ฟุตบอลทีมชาติลัตเวีย
หน้าตา
ฉายา | 11 vilki[1] (11 Wolves) | ||
---|---|---|---|
สมาคม | สหพันธ์ฟุตบอลลัตเวีย | ||
สมาพันธ์ | ยูฟ่า | ||
หัวหน้าผู้ฝึกสอน | แดอินิส คาซาเควิคส์ | ||
กัปตัน | พาเวลส์ สเตนเบอร์ | ||
ติดทีมชาติสูงสุด | Vitālijs Astafjevs (167) | ||
ทำประตูสูงสุด | Māris Verpakovskis (29) | ||
สนามเหย้า | สนามกีฬาดอกาวา | ||
รหัสฟีฟ่า | LVA | ||
| |||
อันดับฟีฟ่า | |||
อันดับปัจจุบัน | 140 (19 ธันวาคม 2024)[2] | ||
อันดับสูงสุด | 45 (พฤศจิกายน 2009) | ||
อันดับต่ำสุด | 148 (กันยายน 2017) | ||
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก | |||
ลัตเวีย 1–1 เอสโตเนีย (รีกา ลัตเวีย; 24 กันยายน 1922) | |||
ชนะสูงสุด | |||
ลัตเวีย 6–1 ลิทัวเนีย (รีกา ลัตเวีย; 30 พฤษภาคม 1935) ลัตเวีย 5–0 ลิทัวเนีย (Võru, เอสโตเนีย; 1 มิถุนายน 2012) ยิบรอลตาร์ 0–5 ลัตเวีย (ยิบรอลตาร์; 29 มีนาคม 2016) | |||
แพ้สูงสุด | |||
สวีเดน 12–0 ลัตเวีย (สตอกโฮล์ม สวีเดน; 29 พฤษภาคม 1927) | |||
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป | |||
เข้าร่วม | 1 (ครั้งแรกใน 2004) | ||
ผลงานดีที่สุด | รอบแบ่งกลุ่ม (2004) |
ฟุตบอลทีมชาติลัตเวีย (ลัตเวีย: Latvijas futbola izlase) เป็นทีมฟุตบอลตัวแทนของประเทศลัตเวีย อยู่ภายใต้การควบคุมขอสหพันธ์ฟุตบอลลัตเวีย ซึ่งเป็นหน่วยงานที่บริหารฟุตบอลในประเทศลัตเวีย ทีมชาติไม่เคยผ่านเข้าไปเล่นในรอบสุดท้ายของฟุตบอลโลก อย่างไรก็ตาม พวกเขาเคยผ่านเข้าไปเล่นในรอบสุดท้ายของฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปในปี 2004 ภายใต้การคุมทีมของอเล็กซานดรัส สตาร์คอฟส์
ลัตเวียและทีมชาติคู่ปรับในแถบทะเลบอลติกอย่างลิทัวเนียและเอสโตเนีย ได้เข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลภูมิภาครายการเล็กอย่างบอลติกคัพ ซึ่งจัดขึ้นทุก ๆ สองปี ลัตเวียชนะเลิศบอลติกคัพ 13 สมัย มากกว่าทีมชาติอื่น ๆ ที่เข้าร่วมแข่งขัน
สนามเหย้าของทีมชาติลัตเวียในปัจจุบันคือสนามกีฬาดอกาวาในรีกา
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Krīgers, Renārs. "Jauna identitāte". www.lff.lv. LFF. สืบค้นเมื่อ 15 October 2018.
- ↑ "The FIFA/Coca-Cola World Ranking". FIFA. 19 ธันวาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2024.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ฟุตบอลทีมชาติลัตเวีย
- Official website
- Latvia เก็บถาวร 2019-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน at FIFA
- Latvia at UEFA
- Latvia at RSSSF