หน่วยควบคุมผู้หลบหนีเข้าเมืองจากกัมพูชา
หน่วยควบคุมผู้หลบหนีเข้าเมืองจากกัมพูชา | |
---|---|
นกค.88 | |
เครื่องหมายหน่วย | |
ประจำการ | มิถุนายน 2531 –2536 |
ประเทศ | ไทย |
เหล่า | กองบัญชาการทหารสูงสุด |
รูปแบบ | หน่วยเฉพาะกิจ |
บทบาท | การสงครามพิเศษ การสงครามกองโจร การส่งกำลังทางอากาศ รักษาความสงบเรียบร้อย |
กำลังรบ | ประมาณ 780–1224 นาย |
ขึ้นกับ | ศูนย์อำนวยการร่วม กองบัญชาการทหารสูงสุด หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ |
กองบัญชาการ | อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว |
คำขวัญ | เพื่อเกียรติศักดิ์ไทย |
สีหน่วย | สีกรมท่า |
สัญลักษณ์นำโชค | พิราบขาว |
ปฏิบัติการสำคัญ | |
เครื่องหมายสังกัด | |
ตราหน้าหมวก และกระเป๋าซ้าย |
หน่วยควบคุมผู้หลบหนีเข้าเมืองจากกัมพูชา (อังกฤษ: Displaced Persons Protection Unit: DPPU) ย่อว่า นคก.88 เป็นกำลังกึ่งทหารที่ได้รับการฝึกพิเศษ สังกัดศูนย์อำนวยการร่วม กองบัญชาการทหารสูงสุด และหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ ก่อตั้งขึ้นสำหรับรักษาความปลอดภัยและควบคุมผู้อพยพชาวกัมพูชาในค่ายผู้อพยพตามแนวชายแดนไทย–กัมพูชา
ประวัติ
[แก้]จากสถานการณ์ความวุ่นวายภายในประเทศกัมพูชา เมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2518 กลุ่มเขมรแดงได้โค่นล้มรัฐบาลของ นายพล ลอน นอล และสามารถเข้าครองประเทศทั้งหมดได้ โดยใช้ระบบสังคมนิยมแบบเข้มข้นในการปกครอง ทำให้ประชาชนชาวกัมพูชาที่ไม่เห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าวต้องอพยพเพื่อลี้ภัยมายังประเทศเพื่อนบ้านคือประเทศไทย กระทั่งประเทศเวียดนามได้นำกำลังบุกเข้ามาเพื่อขับไล่รัฐบาลของเขมรแดงจนเป็นผลสำเร็จในปี พ.ศ. 2522 ซึ่งผลกระทบที่ตามมาทำให้ปริมาณผู้อพยพที่เข้ามาในประเทศไทยมีจำนวนมากขึ้น ประมาณการณ์ไม่ต่ำกว่า 361,456 ราย หรือประมาณ 83,200 ครัวเรือน ทำให้ประเทศไทยตลอดแนวชายแดนที่ติดกับกัมพูชาต้องแบกรับการอพยพจากชาวกัมพูชาจำนวนมหาศาล[1]
หน่วยเฉพาะกิจ 80
[แก้]จากสถานการณ์ข้างตน รัฐบาลไทยโดย พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้ประกาศกฎอัยการศึกตลอดพื้นที่ชายแดนกัมพูชา และสั่งการให้กองบัญชาการทหารสูงสุดจัดหน่วยปฏิบัติการร่วมเพื่อควบคุมและรักษาความปลอดภัยให้กับผู้อพยพ[2] ทำให้กองบัญชาการทหารสูงสุดได้จัดตั้งกองร้อยอาสาสมัครทหารพราน หน่วยเฉพาะกิจ 80 (ฉก.80) ของทหารพรานขึ้นมาเพื่อปฏิบัติการในการควบคุมความสงบเรียบร้อยในแต่ละค่ายผู้อพยพในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523[3] โดยมีศูนย์ประสานงานในอำเภออรัญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี (สระแก้ว) ซึ่งแต่ละค่ายต่างก็มีขั่วอำนาจเดิมจากฝ่ายกัมพูชาปกครองอยู่ภายในเช่นกัน ทำให้หน่วยเฉพาะกิจ 80 เป็นหน่วยสำหรับประสานงานและจัดหาอาวุธให้กับกลุ่มต่อต้านรัฐบาลกัมพูชาในเวลานั้น ทั้งกลุ่มเขมรแดง[4]:30[5], แนวร่วมปลดปล่อยชาติเขมร และพรรคฟุนซินเปก เพื่อปฏิบัติการกองโจรในการต่อต้านกองทัพเวียดนามตามนโยบายที่รัฐบาลไทยสนับสนุน[6] หน่วยเฉพาะกิจ 80 ถูกยุบในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2531[7] เนื่องจากปัญหาการร้องเรียนเรื่องการข่มขู่ การทุจริต และการละเมิดสิทธิมนุษยชน[8][9][10][11]
หน่วยควบคุมผู้หลบหนีเข้าเมืองจากกัมพูชา
[แก้]หลังจากการยุบหน่วยเฉพาะกิจ 80 กองบัญชาการทหารสูงสุดได้ก่อตั้งหน่วยสำหรับควบคุมผู้อพยพลี้ภัยชาวกัมพูชาที่หลบหนีเข้าเมืองมา ชื่อว่า หน่วยควบคุมผู้หลบหนีเข้าเมืองจากกัมพูชา (นคก.88)[12] โดยใช้กำลังพลส่วนใหญ่จาก หน่วยเฉพาะกิจ 80 ซึ่งเป็นอาสาสมัครทหารพราน จากนั้นในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2531 กองบัญชาการทหารสูงสุดได้โอนหน่วยมาขึ้นความรับผิดชอบต่อหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ และจัดกำลังหน่วยรบพิเศษและอาสาสมัครมาปฏิบัติงานประมาณ 780 นาย และใช้นายทหารจากหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษปฏิบัติหน้าที่เป็นหัวหน้าหน่วย[13] ส่วนของกำลังพลทั้งเพศชายและหญิงได้รับการฝึกที่กองพันฝึกรบพิเศษที่ 9 หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ ค่ายฝึกการรบพิเศษปากช่อง (ค่ายหนองตะกู) รุ่นละประมาณ 40 วัน[14]
การยุบหน่วยและภารกิจสืบเนื่อง
[แก้]หน่วยควบคุมผู้หลบหนีเข้าเมืองจากกัมพูชายังมีส่วนสำคัญในการประสานงานการส่งกลับชาวกัมพูชาสู่บ้านเกิดกับสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR), สภาสูงสุดแห่งชาติกัมพูชา (SNC) และศูนย์ประสานงานการส่งชาวกัมพูชากลับมาตุภูมิ โดยสิ้นสุดการปฏิบัติหน้าที่ในปี พ.ศ. 2536 และได้รับคำชมเชยจากสหประชาชาติในการปฏิบัติงานตามภารกิจและได้มอบประกาศเกียรติคุณจากสหประชาชาติและศูนย์อำนวยการร่วม กองบัญชาการทหารสูงสุด ให้กับอาสาสมัครที่ปฏิบัติงานในหน่วย[1]
การคัดเลือก
[แก้]สำหรับการคัดเลือกบุคลากรเพื่อมาปฏิบัติงานในหน่วยควบคุมผู้หลบหนีเข้าเมืองจากกัมพูชา[14] มีดังนี้
- เจ้าหน้าที่หลักในโครงสร้างหน่วย: ให้ใช้กำลังพลจากหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ
- กำลังพลในการปฏิบัติงาน: รับสมัครจากทหารกองหนุน ทหารพราน และประชาชนทั่วไปทั้งเพศชายและหญิง
การทดสอบ
[แก้]กำลังพลในการปฏิบัติงานในหน่วยควบคุมผู้หลบหนีเข้าเมืองจากกัมพูชา จากต้องผ่านการทดสอบ[14] ดังนี้
- ทดสอบข้อเขียนในการใช้ภาษาต่างชาติ
- ทดสอบความแข็งแรงของร่างกาย
- ทดสอบสภาพจิตใจ
- ทดสอบความถนัดเฉพาะด้าน
การฝึก
[แก้]หลังจากำลังพลผ่านการทดสอบข้างต้นแล้วทั้งทางร่างกายและจิตใจ อาสาสมัครจะถูกส่งไปรับการฝึกหลักสูตรรบพิเศษ ณ กองพันฝึกรบพิเศษที่ 9 ค่ายฝึกการรบพิเศษปากช่อง (ค่ายหนองตะกู) อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา มีการฝึกได้ด้านต่าง ๆ เช่น การดำรงชีพในป่า การส่งกำลังทางอากาศ การใช้อาวุธฝ่ายตรงข้าม การหลบหลีกหนี สงครามกองโจร และการทำการรบเฉพาะส่วนบุคคล[14]
นอกจากนี้ยังมีการฝีกภาคทฤษฎีเพิ่มเติมคือ การเรียนภาษาอังกฤษ ภาษาเวียดนาม และภาษาเขมร[14] และมีแผนในการฝึกอบรมกฎหมายระหว่างประเทศเกี่ยวกับผู้ลี้ภัยให้กับอาสาสมัครหน่วยควบคุมผู้หลบหนีเข้าเมืองจากกัมพูชาที่ปฏิบัติงานร่วมกันกับเจ้าหน้าที่ในศูนย์อำนวยการร่วม ประกอบด้วย ฝ่ายไทยคือ กระทรวงมหาดไทย, สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ และกระทรวงการต่างประเทศ ฝ่ายหน่วยงานระหว่างประเทศคือ ผู้แทนจากหน่วยบรรเทาทุกข์ชายแดนแห่งสหประชาชาติ (UNBRO), คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (ICRC) และเจ้าหน้าที่ UNHCR ในพื้นที่[15]
กำลังพล
[แก้]หน่วยควบคุมผู้หลบหนีเข้าเมืองจากกัมพูชา มีทั้งกำลังพลประจำการจากหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ กองทัพบก และกำลังพลจากอาสาสมัคร ทั้งอาสาสมัครทหารพราน ทหารกองหนุน และบุคคลทั่วไปที่สนใจและผ่านการทดสอบตามข้อกำหนดทุกด้าน
สำหรับกำลังพลหมุนเวียนซึ่งเป็นอาสาสมัคร มีการฝึกอบรมจำนวน 6 รุ่น กรอบอัตรากำลัง 1300 นาย มีกำลังพลจากคำสั่งบรรจุแต่งตั้งจริง 1224 นาย แบ่งเป็นจำนวนกำลังพลแต่ละรุ่น[16] ดังนี้
- รุ่นที่ 1 จำนวน 326 นาย
- รุ่นที่ 2 จำนวน 234 นาย
- รุ่นที่ 3 จำนวน 200 นาย
- รุ่นที่ 4 จำนวน 222 นาย
- รุ่นที่ 5 จำนวน 112 นาย
- รุ่นที่ 6 จำนวน 130 นาย
การจัดหน่วย
[แก้]หน่วยควบคุมผู้หลบหนีเข้าเมืองจากกัมพูชา แบ่งหน่วยสำหรับปฏิบัติการ ดังนี้
- กองบังคับการ หน่วยควบคุมผู้หลบหนีเข้าเมืองจากกัมพูชา (บก.นคก.88) – อำเภออรัญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี (สระแก้ว)
- ชุดควบคุมพื้นที่ 881 (ชค.พท.881) – ดูแลพื้นที่อพยพ บี ตำบลตาตุ่ม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์
- กองร้อยอาสาสมัครควบคุมผู้หลบหนีเข้าเมืองจากกัมพูชา 8811 (ร้อย.อส.คก.ที่ 8811)
- ชุดควบคุมพื้นที่ 881 ส่วนแยก 1 (ชค.พท.881/1) – ดูแลพื้นที่อพยพโอตราว จังหวัดศรีษะเกษ
- ชุดควบคุมพื้นที่ 882 (ชค.พท.882) – ดูแลพื้นที่อพยพที่ 2 บ้านทัพไทย อำเภอตาพระยา จังหวัดปราจีนบุรี (สระแก้ว)
- กองร้อยอาสาสมัครควบคุมผู้หลบหนีเข้าเมืองจากกัมพูชา 8821 (ร้อย.อส.คก.ที่ 8821 เหนือ)
- กองร้อยอาสาสมัครควบคุมผู้หลบหนีเข้าเมืองจากกัมพูชา 8821 (ร้อย.อส.คก.ที่ 8821 ใต้)
- ชุดควบคุมพื้นที่ 883 (ชค.พท.883) – ดูแลศูนย์ที่พักพิงชั่วคราวสำหรับผู้หลบหนีเข้าเมืองจากกัมพูชาเขาอีด่าง
- กองร้อยอาสาสมัครควบคุมผู้หลบหนีเข้าเมืองจากกัมพูชา 8831 (ร้อย.อส.คก.ที่ 8831)
- ชุดควบคุมพื้นที่ 884 (ชค.พท.884) – ดูแลพื้นที่อพยพที่ 8 เขาตาง็อก ตำบลคลองไก่เถื่อน อำเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว (ปราจีนบุรีเดิม)
- กองร้อยอาสาสมัครควบคุมผู้หลบหนีเข้าเมืองจากกัมพูชา 8841 (ร้อย.อส.คก.ที่ 8841)
- ชุดควบคุมพื้นที่ 885 (ชค.พท.885) – ดูแลพื้นที่อพยพ เค อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด
- กองร้อยอาสาสมัครควบคุมผู้หลบหนีเข้าเมืองจากกัมพูชา 8851 (ร้อย.อส.คก.ที่ 8851) – ดูแลพื้นที่อพยพสุขสันต์ จังหวัดตราด
- ชุดควบคุมพื้นที่ 885 ส่วนแยก 1 (ชค.พท.885 สย.1)
- ชุดควบคุมพื้นที่บรรทัด (เวียดนาม) – ดูแลพื้นที่บ้านทัพไทย อำเภอตาพระยา จังหวัดปราจีนบุรี (ปราจีนบุรีเดิม)
ภารกิจ
[แก้]หน่วยควบคุมผู้หลบหนีเข้าเมืองจากกัมพูชา มีภารกิจในการดูแลในพื้นที่ที่เป็นที่ตั้งของศูนย์ผู้อพยพตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา[17] ตั้งแต่จังหวัดตราดไปจนถึงจังหวัดศรีสะเกศ จำนวน 7 พื้นที่ รวมไปถึงการประสานงานกับองค์การระหว่างประเทศและองค์การอาสาสมัครในการให้ความช่วยเหลือผู้อพยพ โดยเฉพาะสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR)[1][18]
สำหรับพื้นที่รับผิดชอบของหน่วยควบคุมผู้หลบหนีเข้าเมืองจากกัมพูชาทั้ง 7 แห่ง[1] ได้แก่
- พื้นที่อพยพโอตราว – จังหวัดศรีสะเกษ
- พื้นที่อพยพ บี – จังหวัดสุรินทร์
- พื้นที่อพยพที่ 2 – จังหวัดสระแก้ว
- ศูนย์ฯ เขาอีด่าง – จังหวัดสระแก้ว
- พื้นที่อพยพที่ 8 – จังหวัดสระแก้ว
- พื้นที่อพยพสุขสันต์ – จังหวัดตราด
- พื้นที่อพยพ เค – จังหวัดตราด
เจ้าหน้าที่สันติสุข
[แก้]เจ้าหน้าที่สันติสุข คือเจ้าหน้าที่ตำรวจชาวเขมรที่ปฏิบัติการในการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในค่ายผู้อพยพ ซึ่งเป็นอดีตเจ้าหน้าที่ตำรวจก่อนการอพยพลี้ภัย ได้รับการฝึกและอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของหน่วยควบคุมผู้หลบหนีเข้าเมืองจากกัมพูชา[19]
อาวุธ
[แก้]หน่วยควบคุมผู้หลบหนีเข้าเมืองจากกัมพูชา จะใช้อาวุธนอกอัตรารูปแบบเดียวกันกับทหารพราน เช่น เอเค 47, อาร์พีจี
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 กาลานุกรม หน่วยรบพิเศษกองทัพบกไทยจากอดีตสู่ปัจจุบัน. หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ.
- ↑ Thai Ministry of the Interior, "An Instrument of Foreign Policy: Indochinese Displaced Persons," 1981, p. 41. Cited in W. Courtland Robinson, Terms of Refuge: The Indochinese Exodus and the International Response, Zed Books, Ltd., London, 1998, p. 70.
- ↑ French LC. Enduring Holocaust, Surviving History: Displaced Cambodians on the Thai-Cambodian Border, 1989-1991. Harvard University, 1994, p. 77.
- ↑ Ball D. The Boys in Black: The Thahan Phran (Rangers), Thailand's Para-Military Border Guards. Bangkok, Thailand: White Lotus Press, 2004, 2007. ISBN 9744800461 and ISBN 978-9744800466
- ↑ Pilger J. "The Long Secret Alliance: Uncle Sam and Pol Pot." Covert Action Quarterly 1997:5-9. เก็บถาวร 2011-07-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ ไพเราะ, วันชัย (2559). "พื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา อำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว : พื้นที่ ผู้คน อำนาจ และการปรับตัว".
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ New York Times, "Thailand to Phase Out Unit Accused of Abusing Refugees," April 7, 1988.
- ↑ Abrams F, Orentlicher D, Heder SR. Kampuchea: After the Worst: A Report on Current Violations of Human Rights. New York: Lawyers Committee for Human Rights, 1985. ISBN 0-934143-29-3
- ↑ Lawyers Committee for Human Rights (U.S.). Seeking Shelter: Cambodians in Thailand: A Report on Human Rights. New York: Lawyers Committee for Human Rights, 1987. ISBN 0-934143-14-5
- ↑ Al Santoli, Eisenstein LJ, Rubenstein R, Helton AC, Refuge Denied: Problems in the Protection of Vietnamese and Cambodians in Thailand and the Admission of Indochinese Refugees into the United States. New York: Lawyers Committee for Human Rights, No.: ISBN 0-934143-20-X, 1989.
- ↑ "Chronik Thailands 1988 / B. E. 2531 Juli bis Dezember". www.payer.de.
- ↑ French 1994, p. 104.
- ↑ กาลานุกรม หน่วยรบพิเศษกองทัพบกไทยจากอดีตสู่ปัจจุบัน. หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ.
- ↑ 14.0 14.1 14.2 14.3 14.4 "DPPU (the Displaced Persons Protection Unit), นคก88". www.tarin9.com.
- ↑ "Information Note on UNHCR's Activities for Promotion and Dissemination of Refugee Law for 1988". Refworld (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ ข้อมูลสรุปยอดรายชื่อทุกรุ่น "หน่วยควบคุมผู้หลบหนีเข้าเมืองจากกัมพูชา DPPU นคก.88 - Facebook". www.facebook.com.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ HELTON, ARTHUR C. "Asylum and Refugee Protection in Thailand | International Journal of Refugee Law | Oxford Academic". academic.oup.com.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Information Note on UNHCR's Activities for Promotion and Dissemination of Refugee Law for 1988". Refworld (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ อนุสาร ชค.พท.882. หน่วยควบคุมผู้หลบหนีเข้าเมืองจากกัมพูชา ชุดควบคุมพื้นที่ 882.