ข้ามไปเนื้อหา

ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024
Fußball-Europameisterschaft 2024
(ในภาษาเยอรมัน)

United by Football.
Vereint im Herzen Europas.

(รวมใจกันด้วยฟุตบอล ณ ใจกลางยุโรป)
รายละเอียดการแข่งขัน
ประเทศเจ้าภาพประเทศเยอรมนี
วันที่14 มิถุนายน – 14 กรกฎาคม
ทีม24
สถานที่10 (ใน 10 เมืองเจ้าภาพ)
อันดับเมื่อสิ้นสุดการแข่งขัน
ชนะเลิศธงชาติสเปน สเปน (สมัยที่ 4)
รองชนะเลิศธงชาติอังกฤษ อังกฤษ
สถิติการแข่งขัน
จำนวนนัดที่แข่งขัน51
จำนวนประตู117 (2.29 ประตูต่อนัด)
ผู้ชม2,681,288 (52,574 คนต่อนัด)
ผู้ทำประตูสูงสุด
ผู้เล่นยอดเยี่ยมสเปน โรดริ
ผู้เล่นดาวรุ่งยอดเยี่ยมสเปน ลามิน ยามัล
2020
2028

ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024 (เยอรมัน: Fußball-Europameisterschaft 2024) หรือรู้จักกันในชื่อ ยูโร 2024 เป็นการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปครั้งที่ 17 จัดขึ้นโดยยูฟ่า จัดขึ้นที่ประเทศเยอรมนี ระหว่างวันที่ 14 มิถุนายน – 14 กรกฎาคม 2024

การแข่งขันครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 3 ที่เยอรมนีเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน โดยครั้งแรก ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1988 ขณะเป็นเยอรมนีตะวันตก และครั้งที่สอง ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2020 (ซึ่งแข่งขันในปี 2021) แข่งขัน 4 นัด ที่เมืองมิวนิก ซึ่งนับว่าเป็นการแข่งขันครั้งแรกในเยอรมันตะวันออกในอดีต เช่นเดียวกันกับการเป็นเจ้าภาพเดี่ยวของประเทศเยอรมนีครั้งแรกนับตั้งแต่ฟุตบอลโลก 2006[1][2] การแข่งขันครั้งนี้จะกลับไปเป็นช่วง 4 ปีครั้ง หลังการแข่งขันใน ค.ศ. 2020 ถูกเลื่อนไปยัง ค.ศ. 2021 เนื่องจากการระบาดทั่วของโควิด-19

อิตาลีกลับมาป้องกันแชมป์ หลังจากชนะอังกฤษด้วยการดวลลูกโทษในรอบชิงชนะเลิศครั้งก่อนหน้า[3] แต่พ่ายให้กับสวิตเซอร์แลนด์ในรอบ 16 ทีมสุดท้าย[4] ส่วนเยอรมนีเจ้าภาพตกรอบก่อนรองชนะเลิศโดยแพ้สเปน ซึ่งสเปนคว้าแชมป์โดยชนะอังกฤษ 2–1 ในนัดชิงชนะเลิศ

การคัดเลือกเป็นเจ้าภาพ

[แก้]
ถ้วยรางวัล

ณ วันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 2017 ทางยูฟ่าประกาศว่า ประเทศเยอรมนีกับตุรกีประกาศความตั้งใจที่จะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันก่อนหน้าเส้นตายในวันที่ 3 มีนาคม ค.ศ. 2017[5][6]

คณะกรรมการบริหารของยูฟ่าเป็นผู้คัดเลือกเจ้าภาพในการลงคะแนนลับ[7][8] ซึ่งเพียงแค่เสียงส่วนมากแค่คะแนนเดียวถือเป็นผู้ชนะ ถ้าคะแนนเสมอกัน การตัดสินครั้งสุดท้ายจะตกเป็นของอาแล็กซานเดอร์ แชแฟรีน ประธานยูฟ่า[9][10] ในบรรดาสมาชิกคณะกรรมการบริหาร 20 คน มีเพียงไรน์ฮาร์ด กรินเดิล (เยอรมนี) และเซร์เวต ยาร์ดึมจือ (ตุรกี) ที่ไม่สามารถโหวตได้ เนื่องจากไม่มีสิทธิ์ ส่วน Lars-Christer Olsson (สวีเดน) ไม่มาเนื่องจากป่วย ทำให้มีสมาชิกที่สามารถโหวตได้เพียง 17 คน[11][12]

การเลือกเจ้าภาพจัดขึ้นในวันที่ 27 กันยายน ค.ศ. 2018 ที่นียง ประเทศสวิตเซอร์แลนด์[11][13][14]

ผลการลงคะแนน
ประเทศ คะแนน
 เยอรมนี 12
 ตุรกี 4
งดออกเสียง 1
รวม 17

สนาม

[แก้]

ประเทศเยอรมนีมีสนามกีฬาให้เลือกมากมายที่เป็นไปตามข้อกำหนดความจุขั้นต่ำสำหรับการแข่งขันชิงแชมป์ยุโรปของยูฟ่าที่ 30,000 ที่นั่ง[15]

ในสนามที่ได้รับเลือกในการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์ยุโรป 2024 สิบแห่ง มีสนามเก้าแห่งที่ใช้ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2006 ได้แก่ เบอร์ลิน, ดอร์ทมุนท์, มิวนิก, โคโลญ, ชตุทการ์ท, ฮัมบวร์ค, ไลพ์ซิช, แฟรงก์เฟิร์ต และเก็ลเซินเคียร์เชิน[16][17] ดึสเซิลดอร์ฟที่ไม่ใช้ใช้ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2006 แต่เคยใช้ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 1974 และฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1988 จะได้รับดลือกเป็นสนามกีฬาที่สิบ ในทางกลับกัน ฮันโนเฟอร์ นูเรมเบิร์ก และไคเซอร์สเลาเทิร์น เมืองเจ้าภาพในการแข่งขัน ค.ศ. 2006 (นอกจากการแข่งขันใน ค.ศ. 1974 และ 1988 ในกรณีของฮันโนเฟอร์) จะไม่ใช้ในการแข่งขันนี้ มิวนิก ที่ตั้งของเกมแรกในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024 ก็เป็นเมืองเจ้าภาพในการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2020 ที่มีหลายประเทศเป็นเจ้าภาพ โดยเป็นสถานที่แข่งขัน 4 ครั้ง (เยอรมนีเข้าแข่งสามครั้ง) ท่ามกลางผู้ชมที่ลดลงอย่างมากเนื่องจากข้อจำกัดต่อโควิด-19[18]

สนามกีฬาอื่น ๆ อย่างในเบรเมินและเมินเชินกลัทบัคไม่ได้รับเลือก[19] พื้นที่ที่มีจำนวนสนามกีฬามากที่สุดในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024 คือภูมิภาคมหานครไรน์-รูฮร์ในรัฐนอร์ทไรน์-เว็สท์ฟาเลินที่มีเมืองเจ้าภาพ 4 แห่งจากทั้งหมด 10 แห่ง (ดอร์ทมุนท์, ดึสเซิลดอร์ฟ, เก็ลเซินเคียร์เชิน และโคโลญ)[20]

เบอร์ลิน มิวนิก ดอร์ทมุนท์ ชตุทการ์ท
โอลึมพีอาชตาดีอ็อน ฟุสบัลอาเรนามึนเชิน เว็สท์ฟาเลินชตาดีอ็อน ชตุทการ์ทอาเรนา
ความจุ: 71,000[21] ความจุ: 66,000[22] ความจุ: 62,000[23] ความจุ: 51,000[24]
เก็ลเซินเคียร์เชิน
อาเรนาเอาฟ์ชัลเคอ
ความจุ: 50,000[25]
ฮัมบวร์ค
ฟ็อลคส์พาร์คชตาดีอ็อน
ความจุ: 49,000[26]
ดึสเซิลดอร์ฟ ฮัมบวร์ค โคโลญ ไลพ์ซิช
แมร์คัวร์ชปีล-อาเรนา วัลท์ชตาดีอ็อน ไรน์เอแนร์กีชตาดีอ็อน เร็ดบุลอาเรนา
ความจุ: 47,000[27] ความจุ: 47,000[28] ความจุ: 43,000[29] ความจุ: 40,000[30]

รอบคัดเลือก

[แก้]
แผนที่ยุโรปแสดงทีมที่เข้ารอบ:
  ทีมที่เข้ารอบ
  ทีมที่ตกรอบ
  ทีมที่ถูกแบนจากการเข้าแข่งขัน
  ไม่ใช่สมาชิกยูฟ่า

ประเทศเยอรมนีเข้ารอบการแข่งขันในฐานะเจ้าภาพอัตโนมัติ ส่วน 23 ทีมที่เหลือตัดสินผ่านการแข่งขันรอบคัดเลือก โดย 20 ทีมตัดสินผ่านการคัดเลือกผู้ชนะและอีก 10 ทีมโดยตรง ส่วนอีก 3 ทีมตัดสินผ่านรอบเพลย์ออฟ[31] สิทธิ์ในการเข้าแข่งขันในรอบเพลย์ออฟ จะตกเป็นของทีมที่ทำได้ดีที่สุดในยูฟ่าเนชันส์ลีก ฤดูกาล 2022–23 ที่ไม่ได้เข้ารอบผ่านการแข่งขันรอบคัดเลือกหลัก[32] การจับสลากฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024 รอบคัดเลือกจัดขึ้นในวันที่ 9 ตุลาคม ค.ศ. 2022 ที่เฟสต์ฮัลเลอในแฟรงก์เฟิร์ต[33][34] การแข่งขันรอบคัดเลือกจัดขึ้นในช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤศจิกายน ค.ศ. 2023 ส่วนรอบเพลย์ออฟสามครั้งจัดขึ้นในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2024[35]

ทีมที่ผ่านเข้ารอบ

[แก้]
ทีม วิธีการเข้ารอบ วันที่เข้ารอบ จำนวนครั้งที่เข้ารอบ[A]
ธงชาติเยอรมนี เยอรมนี[B] เจ้าภาพ 27 กันยายน ค.ศ. 2018 13 (1972, 1976, 1980, 1984, 1988, 1992, 1996, 2000, 2004, 2008, 2012, 2016, 2020)
ธงชาติเบลเยียม เบลเยียม กลุ่มเอฟ สองอันดับสูงสุด 13 ตุลาคม ค.ศ. 2023 6 (1972, 1980, 1984, 2000, 2016, 2020)
ธงชาติฝรั่งเศส ฝรั่งเศส กลุ่มบี ชนะเลิศ 13 ตุลาคม ค.ศ. 2023 10 (1960, 1984, 1992, 1996, 2000, 2004, 2008, 2012, 2016, 2020)
ธงชาติโปรตุเกส โปรตุเกส กลุ่มเจ ชนะเลิศ 13 ตุลาคม ค.ศ. 2023 8 (1984, 1996, 2000, 2004, 2008, 2012, 2016, 2020)
ธงชาติสเปน สเปน กลุ่มเอ สองอันดับสูงสุด 15 ตุลาคม ค.ศ. 2023 11 (1964, 1980, 1984, 1988, 1996, 2000, 2004, 2008, 2012, 2016, 2020)
ธงชาติสกอตแลนด์ สกอตแลนด์ กลุ่มเอ สองอันดับสูงสุด 15 ตุลาคม ค.ศ. 2023 3 (1992, 1996, 2020)
ธงชาติตุรกี ตุรกี กลุ่มดี สองอันดับสูงสุด 15 ตุลาคม ค.ศ. 2023 5 (1996, 2000, 2008, 2016, 2020)
ธงชาติออสเตรีย ออสเตรีย กลุ่มเอฟ สองอันดับสูงสุด 16 ตุลาคม ค.ศ. 2023 3 (2008, 2016, 2020)
ธงชาติอังกฤษ อังกฤษ กลุ่มซี ชนะเลิศ 17 ตุลาคม ค.ศ. 2023 10 (1968, 1980, 1988, 1992, 1996, 2000, 2004, 2012, 2016, 2020)
ธงชาติฮังการี ฮังการี กลุ่มจี ชนะเลิศ 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 2023 4 (1964, 1972, 2016, 2020)
ธงชาติสโลวาเกีย สโลวาเกีย[C] กลุ่มเจ รองชนะเลิศ 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 2023 5 (1960, 1976, 1980, 2016, 2020)
ธงชาติแอลเบเนีย แอลเบเนีย กลุ่มอี ชนะเลิศ 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 2023 1 (2016)
ธงชาติเดนมาร์ก เดนมาร์ก กลุ่มเอช ชนะเลิศ 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 2023 9 (1964, 1984, 1988, 1992, 1996, 2000, 2004, 2012, 2020)
ธงชาติเนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ กลุ่มบี รองชนะเลิศ 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 2023 10 (1976, 1980, 1988, 1992, 1996, 2000, 2004, 2008, 2012, 2020)
ธงชาติโรมาเนีย โรมาเนีย กลุ่มไอ ชนะเลิศ 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 2023 5 (1984, 1996, 2000, 2008, 2016)
ธงชาติสวิตเซอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ กลุ่มไอ รองชนะเลิศ 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 2023 5 (1996, 2004, 2008, 2016, 2020)
ธงชาติเซอร์เบีย เซอร์เบีย[D] กลุ่มจี รองชนะเลิศ 19 พฤศจิกายน ค.ศ. 2023 5 (1960, 1968, 1976, 1984, 2000)[E]
ธงชาติเช็กเกีย เช็กเกีย[C] กลุ่มอี รองชนะเลิศ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 2023 10 (1960, 1976, 1980, 1996, 2000, 2004, 2008, 2012, 2016, 2020)
ธงชาติอิตาลี อิตาลี กลุ่มซี รองชนะเลิศ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 2023 10 (1968, 1980, 1988, 1996, 2000, 2004, 2008, 2012, 2016, 2020)
ธงชาติสโลวีเนีย สโลวีเนีย กลุ่มเอช รองชนะเลิศ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 2023 1 (2000)
ธงชาติโครเอเชีย โครเอเชีย กลุ่มดี รองชนะเลิศ 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 2023 6 (1996, 2004, 2008, 2012, 2016, 2020)
ธงชาติประเทศจอร์เจีย จอร์เจีย เพลย์ออฟ สายซี ชนะเลิศ 26 มีนาคม ค.ศ. 2024 0 (ครั้งแรก)
ธงชาติยูเครน ยูเครน เพลย์ออฟ สายบี ชนะเลิศ 26 มีนาคม ค.ศ. 2024 3 (2012, 2016, 2020)
ธงชาติโปแลนด์ โปแลนด์ เพลย์ออฟ สายเอ ชนะเลิศ 26 มีนาคม ค.ศ. 2024 4 (2008, 2012, 2016, 2020)
  1. ตัวหนา หมายถึงชนะเลิศในปีนั้น ตัวเอียง หมายถึงเป็นเจ้าภาพในปีนั้น
  2. ตั้งแต่ ค.ศ. 1972 ถึง 1988 เยอรมนีเข้าร่วมในฐานะเยอรมนีตะวันตก
  3. 3.0 3.1 ตั้งแต่ ค.ศ. 1960 ถึง 1980 สโลวาเกียและเช็กเกียเข้าร่วมในนามเชโกสโลวาเกีย[36][37][38][39]
  4. ตั้งแต่ ค.ศ. 1960 ถึง 1984 เซอร์เบียเข้าร่วมในนามยูโกสลาเวีย และใน ค.ศ. 2000 ในนามยูโกสลาเวีย
  5. ยูโกสลาเวียในครั้งแรกปรากฏตัวในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1992 (หลังจากรอบคัดเลือกในฐานะยูโกสลาเวีย) แต่ถูกแทนที่หลังจากถูกสหประชาชาติสั่งแบนจากกีฬาระหว่างประเทศทั้งหมด

ผู้เล่น

[แก้]

แต่ละทีมจะต้องจัดส่งรายชื่อที่มีผู้เล่นอย่างน้อย 23 คน และอย่างมาก 26 คน ภายในระยะเวลาที่กำหนด คือวันที่ 7 มิถุนายน[40]

รอบแบ่งกลุ่ม

[แก้]

เวลาทั้งหมดคือเวลาออมแสงยุโรปกลาง (UTC+2)

กลุ่มเอ

[แก้]
อันดับ ทีม เล่น ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย ต่าง คะแนน การผ่านเข้ารอบ
1 ธงชาติเยอรมนี เยอรมนี (H) 3 2 1 0 8 2 +6 7 ผ่านเข้าสู่รอบแพ้คัดออก
2 ธงชาติสวิตเซอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ 3 1 2 0 5 3 +2 5
3 ธงชาติฮังการี ฮังการี 3 1 0 2 2 5 −3 3
4 ธงชาติสกอตแลนด์ สกอตแลนด์ 3 0 1 2 2 7 −5 1
แหล่งที่มา : ยูฟ่า
(H) เจ้าภาพ.






กลุ่มบี

[แก้]
อันดับ ทีม เล่น ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย ต่าง คะแนน การผ่านเข้ารอบ
1 ธงชาติสเปน สเปน 3 3 0 0 5 0 +5 9 ผ่านเข้าสู่รอบแพ้คัดออก
2 ธงชาติอิตาลี อิตาลี 3 1 1 1 3 3 0 4
3 ธงชาติโครเอเชีย โครเอเชีย 3 0 2 1 3 6 −3 2
4 ธงชาติแอลเบเนีย แอลเบเนีย 3 0 1 2 3 5 −2 1
แหล่งที่มา : ยูฟ่า






กลุ่มซี

[แก้]
อันดับ ทีม เล่น ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย ต่าง คะแนน การผ่านเข้ารอบ
1 ธงชาติอังกฤษ อังกฤษ 3 1 2 0 2 1 +1 5 ผ่านเข้าสู่รอบแพ้คัดออก
2 ธงชาติเดนมาร์ก เดนมาร์ก 3 0 3 0 2 2 0 3[a]
3 ธงชาติสโลวีเนีย สโลวีเนีย 3 0 3 0 2 2 0 3[a]
4 ธงชาติเซอร์เบีย เซอร์เบีย 3 0 2 1 1 2 −1 2
แหล่งที่มา : ยูฟ่า
หมายเหตุ :
  1. 1.0 1.1 ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป รอบคัดเลือก ตารางคะแนนโดยรวม: เดนมาร์ก อันดับที่ 9, สโลวีเนีย อันดับที่ 15.






กลุ่มดี

[แก้]
อันดับ ทีม เล่น ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย ต่าง คะแนน การผ่านเข้ารอบ
1 ธงชาติออสเตรีย ออสเตรีย 3 2 0 1 6 4 +2 6 ผ่านเข้าสู่รอบแพ้คัดออก
2 ธงชาติฝรั่งเศส ฝรั่งเศส 3 1 2 0 2 1 +1 5
3 ธงชาติเนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ 3 1 1 1 4 4 0 4
4 ธงชาติโปแลนด์ โปแลนด์ 3 0 1 2 3 6 −3 1
แหล่งที่มา : ยูฟ่า






กลุ่มอี

[แก้]
อันดับ ทีม เล่น ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย ต่าง คะแนน การผ่านเข้ารอบ
1 ธงชาติโรมาเนีย โรมาเนีย 3 1 1 1 4 3 +1 4 ผ่านเข้าสู่รอบแพ้คัดออก
2 ธงชาติเบลเยียม เบลเยียม 3 1 1 1 2 1 +1 4
3 ธงชาติสโลวาเกีย สโลวาเกีย 3 1 1 1 3 3 0 4
4 ธงชาติยูเครน ยูเครน 3 1 1 1 2 4 −2 4
แหล่งที่มา : ยูฟ่า






กลุ่มเอฟ

[แก้]
อันดับ ทีม เล่น ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย ต่าง คะแนน การผ่านเข้ารอบ
1 ธงชาติโปรตุเกส โปรตุเกส 3 2 0 1 5 3 +2 6[a] ผ่านเข้าสู่รอบแพ้คัดออก
2 ธงชาติตุรกี ตุรกี 3 2 0 1 5 5 0 6[a]
3 ธงชาติประเทศจอร์เจีย จอร์เจีย 3 1 1 1 4 4 0 4
4 ธงชาติเช็กเกีย เช็กเกีย 3 0 1 2 3 5 −2 1
แหล่งที่มา : ยูฟ่า
หมายเหตุ :
  1. 1.0 1.1 คะแนน เฮด-ทู-เฮด: โปรตุเกส 3, ตุรกี 0.






ตารางคะแนนทีมอันดับที่สาม

[แก้]
อันดับ กลุ่ม ทีม เล่น ชนะ เสมอ แพ้ ได้ เสีย ต่าง คะแนน การผ่านเข้ารอบ
1 ดี ธงชาติเนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ (A) 3 1 1 1 4 4 0 4 ผ่านเข้าสู่รอบแพ้คัดออก
2 เอฟ ธงชาติประเทศจอร์เจีย จอร์เจีย (A) 3 1 1 1 4 4 0 4
3 อี ธงชาติสโลวาเกีย สโลวาเกีย (A) 3 1 1 1 3 3 0 4
4 ซี ธงชาติสโลวีเนีย สโลวีเนีย (A) 3 0 3 0 2 2 0 3
5 เอ ธงชาติฮังการี ฮังการี (E) 3 1 0 2 2 5 −3 3
6 บี ธงชาติโครเอเชีย โครเอเชีย (E) 3 0 2 1 3 6 −3 2
ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด วันที่ 25 มิถุนายน ค.ศ. 2024. แหล่งที่มา : ยูฟ่า
กฎการจัดอันดับ : 1) คะแนน; 2) ผลต่างประตูได้–เสีย; 3) ประตูที่ทำได้; 4) นัดที่ชนะ; 5) ใบเหลืองและใบแดงที่น้อยกว่า; 6) อันดับทีมในรอบคัดเลือก หรือการจับสลากหากเจ้าภาพ (เยอรมนี) มีส่วนร่วมในการเปรียบเทียบ[41]
(A) ผ่านเข้าสู่รอบต่อไป; (E) ตกรอบ.

รอบแพ้คัดออก

[แก้]

สายการแข่งขัน

[แก้]
 
รอบ 16 ทีมรอบ 8 ทีมรอบรองชนะเลิศรอบชิงชนะเลิศ
 
              
 
30 มิถุนายน – โคโลญ
 
 
ธงชาติสเปน สเปน4
 
5 กรกฎาคม – ชตุทการ์ท
 
ธงชาติประเทศจอร์เจีย จอร์เจีย1
 
ธงชาติสเปน สเปน
(ต่อเวลา)
2
 
29 มิถุนายน – ดอร์ทมุนท์
 
ธงชาติเยอรมนี เยอรมนี1
 
ธงชาติเยอรมนี เยอรมนี2
 
9 กรกฎาคม – มิวนิก
 
ธงชาติเดนมาร์ก เดนมาร์ก0
 
ธงชาติสเปน สเปน2
 
1 กรกฎาคม – แฟรงก์เฟิร์ต
 
ธงชาติฝรั่งเศส ฝรั่งเศส1
 
ธงชาติโปรตุเกส โปรตุเกส
(ลูกโทษ)
0 (3)
 
5 กรกฎาคม – ฮัมบวร์ค
 
ธงชาติสโลวีเนีย สโลวีเนีย0 (0)
 
ธงชาติโปรตุเกส โปรตุเกส0 (3)
 
1 กรกฎาคม – ดึสเซิลดอร์ฟ
 
ธงชาติฝรั่งเศส ฝรั่งเศส
(ลูกโทษ)
0 (5)
 
ธงชาติฝรั่งเศส ฝรั่งเศส1
 
14 กรกฎาคม – เบอร์ลิน
 
ธงชาติเบลเยียม เบลเยียม0
 
ธงชาติสเปน สเปน2
 
2 กรกฎาคม – มิวนิก
 
ธงชาติอังกฤษ อังกฤษ1
 
ธงชาติโรมาเนีย โรมาเนีย0
 
6 กรกฎาคม – เบอร์ลิน
 
ธงชาติเนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์3
 
ธงชาติเนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์2
 
2 กรกฎาคม – ไลพ์ซิช
 
ธงชาติตุรกี ตุรกี1
 
ธงชาติออสเตรีย ออสเตรีย1
 
10 กรกฎาคม – ดอร์ทมุนท์
 
ธงชาติตุรกี ตุรกี2
 
ธงชาติเนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์1
 
30 มิถุนายน – เก็ลเซินเคียร์เชิน
 
ธงชาติอังกฤษ อังกฤษ2
 
ธงชาติอังกฤษ อังกฤษ
(ต่อเวลา)
2
 
6 กรกฎาคม – ดึสเซิลดอร์ฟ
 
ธงชาติสโลวาเกีย สโลวาเกีย1
 
ธงชาติอังกฤษ อังกฤษ
(ลูกโทษ)
1 (5)
 
29 มิถุนายน – เบอร์ลิน
 
ธงชาติสวิตเซอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์1 (3)
 
ธงชาติสวิตเซอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์2
 
 
ธงชาติอิตาลี อิตาลี0
 

รอบ 16 ทีมสุดท้าย

[แก้]
สวิตเซอร์แลนด์ ธงชาติสวิตเซอร์แลนด์2–0ธงชาติอิตาลี อิตาลี
รายงาน




ฝรั่งเศส ธงชาติฝรั่งเศส1–0ธงชาติเบลเยียม เบลเยียม
รายงาน



รอบก่อนรองชนะเลิศ

[แก้]



เนเธอร์แลนด์ ธงชาติเนเธอร์แลนด์2–1ธงชาติตุรกี ตุรกี
รายงาน

รอบรองชนะเลิศ

[แก้]

รอบชิงชนะเลิศ

[แก้]

สถิติ

[แก้]

ผู้ทำประตู

[แก้]

มีการทำประตู 117 ประตู จากการแข่งขัน 51 นัด เฉลี่ย 2.29 ประตูต่อนัด


การทำประตู 3 ครั้ง

การทำประตู 2 ครั้ง

การทำประตู 1 ครั้ง

การทำเข้าประตูตัวเอง 1 ครั้ง

แหล่งที่มา : UEFA[57]

สัญลักษณ์

[แก้]

มาสคอต

[แก้]
"Albärt" มาสคอตอย่างเป็นทางการ

มีการเปิดตัวมาสคอตฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024 เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน ค.ศ. 2023 ในการแข่งขันกระชับมิตรนานาชาติระหว่างเยอรมนีกับโคลอมเบียที่เก็ลเซินเคียร์เชิน[58] โดยมาสคอตเป็นหมีเท็ดดีสวมกางเกงขาสั้น[59] มีการใช้วิธีลงคะแนนต่อสาธารณะเพื่อเลือกชื่อมาสคอต โดยมีตัวเลือกเป็น "Albärt", "Bärnardo", "Bärnheart" และ "Herzi von Bär"[60] ต่อมามีการเปิดผลการเลือกต่อสาธารณชนในวันที่ 5 กรกฎาคม โดยชื่อ "Albärt" ได้รับผลโหวตสูงสุดที่ร้อยละ 32[61]

บอลแข่ง

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Euro 2024: Germany beats Turkey to host tournament". BBC Sport. 27 September 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 February 2024. สืบค้นเมื่อ 27 September 2018.
  2. Penfold, Chuck (27 September 2018). "Germany wins right to host UEFA Euro 2024". dw.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 1 April 2024.
  3. "Italy 1–1 England, aet (3–2 on pens): Donnarumma the hero as Azzurri win Euro 2020!". UEFA.com. Union of European Football Associations. 11 July 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 June 2024. สืบค้นเมื่อ 11 July 2021.
  4. "Switzerland 2–0 Italy: Swiss club together in Berlin". UEFA.com. Union of European Football Associations. 29 June 2024. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 July 2024. สืบค้นเมื่อ 29 June 2024.
  5. "Euro 2024: Tournament to be held in Germany or Turkey". BBC Sport. British Broadcasting Corporation. 8 March 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 October 2022. สืบค้นเมื่อ 8 March 2017.
  6. "Germany and Turkey officially interested in hosting UEFA Euro 2024". UEFA. 8 March 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 June 2017. สืบค้นเมื่อ 9 March 2017.
  7. "Germany to host UEFA Euro 2024". UEFA.com (ภาษาอังกฤษ). 27 September 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 March 2024. สืบค้นเมื่อ 12 March 2024.
  8. Georgiou, Stephan (26 September 2018). "Euro 2024: Germany vs Turkey – who's leading the race?". SportsPro (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 12 March 2024.
  9. "UEFA Euro 2024: bid regulations" (PDF). UEFA. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 20 December 2016. สืบค้นเมื่อ 16 December 2016.
  10. Graaf, Patrick de. "EURO 2024 host selection - All about Germany's selection as host country". European Championship 2024 Germany (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 March 2024. สืบค้นเมื่อ 12 March 2024.
  11. 11.0 11.1 "Germany to host UEFA Euro 2024". UEFA. 27 September 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 December 2018. สืบค้นเมื่อ 27 September 2018.
  12. Adams, Tom (27 September 2018). "Germany win vote to host 2024 European Championship". Eurosport (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 May 2024. สืบค้นเมื่อ 12 March 2024.
  13. Dunbar, Graham (27 September 2018). "Germany beats Turkey to host Euro 2024". AP News (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 March 2024. สืบค้นเมื่อ 26 March 2024.
  14. Dunbar, Graham (27 September 2018). "Germany beats Turkey to host Euro 2024". The Denver Post (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). The Associated Press. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 March 2024. สืบค้นเมื่อ 12 March 2024.
  15. ข้อมูล: UEFA Euro 2024 Tournament Requirements, Sector 2, pag. 4, 5.
  16. "EURO 2024 host cities: Venue guide". uefa.com. UEFA. 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 September 2022. สืบค้นเมื่อ 12 May 2022.
  17. "Opening game of UEFA Euro 2024 to take place in Munich, final in Berlin". uefa.com. UEFA. 10 May 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 January 2023. สืบค้นเมื่อ 21 November 2023.
  18. "Grünes Licht: EM-Spiele in München vor rund 14.000 Zuschauern" [Green light: EC-matches in Munich in front of 14.000 spectators]. kicker.de (ภาษาเยอรมัน). 4 June 2021. สืบค้นเมื่อ 4 June 2021.
  19. "Evaluierungsbericht Stadien/Städte" [Evaluation report stadiums/cities] (PDF). DFB.de (ภาษาGerman). German Football Association. 2017. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 16 September 2017. สืบค้นเมื่อ 15 September 2017.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  20. "EURO 2024 an Rhein und Ruhr". nrw.de (ภาษาเยอรมัน). North Rhine-Westphalia State Government. 27 September 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 September 2018. สืบค้นเมื่อ 28 September 2018.
  21. "Event guide: Berlin". UEFA. 3 June 2024. สืบค้นเมื่อ 19 June 2024.
  22. "Event guide: Munich". UEFA. 3 June 2024. สืบค้นเมื่อ 19 June 2024.
  23. "Event guide: Dortmund". UEFA. 3 June 2024. สืบค้นเมื่อ 19 June 2024.
  24. "Event guide: Stuttgart Arena". UEFA. สืบค้นเมื่อ 25 June 2024.
  25. "Event guide: Gelsenkirchen". UEFA. 3 June 2024. สืบค้นเมื่อ 19 June 2024.
  26. "Event guide: Hamburg". UEFA. 3 June 2024. สืบค้นเมื่อ 19 June 2024.
  27. "Event guide: Dūsseldorf". UEFA. สืบค้นเมื่อ 19 June 2024.
  28. "Event guide: Frankfurt". UEFA. สืบค้นเมื่อ 19 June 2024.
  29. "Event guide: Cologne". UEFA. 3 June 2024. สืบค้นเมื่อ 19 June 2024.
  30. "Event guide: Leipzig". UEFA. 3 June 2024. สืบค้นเมื่อ 19 June 2024.
  31. "UEFA Euro 2024 qualifying: All you need to know". UEFA.com. Union of European Football Associations. 27 September 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 October 2022. สืบค้นเมื่อ 28 September 2022.
  32. "EURO 2024 play-offs: How they work". UEFA.com. Union of European Football Associations. 27 September 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 December 2022. สืบค้นเมื่อ 28 September 2022.
  33. "UEFA Euro 2024 qualifying group stage draw to be staged in Frankfurt in 2022". UEFA.com. Union of European Football Associations. 7 October 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 May 2022. สืบค้นเมื่อ 7 October 2021.
  34. "UEFA Euro 2024 qualifying draw". UEFA.com. Union of European Football Associations. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 October 2022. สืบค้นเมื่อ 28 September 2022.
  35. "UEFA Euro 2024: all you need to know". UEFA.com. Union of European Football Associations. 27 November 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 December 2020. สืบค้นเมื่อ 28 November 2019.
  36. UEFA.com (2015-11-17). "UEFA EURO 2016: How all the teams qualified". UEFA.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-01-02.
  37. UEFA.com (2021-02-22). "UEFA EURO 2020 contenders in focus: Czech Republic". UEFA.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-01-06.
  38. UEFA.com (2021-03-03). "UEFA EURO 2020 contenders in focus: Slovakia". UEFA.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-01-06.
  39. UEFA.com (28 December 2023). "Who has qualified for UEFA EURO 2024?". UEFA. สืบค้นเมื่อ 5 January 2024.
  40. "Teams allowed to register up to 26 players for UEFA EURO 2024". UEFA.com. Union of European Football Associations. 3 May 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 May 2024. สืบค้นเมื่อ 8 May 2024.
  41. "UEFA Documents". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 July 2023. สืบค้นเมื่อ 5 July 2023.
  42. "Full Time Report – Switzerland v Italy" (PDF). UEFA.com. Union of European Football Associations. 29 June 2024. สืบค้นเมื่อ 29 June 2024.
  43. "Full Time Report – Germany v Denmark" (PDF). UEFA.com. Union of European Football Associations. 29 June 2024. สืบค้นเมื่อ 29 June 2024.
  44. "Full Time Report – England v Slovakia" (PDF). UEFA.com. Union of European Football Associations. 30 June 2024. สืบค้นเมื่อ 30 June 2024.
  45. "Full Time Report – Spain v Georgia" (PDF). UEFA.com. Union of European Football Associations. 30 June 2024. สืบค้นเมื่อ 30 June 2024.
  46. "France vs Belgium" (JSON). Union of European Football Associations. 1 July 2024. สืบค้นเมื่อ 1 July 2024.
  47. "Full Time Report – Portugal v Slovenia" (PDF). UEFA.com. Union of European Football Associations. 1 July 2024. สืบค้นเมื่อ 1 July 2024.
  48. "Full Time Report – Romania v Netherlands" (PDF). UEFA.com. Union of European Football Associations. 2 July 2024. สืบค้นเมื่อ 2 July 2024.
  49. "Full Time Report – Austria v Türkiye" (PDF). UEFA.com. Union of European Football Associations. 2 July 2024. สืบค้นเมื่อ 2 July 2024.
  50. "Full Time Report – Spain v Germany" (PDF). UEFA.com. Union of European Football Associations. 5 July 2024. สืบค้นเมื่อ 5 July 2024.
  51. "Full Time Report – Portugal v France" (PDF). UEFA.com. Union of European Football Associations. 5 July 2024. สืบค้นเมื่อ 5 July 2024.
  52. "Full Time Report – England v Switzerland" (PDF). UEFA.com. Union of European Football Associations. 6 July 2024. สืบค้นเมื่อ 6 July 2024.
  53. "Full Time Report – Netherlands v Türkiye" (PDF). UEFA.com. Union of European Football Associations. 6 July 2024. สืบค้นเมื่อ 6 July 2024.
  54. "Full Time Report – Spain v France" (PDF). UEFA.com. Union of European Football Associations. 9 July 2024. สืบค้นเมื่อ 9 July 2024.
  55. "Full Time Report – Netherlands v England" (PDF). UEFA.com. Union of European Football Associations. 10 July 2024. สืบค้นเมื่อ 10 July 2024.
  56. "Spain vs. England" (JSON). Union of European Football Associations. 14 July 2024. สืบค้นเมื่อ 14 July 2024.
  57. "Player stats – Goals". UEFA.com. Union of European Football Associations. สืบค้นเมื่อ 10 July 2024.
  58. "Countdown to Euro 2024 is on". 14 June 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 August 2023. สืบค้นเมื่อ 15 June 2023.
  59. "Germany unveils a teddy bear as the mascot for Euro 2024 but this time wearing shorts". ABC News. 20 June 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 June 2023. สืบค้นเมื่อ 21 June 2023.
  60. "UEFA Euro 2024 mascot unveiled – now we need your helping naming it!". UEFA.com. Union of European Football Associations. 20 June 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 June 2023. สืบค้นเมื่อ 20 June 2023.
  61. "Euro 2024 mascot named: Meet Albärt!". UEFA.com. Union of European Football Associations. 5 July 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 July 2023. สืบค้นเมื่อ 5 July 2023.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]