ฟุตบอลทีมชาติแคเมอรูน
![]() | ||||
ฉายา | Les Lions Indomptables (สิงโตทรหด) หมอผี (ฉายาในภาษาไทย) | |||
---|---|---|---|---|
สมาคม | สหพันธ์ฟุตบอลแคเมอรูน | |||
สมาพันธ์ย่อย | UNIFFAC (แอฟริกากลาง) | |||
สมาพันธ์ | CAF (แอฟริกา) | |||
หัวหน้าผู้ฝึกสอน | Marc Brys | |||
กัปตัน | แว็งซ็อง อาบูบาการ์ | |||
ติดทีมชาติสูงสุด | ริโกแบร์ ซง (137) | |||
ทำประตูสูงสุด | ซามุแอล เอโต (56)[1] | |||
สนามเหย้า | Olembe Stadium | |||
รหัสฟีฟ่า | CMR | |||
| ||||
อันดับฟีฟ่า | ||||
อันดับปัจจุบัน | 49 ![]() | |||
อันดับสูงสุด | 11 (พฤศจิกายน ค.ศ. 2006 – มกราคม ค.ศ. 2007, พฤศจิกายน – ธันวาคม ค.ศ. 2009) | |||
อันดับต่ำสุด | 79 (กุมภาพันธ์ – มีนาคม ค.ศ. 2013) | |||
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก | ||||
![]() ![]() (เบลเจียนคองโก; กันยายน ค.ศ. 1956) | ||||
ชนะสูงสุด | ||||
![]() ![]() (กินชาซา สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก; 7 เมษายน ค.ศ. 1965) | ||||
แพ้สูงสุด | ||||
![]() ![]() (โซล ประเทศเกาหลีใต้; 4 ตุลาคม ค.ศ. 1984) ![]() ![]() (ออสโล ประเทศนอร์เวย์; 31 ตุลาคม ค.ศ. 1990) ![]() ![]() (แพโลแอลโท สหรัฐ; 28 มิถุนายน ค.ศ. 1994) ![]() ![]() (ซานโฮเซ ประเทศคอสตาริกา; 9 มีนาคม ค.ศ. 1997) | ||||
ฟุตบอลโลก | ||||
เข้าร่วม | 8 (ครั้งแรกใน 1982) | |||
ผลงานดีที่สุด | รอบรองชนะเลิศ (1990) | |||
แอฟริกาคัพออฟเนชันส์ | ||||
เข้าร่วม | 20 (ครั้งแรกใน 1970) | |||
ผลงานดีที่สุด | ชนะเลิศ (1984, 1988, 2000, 2002, 2017) | |||
African Nations Championship | ||||
เข้าร่วม | 4 (ครั้งแรกใน 2011) | |||
ผลงานดีที่สุด | อันดับที่ 4 (2020) | |||
คอนเฟเดอเรชันส์คัพ | ||||
เข้าร่วม | 3 (ครั้งแรกใน 2001) | |||
ผลงานดีที่สุด | รองชนะเลิศ (2003) |
ฟุตบอลทีมชาติแคเมอรูน (ฝรั่งเศส: Équipe nationale du camerounaise de football) เป็นตัวแทนทีมฟุตบอลจากประเทศแคเมอรูน อยู่ภายใต้การดูแลของสหพันธ์ฟุตบอลแคเมอรูน ในฐานะสมาชิกของสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (ฟีฟ่า) และ สมาพันธ์ฟุตบอลแห่งแอฟริกา
แคเมอรูนเป็นหนึ่งในชาติที่ประสบความสำเร็จที่สุดมากที่สุดในทวีปแอฟริกา โดยผ่านเข้าไปเล่นรอบสุดท้ายฟุตบอลโลก 8 ครั้ง คือในปี 1982, 1990, 1994, 1998, 2002, 2010 2014 และ 2022 มากกว่าชาติใดในแอฟริกา แต่เคยผ่านรอบแบ่งกลุ่มเพียงครั้งเดียว นอกจากนั้น แคเมอรูนยังเป็นทีมแรกในทวีปที่ผ่านเข้าถึงรอบ 8 ทีมสุดท้ายในฟุตบอลโลกโดยทำได้ในฟุตบอลโลก 1990[3] ซึ่งพวกเขาแพ้ทีมชาติอังกฤษในช่วงต่อเวลาพิเศษ พวกเขายังชนะการแข่งขันแอฟริกาคัพออฟเนชันส์ 5 ครั้ง และคว้าเหรียญทองในโอลิมปิกฤดูร้อน 2000
แคเมอรูนเป็นเพียงประเทศเดียวจากทวีปแอฟริกาหากนับจนถึงปี 2022 ที่เอาชนะทีมชาติบราซิลได้ในการแข่งขันทางการ โดยทำได้ในฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2003 และฟุตบอลโลก 2022 ด้วยผลประตู 1–0 ทั้งสองครั้ง[4][5]
ประวัติ
[แก้]ยุคแรก (1956–2000)
[แก้]แคเมอรูนลงแข่งขันครั้งแรกพบกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกใน ค.ศ. 1956 และแพ้ด้วยผลประตู 3–2 ต่อมา พวกเขาผ่านเข้าไปเล่นแอฟริกาคัพออฟเนชันส์ครั้งแรกใน ค.ศ. 1970 แต่ตกรอบแรก และอีกสองปีถัดมา แคเมอรูนในฐานะเจ้าภาพจบอันดับสามในรายการนี้หลังจากแพ้ทีมชาติคองโกในรอบรองชนะเลิศ 1–0 แต่ยังเอาชนะสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกในนัดชิงอันดับสาม 5–2 และพวกเขาไม่สามารถผ่านเข้ามาเล่นในรายการนี้ได้อีกเป็นเวลากว่าสิบปี
แคเมอรูนลงแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งแรกในฟุตบอลโลก 1982 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการเพิ่มจำนวนทีมจาก 16 ทีมเป็น 24 ทีม แคเมอรูนเป็นหนึ่งในสองชาติจากทวีปแอฟริการ่วมกับแอลจีเรียในการแข่งขันครั้งนี้ แคเมอรูนเริ่มต้นด้วยการเสมอเปรู และ โปแลนด์ 0–0 ทั้งสองนัด และแม้จะทำผลงานยอดเยี่ยมด้วยการเสมออิตาลี 1–1 ในนัดสุดท้ายและไ่ม่แพ้ทีมใด ทว่านั่นก็ไม่พอต่อการผ่านเข้ารอบต่อไป เนื่องจากยิงประตูได้น้อยกว่าอิตาลีแม้จะมีคะแนนเท่ากันที่ 3 คะแนน
สองปีต่อมา แคเมอรูนลงแข่งขันแอฟริกาคัพออฟเนชันส์ 1984 ณ ประเทศโกตดิวัวร์ โดยจบอันดับสองของกลุ่มมีผลงานคือการชนะ 2 และ แพ้ 1 นัด ตามด้วยการเอาชนะจุดโทษแอลจีเรียในรอบรองชนะเลิศ 5–4 หลังจากเสมอกันในเวลาปกติ 0–0 เข้าชิงชนะเลิศและคว้าแชมป์สมัยแรกโดยเอาชนะไนจีเรีย 3–1 จากประตูของเรอเนย์ เอ็นเจยา, ธีโอฟิลเลีย อาเบกา และเออร์เนสต์ เอบงเก และได้รองแชมป์ในปี 1986 โดยแพ้จุดโทษอียิปต์หลังเสมอกัน 0–0 ก่อนจะกลับมาคว้าแชมป์สมัยที่สองในปี 1988 ด้วยการเอาชนะโมร็อกโก และไนจีเรียในรอบรองชนะเลิศและชิงชนะเลิศ 1–0 ทั้งสองนัด
แคเมอรูนผ่านเข้าสู่ฟุตบอลโลก 1990 ด้วยการเอาชนะไนจีเรีย และตูนิเซียในรอบเพลย์ออฟ พวกเขาทำผลงานยอดเยี่ยมด้วยการเอาชนะแชมป์โลกอย่างอาร์เจนตินา 1–0 จากประตูของฟร็องซัว โอมัม-บียิก ตามด้วยการชนะโรมาเนีย 2–1 และแพ้สหภาพโซเวียต 4–0 แม้จะแพ้ แต่พวกเขาทำสถิติเป็นทีมแรกในฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายที่เข้ารอบในฐานะอันดับ 1 ของกลุ่มโดยมีจำนวนผลต่างประตูได้-เสียติดลบ ตามด้วยการเอาชนะโคลอมเบียในรอบ 16 ทีมในช่วงต่อเวลา 2–1 ด้วยสองประตูของผู้เล่นตำนานอย่างโรเจอร์ มิลลาในวัย 38 ปี และยุติเส้นทางในรอบ 8 ทีมจากการแพ้อังกฤษในช่วงต่อเวลา 3–2 แคเมอรูนเกือบจะเป็นฝ่ายชนะแต่พวกเขาพลาดเสียจุดโทษในช่วงท้ายเกมและแกรี ลินิเกอร์ยิงไม่พลาด ทำให้ต้องต่อเวลาพิเศษ และลินิเกอร์เป็นผู้ทำประตูชัยในนาทีที่ 105 ทีมชุดนี้อยู่ภายใต้การฝึกสอนของวาเลรี เนปอมเนียชี ชาวรัสเซีย
ฟุตบอลโลก 1994 มีการปรับโควตาทีมตัวแทนจากทวีปแอฟริกาจากสองทีมเพิ่มเป็นสามทีม โดยแคเมอรูนเป็นตัวแทนร่วมกับไนจีเรีย และโมร็อกโก แคเมอรูนเสมอสวีเดนในนัดแรก 2–2 และตกรอบแรกจากการแพ้บราซิลและรัสเซีย โดยในนัดสุดท้ายที่แพ้รัสเซียนั้น โรเจอร์ มิลลา สร้างสถิติเป็นผู้เล่นอายุมากที่สุดที่ทำประตูในฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายด้วยวัย 42 ปี และเขาเกษียณตนเองจากการเล่นทีมชาติในปีนี้[6] แคเมอรูนอยู่ภายใต้ผู้ฝึกสอนอย่างอ็องรี มีแชล ชาวฝรั่งเศส ต่อมาในฟุตบอลโลก 1998 ที่ฝรั่งเศส มีการเพิ่มจำนวนทีมลงแข่งขันจาก 24 เป็น 32 ทีม แคเมอรูนอยู่กลุ่มบีและตกรอบแรกอีกครั้ง โดยเสมอออสเตรียในนัดแรก 1–1, แพ้อิตาลี 3–0 และเสมอชิลี 1–1 โดยทั้งสองนัดที่เสมอนั้น พวกเขาเป็นฝ่ายออกนำคู่แข่งจนถึงนาทีที่ 90 ของการแข่งขัน พวกเขามีผู้เล่นได้รับใบแดงถึง 3 คนในรอบแบ่งกลุ่มครั้งนี้ มากกว่าทุกทีมที่ลงแข่ง และยังมีจำนวนค่าเฉลี่ยใบเหลืองและใบแดงต่อเกมสูงกว่าทุกทีม (เฉลี่ย 4 ใบต่อ 1 นัด)[7] อย่างไรก็ตาม ฟุตบอลโลกครั้งนี้ถือเป็นทัวร์นาเมนต์แจ้งเกิดของว่าที่กองหน้าคนสำคัญในอนาคตอย่างซามุแอล เอโต เขาเป็นผู้เล่นอายุน้อยที่สุดในฟุตบอลโลกครั้งนี้ร่วมกับไมเคิล โอเวน ผู้ฝึกสอนของแคเมอรูนในครั้งนี้คือ โกลด เลอรัว
ทศวรรษ 2000–ปัจจุบัน
[แก้]
แคเมอรูนชนะเลิศแอฟริกาคัพออฟเนชันส์ 2000 เป็นสมัยที่ 3 โดยเอาชนะตูนิเซียในรอบรองชนะเลิศ ตามด้วยการชนะจุดโทษไนจีเรียในนัดชิงชนะเลิศหลังเสมอกัน 2–2 แคเมอรูนผ่านเข้ามาเล่นในฟุตบอลโลก 2002 ทีญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ในฐานะอันดับ 1 ในรอบคัดเลือก โดยมีคะแนนเหนือแองโกลา, แซมเบีย และโตโก แคเมอรูนลงแข่งรอบสุดท้ายโดยเสมอไอร์แลนด์ 1–1 ตามด้วยการชนะซาอุดีอาระเบีย 1–0 และตกรอบจากการแพ้เยอรมนีในนัดสุดท้าย 2–0 แต่นับว่าพวกเขายังมีช่วงเวลาที่ดีในแอฟริกาคัพออฟเนชันส์ 2002 ที่ประเทศมาลี แคเมอรูนชนะ 3 นัดรวดจบอันดับ 1 ของกลุ่มโดยไม่เสียประตูเลย และเอาชนะอียิปต์ในรอบ 8 ทีม 1–0 และชนะมาลีเจ้าภาพในรอบรองชนะเลิศ 3–0 ในรอบชิงชนะเลิศแข่งขันกันในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2002 แคเมอรูนเสมอเซเนกัลในเวลาปกติ 0–0 และเอาชนะจุดโทษ 3–2 คว้าแชมป์สมัยที่ 4 ได้สิทธิ์แข่งขันฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2003[8]
ในการแข่งขันครั้งนั้น แคเมอรูนกลายเป็นชาติแรกจากทวีปแอฟริกาที่ชนะบราซิลในการแข่งขันทางการ โดยชนะ 1–0 จากประตูในช่วงท้ายเกมโดยเอโต และเอาชนะตุรกีด้วยผลประตูเดียวกันจากประตูท้ายเกมของเฌเรมี ปิดท้ายด้วยการเสมอสหรัฐอเมริกา 0–0 ผ่านเข้าไปพบกับโคลอมเบียในรอบรองชนะเลิศซึ่งเกิดเหตุการณ์เศร้าสลดเมื่อมาร์ก วิเวียน โฟเอ ผู้เล่นแคเมอรูนล้มหมดสติกลางสนามในนาทีที่ 71[9][10] แม้จะได้รับการปฐมพยาบาล และมีความพยายามช่วยชีวิตโดยทีมแพทย์เป็นเวลากว่า 45 นาที แต่โฟเอได้เสียชีวิตในเวลาต่อมา สาเหตุการเสียชีวิตเกิดจากภาวะหัวใจวาย อันเป็นผลมาจากโรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวผิดปกติ แคเมอรูนผ่านเข้าไปชิงชนะเลิศกับฝรั่งเศส โดยทั้งสองทีมไม่ได้มุ่งเน้นไปที่ผลการแข่งขันมากนัก หากแต่เป็นการไว้อาลัยและอำลาโฟเอ เกมจบลงด้วยชัยชนะ 1–0 ของฝรั่งเศสจากประตูในช่วงต่อเวลาประตูทองนาทีที่ 107 โดยตีแยรี อ็องรี การแข่งขันจบลงโดยผู้เล่นแคเมอรูนถือรูปไว้อาลัยให้แก่โฟเอเดินรอบสนาม[11]
ในฟุตบอลโลก 2006 รอบคัดเลือก แคเมอรูนพลาดการเข้าสู้รอบสุดท้ายโดยมีคะแนนตามหลังโกตดิวัวร์เพียงคะแนนเดียว แม้พวกเขาจะเป็นอันดับ 1 ของกลุ่มจนถึงการแข่งขันนัดสุดท้าย แต่ผลเสมออียิปต์ 1–1 ในขณะที่โกตติวัวร์เอาชนะซูดานทำให้พวกเขาตกรอบ พวกเขากลับมาแก้ตัวได้ในฟุตบอลโลก 2010 รอบคัดเลือก ด้วยการเป็นอันดับ 1 ทั้งในรอบคัดเลือกรอบที่ 2 และรอบที่ 3 แต่ตกรอบแบ่งกลุ่มในรอบสุดท้าย โดยแพ้รวดทั้งสามนัดต่อญี่ปุ่น, เดนมาร์ก และเนเธอร์แลนด์ และตกรอบแบ่งกลุ่มฟุตบอลโลก 2014 ที่บราซิลจากการแพ้ทั้งสามนัดอีกเช่นกัน รวมทั้งตกรอบแรกในแอฟริกาคัพออฟเนชันส์ 2015
แคเมอรูนคว้าแชมป์แอฟริกาคัพออฟเนชันส์ 2017 นับเป็นแชมป์สมัยที่ 5 พวกเขาจบอันดับ 2 ของกลุ่มโดยมี 5 คะแนน ตามด้วยการชนะจุดโทษเซเนกัลหลังจากเสมอกัน 0–0 และชนะกานาในรอบรองชนะเลิศ 2–0 และในนัดชิงชนะเลิศ แคเมอรูนเอาชนะอียิปต์ 2–1 แม้จะถูกขึ้นนำไปก่อน แต่ได้สองประตูคืนจากนิโกลัส เอ็นคูลู และ แว็งซ็องต์ อาบูบาการ์ ชัยชนะครั้งนี้ทำให้พวกเขาได้ร่วมแข่งขันฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2017 ที่รัสเซียและตกรอบแรกโดยแพ้แชมป์อย่างเยอรมีในนัดสุดท้าย 3–1 แคเมอรูนไม่ผ่านเข้าสู่ฟุตบอลโลก 2018 ต่อมาในแอฟริกาคัพออฟเนชันส์ 2019 แคเมอรูนแพ้ไนจีเรียในรอบ 16 ทีม 3–2 และกลับมาคว้าอันดับ 3 ในแอฟริกาคัพออฟเนชันส์ 2021 ที่ตนเองเป็นเจ้าภาพ พวกเขาแพ้จุดโทษอียิปต์ในรอบรองชนะเลิศ และเอาชนะจุดโทษบูร์กินาฟาโซในนัดชิงอันดับ 3 หลังจากเสมอกัน 3–3
แคเมอรูนผ่านฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก โซนแอฟริกา – รอบที่ 3 อย่างหวุดหวิด จากการชนะแอลจีเรียด้วยกฏประตูทีมเยือน โดยแคเมอรูนแพ้ในนัดแรก 1–0 ที่ดูอาลา และบุกไปชนะที่บลีดาในช่วงต่อเวลา 2–1 ทำให้ผลรวมเท่ากันที่ 2–2 แต่แคเมอรูนยิงประตูในฐานะทีมเยื่อนได้มากกว่า ด้วยประตูในนัดที่สองจากเอริก มักซิม ชูโป-โมติง[12] ต่อมาในฟุตบอลโลก 2022 กลุ่มจี แคเมอรูนประเดิมด้วยการแพ้สวิตเซอร์แลนด์ 1–0 และเสมอเซอร์เบีย 3–3 จากแว็งซ็อง อาบูบาการ์ และ ชูโป-โมติง แม้จะเอาชนะบราซิลในนัดสุดท้าย 1–0 ทว่าก็ไม่เพียงพอที่จะเข้ารอบ[13] ในการแข่งขันแอฟริกาคัพออฟเนชันส์ 2023 แคเมอรูนตกรอบ 16 ทีมโดยแพ้ไนจีเรีย 2–0
อดีตผู้เล่นที่มีชื่อเสียง
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "9 Samuel ETOO". FIFA.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 June 2014. สืบค้นเมื่อ 1 March 2016.
- ↑ "The FIFA/Coca-Cola World Ranking". FIFA. 19 ธันวาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2024.
- ↑ Egobiambu, Emmanuel (2022-12-10). "Cameroon In 1990, Ghana In 2010...Morocco Make It Fourth Time Lucky For Africa At W/Cup". Channels Television (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2025-02-12.
- ↑ "Brazil's incredible record against African teams broken by Cameroon" (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-10-20. สืบค้นเมื่อ 2025-02-12.
- ↑ Philémon (2022-12-03). "Qatar 2022 - Cameroon : First African team to beat Brazil in WC history - At a glance". Sport News Africa (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2025-02-12.
- ↑ "Threads". www.threads.net. สืบค้นเมื่อ 2025-02-12.
- ↑ "FIFA.com". web.archive.org. 2007-10-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-17. สืบค้นเมื่อ 2025-02-12.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "FIFA Confederations Cup France 2003 - Matches - Cameroon-France - FIFA.com". web.archive.org. 2017-07-10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-10. สืบค้นเมื่อ 2025-02-12.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "Cameroon star Foe dies" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2003-06-26. สืบค้นเมื่อ 2025-02-12.
- ↑ Association, Press (2003-06-26). "Footballer Foe dies during game". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2025-02-12.
- ↑ "Henry bags Cup for France - Taipei Times". www.taipeitimes.com. 2003-07-01. สืบค้นเมื่อ 2025-02-12.
- ↑ "Cameroon 2-1 Algeria (Mar 29, 2022) Game Analysis". ESPN (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2025-02-12.
- ↑ Shpigel, Ben (2022-12-02). "A chaotic end to the group stage sends Brazil and Switzerland to the knockout round". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2025-02-12.