ข้ามไปเนื้อหา

ฟุตบอลทีมชาติซานมารีโน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ซานมารีโน
Shirt badge/Association crest
ฉายาLa Serenissima
สมาคมสหพันธ์ฟุตบอลซานมาริโน
สมาพันธ์ยูฟ่า (ยุโรป)
หัวหน้าผู้ฝึกสอนโรเบร์โต เชโวลี
กัปตันมัตเตโอ วิไตโอลี
ติดทีมชาติสูงสุดมัตเตโอ วิไตโอลี (97)
ทำประตูสูงสุดอันดี เซลวา (8)
สนามเหย้าสนามกีฬาซานมารีโน
รหัสฟีฟ่าSMR
อันดับฟีฟ่า
อันดับปัจจุบัน 210 Steady (20 มิถุนายน 2024)[1]
อันดับสูงสุด118 (กันยายน ค.ศ. 1993)
อันดับต่ำสุด211 (พฤศจิกายน 2018 – กรกฎาคม 2019, มีนาคม 2022 – กรกฎาคม 2023)
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก
ธงชาติซานมารีโน ซานมารีโน 0–0 เลบานอน ธงชาติเลบานอน
(อะเลปโป ประเทศซีเรีย; 16 กันยายน ค.ศ. 1987)
ฟีฟ่ารับรอง
ธงชาติซานมารีโน ซานมารีโน 0–4 สวิตเซอร์แลนด์ ธงชาติสวิตเซอร์แลนด์
(เซร์ราวัลเล ประเทศซานมารีโน; 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1990)
ชนะสูงสุด
ธงชาติลีชเทินชไตน์ ลีชเทินชไตน์ 1–3 ซานมารีโน ธงชาติซานมารีโน
(วาดุซ ประเทศลิกเตนสไตน์; 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 2024)
แพ้สูงสุด
ธงชาติซานมารีโน ซานมารีโน 0–13 เยอรมนี ธงชาติเยอรมนี
(เซร์ราวัลเล ประเทศซานมารีโน; 6 กันยายน ค.ศ. 2006)
เมดิเตอร์เรเนียนเกมส์
เข้าร่วม1 (ครั้งแรกใน 1987)
ผลงานดีที่สุดที่ 7 (1987)

ฟุตบอลทีมชาติซานมารีโน (อิตาลี: Nazionale di calcio di San Marino) เป็นทีมฟุตบอลตัวแทนของสาธารณรัฐซานมารีโน ควบคุมและบริหารงานโดยสหพันธ์ฟุตบอลซ​​านมารีโน (FSGC) โดยเป็นชาติสมาชิกที่มีจำนวนประชากรน้อยที่สุดเป็นอันดับสองของยูฟ่า รองจากทีมชาติยิบรอลตาร์[2]

ทีมชาติซานมารีโนลงแข่งขันอย่างเป็นทางการครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน ค.ศ.1990 ในรายการฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1992 รอบคัดเลือก โดยแพ้ให้กับทีมชาติสวิตเซอร์แลนด์ 0–4 ซึ่งก่อนหน้าการแข่งขันนัดดังกล่าวทีมชาติซานมารีโนเคยลงแข่งขันอย่างไม่เป็นทางการกับทีมชาติแคนาดาชุดโอลิมปิกและแพ้ไป 0–1

หลังจากลงแข่งขันอย่างเป็นทางการ ทีมชาติซานมารีโนก็ได้เข้าร่วมลงแข่งขันในรอบคัดเลือกของฟุตบอลโลกและฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปอยู่ทุกสมัย แต่ยังไม่เคยประสบกับชัยชนะเลยแม้แต่นัดเดียว โดยชัยชนะเพียงครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ของทีมชาติซานมารีโนเกิดขึ้นเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 2004 ในการแข่งขันฟุตบอลนัดกระชับมิตรกับทีมชาติลิกเตนสไตน์ ซึ่งซานมารีโนเอาชนะไปได้ 1–0

ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2014 ทีมชาติซานมารีโน เคยถูกจัดให้อยู่ในอันดับสุดท้ายของอันดับโลกฟีฟ่าร่วมกับทีมชาติภูฏาน และมักจะถูกวิจารณ์ให้เป็นทีมชาติที่มีผลงานย่ำแย่ที่สุดในวงการกีฬาอยู่เสมอๆ โดยนับตั้งแต่ที่ก่อตั้งทีมชาติมาประสบกับชัยชนะเพียงแค่ครั้งเดียวซึ่งเป็นการแข่งขันนัดกระชับมิตร เสียประตูไปแล้วมากเกินกว่า 600 ลูก และยิงประตูได้เพียง 24 ประตู มีค่าเฉลี่ยในการเสียประตูมากถึงนัดละ 4.2 ประตู

สถิติการแข่งขัน

[แก้]

ฟุตบอลโลก

[แก้]
สถิติฟุตบอลโลก สถิติในรอบคัดเลือก
ปี ผ่านเข้ารอบ อันดับ ลงเล่น ชนะ เสมอ แพ้ ประตูได้ ประตูเสีย ลงเล่น ชนะ เสมอ แพ้ ประตูได้ ประตูเสีย
อุรุกวัย 1930 จนถึง เม็กซิโก 1986 ไม่ใช่สมาชิกฟีฟ่า ไม่ใช่สมาชิกฟีฟ่า
อิตาลี 1990 ไม่ได้เข้าร่วม ไม่ได้เข้าร่วม
สหรัฐอเมริกา 1994 ไม่ผ่านเข้ารอบ 10 0 1 9 2 46
ฝรั่งเศส 1998 8 0 0 8 0 42
เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น 2002 8 0 1 7 3 30
เยอรมนี 2006 10 0 0 10 2 40
แอฟริกาใต้ 2010 10 0 0 10 1 47
บราซิล 2014 10 0 0 10 1 54
รัสเซีย 2018 10 0 0 10 2 51
ประเทศกาตาร์ 2022 10 0 0 10 1 46
แคนาดา เม็กซิโก สหรัฐอเมริกา 2026 ยังไม่ได้แข่งขัน ยังไม่ได้แข่งขัน
สเปน โปรตุเกส โมร็อกโก 2030[a]
ซาอุดีอาระเบีย 2034
รวม 0/9 76 0 2 74 12 356

ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป

[แก้]
สถิติฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป สถิติในรอบคัดเลือก
ปี ผ่านเข้ารอบ อันดับ ลงเล่น ชนะ เสมอ* แพ้ ประตูได้ เสียประตู ลงเล่น ชนะ เสมอ แพ้ ประตูได้ ประตูเสีย
ฝรั่งเศส 1960 ไม่ได้เข้าการแข่งขัน ปฏิเสธการเข้าแข่งขัน
สเปน 1964
อิตาลี 1968
เบลเยียม 1972
สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย 1976
อิตาลี 1980
ฝรั่งเศส 1984
เยอรมนีตะวันตก 1988
สวีเดน 1992 ไม่ผ่านเข้ารอบ 8 0 0 8 1 33
อังกฤษ 1996 10 0 0 10 2 36
เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ 2000 8 0 0 8 1 44
โปรตุเกส 2004 8 0 0 8 0 30
ออสเตรีย สวิตเซอร์แลนด์ 2008 12 0 0 12 2 57
โปแลนด์ ยูเครน 2012 10 0 0 10 0 53
ฝรั่งเศส 2016 10 0 1 9 1 36
ยุโรป 2020 10 0 0 10 1 51
เยอรมนี 2024 10 0 0 10 3 31
สหราชอาณาจักร สาธารณรัฐไอร์แลนด์ 2028 ยังไม่ได้แข่งขัน ยังไม่ได้แข่งขัน
อิตาลี ตุรกี 2032
รวม 0/17 86 0 1 85 11 371

ยูฟ่าเนชันส์ลีก

[แก้]
สถิติในยูฟ่าเนชันส์ลีก
รอบลีก** รอบชิงชนะเลิศ
ฤดูกาล ลีก กลุ่ม แต้ม ลง ได้ เสีย ขึ้น/ตก โดยรวม ปี แต้ม ลง * ได้ เสีย Squad
2018–19 ดี 2 ที่ 4 6 0 0 6 0 16 Same position ที่ 55 โปรตุเกส 2019 ไม่เข้ารอบ
2020–21 ดี 2 ที่ 3 4 0 2 2 0 3 Same position ที่ 54 อิตาลี 2021
2022–23 ดี 2 ที่ 3 4 0 0 4 0 9 Same position ที่ 54 เนเธอร์แลนด์ 2023
2024–25 ดี 1 ยังไม่ได้แข่งขัน 2025
รวม 14 0 2 12 0 28 ที่ 54 รวมทั้งหมด

หมายเหตุ

[แก้]
  1. Additional matches are scheduled to be played in Argentina, Paraguay, and Uruguay in commemoration of the 100th anniversary of the first world cup, however they are not considered to be official hosts of the tournament.[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "The FIFA/Coca-Cola World Ranking". FIFA. 20 มิถุนายน 2024. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2024.
  2. "Gibraltar given full UEFA membership at London Congress". BBC Sport. 24 May 2013. สืบค้นเมื่อ 24 May 2013.
  3. FIFA. "FIFA Council takes key decisions on FIFA World Cup editions in 2030 and 2034". FIFA (ภาษาenglish). สืบค้นเมื่อ 2023-10-14.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]