กองกำลังนานาชาติในติมอร์ตะวันออก
กองกำลังนานาชาติในติมอร์ตะวันออก | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ การรุกรานติมอร์ตะวันออกโดยอินโดนีเซียและวิกฤตการณ์ติมอร์ตะวันออก | |||||||
เครื่องหมาย | |||||||
| |||||||
ผู้เข้าร่วม | |||||||
กองกำลังนานาชาติ:
|
กองกำลังพลเรือนอาสาสมัคร: | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
| |||||||
กำลัง | |||||||
11,500 นาย (กองกำลังสูงสุด) | ไม่ทราบ |
กองกำลังนานาชาติในติมอร์ตะวันออก หรือ อินเตอร์เฟต (อังกฤษ: International Force East Timor: INTERFET) เป็นกองกำลังเฉพาะกิจสร้างสันติภาพข้ามชาติที่ไม่ใช่ของสหประชาชาติ ซึ่งจัดตั้งและนำโดยออสเตรเลียตามมติขององค์การสหประชาชาติเพื่อจัดการกับวิกฤติด้านมนุษยธรรมและความมั่นคงที่เกิดขึ้นในติมอร์ตะวันออกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542–2543 ก่อนที่จะส่งต่อภารกิจไปยังกองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ[1] อินเตอร์เฟตบัญชาการโดยนายทหารออสเตรเลีย พลตรี ปีเตอร์ คอสโกรฟ
ความเป็นมา
[แก้]อินโดนีเซียบุกติมอร์ตะวันออกในปี พ.ศ. 2518 และผนวกอดีตอาณานิคมของโปรตุเกส การผนวกนี้ได้รับการยอมรับจากไม่กี่ชาติ (รวมถึงออสเตรเลียและสหรัฐอเมริกา) และถูกต่อต้านโดยชาวติมอร์ตะวันออกจำนวนมาก ความกังวลด้านความมั่นคงในช่วงสงครามเย็นได้รับการตอกย้ำ[2] ขณะที่มหาอำนาจต่างชาติก็ให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์อันดีกับอินโดนีเซียเป็นอย่างมาก และส่วนใหญ่ไม่เต็มใจที่จะช่วยเหลือในการผลักดันเอกราชด้วยผลที่ตามมา อย่างไรก็ตาม หลังจากการล่มสลายของประธานาธิบดีซูฮาร์โตที่ดำรงตำแหน่งมายาวนานของอินโดนีเซีย บาคารุดดิน ยูซุฟ ฮาบีบี ประธานาธิบดีคนใหม่ก็พร้อมที่จะให้เอกราชพิเศษแก่ติมอร์ตะวันออก[3]
ปลายปี พ.ศ. 2541 นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย จอห์น โฮเวิร์ด พร้อมด้วยอเล็กซานเดอร์ ดาวเนอร์ รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของเขา ได้ร่างจดหมายถึงฮาบีบีเพื่อสนับสนุนแนวคิดเรื่องเอกราช แต่ได้รวมเอาข้อเสนอแนะที่ว่าปัญหาระยะยาวของการกำหนดการปกครองด้วยตนเองของติมอร์ตะวันออกจะคลีคลายได้ด้วยการให้โอกาสชาวติมอร์ตะวันออกในการลงประชามติหลังจากช่วงระยะเวลาอันยาวนานของการปกครองตนเอง การเปรียบเทียบที่ชัดเจนคือ สนธิสัญญามาติญง (Matignon Accords) ที่เกี่ยวกับฝรั่งเศสและนิวแคลิโดเนีย[4] จดหมายดังกล่าวทำให้ฮาบีบีไม่พอใจ ซึ่งมองว่าอินโดนีเซียเป็น "มหาอำนาจอาณานิคม" และเขาจึงตัดสินใจตอบสนอง ด้วยการประกาศถึงกำหนดการลงประชามติอย่างกระทันหัน โดยจะดำเนินการภายในหกเดือน[3]
ข่าวข้อเสนอดังกล่าวกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยารุนแรงจากกองกำลังพลเรือนอาสาสมัคร (militia) ที่สนับสนุนอินโดนีเซียในติมอร์ตะวันออก กองทัพบกอินโดนีเซียไม่ได้เข้ามาแทรกแซงเพื่อฟื้นฟูความสงบเรียบร้อย ที่การประชุมสุดยอดที่บาหลี ฮาวเวิร์ดบอกกับฮาบิบีว่ากองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติควรจะเป็นผู้ดูแลกระบวนการนี้ ฮาบีบีปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าว โดยเชื่อว่าสิ่งนั้นจะเป็นการดูถูกกองทัพอินโดนีเซียของเขา[3]
การลงประชามติเอกราชติมอร์ตะวันออก
[แก้]คณะผู้แทนสหประชาชาติในติมอร์ตะวันออก (UNAMET) ก่อตั้งขึ้นเพื่อจัดและดำเนินการลงประชามติเกี่ยวกับคำถามเรื่องเอกราช ประกอบด้วยตำรวจและผู้สังเกตการณ์มากกว่าบุคลากรทางทหาร การออกเสียงประชามติที่ได้รับการสนับสนุนจากสหประชาชาติจัดขึ้นเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2542 แสดงให้เห็นถึงการเห็นชอบอย่างท่วมท้นสำหรับการแยกตัวเป็นเอกราชของติมอร์ตะวันออกจากอินโดนีเซีย หลังจากประกาศผลเมื่อวันที่ 4 กันยายน การปะทะกันอย่างรุนแรงเกิดขึ้นโดยกลุ่มติดอาวุธที่ต้องสงสัยว่าจะต่อต้านการประกาศเอกราช ก่อให้เกิดวิกฤตด้านมนุษยธรรมและความมั่นคงในภูมิภาค ทำให้ ชานานา กุฌเมา ได้ร้องขอกองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติในวันเดียวกัน[5] ชาวติมอร์ตะวันออกจำนวนมากถูกสังหาร โดยมีผู้พลัดถิ่นมากถึง 500,000 คน และราวครึ่งหนึ่งต้องหลบหนีออกจากดินแดนของตนเอง[1]
ในวันที่ 6 กันยายน ปฏิบัติการสปิตไฟร์เริ่มต้นขึ้นด้วยเครื่องบิน ซี-130 เฮอร์คิวลิส ของกองทัพอากาศออสเตรเลีย (RAAF) เพื่ออพยพเจ้าหน้าที่คณะผู้แทนสหประชาชาติในติมอร์ตะวันออก (UNAMET) ชาวต่างชาติ และผู้ลี้ภัย รวมถึงบิชอป เบโล ไปยังดาร์วิน จากสนามบินดิลีและเบาเกา โดยมีการป้องกันโดยทหารจากกรมปฏิบัติการพิเศษทางอากาศ (SASR) ที่ไม่ติดอาวุธ[6]
ข้อมติสหประชาชาติ
[แก้]ความรุนแรงดังกล่าวทำให้เกิดการแสดงออกถึงความไม่พอใจโดยสาธารณชนในออสเตรเลีย โปรตุเกส และที่อื่น ๆ และนักเคลื่อนไหวในโปรตุเกส ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา และประเทศอื่น ๆ กดดันรัฐบาลให้ดำเนินการต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ลอรี เบรเรตัน โฆษกฝ่ายค้านด้านการต่างประเทศของออสเตรเลีย เน้นย้ำหลักฐานที่แสดงถึงการมีส่วนร่วมของกองทัพอินโดนีเซียในความรุนแรงที่เกิดขึ้น และสนับสนุนปฏิบัติการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติเพื่อสร้างเสถยรภาพในการจัดการเลือกตั้งของติมอร์ตะวันออก[7] คริสตจักรคาทอลิกในออสเตรเลียเรียกร้องให้รัฐบาลออสเตรเลียส่งกองกำลังรักษาสันติภาพไปยังติมอร์ตะวันออกเพื่อยุติความรุนแรง[8] การประท้วงเกิดขึ้นนอกสถานกงสุลอินโดนีเซียในดาร์วินและสถานทูตอินโดนีเซียในแคนเบอร์รา[9][10]
นายกรัฐมนตรี จอห์น โฮเวิร์ด ของออสเตรเลีย ได้รับการสนับสนุนจาก โคฟี แอนนัน เลขาธิการสหประชาชาติ และประธานาธิบดี บิล คลินตัน ของสหรัฐ ในการส่งกองกำลังรักษาสันติภาพระหว่างประเทศที่นำโดยออสเตรเลียเข้าสู่ติมอร์ตะวันออกเพื่อยุติความรุนแรง เมื่อวันที่ 12 กันยายน คลินตันประกาศว่า:[11]
กองทัพอินโดนีเซียได้ช่วยเหลือและสนับสนุนความรุนแรงของทหารอาสาในติมอร์ตะวันออก ซึ่งถือเป็นการละเมิดความมุ่งมั่นของผู้นำที่มีต่อประชาคมระหว่างประเทศ สิ่งนี้ทำให้กองกำลังติดอาวุธสังหารผู้บริสุทธิ์ ส่งผลให้คนหลายพันคนหนีเอาชีวิตรอด และโจมตีบริเวณองค์การสหประชาชาติ สหรัฐได้ระงับความร่วมมือ ความช่วยเหลือ และการขายทางทหารทั้งหมดแก่อินโดนีเซีย ... รัฐบาลอินโดนีเซียและกองทัพไม่เพียงแต่ต้องหยุดสิ่งที่พวกเขากำลังทำอยู่เท่านั้น แต่ยังต้องย้อนกลับอีกด้วย พวกเขาต้องยุติความรุนแรง ไม่ใช่แค่ในดิลี แต่ทั่วประเทศ พวกเขาจะต้องอนุญาตความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและปล่อยให้คณะผู้แทนของสหประชาชาติทำหน้าที่ ... เราพร้อมที่จะสนับสนุนความพยายามที่นำโดยออสเตรเลียในการระดมกำลังข้ามชาติเพื่อช่วยนำความมั่นคงมาสู่ติมอร์ตะวันออกภายใต้การอุปถัมภ์ของสหประชาชาติ ... ดวงตาของโลก กำลังเฝ้าดูสถานที่เล็ก ๆ แห่งนั้น และเฝ้าดูผู้คนผู้บริสุทธิ์ที่ยากจนและทนทุกข์เหล่านั้น
[T]he Indonesian military has aided and abetted militia violence in East Timor, in violation of the commitment of its leaders to the international community. This has allowed the militias to murder innocent people, to send thousands fleeing for their lives, to attack the United Nations compound. The United States has suspended all military cooperation, assistance, and sales to Indonesia ... The Indonesian Government and military must not only stop what they are doing but reverse course. They must halt the violence not just in Dili but throughout the nation. They must permit humanitarian assistance and let the U.N. mission do its job ... We are ready to support an effort led by Australia to mobilize a multinational force to help to bring security to East Timor under U.N. auspice ... the eyes of the world are on that tiny place and on those poor innocent, suffering people.
อินโดนีเซียที่ประสบปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำยอมจำนน ภายใต้แรงกดดันจากนานาชาติที่จะอนุญาตให้มีกองกำลังรักษาสันติภาพระหว่างประเทศ ประธานาธิบดี บาคารุดดิน ยูซุฟ ฮาบีบี ประกาศเมื่อวันที่ 12 กันยายน ว่าเขาจะทำเช่นนั้น[12] เขากล่าวในงานแถลงข่าวว่า:[3]
เมื่อไม่กี่นาทีที่แล้ว ผมได้โทรหานายโคฟี อันนัน เลขาธิการสหประชาชาติ เพื่อแจ้งให้ทราบถึงความพร้อมของเราที่จะรับกองกำลังรักษาสันติภาพระหว่างประเทศผ่านทางสหประชาชาติ จากประเทศที่เป็นมิตร เพื่อฟื้นฟูสันติภาพและความมั่นคงในติมอร์ตะวันออก
A couple of minutes ago I called the United Nations Secretary General, Mr Kofi Annan, to inform about our readiness to accept international peacekeeping forces through the United Nations, from friendly nations, to restore peace and security in East Timor.
เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2542 คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติแสดงความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ที่ย่ำแย่ในติมอร์ตะวันออก และออกมติที่ 1264 เรียกร้องให้มีกองกำลังข้ามชาติเพื่อฟื้นฟูสันติภาพและความมั่นคงแก่ติมอร์ตะวันออก เพื่อปกป้องและสนับสนุนภารกิจของสหประชาชาติที่นั่น และอำนวยความสะดวกในการดำเนินการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมจนกว่าจะถึงเวลาที่กองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติได้รับการอนุมัติและจัดกำลังในพื้นที่[13] มติดังกล่าวยังยินดีที่ออสเตรเลียออกจดหมายตอบรับที่จะเป็นผู้นำของกองกำลังข้ามชาติที่จะส่งไปยังติมอร์ตะวันออก รวมถึงเป็นแกนสนับสนุนหลักในกองกำลังดังกล่าว[14]
ปฏิบัติการทางทหาร
[แก้]การนำไปสู่การปฏิบัติการครั้งนี้ยังคงมีความตึงเครียดทางการเมืองและการทหาร กองทัพอากาศออสเตรเลีย (RAAF) ได้ส่งเครื่องบินรบแนวหน้า ได้แก่ เอฟ/เอ-18 และ เอฟ-111 ไปทางเหนือยังทินดัลในนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี เพื่อทำหน้าที่เป็นเครื่องบินเตรียมพร้อมป้องกันความขัดแย้งที่ทวีความรุนแรงขึ้นโดยกองทัพอินโดนีเซีย และสนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ชิดรวมถึงการป้องกันทางอากาศสนับสนุนการลงจอดหากจำเป็น เครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล พี-3 โอไรออน ก็ถูกนำไปวางกำลังเช่นกัน[15] ในกรณีที่วิกฤตที่สุด ยุทโธปกรณ์สนับสนุนทางอากาศของกองทัพอากาศออสเตรเลียที่มีให้กับอินเตอร์เฟต ได้แก่ เอฟ-111 จำนวน 10 ลำ, เอฟ/เอ-18 จำนวน 12 ลำ, พี-3ซี โอไรอออน จำนวน 5 ลำ, เครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ B707 จำนวน 3 ลำ, บี200 คิงแอร์ จำนวน 2 ลำ, เครื่องบินควบคุมหน้า พีซี-9เอ 3 ลำ และเครื่องบินไอพ่นวีไอพีฟอลคอน เอฟ900[16] นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มเคลื่อนย้ายทางอากาศที่สำคัญ คือ เครื่องบินขนส่งของออสเตรเลีย ซึ่งรวมถึง ซี-130 เฮอร์คิวลิส 13 ลำ และ ดีเอชซี-4 คาริบู 3 ลำ ขณะที่นิวซีแลนด์ได้ส่งเครื่องบิน ซี-130 เฮอร์คิวลิส, ยูเอช-1 ฮิวอี้ และ เอ-4เค สกายฮอว์กส์ ไปยังฐานทัพอากาศออสเตรเลียทินดัล เพื่อสนับสนุนอากาศยาน เอฟ-111 ของออสเตรเลีย นอกจากนี้ ยังมีเครื่องบินของอังกฤษ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ฝรั่งเศส และไทยจำนวนหนึ่งถูกส่งไปวางกำลังประจำการด้วย[17][18] อย่างน้อยหนึ่งครั้ง เครื่องบิน พี-3ซี ของออสเตรเลียถูกเครื่องบินอินโดนีเซียเข้าสกัดกั้น[19] ในขณะที่เรือดำน้ำของอินโดนีเซียก็ถูกตรวจพบโดยการสอดแนมของแนวร่วมภายในบริเวณใกล้เคียงกับท่าเรือดิลีขณะที่กองกำลังอินเตอร์เฟตเข้าใกล้ ท้ายที่สุดแล้วไม่มีเหตุการณ์ร้ายแรงใด ๆ เกิดขึ้น และการแทรกแซงก็ประสบผลสำเร็จ อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ออสเตรเลีย-อินโดนีเซียอาจจะต้องใช้เวลาหลายปีกว่าจะฟื้นคืนกลับมาเป็นปกติ[3]
จาก 22 ประเทศที่เข้าร่วมกับอินเตอร์เฟต มี 10 ประเทศที่จัดกำลังทางเรือ โดยออสเตรเลียเป็นผู้ให้บริการทางเรือรายใหญ่ที่สุดเพียงรายเดียว โดยมีเรือรบ 14 ลำที่ใช้งานในอินเตอร์เฟตระหว่างวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2542 ถึง 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 ประกอบไปด้วย เรือฟริเกต แอดิเลด, แอนแซค, ดาร์วิน, ซิดนีย์, นิวคาสเซิล และ เมลเบิร์น; เรือยกพลขึ้นบก โทบรูค, เรือระบายพล บาลิกปาปัน, บรูไน, ลาบวน, ตารากัน และ เบตาโน เรือเร็วขนส่ง เจอร์วิสเบย์; และเรือส่งกำลังบำรุง ซัคเซสส์ ขณะที่สหรัฐได้ส่งเรือเข้ารวมภารกิจ 7 ลำ ได้แก่ เรือลาดตระเวน โมบาลเบย์; เรือยกพลขึ้นบกจู่โจม เบลล์ วู้ด, เปเลลิว และ จูโน; และเรือส่งกำลังบำรุง คิลาเว, ซานโฮเซ และทิปเปคานู ฝรั่งเศสสนับสนุนเรือในภารกิจ 4 ลำ ได้แก่ เรือฟริเกต พร้อมด้วยเรือยกพลขึ้นบก เวนเดมิแอร์ และ แพรเรียล ซิโรโก และ ฌาค คาร์เทียร์ สิงคโปร์สนับสนุนเรือยกพลขึ้นบกสะเทินน้ำสะเทินบก 3 ลำ ได้แก่ เอ็กซเลนซ์, อินเทรพิท และ เพอร์เซอเวียแรนซ์ นิวซีแลนด์สนับสนุน 3 ลำ ได้แก่ เรือฟริเกต เต คาฮา และ แคนเทอร์เบอรี เรือส่งกำลังบำรุง เอนเดเวอร์ เรือรบอื่น ๆ ที่ประจำการในระหว่างการปฏิบัติการ ได้แก่ เรือส่งกำลังบำรุง โปรเทคเทอร์ ของแคนาดา เรือยกพลขึ้นบกจู่โจม ซาน จูสโต ของอิตาลี เรือฟริเกต วาสโก ดา กามา ของโปรตุเกส เรือยกพลขึ้นบก เรือหลวงสุรินทร์ ของไทย และเรือพิฆาต กลาสโกว์ ของสหราชอาณาจักร[20]
กองกำลังนานาชาติในติมอร์ตะวันออก (INTERFET) เริ่มส่งกำลังไปยังติมอร์ตะวันออกเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2542 ในฐานะกองกำลังที่ไม่ใช่ของสหประชาชาติซึ่งปฏิบัติการตามมติของสหประชาชาติ นำโดยออสเตรเลีย ซึ่งร่วมส่งกำลังพล 5,500 นายและผู้บัญชาการกองกำลัง พลตรี ปีเตอร์ คอสโกรฟ โดยได้รับมอบหมายให้ฟื้นฟูสันติภาพและความมั่นคง ปกป้องและสนับสนุนการปฏิบัติงานของคณะผู้แทนสหประชาชาติในติมอร์ตะวันออก (UNAMET) และอำนวยความสะดวกในความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม[1] ผู้บัญชากากองกำลังเฉพาะกิจร่วมไทย พลตรี ทรงกิตติ จักกาบาตร์ เป็นรองผู้บัญชาการของอินเตอร์เฟต[21] กองบัญชาการกองกำลังร่วมของออสเตรเลียทำหน้าที่สั่งการและควบคุมโดยรวม[22] กำลังรบหลักของออสเตรเลีย ได้แก่ ทหารราบและทหารม้าที่จัดกำลังจากกองพลน้อยที่ 3[22] เนื่องจากลักษณะของปฏิบัติการ ทำให้ไม่ได้มีการนำปืนใหญ่และอาวุธหนักอื่น ๆ ไปใช้งานด้วย แต่ได้เตรียมพร้อมปืนใหญ่ขนาด 105 มม. และ 155 มม. และรถถังลีโอพาร์ดในดาร์วินเพื่อการจัดวางกำลังอย่างรวดเร็วหากจำเป็น[23] รวมถึงได้รับการสนับสนุนจากกรมทหารช่างรบที่ 3, กองร้อยสัญญาณที่ 103, กองร้อยสื่อสารที่ 110 และหน่วยสนับสนุนจากกองพันสนับสนุนการธุรการกองทัพน้อยที่ 3[22] เฮลิคอปเตอร์แบล็กฮอว์กจำนวน 12 ลำ จากกรมการบินที่ 5 ก็ถูกส่งไปประจำการเช่นกัน กองกำลังระดับกำลังอื่น ๆ ได้แก่ สารวัตรทหาร, กองร้อยข่าวกรอง, กองร้อยสงครามอิเล็กทรอนิกส์ หน่วยของกองร้อยระบุตำแหน่งปืนใหญ่ และเจ้าหน้าที่สำรวจภูมิประเทศ[22]
กองกำลังพิเศษมีบทบาทสำคัญในปฏิบัติการ โดยมีกองร้อยออสเตรเลียจากกรมปฏิบัติการพิเศษทางอากาศ (SASR) กองทหารจากหน่วยปฏิบัติการพิเศษทางอากาศนิวซีแลนด์ (NZSAS) และกองทหารจากหน่วยปฏิบัติการพิเศษทางเรือสหราชอาณาจักร (SBS) ได้มีการจัดตั้งกองกำลังตอบโต้ (Response Force: RESPFOR)[24] SASR บินเข้าสู่ดิลีโดยเครื่องบิน ซี-130 เฮอร์คิวลิสของออสเตรเลียเพื่อรักษาความปลอดภัยสนามบินโคโมโร ตามด้วยหน่วย NZSAS และ SBS เมื่อสนามบินปลายทางปลอดภัยแล้ว ทหารราบจากกองพันที่ 2 กรมทหารออสเตรเลีย (2 RAR) ก็บินตามเข้ามาจากดาร์วินโดยได้รับการสนับสนุนจากรถลำเลียงพลหุ้มเกราะ เอ็ม-113 จำนวน 2 คันจากกองร้อย B กรมทหารม้าที่ 3/4 RESPFOR เริ่มการลาดตระเวนด้วยยานพาหนะในดิลี รวมถึงการลาดตระเวนท่าเรือดิลี หลังจากนั้นกองร้อยปืนเล็กยาวจาก 2 RAR—ซึ่งยืมรถบรรทุกทหารของอินโดนีเซียสำหรับการขนส่ง—และรักษาความปลอดภัยท่าเรือไว้ก่อนที่กองกำลังหลักจะติดตามจะมาถึงในวันรุ่งขึ้น ในขณะที่ส่วนที่เหลือของ กองพันได้รวมพลที่โคโมโระ ในขณะเดียวกันได้มีการรวมกำลังทหารกุรข่าจากกองพันที่ 2, กรมทหารกุรข่า (2 RGR) และหน่วยคอมมานโดของราชนาวิกโยธินอังกฤษจากกองร้อยปืนเล็กยาวกองเรือเตรียมพร้อม (Fleet Standby Rifle Troop: FSRT) ได้รักษาการบริเวณตีนเขาและพื้นที่ทางตอนใต้ของเมือง กองพันที่ 3 กรมทหารออสเตรเลีย (3 RAR) เริ่มยกพลขึ้นบกที่ท่าเรือในวันรุ่งขึ้น พร้อมด้วยกรมทหารม้าที่ 2 ที่พร้อมกับรถหุ้มเกราะเบาของออสเตรเลีย (ASLAV) และกำลังที่เหลือของกลุ่มกองร้อยจาก 2 กองพันที่สอง กองพันทหารกุรข่า และกองร้อยป้องกันสนามบินที่ 2 (2AFDS) มาถึงในวันรุ่งขึ้นเพื่อรักษาความปลอดภัยสนามบินโคโมโระอย่างถาวร แทนที่ทหารราบจากกองพันที่ 2 กรมทหารออสเตรเลีย โดยกองกำลังและบุคลากรสนับสนุนของออสเตรเลียเพิ่มเติมจะตามมาถึงในวันต่อ ๆ ไป ในขณะที่อินเตอร์เฟตยังคงเสริมกำลังอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับกองกำลังจากประเทศอื่น ๆ จากหลายประเทศ โดยเฉพาะจากนิวซีแลนด์[25]
บุคลากรของคณะผู้แทนสหประชาชาติในติมอร์ตะวันออก (UNAMET) ส่วนใหญ่ได้รับการอพยพออกจากภูมิภาคนี้แล้วในช่วงหลายเดือนก่อนโดยกองทัพอากาศออสเตรเลีย แม้ว่าจะมีจำนวนเล็กน้อยที่ยังคงอยู่เพื่ออพยพออกมาตามหลัง[26] จากนั้นเจ้าหน้าที่และกองกำลังของอินโดนีเซียได้ถอนกำลังออกไป คณะผู้แทนสหประชาชาติในติมอร์ตะวันออก (UNAMET) ได้ก่อตั้งสำนักงานใหญ่ขึ้นใหม่ในเมืองดิลีเมื่อวันที่ 28 กันยายน และในวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2542 อินโดนีเซียก็ได้รับรองผลการลงประชามติประกาศเอกราชอย่างเป็นทางการ ไม่นานหลังจากนั้นองค์การบริหารช่วงเปลี่ยนผ่านแห่งสหประชาชาติในติมอร์ตะวันออก (UNTAET) ได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นปฏิบัติการรักษาสันติภาพ ซึ่งยังรับผิดชอบอย่างเต็มที่ในการบริหารงานของติมอร์ตะวันออกเพื่อดูแลการเปลี่ยนผ่านสู่เอกราช[1] ด้วยกองกำลังที่มีอยู่อย่างจำกัด คอสโกรฟจึงนำแนวคิด 'จุดน้ำมัน' มาใช้ในการครอบครองพื้นที่สำคัญซึ่งพื้นที่โดยรอบอาจได้รับอิทธิพล จากนั้นจึงรักษาความปลอดภัย โดยเคลื่อนตัวอย่างรวดเร็วด้วยเฮลิคอปเตอร์เพื่อรักษาสมดุลของกองกำลังติดอาวุธ สนามบินขนาดใหญ่ที่เบาเกาได้รับการรักษาความปลอดภัยโดยสองหมวดจากกองพันที่ 2 กรมทหารออสเตรเลียเมื่อวันที่ 22 กันยายน ซึ่งได้รับการบรรเทาทุกข์โดยกองกำลังที่ไม่ใช่พลรบของกองทัพบกฟิลิปปินส์ที่เรียกว่าคณะผู้แทนสนับสนุนด้านมนุษยธรรมของฟิลิปปินส์ไปยังติมอร์ตะวันออก (Philippine Humanitarian Support Mission to East Timor: PhilHSMET) ในสามวันต่อมา[27]
เมื่อวันที่ 26 กันยายน กองร้อย D กองพันที่ 2 กรมทหารออสเตรเลีย ได้ทำการแทรกซึมทางอากาศเข้าไปในลิพนิกา ห่างจากดิลีประมาณ 30 กิโลเมตร (19 ไมล์) และกลับสู่ดิลีประมาณ 30 ชั่วโมงต่อมา[28][27] ต่อมาวันที่ 29 กันยายน ทหารราบนิวซีแลนด์ชุดแรกเดินทางมาถึงดิลีพร้อมกับกองร้อย V จากกองพันที่ 1 กรมทหารราบนิวซีแลนด์ (1 RNZIR) พร้อมด้วยรถลำเลียงพลหุ้มเกราะ เอ็ม-113 จำนวน 4 คันจากกองพันปืนเล็กยาวภูเขาราชินีอเล็กซานดรา หลังจากอินเตอร์เฟตได้เข้ารักษาความปลอดภัยเมืองดิลีได้อย่างสมบูรณ์แล้ว จึงได้ปรับย้ายกองกำลังไปทางด้านตะวันตก[25] ในวันที่ 1 ตุลาคม กองพันที่ 2 กรมทหารออสเตรเลียได้บินเข้ามาเพื่อคุ้มกันเมืองบาลีโบ และบาตูกาเด ใกล้ชายแดนด้านตะวันตกไปพร้อม ๆ กัน เมื่อได้รับรถลำเลียงพลหุ้มเกราะเข้ามาเสริมกำลัง กองพันก็สามารถวางกำลังป้องกันมาเลียนาได้ ก่อนที่จะดำเนินการเคลียร์ส่วนที่เหลือของรีเจนซี่โบโบนาโร[29]
ในวันที่ 6 ตุลาคม กองกำลังยานเกราะของกุรข่าและ RESPFOR ได้เข้าไปในเมืองซูไอร่วมกับ RESPFOR ในเฮลิคอปเตอร์แบล็กฮอว์กส์ และจับกุมทหารอาสาได้ 116 นาย อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ SASR จำนวนหนึ่งถูกซุ่มโจมตีในเวลาต่อมา ส่งผลให้ทหารออสเตรเลียสองคนได้รับบาดเจ็บ ในการโจมตีตอบโต้ มีทหารอาสา 2 นายเสียชีวิต ขณะที่อีก 2 คนหลบหนีออกมาได้ แต่ภายหลังพบว่าบาดเจ็บสาหัสและเสียชีวิต[27][30][31] ในขณะเดียวกัน กองพันที่ 3 ของออสเตรเลีย—กองพันที่ 5/7 กรมทหารออสเตรเลีย (5/7 RAR)—ได้มาถึงดิลีเพื่อบรรเทาทุกข์กองพันที่ 3 กรมทหารออสเตรเลีย ในวันที่ 10 ตุลาคม กองพันที่ 3 กรมทหารออสเตรเลียถูกส่งเข้าไปแทรกแซงใน โบโบนาโร และ มาเลียน่า โดยเฮลิคอปเตอร์ และกองร้อย V กองพันที่ 1 กรมทหารราบนิวซีแลนด์ ถูกส่งไปยังเมืองซูไอโดยเฮลิคอปเตอร์แบล็กฮอว์กเพื่อบรรเทาทุกข์พร้อมกับหน่วยกุรข่าและ RESPFOR ในวันเดียวกันนั้น หมวดจากกองพันที่ 2 กรมทหารออสเตรเลียถูกตำรวจอินโดนีเซียยิงใส่ใกล้กับโมตาไอน์ที่ชายแดน และในการปะทะที่ตามมา ชาวอินโดนีเซีย 1 ถูกสังหาร[27]
ในวันที่ 13 ตุลาคม ปฏิบัติการสะเทินน้ำสะเทินบกครั้งใหญ่ได้เริ่มขึ้นที่ซูไอ โดยมีหน่วยส่งกำลังบำรุงและหน่วยสนับสนุนจำนวนมากของกองบัญชาการกองพลน้อยที่ 3 (เปลี่ยนชื่อเป็นกองบัญชาการเวสต์ฟอร์ซ) ยกพลขึ้นบก[32] เวสต์ฟอร์ซ (WESTFOR) ประกอบด้วยกองพันที่ 2 กรมทหารออสเตรเลีย (2RAR), กองพันที่ 3 กรมทหารออสเตรเลีย (3RAR) และ กองพันที่ 1 กรมทหารนิวซีแลนด์ (1RNZIR) นอกจากนี้ยังสนับสนุนการบิน, ทหารช่าง และหน่วยยานเกราะ ซึ่งได้รับมอบหมายให้ดูแลพื้นที่ชายแดน[33] ในวันที่ 22 ตุลาคม กลุ่มกองพันที่ 1 กรมทหารออสเตรเลียได้เข้าประจำการเต็มกำลัง ซึ่งรวมถึงกองร้อยทหารราบแคนาดาจากกองพันที่ 3 กรมทหารที่ 22 และหมวดกองกำลังพิเศษของไอร์แลนด์จากกองพันบินเรนเจอร์กองทัพบกที่ได้รับการสนับสนุนจากเฮลิคอปเตอร์ฮิวอี้ฝูงบินหมายเลข 3 กองทัพอากาศนิวซีแลนด์[34] ตั้งแต่กลางเดือนตุลาคม กองกำลังจากประเทศอื่น ๆ จำนวนมากเริ่มมาถึง รวมทั้งกองพันจากไทยและเกาหลีใต้ซึ่งประจำการอยู่ในภาคตะวันออกของประเทศ[34]
การมาถึงของกองทหารนานาชาติหลายพันนายในติมอร์ตะวันออกทำให้กองทหารอาสา (militia) ต้องหลบหนีข้ามพรมแดนเข้าสู่อินโดนีเซีย การปะทะใหญ่ที่ไอทาบาซาลาลา ห่างจากชายแดนติมอร์ไปทางตะวันตก 15 กิโลเมตร (9.3 ไมล์) เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2542 ปฏิบัติการเกี่ยวข้องกับหน่วยลาดตระเวนลาดตระเวนลับของออสเตรเลียจากกรมทหารออสเตรเลีย (SASR) กองกำลังออสเตรเลียได้โจมตีด้วยการยิงปะทะกับกลุ่มทหารอาสามากกว่า 20 นาย หน่วยลาดตระเวนของกรมหทารออสเตรเลีย (SASR) ถูกตรวจพบขณะสร้างที่ตรวจการณ์ และถูกบีบให้ต่อสู้เพื่อไปยังเขตลงจอด หลังจากถูกโจมตีอีกสามครั้งในช่วงเวลาหนึ่งชั่วโมงครึ่ง ทหารออสเตรเลียถูกซุ่มโจมตีอีกครั้งก่อนที่จะปะทะกันและถอนตัวออกจากพื้นที่ด้วยเฮลิคอปเตอร์แบล็กฮอว์กได้สำเร็จ ทหารอาสาเสียชีวิต 5 นายและบาดเจ็บ 3 นาย ขณะที่ไม่มีทหารออสเตรเลียได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต[35] ต่อมา รายงานข่าวกรองคะเนถึงการมีส่วนร่วมของเจ้าหน้าที่ทหารอินโดนีเซียในการตัดขาดและทำลายกองกำลังออสเตรเลีย ขณะเดียวกันมีการการคาดเดาเกี่ยวกับตัวตนของกองกำลังอาสาที่สนับสนุนอินโดนีเซีย รวมถึงแหล่งที่มาของอาวุธและการฝึกของกองกำลังดังกล่าวก็เพิ่มมากขึ้นในหน้าสื่อ[36][Note 1]
จากนั้นอินเตอร์เฟตก็ได้เริ่มดำเนินการเพิ่มการรักษาความปลอดภัยส่วนสุดท้ายของประเทศบริเวณวงล้อมโอเอคัสซี[40] เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2542 กรมทหารออสเตรเลีย (SASR) ได้ทำการแทรกทางอากาศด้วยเฮลิคอปเตอร์แบล็กฮอว์กที่ท่าเรือมากาซาในพื้นที่ปิดล้อม อีกหนึ่งชั่วโมงต่อมาเรือระบายพลสะเทินน้ำสะเทินบกจากกองทัพเรือได้ระบายพลกองกำลังทหารและยานพาหนะเข้าสู่ฝั่ง[41][40][42] ซึ่งในคืนก่อนนักประดาน้ำเคลียร์พื้นที่ส่วนหน้าจากเรือ เอชเอ็มเอเอส ซัสเซสได้ทำการลาดตระเวนชายหาดอย่างลับ ๆ ในบริเวณที่จะยกพลขึ้นบก[43][42] หนึ่งวันหลังจากที่กรมทหารออสเตรเลียยกพลขึ้นบก หมวดจากกองพันที่ 5/7 กรมทหารออสเตรเลีย (5/7 RAR) พร้อมด้วยรถลำเลียงพลหุ้มเกราะ 4 คัน และหมวดทหารกุรข่าจากกองพันที่ 2 กรมทหารกุรข่า ยกพลขึ้นบกจากเรือระบายพล[44][45] ทหารอาสา 40 นายถูกจับกุมในขณะที่ส่วนที่เหลือเชื่อกันว่าหนีไปยังฝั่งติมอร์ตะวันตก[46] ในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน กองพันที่ 3 กรมทหารกุรข่า ได้เข้ามารับผิดชอบในพื้นที่วงล้อมโอเอคัสซี[47]
ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 อินเตอร์เฟตได้ส่งมอบคำสั่งปฏิบัติการทางทหารให้กับองค์การบริหารช่วงเปลี่ยนผ่านแห่งสหประชาชาติในติมอร์ตะวันออก (UNTAET)[32] ทหารนิวซีแลนด์ พลทหาร ลีโอนาร์ด แมนนิ่ง ถูกยิงเสียชีวิตระหว่างการปะทะกันเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 กลายเป็นการเสียชีวิตจากการรบครั้งแรกนับตั้งแต่กองกำลังที่ได้รับการสนับสนุนจากสหประชาชาติมาถึงในเดือนกันยายน[48] แมนนิ่งถูกสังหารในเมืองซูไอ ทางตะวันตกเฉียงใต้ เมื่อหน่วยลาดตระเวนของเขาถูกโจมตีโดยกลุ่มทหารอาสา (militia)[49] ระเบิดมือและทุ่นระเบิดเคลย์มอร์ถูกเก็บกู้ออกจากพื้นที่กองกำลังของนิวซีแลนด์หลังจากที่สหประชาชาติเข้ายึดครอง ปฏิบัติการดังกล่าวเปลี่ยนแปลงดังกล่าวถูกยกเลิกไปหลังจากการเสียชีวิตของแมนนิ่ง[50] ทหารออสเตรเลียอีก 2 นายที่เสียชีวิตในติมอร์ตะวันออกในปี พ.ศ. 2543 ได้แก่ สิบโท รัสเซลล์ ไอเซนฮุธ จากการเจ็บป่วยเมื่อวันที่ 17 มกราคม และ สิบโท สจ๊วต โจนส์ หลังจากอุบัติเหตุจากอาวุธโดยไม่ได้ตั้งใจเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2543[51]
ประเทศที่มีส่วนร่วมกับอินเตอร์เฟต
[แก้]ออสเตรเลียจัดหากำลังทหาร ฮาร์ดแวร์ และอุปกรณ์ที่ใหญ่ที่สุดสำหรับปฏิบัติการอินเตอร์เฟต โดยมีกำลังพลสูงสุด 5,500 นาย รองลงมาคือนิวซีแลนด์ การสนับสนุนของนิวซีแลนด์[52] มีบุคลากรถึง 1,200 นาย[53] เป็นการส่งกำลังทหารในต่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดของนิวซีแลนด์นับตั้งแต่สงครามเกาหลี[54] และผู้สนับสนุนอีก 22 ประเทศที่ส่งกำลังเข้า่รวมกับอินเตอร์เฟต กำลังพลสูงสุดรวมกว่า 11,500 นาย[55][22] ประเทศอื่น ๆ ที่ให้การสนับสนุน ได้แก่ บังคลาเทศ, บราซิล, แคนาดา, เดนมาร์ก, อียิปต์, ฟิจิ, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, ไอร์แลนด์, อิตาลี, จอร์แดน, เคนยา, มาเลเซีย, นอร์เวย์, ฟิลิปปินส์, โปรตุเกส, สิงคโปร์, เกาหลีใต้, ไทย, สหราชอาณาจักร, และสหรัฐ[56] ออสเตรเลียปฏิเสธกองทหารภาคพื้นดินของสหรัฐ แต่สามารถรับการสนับสนุนที่สำคัญในด้านการเคลื่อนย้ายทางอากาศ การขนส่ง หน่วยข่าวกรองเฉพาะทาง การป้องปรามที่ขอบฟ้า และ "การสนับสนุนทางการทูต"[3][55] ญี่ปุ่นซึ่งถูกกฎหมายขัดขวางไม่ให้ส่งกำลังทหารจึงได้มอบเงินทุนจำนวนมากกว่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[57][21] โดยผู้เข้าร่วมได้รับเหรียญกองกำลังนานาชาติในติมอร์ตะวันออก จากรัฐบาลออสเตรเลีย[58]
ในฐานะประเทศผู้นำ ออสเตรเลียได้ให้การสนับสนุนด้านการส่งกำลังบำรุงแก่ประเทศอื่น ๆ อีกหลายประเทศ[59] นอกเหนือจากข้อกำหนดของตนเอง กลุ่มสนับสนุนการส่งกำลังบำรุงกองกำลังถูกวางกำลังในช่วงเดือนตุลาคมและพฤศจิกายนโดยอิงตามกองพันสนับสนุนกองทัพที่ 10 (10 FSB) ซึ่งรวมถึงการจัดหา การขนส่ง ผู้ควบคุมท่าเรือ เจ้าหน้าที่ขนส่งทางน้ำ และบำรุงรักษา ในขณะที่ทีมส่วนหน้า แผนกการแพทย์เชิงป้องกัน กองร้อยสื่อสาร และและทหารช่างจากกองร้อยก่อสร้างที่ 17 และส่วนหนึ่งของหัวหน้างานวิศวกรที่ 19 ก็เข้าร่วมด้วย ขณะเดียวกัน กองพันสนับสนุนกองทัพที่ 9 ได้ส่งกำลังไปยังดาร์วินเพื่อให้การสนับสนุนเพิ่มเติม และต่อมาได้หมุนเวียนกับกองพันสนับสนุนกองทัพที่ 10 ในติมอร์ตะวันออก[60]
แม้ว่าดาร์วินจะมีโครงสร้างพื้นฐานพลเรือนและทหารจำนวนมากอยู่ใกล้กัน แต่การสนับสนุนนี้ถือเป็นความท้าทายที่สำคัญสำหรับออสเตรเลีย ซึ่งไม่จำเป็นต้องสนับสนุนด้านการส่งกำลังบำรุงเต็มรูปแบบสำหรับกองกำลังที่ประจำการตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง การลดการใช้จ่ายด้านการป้องกันในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาส่งผลให้กำลังสนับสนุนการส่งกำลังบำรุงลดน้อยลง ทำให้มีข้อกำหนดที่ต้องใช้มาตรการเฉพาะกิจอย่างรวดเร็วเพื่อเตรียมพร้อมกองกำลังเหล่านี้[61] แม้จะมีการสื่อสารที่ค่อนข้างสั้น การใช้กระสุน เชื้อเพลิงและวัสดุสิ้นเปลืองอื่น ๆ น้อยลง และจำนวนบุคลากรและอุปกรณ์ที่จำกัด การปฏิบัติการดังกล่าวทำให้ขีดความสามารถการส่งกำลังบำรุงที่จำกัดของกองทัพออสเตรเลียตึงมือ และทำให้เกิดข้อกังวลว่าจะสามารถรักษาการวางกำลังที่มีขีดความสามารถสูงกว่านี้ได้หรือไม่[62]
ดูเพิ่ม
[แก้]- ประวัติศาสตร์ติมอร์-เลสเต
- คณะผู้แทนสนับสนุนติมอร์ตะวันออกของสหประชาชาติ (UNMISET)
- กองกำลังเฉพาะกิจร่วม 972 ไทย/ติมอร์ตะวันออก
หมายเหตุ
[แก้]เชิงอรรถ
- ↑ การโจมตีข้ามพรมแดนเกิดขึ้นเป็นระยะ ๆ โดยกองทหารอาสาในปี พ.ศ. 2543 หลังจากการส่งมอบพื้นที่ให้กับ UNTAET ทำให้เกิดความสงสัยเพิ่มเติมว่ากองทหารอาสาได้รับการสนับสนุนจากส่วนของกองทัพอินโดนีเซียโดยปริยาย หรืออย่างน้อยการกระทำของกองทหารอาสาอาจจะได้รับการรับรู้จากอินโดนีเซีย[37] การโจมตีเพิ่มมากขึ้นระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน พ.ศ. 2543 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชายแดนทางใต้ที่ยึดควบคุมโดย กองทัพบกนิวซีแลนด์ ซึ่งส่งผลให้ทหารใหม่คนหนึ่งเสียชีวิต ทหารนิวซีแลนด์ 1 นาย และทหารเนปาล 1 นาย และมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีก 3 คน ในเวลาต่อมา ทหารอาสาจำนวนมากถูกสังหารในการซุ่มโจมตีหลายครั้งซึ่งริเริ่มโดยทหารนิวซีแลนด์[38][39]
การอ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 "Australians and Peacekeeping". War History. Australian War Memorial. สืบค้นเมื่อ 11 January 2015.
- ↑ Gunderson 2015, p. 15.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 "The Howard Years: Episode 2: "Whatever It Takes"". Program Transcript. Australian Broadcasting Commission. 24 November 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 September 2010. สืบค้นเมื่อ 19 October 2014.
- ↑ Connery 2010, pp. 147–148.
- ↑ "Timor chooses independence". BBC News. 4 September 1999.
- ↑ Horner 2002, pp. 483–489.
- ↑ Kirk, Alexandra (15 September 1999). "ALP wants commission to gather evidence of war crimes". Transcript - AM Archive. Australian Broadcasting Commission. สืบค้นเมื่อ 13 September 2015.
- ↑ Nelson, Jane (6 September 1999). "Australia churches, unions rally against Indonesia". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 July 2013.
- ↑ McIntyre 2013, p. 177.
- ↑ Pietsch 2010, p. 17.
- ↑ Clinton, William. "Remarks to American and Asian Business Leaders in Auckland". The American Presidency Project. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 September 2018. สืบค้นเมื่อ 9 September 2018.
- ↑ "Habibie accepts Timor peacekeepers". BBC News. 12 September 1999.
- ↑ "UN approves Timor force". BBC News. 15 September 1999.
- ↑ "Security Council authorises multinational force in East Timor". United Nations. 15 September 1999.
- ↑ Wilson 2003, p. 32.
- ↑ Wilson 2003, p. 34.
- ↑ Wilson 2003, pp. 13–15.
- ↑ "RAAF units in East Timor". East Timor, 1999–2000 units. Australian War Memorial. สืบค้นเมื่อ 19 October 2014.
- ↑ Wilson 2003, pp. 32–33.
- ↑ Stevens 2007, pp. 14–15.
- ↑ 21.0 21.1 "East Timor/Timor-Leste: Background". Australian Army. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 February 2012.
- ↑ 22.0 22.1 22.2 22.3 22.4 Horner 2001, p. 22.
- ↑ Horner 2001, p. 24.
- ↑ Horner 2001, p. 20.
- ↑ 25.0 25.1 Farrell 2000, pp. 4–21.
- ↑ Londey 2004, pp. 240–241.
- ↑ 27.0 27.1 27.2 27.3 Horner 2001, p. 28.
- ↑ Farrell 2000, pp. 21–22.
- ↑ Farrell 2000, pp. 43–46.
- ↑ Breen 2000, p. 70.
- ↑ Londey 2004, p. 250.
- ↑ 32.0 32.1 Horner 2001, p. 29.
- ↑ Farrell 2000, p. 55.
- ↑ 34.0 34.1 Farrell 2000, p. 57.
- ↑ Coulthard-Clark 2001, p. 296.
- ↑ Farrell 2000, pp. 56–57.
- ↑ Tanter, Selden & Shalom 2001, pp. 249–250.
- ↑ Londey 2004, p. 259.
- ↑ Crawford & Harper 2001, pp. 136–139.
- ↑ 40.0 40.1 Farrell 2000, pp. 65.
- ↑ Horner 2002, p. 509.
- ↑ Williams, Emma. "AUSCDT4 Clears Beaches and Conducts Clandestine Ops in East Timor". Royal Australian Navy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 April 2001.
- ↑ Londey, Peter (Autumn 2000). "UN blue 5/7RAR in East Timor" (PDF). Wartime (10): 15. สืบค้นเมื่อ 3 April 2024.
- ↑ Farrell 2000, pp. 66–67.
- ↑ Farrell 2000, pp. 67.
- ↑ Dennis et al 2008, p. 192.
- ↑ "New Zealand soldier is shot dead in East Timor". The Independent. London. 25 July 2000. สืบค้นเมื่อ 11 January 2015.
- ↑ "The World Today Archive - The UN's first combat casualty in East Timor". abc.net.au. สืบค้นเมื่อ 16 January 2015.
- ↑ Smith 2005, p. 13.
- ↑ Londey 2004, pp. 256 & 259.
- ↑ Horner 2001, p. 9.
- ↑ McGibbon 2000, p. 419.
- ↑ Crawford & Harper 2001, p. 6.
- ↑ 55.0 55.1 Londey 2004, p. 244.
- ↑ Ryan 2000, pp. 127–129.
- ↑ Richardson, Michael (5 October 1999). "Financial and Diplomatic Costs Mount : Australia Presses UN To Send Timor Force". International Herald Tribune. สืบค้นเมื่อ 4 April 2024.
- ↑ "International Force East Timor Medal". It's an Honour. Government of Australia. 29 September 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 March 2015. สืบค้นเมื่อ 11 January 2015.
- ↑ Horner 2001, p. 32.
- ↑ Horner 2001, p. 23.
- ↑ Horner 2001, pp. 32–33.
- ↑ Horner 2001, p. 38.
อ้างอิง
[แก้]- Breen, Bob (2000). Mission Accomplished, East Timor: The Australian Defence Force Participation in the International Forces East Timor (INTERFET). Crows Nest, New South Wales: Allen & Unwin. ISBN 1865084980.
- Connery, David (2010). Crisis Policymaking: Australia and the East Timor Crisis of 1999. Canberra: ANU E Press. ISBN 9781921666575.
- Coulthard-Clark, Chris (2001). The Encyclopaedia of Australia's Battles (Second ed.). Crows Nest: Allen and Unwin. ISBN 1-86508-634-7.
- Crawford, John; Harper, Glyn (2001). Operation East Timor: The New Zealand Defence Force in East Timor 1999– 2001. Auckland: Reed Publishing. ISBN 0790008238.
- Dennis, Peter; Grey, Jeffrey; Morris, Ewan; Prior, Robin; Bou, Jean (2008). The Oxford Companion to Australian Military History (Second ed.). Melbourne: Oxford University Press. ISBN 978-0195517842.
- Farrell, John (2000). Peace Makers: INTERFETs Liberation of East Timor. Rocklea: Fullbore. ISBN 0-646-39424-X.
- Gunderson, Shane (2015). Momentum and the East Timor Independence Movement: The Origins of America's Debate on East Timor. Lanham, Maryland: Lexington Books. ISBN 9781498502351.
- Horner, David (2001). Making the Australian Defence Force. The Australian Centenary History of Defence. Vol. IV. Melbourne: Oxford University Press. ISBN 0-19-554117-0.
- Horner, David (2002). SAS: Phantoms of War. A History of the Australian Special Air Service (Second ed.). Sydney, New South Wales: Allen & Unwin. ISBN 1-86508-647-9.
- Londey, Peter (2004). Other People's Wars: A History of Australian Peacekeeping. Crows Nest, New South Wales: Allen & Unwin. ISBN 1-86508-651-7.
- McGibbon, Ian, บ.ก. (2000). The Oxford Companion to New Zealand Military History. Auckland: Oxford University Press. ISBN 0-19-558376-0.
- McIntyre, Iain (2013). How to Make Trouble and Influence People: Pranks, Protests, Graffiti & Political Mischief-Making from Across Australia. Chicago: PM Press. ISBN 9781604868807.
- Pietsch, Sam (2010). "Australian Imperialism and East Timor" (PDF). Marxist Interventions (2): 7–38. ISSN 1836-6597.
- Ryan, Alan (2000). Primary Responsibilities and Primary Risks: The Australian Defence Force Contribution to East Timor (PDF). Study Paper No. 304. Duntroon, Australian Capital Territory: Land Warfare Studies Centre. ISBN 9780642129512. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 7 January 2015. สืบค้นเมื่อ 7 January 2015.
- Smith, Ron (2005). The Death of Private Leonard Manning (PDF). Hamilton: Department of Political Science and Public Policy, University of Waikato.
- Stevens, David (2007). Strength Through Diversity: The Combined Naval Role in Operation Stabilise (PDF). Canberra, Australian Capital Territory: Sea Power Centre – Australia. ISBN 978-0-642-29676-4.
- Tanter, Richard; Selden, Mark; Shalom, Stephen Rosskamm, บ.ก. (2001). Bitter Flowers, Sweet Flowers: East Timor, Indonesia, and the World Community. Lanham, Maryland: Rowman & Littlefield. ISBN 9780742509689.
- Wilson, David (2003). Warden to Tanager: RAAF Operations in East Timor. Maryborough, Queensland: Banner Books. ISBN 1-875593-26-8.
อ่านเพิ่มเติม
[แก้]- Blaxland, John, บ.ก. (2015). East Timor Intervention: A Retrospective on INTERFET. Carlton, Victoria: Melbourne University Press. ISBN 9780522867763.
- Martin, Ian; Alexander Mayer-Rieckh (Spring 2005). "The United Nations and East Timor: From Self-Determination to State-Building". International Peacekeeping. 12 (1): 125–145. doi:10.1080/1353331042000286595. S2CID 143653698.
- O'Hanlon, Peter (2022). World War Bloody Timor. Newport, NSW, Australia: Big Sky Publishing. ISBN 9781922615695.
- Pemper, Tammy (2019). Scorched Earth: Peacekeeping in Timor during a campaign of death and destruction. Newport, NSW, Australia: Big Sky Publishing. ISBN 9781922265432.
- Robinson, Geoffrey (2010). "If You Leave Us Here, We Will Die": How Genocide Was Stopped in East Timor. Princeton: Princeton University Press. ISBN 9780691135366.
- Stockings, Craig (2022). Born of Fire and Ash: Australian Operations in Response to the East Timor Crisis 1999-2000. The Official History of Australian Operations in Iraq & Afghanistan and Australian Peacekeeping Operations in East Timor, Volume I. Sydney: NewSouth Publishing. ISBN 9781742236230.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ปฏิบัติการของสหประชาชาติในติมอร์-เลสเต
- ประเทศติมอร์-เลสเตในปี พ.ศ. 2542
- ประเทศติมอร์-เลสเตในปี พ.ศ. 2543
- การยึดครองติมอร์ตะวันออกของอินโดนีเซีย
- ปฏิบัติการทางทหารที่เกี่ยวข้องกับออสเตรเลีย
- ปฏิบัติการทางทหารที่เกี่ยวข้องกับนิวซีแลนด์
- ปฏิบัติการทางทหารที่เกี่ยวข้องกับไทย
- เหล่านาวิกโยธินสหรัฐในศตวรรษที่ 20
- ประวัติศาสตร์ออสเตรเลีย (พ.ศ. 2488–ปัจจุบัน)
- ก่อตั้งในติมอร์-เลสเตในคริสต์ทศวรรษ 1990
- ล้มเลิกในติมอร์-เลสเตในคริสต์ทศวรรษ 1990
- ก่อตั้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปี พ.ศ. 2542
- ล้มเลิกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปี พ.ศ. 2543
- ปฏิบัติการทางทหารที่เกี่ยวข้องกับโปรตุเกส