัพเรือได้มอบหมายเมื่อปี พ.ศ. 2535 ให้กรมรักษาฝั่งที่ 1 รับผิดชอบในการจัดกำลังมาประจำการที่หน่วย[1]
โครงสร้าง
[แก้]หน่วยปฏิบัติการเกาะกูด เป็นหน่วยเฉพาะกิจที่จัดกำลังจากกรมรักษาฝั่งที่ 1 หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง ขึ้นการควบคุมทางยุทธการกับกองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด[1]
ภารกิจ
[แก้]หน่วยปฏิบัติการเกาะกูดมีภารกิจหลักในการป้องกันภัยคุกคามจากทะเลและทางอากาศ การคุ้มครองเรือประมงไทย การลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมาย สนับสนุนการปฏิบัติการของกำลังทางบกและกำลังทางเรือ สนับสนุนการปฏิบัติของหมวดเรือลาดตระเวนชายแดน (มชด.) และกองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด (กปช.จต.) นอกจากนี้ยังมีภารกิจในการปฏิบัติการจิตวิทยาและการปฏิบัติการมวลชนสัมพันธ์กับประชาชนภายในพื้นที่[1]
การฝึกซ้อม
[แก้]หน่วยปฏิบัติการเกาะกูดมีการฝึกซ้อมอยู่เป็นประจำเพื่อเตรียมขีดความสามารถในการปฏิบัติการให้สูงสุดอยู่ตลอด ทั้งการฝึกยิงอาวุธประจำหน่วย คือปืนขนาด 76/50 มิลลิเมตร และปืนต่อสู้อากาศยานขนาด 37 มิลลิเมตร ในการฝึกยิงไปยังเป้าหมายอากาศยานสมมุติและเป้าหมายจำลองบนพื้นน้ำ[2]
ยุทโธปกรณ์
[แก้]หน่วยปฏิบัติการเกาะกูด มีอาวุธประจำหน่วยคือปืนขนาด 76/50 มิลลิเมตร และปืนต่อสู้อากาศยานขนาด 37 มิลลิเมตร[2] ทำงานร่วมกับระบบควบคุมบังคับบัญชากองทัพเรือ (C4ISR) เชื่อมโยงกับระบบเรดาร์ตรวจการพื้นน้ำที่สามารถรับส่งข้อมูลได้อัตโนมัติ พร้อมด้วยระบบ Maritime Information Sharing System :MISS เพื่อตรวจสอบเรือนอกระยะตรวจการณ์ของหน่วย[3]
กรณีพิพาททางทะเล
[แก้]เกาะกูดถูกกล่าวอ้างถึงจากบางบุคคลว่าประเทศไทยจะสูญเสียอธิปไตยของเกาะกูดไปจากการลงนามในบันทึกความเข้าใจไทย-กัมพูชา ว่าด้วยพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนทางทะเลในไหล่ทวีป พ.ศ. 2544 ขณะที่ในความเป็นจริงแล้ว เกาะกูดเป็นของประเทศไทยตั้งแต่สนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 125 และไทยเป็นกรรมสิทธิ์เหนือเกาะกูดทั้งหมด[4] ประชาชนและส่วนราชการบนเกาะเป็นคนไทยและของประเทศไทยทั้งหมด ได้แก่ ที่ว่าการอำเภอเกาะกูด สถานีตำรวจภูธรเกาะกูด องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะกูด โรงเรียนและโรงพยาบาล[5] ซึ่งฝ่ายไทยมีการวางกำลังของหน่วยปฏิบัติการเกาะกูดในการรักษาอธิปไตยของพื้นที่[6]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 "ผู้บัญชาการทหารเรือเยี่ยมอำลาหน่วยปฏิบัติการเกาะกูด (นปก.)". www.navy.mi.th (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ 2.0 2.1 "วาระด่วน 'รัฐบาลไทย-กัมพูชา' 'นปก.เกาะกูด' ศักดิ์สงครามราชนาวี". bangkokbiznews. 2024-11-09.
- ↑ "กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีทหารเรือ เข้าตรวจระบบควบคุมบังคับบัญชา ทร. (C4ISR) ในพื้นที่ นปก. (เกาะกูด) เพื่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน". www.ncit.navy.mi.th (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "กต.ยัน "เกาะกูด" เป็นของไทย ไม่จำเป็นต้องยกเลิก MOU 44". Thai PBS.
- ↑ "ผบ.สอ.รฝ. ตรวจเยี่ยมกำลังพลเกาะกูด พร้อมชมการฝึกยิงอาวุธประจำหน่วย". www.thairath.co.th. 2022-05-25.
- ↑ "ที่พักเกาะกูดถูกยกเลิก 50% "ภูมิธรรม" ย้ำเป็นของไทย ลุยเจรจา MOU 44". Thai PBS.