ฟุตบอลทีมชาติสเปน
ฉายา | La Roja ("สีแดง")[1] กระทิงดุ (ฉายาในประเทศไทย) | ||
---|---|---|---|
สมาคม | ราชสหพันธ์ฟุตบอลสเปน (เอร์เรเฟฟ) | ||
สมาพันธ์ | ยูฟ่า (ยุโรป) | ||
หัวหน้าผู้ฝึกสอน | ลุยส์ เด ลา ฟูเอนเต | ||
กัปตัน | โรดริโก เอร์นันเดซ กัสกันเต | ||
ติดทีมชาติสูงสุด | เซร์ฆิโอ ราโมส (180)[2] | ||
ทำประตูสูงสุด | ดาบิด บิยา (59) | ||
สนามเหย้า | หลายแห่ง | ||
รหัสฟีฟ่า | ESP | ||
| |||
อันดับฟีฟ่า | |||
อันดับปัจจุบัน | 3 (19 ธันวาคม 2024)[3] | ||
อันดับสูงสุด | 1 (กรกฎาคม ค.ศ. 2008 – มิถุนายน ค.ศ. 2009, ตุลาคม ค.ศ. 2009 – มีนาคม ค.ศ. 2010, กรกฎาคม ค.ศ. 2010 – กรกฎาคม ค.ศ. 2011, ตุลาคม ค.ศ. 2011 – กรกฎาคม ค.ศ. 2014) | ||
อันดับต่ำสุด | 25 (มีนาคม ค.ศ. 1998) | ||
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก | |||
สเปน 1–0 เดนมาร์ก (บรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม; 28 สิงหาคม ค.ศ. 1920) | |||
ชนะสูงสุด | |||
สเปน 13–0 บัลแกเรีย (มาดริด ประเทศสเปน; 22 สิงหาคม ค.ศ. 1933) | |||
แพ้สูงสุด | |||
สเปน 1–7 อิตาลี (อัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์; 4 มิถุนายน ค.ศ. 1928) อังกฤษ 7–1 สเปน (ลอนดอน ประเทศอังกฤษ; 9 ธันวาคม ค.ศ. 1931) | |||
ฟุตบอลโลก | |||
เข้าร่วม | 16 (ครั้งแรกใน 1934) | ||
ผลงานดีที่สุด | ชนะเลิศ (2010) | ||
ชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป | |||
เข้าร่วม | 12 (ครั้งแรกใน 1964) | ||
ผลงานดีที่สุด | ชนะเลิศ (1964, 2008, 2012, 2024) | ||
เนชันส์ลีกรอบสุดท้าย | |||
เข้าร่วม | 2 (ครั้งแรกใน 2021) | ||
ผลงานดีที่สุด | ชนะเลิศ (2023) | ||
คอนเฟเดอเรชันส์คัพ | |||
เข้าร่วม | 2 (ครั้งแรกใน 2009) | ||
ผลงานดีที่สุด | รองชนะเลิศ (2013) | ||
เกียรติยศ |
ฟุตบอลทีมชาติสเปน (สเปน: Selección Española de Fútbol) เป็นทีมฟุตบอลประจำประเทศสเปน อยู่ภายใต้การควบคุมและเป็นตัวแทนของราชสหพันธ์ฟุตบอลสเปนในการแข่งขันระหว่างประเทศ ก่อตั้งทีมใน ค.ศ. 1920
สเปนเป็นหนึ่งในชาติที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในทวีปยุโรป โดยเป็นหนึ่งในแปดชาติที่เคยคว้าแชมป์ฟุตบอลโลก และมีส่วนร่วมในการแข่งขันฟุตบอลโลก 16 ครั้งจากจำนวน 22 ครั้ง และเข้าร่วมอย่างต่อเนื่องทุกครั้งตั้งแต่ฟุตบอลโลก 1978 ถึงครั้งล่าสุด สเปนเป็นเจ้าของสถิติชนะเลิศฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปสี่สมัยโดยชนะเลิศครั้งล่าสุดใน ค.ศ. 2024 และมีส่วนร่วมในรายการดังกล่าว 12 ครั้งจากจำนวน 17 ครั้ง และจากการชนะเลิศการแข่งขันยูฟ่าเนชันส์ลีก 2023 ทำให้สเปนกลายเป็นทีมที่สอง (ต่อจากฝรั่งเศส) ที่คว้าแชมป์สามรายการหลัก (ฟุตบอลโลก ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป และยูฟ่าเนชันส์ลีก)
สเปนประสบความสำเร็จสูงสุดในช่วงปลายทศวรรษ 2000 โดยชนะเลิศการแข่งขันรายการใหญ่สามรายการติดต่อกัน ได้แก่ ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2008, ฟุตบอลโลก 2010 และฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2012 ซึ่งทีมชุดนั้นได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในทีมชาติที่แข็งแกร่งที่สุดในประวัติศาสตร์การแข่งขันนานาชาติ[4][5][6][7][8] สเปนเป็นทีมแรกจากยุโรปที่คว้าแชมป์ฟุตบอลโลกนอกทวีปยุโรปได้จากการคว้าแชมป์ฟุตบอลโลก 2010 ที่ประเทศแอฟริกาใต้ พวกเขาได้รับการจัดอันดับโลกฟีฟ่าในฐานะทีมที่ดีที่สุดในโลกระหว่าง ค.ศ. 2008–2013 ซึ่งเป็นสถิติที่ดีที่สุดเป็นอันดับสองตลอดกาลของฟีฟ่าเป็นรองเพียงบราซิล[9] สเปนยังเคยครองสถิติไม่แพ้ทีมใดติดต่อกันมากที่สุด 35 นัดตั้งแต่ ค.ศ. 2007 จนถึงการแข่งขันฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2009 ซึ่งเคยเป็นสถิติสูงสุดเท่ากับบราซิล และสเปนเป็นหนึ่งในสองชาติ (ร่วมกับเยอรมนี) ที่คว้าแชมป์ฟุตบอลโลกทั้งในประเภททีมชายและทีมหญิง
ประวัติ
[แก้]ก่อตั้งทีม และความสำเร็จในยุคแรก
[แก้]สเปนเป็นสมาชิกของสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (ฟีฟ่า) มาตั้งแต่ ค.ศ. 1904 ซึ่งเป็นปีก่อตั้งฟีฟ่า แม้ราชสหพันธ์ฟุตบอลสเปนจะมีประวัติก่อตั้งใน ค.ศ. 1909 (ในฐานะ สหพันธ์สโมสรฟุตบอลสเปน) ทว่าทีมชาติสเปนมีการก่อตั้งอย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 1920 โดยมีจุดประสงค์เพื่อรวบรวมผู้เล่นไปแข่งขันฟุตบอลในโอลิมปิกฤดูร้อน 1920 ณ เมืองแอนท์เวิร์ป ประเทศเบลเยียม การแข่งขันนัดแรกของสเปนเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 สิงหาคมพบทีมชาติเดนมาร์กซึ่งคว้าเหรียญเงินในการแข่งขันสองครั้งหลังสุด สเปนเอาชนะไปด้วยผลประตู 1–0 และผลงานในครั้งนั้นคือคว้าเหรียญเงิน ต่อมา พวกเขาลงแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งแรกในฟุตบอลโลก 1934 แม้จะเริ่มต้นด้วยการชนะบราซิล แต่ต้องยุติเส้นทางไว้ที่รอบก่อนรองชนะเลิศโดยแพ้อิตาลี[10]
สงครามกลางเมืองสเปนและสงครามโลกครั้งที่สองทำให้สเปนไม่ได้มีส่วนร่วมในการแข่งขันใด ๆ จนกระทั่งถึงฟุตบอลโลก 1950 รอบคัดเลือก และสเปนมีผลงานที่ดีที่สุดในฟุตบอลโลกขณะนั้น พวกเขาจบอันดับหนึ่งของกลุ่มและคว้าอันดับสี่ในการแข่งขัน[11] ซึ่งเป็นสถิติที่ดีที่สุดของสเปนมายาวนานหลายทศวรรษจนถึงฟุตบอลโลก 2010 ซึ่งพวกเขาคว้าแชมป์โลกครั้งแรก[12] สเปนประสบความสำเร็จในรายการสำคัญครั้งแรกในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1964 ในฐานะเจ้าภาพ ด้วยการเอาชนะสหภาพโซเวียต 2–1 ผู้ทำประตูชัยในช่วงท้ายเกมได้แก่ มาร์เซลิโน มาร์ตีเนซ ณ สนามกีฬาซานเตียโก เบร์นาเบว ทว่าก็เป็นความสำเร็จเพียงรายการเดียวในศตวรรษที่ 20 และพวกเขาต้องรอถึง 44 ปีในการกลับมาคว้าแชมป์รายการนี้อีกครั้งในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2008
สเปนเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 1982 แต่ตกรอบที่สอง และในฟุตบอลโลก 1986 สเปนเข้าถึงรอบแปดทีมสุดท้ายและแพ้จุดโทษเบลเยียม[13] สเปนเกือบจะคว้าแชมป์ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปได้เป็นสมัยที่สองใน ค.ศ. 1984 แต่พวกเขาแพ้ฝรั่งเศสในรอบชิงชนะเลิศด้วยผลประตู 0–2 ณ ปาร์กเดแพร็งส์ สเปนเข้ารอบก่อนรองชนะเลิศอีกครั้งในฟุตบอลโลก 1994 ที่สหรัฐอเมริกา ผ่านรอบแบ่งกลุ่มในฐานะทีมอันดับสองด้วยการมีห้าคะแนน ตามด้วยการชนะสวิตเซอร์แลนด์ในรอบต่อมา ก่อนจะแพ้อิตาลี 1–2 ในนัดนี้มีเหตุการณ์สำคัญเมื่อ เมาโร ทัสซ็อตตี กองหลังอิตาลีเจตนาเล่นนอกเกมด้วยการใช้ข้อศอกทำร้ายลุยส์ เอนริเกในกรอบเขตโทษ และเอนริเกได้รับบาดเจ็บโดยมีเลือดออกปากและจมูก แต่ผู้ตัดสินขางฮังการี ซานดอร์ พูล์ ไม่ได้ให้ฟาวล์ ซึ่งเป็นหนึ่งในการแข่งขันที่ได้รับการวิจารณ์ถึงการตัดสินมากที่สุดในฟุตบอลโลก[14]
ถัดมาในฟุตบอลโลก 2002 ที่ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ สเปนผ่านรอบแบ่งกลุ่มด้วยการชนะสามนัดรวด และทำได้ถึงเก้าประตู จากการชนะสโลวีเนีย ปารากวัย และแอฟริกาใต้ ผู้เล่นตัวหลักในชุดนั้นคือ ราอุล กอนซาเลซ, อิเกร์ กาซิยัส และกัปตันทีมอย่างเฟร์นันโด อิเอร์โร ตามด้วยการเอาชนะไอร์แลนด์ในรอบต่อมาจากการดวลจุดโทษ (3–2) หลังจากเสมอกัน 1–1 แต่พวกเขาแพ้ต่อเกาหลีใต้ทีมเจ้าภาพในรอบต่อมา ซึ่งเป็นหนึ่งในการแข่งขันที่ได้รับการวิจารณ์ถึงความเป็นกลางในการตัดสินมากที่สุดในประวัติศาสตร์ ผู้เล่นสเปนทำประตูได้ถึงสองครั้งแต่ถูกปฏิเสธ เกมจบลงโดยไม่มีประตูและสเปนเป็นฝ่ายแพ้ในการดวลจุดโทษ (3–5)[15] สเปนไม่ประสบความสำเร็จในการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2004 โดยตกรอบแบ่งกลุ่มแม้จะมีสี่คะแนนเท่ากับกรีซ และทั้งสองทีมยังมีจำนวนประตูได้-เสียเท่ากัน แต่สเปนยิงประตูได้น้อยกว่าจึงตกรอบ ถัดมาในฟุตบอลโลก 2006 ที่เยอรมนี สเปนเข้ารอบในฐานะแชมป์กลุ่ม ชนะรวดสามนัดรวมถึงชนะยูเครนในนัดแรกถึง 4–0 แต่พวกเขาตกรอบต่อมาโดยแพ้ฝรั่งเศส 1–3
ยุคทอง และหนึ่งในทีมที่ดีที่สุดในประวัติศาสตร์
[แก้]แชมป์เมเจอร์สามรายการ (2008–2012)
[แก้]แม้จะทำผลงานครั้งแรก ๆ ได้ไม่ดีนักเมื่อเริ่มต้นแข่งขันรอบคัดเลือกตั้งแต่ปี 2006 แต่สเปนก็สามารถผ่านเข้ามาในรอบแบ่งกลุ่มของการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2008 ได้สำเร็จ ในช่วงนี้เองเกิดความไม่ลงรอยกันระหว่างผู้จัดการทีมลุยส์ อาราโกเนสกับสื่อมวลชนสเปน ครั้งแรกในเรื่องผลการแข่งขันที่ผ่านมาซึ่งย่ำแย่ และครั้งที่สองในเรื่อง "ข่าว" ความขัดแย้งกับอดีตกัปตันทีมชาติราอุล กอนซาเลซ[16]
ในการแข่งขันรอบแบ่งกลุ่ม สเปนอยู่ในกลุ่มดีร่วมกับสวีเดน กรีซ และรัสเซีย ในนัดแรกที่พบกับรัสเซีย สเปนชนะไป 4–1 โดยได้ 3 ประตูจากดาบิด บิยา และอีก 1 ประตูจากแซ็สก์ ฟาบรากัส ในนัดที่สองที่พบกับสวีเดน สเปนเอาชนะได้ด้วยผลประตู 2–1 จากการยิงของเฟร์นันโด ตอร์เรสและบิยา และในนัดสุดท้ายที่พบกับแชมป์เก่ากรีซ สเปนเอาชนะได้เช่นกัน 2–1 โดยได้ประตูจากรูเบน เด ลา เรด และดานี กวีซา ด้วยชัยชนะทั้งสามครั้งรวดทำให้สเปนอยู่ในอันดับหนึ่งของกลุ่ม และต้องไปพบกับอิตาลีในรอบก่อนรองชนะเลิศ ซึ่งสเปนสามารถยิงจุดโทษเอาชนะไปได้ 4–2 หลังจากต่อเวลาพิเศษเสมอกัน 0–0
สเปนลงแข่งในรอบรองชนะเลิศกับรัสเซียเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 26 มิถุนายน และเอาชนะไป 3–0 ซึ่งเป็นประตูที่ยิงได้ในครึ่งหลังทั้งหมดจากชาบี อาร์นันดัส, ดานี กวีซา และดาบิด ซิลบา ผ่านเข้าไปเล่นในรอบชิงชนะเลิศได้เป็นครั้งแรกในรอบ 24 ปี อย่างไรก็ตาม สเปนก็ต้องขาดบิยากองหน้าคนสำคัญไปเพราะได้รับบาดเจ็บในนัดที่แข่งกับรัสเซีย ในวันที่ 29 มิถุนายน สเปนพบกับเยอรมนีซึ่งชนะตุรกีมาด้วยผลประตู 3–2 ในนัดนี้ เฟร์นันโด ตอร์เรสทำประตูให้สเปนขึ้นนำเยอรมนีได้ในนาทีที่ 33 โดยไม่มีฝ่ายใดทำประตูเพิ่ม ทำให้สเปนได้ครองแชมป์การแข่งขันใหญ่อีกครั้งหลังจากว่างเว้นไปถึง 44 ปี โดยเป็นแชมป์สมัยที่สอง
ในฟุตบอลโลก 2010 ที่แอฟริกาใต้เป็นเจ้าภาพ ก่อนการแข่งขันสเปนถูกยกให้เป็นเต็ง 1 ที่จะคว้าแชมป์ได้ แต่เมื่อได้แข่งนัดแรกแล้ว สเปนกลับเป็นฝ่ายพลิกล็อกแพ้สวิตเซอร์แลนด์ไป 0–1 แต่หลังจากนั้นสเปนก็ทำผลงานดีขึ้นมาเรื่อย ๆ จนกระทั่งเข้าไปจนถึงรอบชิงชนะเลิศ[17] ในรอบชิงชนะเลิศ สเปนเป็นฝ่ายเอาชนะเนเธอร์แลนด์ ที่ชนะมาทุกรอบได้ไป 1–0 ในช่วงต่อเวลาพิเศษ หลังจากเสมอมาในเวลาปกติ 0–0 จากการยิงประตูของอันเดรส อีเนียสตา ในนาทีที่ 116 ทำให้สเปนได้ครองแชมป์โลกเป็นครั้งแรก และเป็นทีมจากทวีปยุโรปทีมแรกที่คว้าแชมป์โลกได้นอกทวีปของตนเอง และเป็นทีมแรกที่แพ้ก่อนในนัดแรกแต่พลิกกลับมาเป็นแชมป์ได้ในที่สุด[18][19] ผู้รักษาประตูอย่างกาซียัสได้รับรางวัลผู้รักษาประตูยอดเยี่ยม โดยเสียไปเพียงสองประตูตลอดการแข่งขัน ดาบิด บิยา เป็นหนึ่งในผู้เล่นที่ทำประตูสูงสุดในการแข่งขัน
ในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2012 สเปนลงแข่งขันในฐานะทีมเต็งแชมป์อีกครั้ง พวกเขาอยู่กลุ่มซีและเข้ารอบเป็นทีมอันดับหนึ่งด้วยผลงานชนะสองและเสมอหนึ่งนัด ตามด้วยการชนะฝรั่งเศสในรอบแปดทีมสุดท้ายด้วยผลประตู 2–0 และเอาชนะจุดโทษโปรตุเกส (4–2) หลังเสมอกันในช่วงต่อเวลา 0–0 และในรอบชิงชนะเลิศพวกเขาเอาชนะอิตาลีขาดลอย 4–0 หลังจากทั้งสองทีมเสมอกัน 1–1 ในรอบแบ่งกลุ่ม โดยในนัดนี้สเปนยิงนำ 2–0 ตั้งแต่ครึ่งเวลาแรกจากดาบิด ซิลบา และ ฌอร์ดี อัลบา ตามด้วยสองประตูในครึ่งหลังจากเฟร์นันโด ตอร์เรส และ ฆวน มาตา คว้าแชมป์เป็นสมัยที่สาม เป็นสถิติสูงสุดของยุโรปเท่ากับเยอรมนี สเปนเข้ารอบชิงชนะเลิศฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2013 แต่แพ้ทีมเจ้าภาพอย่างบราซิล 0–3[20]
ความล้มเหลว (2014–2018)
[แก้]ในฟุตบอลโลก 2014 ที่บราซิลเป็นเจ้าภาพ สเปนในฐานะแชมป์เก่าอยู่กลุ่มบีร่วมกับ เนเธอร์แลนด์, ชิลี และออสเตรเลีย ในนัดแรก สเปนแพ้เนเธอร์แลนด์ไปถึง 1–5 ซึ่งนับเป็นผลการแข่งขันที่สเปนแพ้มากที่สุดเป็นอันดับสองในประวัติศาสตร์ทีม[21] ตามด้วยการแพ้ต่อชิลี 0–2 ทำให้ตกรอบแรกทันที โดยไม่ต้องรอผลการแข่งขันนัดสุดท้ายกับออสเตรเลีย ถือว่าสเปนเป็นทีมแชมป์เก่าที่ตกรอบแรกฟุตบอลโลกเป็นทีมที่ 4 ต่อจาก อิตาลี ในฟุตบอลโลก 1950, บราซิล ในฟุตบอลโลก 1966 และ ฝรั่งเศส ในฟุตบอลโลก 2002[22]
สเปนในฐานะแชมป์เก่าฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป และแชมป์สองสมัยติดต่อกันลงแข่งขันในปี 2016 ได้ลงเล่นในกลุ่มดีร่วมกับโครเอเชีย, สาธารณรัฐเช็ก และตุรกี โดยก่อนการแข่งขันถูกยกให้เป็นทีมเต็งสามที่จะได้แชมป์[23] สเปนผ่านเข้าสู่รอบ 16 ทีมสุดท้ายด้วยการเป็นอันดับสองของกลุ่ม เนื่องจากนัดสุดท้ายแพ้โครเอเชีย 1–2[24] แต่ต้องตกรอบเมื่อแพ้อิตาลีซึ่งเป็นคู่ชิงชนะเลิศเมื่อครั้งที่แล้ว 2–0[25] ทำให้ บีเซนเต เดล โบสเก หัวหน้าผู้ฝึกสอนประกาศลาออก[26] ซึ่งราชสหพันธ์ฟุตบอลสเปนได้ประกาศแต่งตั้งยูเลน โลเปเตกี ที่เคยพาทีมชาติสเปนรุ่นอายุไม่เกิน 19 และ 21 ปีคว้าแชมป์ยุโรปเป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนคนใหม่[27] สเปนผ่านเข้ารอบที่สองฟุตบอลโลก 2018 ด้วยการมีห้าคะแนน โดยเสมอโปรตุเกสในนัดแรกด้วยผลประตู 3–3 แต่พวกเขาแพ้จุดโทษเจ้าภาพอย่างรัสเซียในรอบต่อมา หลังจากเสมอกัน 1–1
แชมป์ฟุตบอลยุโรปสมัยที่ 4 (2020–ปัจจุบัน)
[แก้]ในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2020 สเปนมีผลงานไม่สู้ดีนักในรอบแบ่งกลุ่ม โดยชนะเพียงนัดเดียว แต่พวกเขายังผ่านเข้ารอบต่อไปและเอาชนะโครเอเชีย ตามด้วยการชนะจุดโทษทีมม้ามืดอย่างสวิตเซอร์แลนด์ แต่ต้องยุติเส้นทางไว้ที่รอบรองชนะเลิศโดยแพ้จุดโทษอิตาลีหลังเสมอกัน 1–1[28] ต่อมาในยูฟ่าเนชันส์ลีก 2021 รอบชิงชนะเลิศ สเปนแพ้ต่อฝรั่งเศสด้วยผลประตู 1–2[29] และพวกเขาล้มเหลวในฟุตบอลโลก 2022 อีกครั้งโดยแพ้จุดโทษโมร็อกโกในรอบที่สอง ถือเป็นการตกรอบการแข่งขันรายการใหญ่ด้วยการแพ้จุดโทษสามรายการติดต่อกันตั้งแต่ฟุตบอลโลก 2018
ปัจจุบันสเปนมีการเปลี่ยนแปลงทีม เมื่อผู้เล่นแกนหลักที่อายุมากหลายรายเลิกเล่นอาชีพ สเปนภายใต้ผู้ฝึกสอนคนปัจจุบันอย่างลุยส์ เด ลา ฟูเอนเต สร้างทีมใหม่โดยเน้นผู้เล่นอายุน้อย เช่น เฟร์รัน ตอร์เรส, กาบิ, อูไน ซิมอน และ อันซู ฟาตี มีผลงานคือการคว้าแชมป์ยูฟ่าเนชันส์ลีก 2023 เอาชนะจุดโทษโครเอเชียในรอบชิงชนะเลิศ ในส่วนของการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024 รอบคัดเลือก กลุ่มเอ สเปนผ่านเข้าไปเล่นรอบสุดท้ายจากผลงานชนะ 7 และ แพ้ 1 นัด ยิงไปถึง 25 ประตู สเปนจะเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2030 ร่วมกับโปรตุเกสและโมร็อกโก ถือเป็นครั้งที่สองที่พวกเขาเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก สเปนทำผลงานยอดเยี่ยมในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024 พวกเข้าผ่านเข้ารอบแพ้คัดออกในฐานะทีมอันดับหนึ่งโดยไม่เสียประตู ตามด้วยการเอาชนะจอร์เจียในรอบ 16 สุดท้ายด้วยผลประตู 4–1[30] ต่อมา พวกเขาเอาชนะเจ้าภาพอย่างเยอรมนีในรอบก่อนรองชนะเลิศ และฝรั่งเศสในรอบรองชนะเลิศด้วยผลประตู 2–1[31] ผ่านเข้าชิงชนะเลิศเป็นครั้งที่ห้า พร้อมทั้งสร้างสถิติไม่แพ้ทีมใด 6 นัดติดต่อกันก่อนถึงรอบชิงชนะเลิศ[32] พวกเขาเอาชนะอังกฤษด้วยผลประตู 2–1 คว้าแชมป์เป็นสมัยที่สี่ซึ่งเป็นสถิติสูงสุด โดยก่อนหน้านี้สเปนครองสถิติร่วมกับเยอรมนีในการคว้าแชมป์สามสมัย[33]
สเปนจะลงแข่งขันยูฟ่าเนชันส์ลีก ฤดูกาล 2024–25 ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2024 โดยอยู่ร่วมกลุ่มกับเดนมาร์ก, เซอร์เบีย และ สวิตเซอร์แลนด์
ภาพลักษณ์ทีม
[แก้]สเปนเป็นที่รู้จักกันในฉายา "La Furia Española"[34] และฉายาซึ่งเป็นที่นิยมมากกว่าคือ "La Furia Roja" มาจากคำที่ชาวอิตาลีเป็นผู้คิดขึ้น และนำมาใช้เรียกทีมชาตินี้ว่า "Furia Rossa"[35] คำว่า "ฟูเรีย" (ความดุเดือด, ความโมโหร้าย) มาจากรูปแบบการเล่นที่รุนแรงของนักฟุตบอลสเปน ต่อมาก็ถูกนำมาใช้เรียกเหตุการณ์การปล้นเมืองแอนต์เวิร์ปของสเปนในสงครามแปดสิบปี ซึ่งเป็นตำนานมืดเรื่องหนึ่งในประวัติศาสตร์การทหารของสเปนด้วย ส่วน "รอสซา" (สีแดง) มาจากสีเสื้อทีม สำหรับในประเทศไทยสเปนมีฉายาว่า "กระทิงดุ"
ผู้เล่น
[แก้]ผู้เล่นชุดปัจจุบัน
[แก้]รายชื่อผู้เล่น 26 คนที่ถูกเรียกตัวในการแข่งขัน ฟุตบอลโลก 2022[36]
ข้อมูลการลงเล่นและการทำประตูนับถึงวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2565 หลังจากการพบกับโปรตุเกส
# | ตำแหน่ง | ผู้เล่น | วันเกิด (อายุ) | ลงเล่น | ประตู | สโมสร |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | GK | โรเบร์ต ซันเชซ | 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1997 | 1 | 0 | ไบรตันแอนด์โฮฟอัลเบียน |
13 | GK | ดาบิด รายา | 15 กันยายน ค.ศ. 1995 | 1 | 0 | เบรนต์ฟอร์ด |
23 | GK | อูไน ซิมอน | 11 มิถุนายน ค.ศ. 1997 | 27 | 0 | อัตเลติกบิลบาโอ |
2 | DF | เซซาร์ อัซปิลิกูเอตา | 28 สิงหาคม ค.ศ. 1989 | 41 | 1 | เชลซี |
3 | DF | เอริก การ์ซิอา | 9 มกราคม ค.ศ. 2001 | 18 | 0 | บาร์เซโลนา |
4 | DF | เปา ตอร์เรส | 16 มกราคม ค.ศ. 1997 | 21 | 1 | บิยาร์เรอัล |
14 | DF | โฆเซ กายา | 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1995 | 18 | 3 | บาเลนเซีย |
15 | DF | อูโก กิยามอน | 31 มกราคม ค.ศ. 2000 | 3 | 1 | บาเลนเซีย |
18 | DF | ฌอร์ดี อัลบา (รองกัปตัน) | 21 มีนาคม ค.ศ. 1989 | 86 | 9 | บาร์เซโลนา |
20 | DF | ดานิ การ์บาฆัล | 11 มกราคม ค.ศ. 1992 | 30 | 0 | เรอัลมาดริด |
24 | DF | แอมริก ลาปอร์ต | 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1994 | 15 | 1 | แมนเชสเตอร์ซิตี |
5 | MF | เซร์ฆิโอ บุสเกตส์ (กัปตัน) | 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1988 | 139 | 2 | บาร์เซโลนา |
6 | MF | มาร์โกส โยเรนเต | 30 มกราคม ค.ศ. 1995 | 17 | 0 | อัตเลติโกเดมาดริด |
8 | MF | โกเก | 8 มกราคม ค.ศ. 1992 | 67 | 0 | อัตเลติโกเดมาดริด |
9 | MF | กาบิ | 5 สิงหาคม ค.ศ. 2004 | 12 | 1 | บาร์เซโลนา |
16 | MF | โรดริ | 22 มิถุนายน ค.ศ. 1996 | 34 | 1 | แมนเชสเตอร์ซิตี |
19 | MF | การ์โลส โซเลร์ | 2 มกราคม ค.ศ. 1997 | 11 | 3 | ปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง |
26 | MF | เปดริ | 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 2002 | 14 | 0 | บาร์เซโลนา |
7 | FW | อัลบาโร โมราตา | 23 ตุลาคม ค.ศ. 1992 | 57 | 27 | อัตเลติโกเดมาดริด |
10 | FW | มาร์โก อาเซนซิโอ | 21 มกราคม ค.ศ. 1996 | 29 | 1 | เรอัลมาดริด |
11 | FW | เฟร์รัน ตอร์เรส | 29 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2000 | 30 | 13 | บาร์เซโลนา |
12 | FW | นีโก วิลเลียมส์ | 12 กรกฎาคม ค.ศ. 2002 | 2 | 0 | อัตเลติกบิลบาโอ |
17 | FW | เยเรมิ ปิโน | 20 ตุลาคม ค.ศ. 2002 | 6 | 1 | บิยาร์เรอัล |
21 | FW | ดานิ โอลโม | 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1998 | 24 | 4 | แอร์เบ ไลพ์ซิช |
22 | FW | ปาโบล ซาราเบีย | 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1992 | 24 | 9 | ปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง |
25 | FW | อันซู ฟาตี | 31 ตุลาคม ค.ศ. 2002 | 4 | 1 | บาร์เซโลนา |
สถิติ
[แก้]ผู้เล่นที่ลงเล่นมากที่สุด
[แก้]ข้อมูลเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 2024
# | ชื่อ | ปี | ลงเล่น | ประตู |
---|---|---|---|---|
1 | เซร์ฆิโอ ราโมส | 2005–21 | 180 | 23 |
2 | อิเกร์ กาซิยัส | 2000–16 | 167 | 10 |
3 | เซร์ฆิโอ บุสเกตส์ | 2009–22 | 143 | 2 |
4 | ชาบี อาร์นันดัส | 2000-2014 | 133 | 12 |
5 | อันเดรส อีเนียสตา | 2006–18 | 131 | 13 |
6 | อันโดนี ซูบีซาร์เรตา | 1985–98 | 126 | 0 |
7 | ดาบิด ซิลบา | 2006–18 | 125 | 35 |
8 | ชาบี อาลอนโซ | 2003–14 | 114 | 16 |
9 | แซ็สก์ ฟาบรากัส | 2006–16 | 110 | 15 |
9 | 2003–14 | 110 | 38 |
ผู้เล่นที่ทำประตูมากที่สุด
[แก้]ข้อมูลเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 2024
# | ชื่อ | ปี | ประตู (ลงเล่น) | เฉลี่ย/เกม |
---|---|---|---|---|
1 | ดาบิด บิยา | 2005–17 | 59 (98) | 0.6 |
2 | ราอุล | 1996–2006 | 44 (102) | 0.43 |
3 | เฟร์นันโด ตอร์เรส | 2003–14 | 38 (110) | 0.35 |
4 | ดาบิด ซิลบา | 2006–18 | 35 (125) | 0.28 |
5 | อัลบาโร โมราตา | 2014– | 34 (69) | 0.49 |
6 | เฟร์นันโด อิเอร์โร | 1989–2002 | 29 (89) | 0.33 |
7 | เฟร์นานโด โมริเอนเตส | 1998–2007 | 27 (47) | 0.57 |
8 | เอมิลิโอ บูตราเกนโญ | 2003– | 26 (69) | 0.38 |
9 | อัลเฟรโด ดิ เอสเตฟาโน | 1957–61 | 23 (31) | 0.74 |
9 | 2005–21 | 23 (180) | 0.13 |
สถิติโลกใหม่ ชนะรวด 15 นัด ทำลายสถิติโลกมากที่สุด
[แก้]เป็นสถิติชนะมากกว่าสถิติเดิมที่บราซิล ฝรั่งเศส และออสเตรเลีย ทำไว้ คือ ชนะติดต่อกัน 14 นัด ซึ่งเป็นสถิติที่ฟีฟ่า (FIFA) บันทึกไว้
- นัดที่ 1 วันที่ 26 มิถุนายน 2551 สเปน ชนะ รัสเซีย 3-0 ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2008 รอบรองชนะเลิศ
- นัดที่ 2 วันที่ 29 มิถุนายน 2551 สเปน ชนะ เยอรมนี 1-0 ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2008 รอบชิงชนะเลิศ
- นัดที่ 3 วันที่ 20 สิงหาคม 2551 สเปน ชนะ เดนมาร์ก 3-0 ฟุตบอล นัดอุ่นเครื่อง
- นัดที่ 4 วันที่ 6 กันยายน 2551 สเปน ชนะ บอสเนีย 1-0 ฟุตบอลโลก รอบคัดเลือก กลุ่ม 5
- นัดที่ 5 วันที่ 10 กันยายน 2551 สเปน ชนะ อาร์มีเนีย 4-0 ฟุตบอลโลก รอบคัดเลือก กลุ่ม 5
- นัดที่ 6 วันที่ 11 ตุลาคม 2551 สเปน ชนะ เอสโตเนีย 3-0 ฟุตบอลโลก รอบคัดเลือก กลุ่ม 5
- นัดที่ 7 วันที่ 15 ตุลาคม 2551 สเปน ชนะ เบลเยียม 2-1 ฟุตบอลโลก รอบคัดเลือก กลุ่ม 5
- นัดที่ 8 วันที่ 19 พฤศจิกายน 2551 สเปน ชนะ ชิลี 3-0 ฟุตบอล นัดอุ่นเครื่อง
- นัดที่ 9 วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2552 สเปน ชนะ อังกฤษ 2-0 ฟุตบอล นัดอุ่นเครื่อง
- นัดที่ 10 วันที่ 28 มีนาคม 2552 สเปน ชนะ ตุรกี 1-0 ฟุตบอลโลก รอบคัดเลือก กลุ่ม 5
- นัดที่ 11 วันที่ 1 เมษายน 2552 สเปน ชนะ ตุรกี 2-1 ฟุตบอลโลก รอบคัดเลือก กลุ่ม 5
- นัดที่ 12 วันที่ 9 มิถุนายน 2552 สเปน ชนะ อาเซอร์ไบจาน 6-0 ฟุตบอล นัดอุ่นเครื่อง
- นัดที่ 13 วันที่ 14 มิถุนายน 2552 สเปน ชนะ นิวซีแลนด์ 5-0 ฟุตบอลคอนเฟเดอเรชันส์คัพ ที่แอฟริกาใต้
- นัดที่ 14 วันที่ 17 มิถุนายน 2552สเปน ชนะ อิรัก 1-0 ฟุตบอลคอนเฟเดอเรชันส์คัพ ที่แอฟริกาใต้
- นัดที่ 15 วันที่ 20 มิถุนายน 2552 สเปน ชนะ แอฟริกาใต้ 2-0 ฟุตบอลคอนเฟเดอเรชันส์คัพ ที่แอฟริกาใต้
สถิติโลกใหม่ เทียบเท่าทีมชาติบราซิล ไม่แพ้ทีมใด 35 นัดติดต่อกัน
[แก้]- นัดที่ 1 วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2550 (2007) อังกฤษ ชนะ สเปน 0 - 1 กระชับมิตร
- นัดที่ 2 วันที่ 24 มีนาคม 2550 (2007) สเปน ชนะ เดนมาร์ก 2-1 ฟุตบอลยูโร รอบคัดเลือก
- นัดที่ 3 วันที่ 28 มีนาคม 2550 (2007) สเปน ชนะ ไอซ์แลนด์ 1 - 0 ฟุตบอลยูโร รอบคัดเลือก
- นัดที่ 4 วันที่ 2 มิถุนายน 2550 (2007) ลิทัวเนีย แพ้ สเปน 0-2 ฟุตบอลยูโร รอบคัดเลือก
- นัดที่ 5 วันที่ 6 มิถุนายน 2550 (2007) ลิกเตนสไตน์ แพ้ สเปน 0 - 2 ฟุตบอลยูโร รอบคัดเลือก
- นัดที่ 6 วันที่ 22 สิงหาคม 2550 (2007) กรีซ แพ้ สเปน 2 - 3 กระชับมิตร
- นัดที่ 7 วันที่ 8 กันยายน 2550 (2007) ไอซ์แลนด์ เสมอ สเปน 1 - 1 ฟุตบอลยูโร รอบคัดเลือก
- นัดที่ 8 วันที่ 12 กันยายน 2550 (2007) สเปน ชนะ ลัตเวีย 2 - 0 ฟุตบอลยูโร รอบคัดเลือก
- นัดที่ 9 วันที่ 13 ตุลาคม 2550 (2007) เดนมาร์ก แพ้ สเปน 1 - 3 ฟุตบอลยูโร รอบคัดเลือก
- นัดที่ 10 วันที่ 17 ตุลาคม 2550 (2007) ฟินแลนด์ เสมอ สเปน 0 - 0 กระชับมิตร
- นัดที่ 11 วันที่ 17 พฤศจิกายน 2550 (2007) สเปน ชนะ สวีเดน 3 - 0 ฟุตบอลยูโร รอบคัดเลือก
- นัดที่ 12 วันที่ 21 พฤศจิกายน 2550 (2007) สเปน ชนะ ไอร์แลนด์เหนือ 1 - 0 ฟุตบอลยูโร รอบคัดเลือก
- นัดที่ 13 วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2551 (2008) สเปน ชนะ ฝรั่งเศส 1 - 0 กระชับมิตร
- นัดที่ 14 วันที่ 26 มีนาคม 2551 (2008) สเปน ชนะ อิตาลี 1 - 0 กระชับมิตร
- นัดที่ 15 วันที่ 31 พฤษภาคม 2551 (2008) สเปน ชนะ เปรู 2 - 1 กระชับมิตร
- นัดที่ 16 วันที่ 4 มิถุนายน 2551 (2008) สเปน ชนะ สหรัฐอเมริกา 1 - 0 กระชับมิตร
- นัดที่ 17 วันที่ 10 มิถุนายน 2551 (2008) สเปน ชนะ รัสเซีย 4 - 1 ฟุตบอลยูโร 2008 ออสเตรีย-สวิตเซอร์แลนด์
- นัดที่ 18 วันที่ 14 มิถุนายน 2551 (2008) สเปน ชนะ สวีเดน 2 - 1 ฟุตบอลยูโร 2008 ออสเตรีย-สวิตเซอร์แลนด์
- นัดที่ 19 วันที่ 18 มิถุนายน 2551 (2008) สเปน ชนะ กรีซ 2 - 1 ฟุตบอลยูโร 2008 ออสเตรีย-สวิตเซอร์แลนด์
- นัดที่ 20 วันที่ 22 มิถุนายน 2551 (2008) สเปน เสมอ อิตาลี 0 - 0 ฟุตบอลยูโร 2008 ออสเตรีย-สวิตเซอร์แลนด์
- นัดที่ 21 วันที่ 26 มิถุนายน 2551 (2008) สเปน ชนะ รัสเซีย 3 - 0 ฟุตบอลยูโร 2008 ออสเตรีย-สวิตเซอร์แลนด์
- นัดที่ 22 วันที่ 29 มิถุนายน 2551 (2008) สเปน ชนะ เยอรมนี 1 - 0 ฟุตบอลยูโร 2008 ออสเตรีย-สวิตเซอร์แลนด์ ชิงชนะเลิศ
- นัดที่ 23 วันที่ 20 สิงหาคม 2551 (2008) เดนมาร์ก แพ้ สเปน 0 - 3 กระชับมิตร
- นัดที่ 24 วันที่ 6 กันยายน 2551 (2008) สเปน ชนะ บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา 1 - 0 ฟุตบอลโลก รอบคัดเลือก
- นัดที่ 25 วันที่ 10 กันยายน 2551 (2008) สเปน ชนะ อาร์มีเนีย 4 - 0 ฟุตบอลโลก รอบคัดเลือก
- นัดที่ 26 วันที่ 11 ตุลาคม 2551 (2008) เอสโตเนีย แพ้ สเปน 3 - 0 ฟุตบอลโลก รอบคัดเลือก
- นัดที่ 27 วันที่ 15 ตุลาคม 2551 (2008) เบลเยียม แพ้ สเปน 1 - 2 ฟุตบอลโลก รอบคัดเลือก
- นัดที่ 28 วันที่ 19 พฤศจิกายน 2551 (2008) สเปน ชนะ ชิลี 3 - 0 กระชับมิตร
- นัดที่ 29 วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2552 (2009) สเปน ชนะ อังกฤษ 2 - 0 ฟุตบอลกระชับมิตร
- นัดที่ 30 วันที่ 28 มีนาคม 2552 (2009) สเปน ชนะ ตุรกี 1 - 0 ฟุตบอลโลก รอบคัดเลือก
- นัดที่ 31 วันที่ 1 เมษายน 2552 (2009) ตุรกี แพ้ สเปน 1 - 2 ฟุตบอลโลก รอบคัดเลือก
- นัดที่ 32 วันที่ 9 มิถุนายน 2552 (2009) สเปน ชนะ อาเซอร์ไบจาน 6 - 0 ฟุตบอล นัดอุ่นเครื่อง
- นัดที่ 33 วันที่ 14 มิถุนายน 2552 (2009) สเปน ชนะ นิวซีแลนด์ 5 - 0 ฟุตบอลคอนเฟเดอเรชันส์คัพ ที่แอฟริกาใต้
- นัดที่ 34 วันที่ 17 มิถุนายน 2552 (2009) สเปน ชนะ อิรัก 1 - 0 ฟุตบอลคอนเฟเดอเรชันส์คัพ ที่แอฟริกาใต้
- นัดที่ 35 วันที่ 20 มิถุนายน 2552 (2009) สเปน ชนะ แอฟริกาใต้ 2 - 0 ฟุตบอลคอนเฟเดอเรชันส์คัพ ที่แอฟริกาใต้
อดีตผู้เล่นคนสำคัญ
[แก้]- ดาบิด บิยา
- ราอุล
- อิเกร์ กาซิยัส
- ชาบี
- แซ็สก์ ฟาบรากัส
- อันเดรส อินิเอสตา
- ดาบิด ซิลบา
- เฟร์นันโด อิเอร์โร
- เซร์ฆิโอ ราโมส
- เฟร์นันโด ตอร์เรส
- อัลเฟรโด ดิ เอสเตฟาโน
- อันโดนี ซูบีซาร์เรตา
- เซร์ฆิโอ บุสเกตส์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ""La Roja"". 17 June 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 April 2019. สืบค้นเมื่อ 30 June 2010.
- ↑ "Statistics – Most-capped players". European football database. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 March 2019. สืบค้นเมื่อ 9 January 2016.
- ↑ "The FIFA/Coca-Cola World Ranking". FIFA. 19 ธันวาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2024.
- ↑ "Are Spain the best team of all time?". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2023-12-04.
- ↑ "Spain can become team of century". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2023-12-04.
- ↑ "The greatest team of all time: Brazil 1970 v Spain 2012". The Independent (ภาษาอังกฤษ). 2012-07-03.
- ↑ "Euro 2012: Why this Spain side is all-time best | Live football and soccer news | ESPNFC.com". web.archive.org. 2012-07-06. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-06. สืบค้นเมื่อ 2023-12-04.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "Spain have reached end of an era, but their gift will not be forgotten - they forced all countries to raise their game". The Telegraph (ภาษาอังกฤษ). 2014-04-19.
- ↑ UEFA.com. "Season 2020 | UEFA EURO 2020". UEFA.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Delight for the Azzurri as home advantage tells - FIFA.com". web.archive.org. 2015-09-05. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-05. สืบค้นเมื่อ 2023-12-04.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "Uruguay triumph brings heartbreak for Brazil - FIFA.com". web.archive.org. 2017-12-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-17. สืบค้นเมื่อ 2023-12-04.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "Xavi: The greatest midfielder of a generation". The Telegraph (ภาษาอังกฤษ). 2015-05-21.
- ↑ [https://www.marca.com/reportajes/2010/04/mexico_1986/2010/04/26/seccion_01/1272300745.html "M�xico 1986 en MARCA.com | Los penaltis cerraron las puertas de las 'semis' a La Roja"]. www.marca.com.
{{cite web}}
: replacement character ใน|title=
ที่ตำแหน่ง 2 (help) - ↑ [https://www.marca.com/reportajes/2010/05/estados_unidos_1994/2010/05/03/seccion_01/1272883990.html "Estados Unidos 1994 en MARCA.com | El perd�n de Luis Enrique a Tassotti que nunca lleg�"]. www.marca.com.
{{cite web}}
: replacement character ใน|title=
ที่ตำแหน่ง 43 (help) - ↑ "Korean miracle spoilt by refereeing farce". The Telegraph (ภาษาอังกฤษ). 2002-06-23.
- ↑ El Mundo. "Aragonés pierde los nervios por Raúl" (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2008..
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ล็อกถล่ม สเปนแพ้ สวิสฯ 0-1". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-20. สืบค้นเมื่อ 2010-07-11.
- ↑ รายงานผล
- ↑ น ซิวแชมป์โลกสมัยแรก 'อิเนียสตา' ซัดประตูชัย 1-0 น.116จากไทยรัฐ
- ↑ Bagchi, Rob (2013-06-30). "Brazil v Spain: Confederations Cup final – as it happened | Rob Bagchi". the Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2023-12-04.
- ↑ "เกปา คัมแบ็ก, เด เคอา ยังไร้ชื่อ! เด ลา ฟวนเต้ แบโผ 26 แข้งทีมชาติสเปนคัดยูโร". SIAMSPORT.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "โหดตั้งแต่เด็ก! ลามีน ยามาล ทุบสองสถิติใหญ่ทีมชาติสเปน". SIAMSPORT.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "จัดอันดับทีมเต็งแชมป์ยูโร 2016". fun78. May 24, 2016. สืบค้นเมื่อ July 5, 2016.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "สเปน แชมป์เก่าพลาดท่าแพ้ โครเอเชีย 2-1 ผ่านเข้ารอบเป็นอันดับ 2 บอลยูโร". ช่อง 7. June 22, 2016. สืบค้นเมื่อ July 5, 2016.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "อิตาลีโชว์เหนือ! ชนะสเปน แชมป์เก่า 2-0 ลิ่ว 8 ทีมสุดท้าย ยูโร2016". เนชั่นทีวี. June 28, 2016. สืบค้นเมื่อ July 5, 2016.
- ↑ "ทางการ!เยอรมนี ตั้ง ยูเลียน นาเกลส์มันน์ คุมทัพลุยยูโร 2024". SIAMSOPRT.
- ↑ "ในนามของสตรี! โค้ชทีมชาติหญิงอังกฤษอุทิศรางวัลให้ทีมชาติสเปน". SIAMSPORT.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Italy beat Spain on penalties in epic Euro 2020 semi-final". France 24 (ภาษาอังกฤษ). 2021-07-06.
- ↑ "France 2-1 Spain (Oct 10, 2021) Game Analysis". ESPN (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Spain 4-1 Georgia LIVE: Euro 2024 football score, commentary, report & updates". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
- ↑ "Euro 2024 – Spain 2-1 Germany (aet): Mikel Merino's 119th-minute header dumps hosts out in epic quarter-final". Sky Sports (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ 161385360554578 (2024-07-09). "Spain break European Championship record as they reach final with France win". talkSPORT (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
{{cite web}}
: CS1 maint: numeric names: authors list (ลิงก์) - ↑ "Euro 2024 final: England's '58 years of hurt' extended after loss to Spain". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2024-07-14.
- ↑ El Mundo. "El inspirador de la "furia española" fue un vasco" (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 27 มิถุนายน 2008..
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Nace la Furia Roja" (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 27 มิถุนายน 2008..
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "OFICIAL | Lista de convocados para la Copa Mundial de Fútbol de la FIFA Catar 2022". sefutbol (ภาษาสเปน). 11 November 2022.