สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ | |
---|---|
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น 5 เจ้าฟ้าชั้นพิเศษ กรมหลวงนครราชสีมา | |
ผู้สำเร็จราชการกระทรวงทหารเรือ | |
ประสูติ | 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2432 |
ทิวงคต | 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2468 (35 ปี) |
พระราชทานเพลิง | 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2468 พระเมรุ ท้องสนามหลวง |
หม่อม | หม่อมแผ้ว นครราชสีมา |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระมารดา | สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง |
นายพลเรือเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา[1] เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 72 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
พระประวัติ
[แก้]ประสูติ
[แก้]สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 6 ปีฉลู เอกศก จ.ศ. 1251 ตรงกับวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2432 มีพระนามลำลองว่า "เอียดเล็ก" ชาววังออกพระนามว่า "ทูลกระหม่อมเอียดเล็ก"[2] ถึงวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2441 จึงมีพระบรมราชโองการให้สถาปนาขึ้นเป็นเจ้าฟ้าต่างกรม มีพระนามว่า "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าอัษฎางคเดชาวุธ วิสิฐวิสุทธลักษณโสภณ อุบัตรดลกาลนิยม ประถมปริวัตรรัตนโกสินทร์ศก สะตะสาธกอัษโฎดดร สถาพรมงคลสมัย นราธิปไตยบรมนารถ จุฬาลงกรณ์ราชวโรรส อดุลยยศอุกฤษฐศักดิ อุภโตปักษวิสุทธิกษัตริย์ ขัตติยราชกุมาร กรมขุนนครราชสีห์มา" ทรงศักดินา 40,000[3]พระองค์ทรงมีพระเชษฐภคินี,พระเชษฐาและพระอนุชาร่วมพระชนนี 7 พระองค์ คือ
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าพาหุรัตมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน์
- พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตม์ธำรง
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์
- นายพลเรือเอก สมเด็จพระเชษฐาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชบูรณ์อินทราไชย
- พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
การศึกษา
[แก้]พระองค์ทรงเข้ารับการศึกษาขั้นต้นที่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ต่อมาในวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2446 ได้ทรงผนวชเป็นสามเณร ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เป็นพระอุปัชฌาย์ หม่อมเจ้าพระสถาพรพิริยพรต ประทานสรณคมน์และสิกขาบท ผนวชแล้วเสด็จไปประทับ ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร[4]
หลังจากลาผนวช พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ทรงเดินทางไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ พร้อมกับเจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลกและเจ้าฟ้ามหิดลอดุยเดช เมื่อ พ.ศ. 2448 ทรงศึกษาวิชาทหารเป็นระยะเวลาสั้น ๆ แล้วจึงเสด็จกลับประเทศไทยมาศึกษาในโรงเรียนนายร้อยทหารบก พระองค์ทรงเข้ารับราชการในตำแหน่งผู้บัญชาการกองพล ยศพลตรี แล้วจึงไปดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการกระทรวงทหารเรือ ยศพลเรือเอก
วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการให้เลื่อนเป็น "สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ วิสิฐวิสุทธลักษณโสภณ อุบัติดลกาลนิยม ประถมปริวัตรรัตนโกสินทรศก สตสาธกอัษโฎดดร สถาพรมงคลสมัย นราธิปตัยบรมนารถ จุฬาลงกรณราชวโรรส อดุลยยศอุกฤษฐศักดิ์ อุภโตปักษวิสุทธิกษัตริย์ ขัติยราชกุมาร กรมหลวงนครราชสีมา" ทรงศักดินา 50,000[5] และดำรงตำแหน่งรัชทายาทแทนสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ที่เสด็จทิวงคตไปเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2463
พระกรณียกิจ
[แก้]สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา มีพระกรณียกิจที่สำคัญในกองทัพเรือ คือ ทรงดำรงตำแหน่งผู้กำกับราชการกระทรวงทหารเรือ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2466 ต่อจากพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์[6] โดยได้รับโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศ พลเรือเอก เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ศกเดียวกัน[7] และทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการกระทรวงทหารเรือ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2467[8] ทรงเปลี่ยนระเบียบการปกครองบังคับบัญชาเรือหลวงใหม่ แต่เดิมนั้นการบังคับบัญชาในเรือหลวง แบ่งออกเป็น 2 กระบวนเรือ แต่ละกระบวนเรือต่างก็เป็นอิสระแก่กัน ขึ้นตรงต่อกระทรวงทหารเรือ พระองค์ทรงเห็นว่าไม่เหมาะสม ระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ไม่เป็นแบบฉบับเดียวกัน จึงให้รวมกระบวนเรือทั้งสองเป็นหนึ่งเดียว แล้วตั้งชื่อใหม่ว่า กองทัพเรือ มีผู้บัญชาการกองทัพเรือเป็นผู้บังคับบัญชา ขึ้นตรงต่อกระทรวงทหารเรือ ซึ่งผู้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองทัพเรือคนแรกคือ นาวาเอก พระหาญสมุท (บุญมี พันธุมนาวิน) เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2466[9]และให้แบ่งแยกกองทัพเรือออกเป็น 3 กองเรือ คือ กองเรือปืน กองเรือใช้ตอร์ปิโด และกองเรือช่วยรบ
ชีวิตส่วนพระองค์
[แก้]สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา อภิเษกสมรสกับแผ้ว สุทธิบูรณ์ ไม่มีพระโอรสและพระธิดา
ทิวงคต
[แก้]พระองค์ประชวรด้วยพระโรคพระวักกะอักเสบ (โรคไต) เสด็จทิวงคต ณ พระตำหนักวังสวนกุหลาบ พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2467 (ปัจจุบันคือ พ.ศ. 2468) เวลา 22.10 น. สิริพระชันษาได้ 35 ปี 273 วัน วันต่อมา เวลา 17.00 น. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานน้ำสรงพระศพ เจ้าพนักงานเชิญพระศพขึ้นประดิษฐานบนแว่นฟ้าสามชั้น ภายใต้เบญจปฎลเศวตฉัตร ประกอบพระโกศทองน้อย พระสงฆ์ 40 รูปมีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้าเป็นประธานสดับปกรณ์ โปรดเกล้าฯ ให้มีพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชบริพารไว้ทุกข์ถวาย 100 วัน[10] และสถาปนาพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระอนุชาธิราช[11] มีพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2468 ณ พระเมรุ ท้องสนามหลวง[12]
พระอิสริยยศและพระเกียรติยศ
[แก้]พระอิสริยยศ
[แก้]ธรรมเนียมพระยศของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนครราชสีมา | |
---|---|
ธงประจำพระอิสริยยศ | |
การทูล | ใต้ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | พะยะค่ะ/เพคะ |
- สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ
- สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมขุนนครราชสีมา
- สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมขุนนครราชสีมา
- สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา
- สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา
พลเรือเอก สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา ทรงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งสยามและต่างประเทศ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์สยาม
[แก้]- พ.ศ. 2441 – เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.) (ฝ่ายหน้า)[13]
- พ.ศ. 2444 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ (น.ร.) (ฝ่ายหน้า)[14]
- พ.ศ. 2443 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ (ป.จ.ว.)[15]
- พ.ศ. 2455 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนวราภรณ์ (ร.ว.) (ฝ่ายหน้า)[16]
- พ.ศ. 2466 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[17]
- พ.ศ. 2465 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[18]
- พ.ศ. 2465 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[19]
- พ.ศ. 2447 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 4 ชั้นที่ 2 (ม.ป.ร.2)[20]
- พ.ศ. 2444 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 1 (จ.ป.ร.1)[21]
- พ.ศ. 2453 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 1 (ว.ป.ร.1)[22]
- พ.ศ. 2436 – เหรียญรัชฎาภิเศกมาลา (ร.ศ.)
- พ.ศ. 2440 – เหรียญประพาสมาลา (ร.ป.ม.)
- พ.ศ. 2441 – เหรียญราชินี (ส.ผ.)[23]
- พ.ศ. 2446 – เหรียญทวีธาภิเศก (ท.ศ.)
- พ.ศ. 2450 – เหรียญรัชมงคล (ร.ร.ม.)
- พ.ศ. 2451 – เหรียญรัชมังคลาภิเศก รัชกาลที่ 5 (ร.ม.ศ.5)
- พ.ศ. 2454 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 6 (ร.ร.ศ.6)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
[แก้]- ฝรั่งเศส :
- พ.ศ. 2464 – เครื่องอิสริยาภรณ์เลฌียงดอเนอร์ ชั้นที่ 1[24]
พระยศ
[แก้]สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนครราชสีมา | |
---|---|
รับใช้ | ไทย |
แผนก/ | กองทัพบกสยาม กองทัพเรือสยาม กองเสือป่า |
ชั้นยศ | พลเรือเอก พลตรี นายกองตรี |
พระยศทหาร
[แก้]- 9 ตุลาคม พ.ศ. 2463: นายนาวาเอกพิเศษ[25]
- นายพลเรือเอก
- นายพลตรี
พระยศเสือป่า
[แก้]- นายกองตรี
ตำแหน่ง
[แก้]- ผู้บัญชาการกองพลที่ 3
- 22 มิถุนายน พ.ศ. 2463: ผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์[26]
สถานที่เนื่องด้วยพระนาม
[แก้]- ตึกอัษฎางค์ โรงพยาบาลศิริราช[27][28]
- ถนนอัษฎางค์
- ถนนนครราชสีมา
พงศาวลี
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- เชิงอรรถ
- ↑ "ประกาศ คำนำพระนามพระบรมวงศานุวงศ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 42 (0ก): 232. 13 ธันวาคม พ.ศ. 2468.
- ↑ จุลลดา ภักดีภูมินทร์, พระโอรสและพระธิดาในรัชการที่ ๕ เก็บถาวร 2007-09-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สกุลไทย, ฉบับที่ 2388, ปีที่ 46, ประจำวันอังคารที่ 25 กรกฎาคม 2543
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ ในการพระราชทานพระสุพรรณบัตร เก็บถาวร 2012-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๕, ตอน ๔๒, ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๑๘๙๙, หน้า ๔๔๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนนครราชสีมา ทรงผนวชเป็นสามเณร, เล่ม ๒๐, ตอน ๑๘, ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๔๖, หน้า ๒๒๖-๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาเลื่อนกรม พระพุททธศักราช ๒๔๕๙, เล่ม ๓๓, ตอน ๐ก, ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๙, หน้า ๒๒๒-๒๒๓
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งผู้กำกับราชการกระทรวงทหารเรือ
- ↑ พระราชทานยศทหาร
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งผู้สำเร็จราชการกระทรวงทหารเรือและเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ
- ↑ เรื่องย้ายและบรรจุนายทหาร
- ↑ "ข่าวทิวงคต" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 41 (ง): 4070. 15 กุมภาพันธ์ 2467. สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2563.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ราชสกุลวงศ์, หน้า 99
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,การพระเมรุท้องสนามหลวง งานที่ ๑ พระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา เล่ม 42, ตอน ๐ ง, 2 สิงหาคม พ.ศ. 2468, หน้า 1293
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๕ ตอนที่ ๔๒ หน้า ๔๔๓, ๑๕ มกราคม ๑๑๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชพิธีมหามงคลการโสกันต์ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนนครราชสีมา, เล่ม ๑๘ ตอนที่ ๔๖ หน้า ๘๖๙, ๑๖ กุมภาพันธ์ ๑๒๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้าและฝ่ายใน, เล่ม ๑๗ ตอนที่ ๓๕ หน้า ๕๐๑, ๒๕ พฤศจิกายน ๑๑๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๒๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๒๔, ๒๒ มกราคม ๑๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ, เล่ม ๔๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๔๑๙, ๗ มกราคม ๒๔๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๔๑๐, ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรมาลา, เล่ม ๓๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๓๓, ๒๘ มกราคม ๒๔๖๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๔, เล่ม ๒๑ ตอนที่ ๓๒ หน้า ๕๖๔, ๖ พฤศจิกายน ๑๒๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ ฝ่ายหน้าและฝ่ายใน, เล่ม ๑๘ ตอนที่ ๔๖ หน้า ๘๗๔, ๑๖ กุมภาพันธ์ ๑๒๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๒๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๐๙, ๑๑ มกราคม ๑๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญราชินี, เล่ม ๑๕ ตอนที่ ๒๖ หน้า ๒๘๓, ๒๕ กันยายน ๑๑๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๑๕, ๒๒ มกราคม ๒๔๖๔
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรยศทหารเรือ
- ↑ แจ้งความกระทรวงกลาโหม เรื่อง ตั้งและย้ายนายทหารรับราชการ
- ↑ คำกราบบังคมทูล ในการเปิดตึกอัษฎางค์ ที่โรงพยาบาลศิริราช(PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 45 (ง): 2471. 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2471.
- ↑ พระราชดำรัสตอบ ในการเปิดตึกอัษฎางค์ ณ โรงพยาบาลศิริราช วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๑ (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 45 (ง): 2592. 25 พฤศิจากายน พ.ศ. 2471.
- บรรณานุกรม
- สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์. กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2554. 296 หน้า. หน้า 99. ISBN 978-974-417-594-6
ก่อนหน้า | สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
จอมพลเรือ สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช | ผู้กำกับราชการกระทรวงทหารเรือ (1 กรกฎาคม พ.ศ. 2466 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2466) |
พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ | ||
พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ | ผู้สำเร็จราชการกระทรวงทหารเรือ (1 เมษายน พ.ศ. 2467 — 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2467) |
พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2432
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2467
- เจ้าฟ้าชาย
- กรมหลวง
- พระราชโอรสในรัชกาลที่ 5
- องคมนตรีในรัชกาลที่ 6
- พลเรือเอกกองทัพเรือไทย
- พลเรือเอกชาวไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.จ.ก. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ น.ร.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ.ว.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ร.ว.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ม.ป.ร.2
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ จ.ป.ร.1
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ว.ป.ร.1
- บุคคลจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
- เสียชีวิตจากโรคไต
- สมาชิกกองเสือป่า
- บุคคลในประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์