ประเทศเช็กเกีย
49°45′N 15°30′E / 49.750°N 15.500°E
สาธารณรัฐเช็ก Česká republika (เช็ก) | |
---|---|
ที่ตั้งของ ประเทศเช็กเกีย (เขียวเข้ม) – ในทวีปยุโรป (เขียว & เทาเข้ม) | |
เมืองหลวง และเมืองใหญ่สุด | ปราก 50°05′N 14°28′E / 50.083°N 14.467°E |
ภาษาราชการ | เช็ก[1] |
ภาษาที่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการ | |
กลุ่มชาติพันธุ์ (ค.ศ. 2011[2]) | |
ศาสนา (ค.ศ. 2011)[2] |
|
เดมะนิม | ชาวเช็ก |
การปกครอง | รัฐเดี่ยว สาธารณรัฐระบบรัฐสภา |
แปเตอร์ ปาแว็ล | |
แปเตอร์ ฟิยาลา | |
สภานิติบัญญัติ | รัฐสภา |
• สภาสูง | วุฒิสภา |
• สภาล่าง | สภาผู้แทนราษฎร |
ประวัติ | |
ป. ค.ศ. 870 | |
ค.ศ. 1198 | |
28 ตุลาคม ค.ศ. 1918 | |
1 มกราคม ค.ศ. 1993 | |
พื้นที่ | |
• รวม | 78,871 ตารางกิโลเมตร (30,452 ตารางไมล์) (อันดับที่ 115) |
2.12 (ใน ค.ศ. 2020)[3] | |
ประชากร | |
• ค.ศ. 2021 ประมาณ | 10,701,777[4] (อันดับที่ 86) |
• สำมะโนประชากร ค.ศ. 2011 | 10,436,560[2] |
136 ต่อตารางกิโลเมตร (352.2 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 62) | |
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | ค.ศ. 2020 (ประมาณ) |
• รวม | 432.346 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[5] (อันดับที่ 36) |
• ต่อหัว | 40,585 ดอลลาร์สหรัฐ[5] (อันดับที่ 34) |
จีดีพี (ราคาตลาด) | ค.ศ. 2020 (ประมาณ) |
• รวม | 261.732 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[5] (อันดับที่ 36) |
• ต่อหัว | 24,569 ดอลลาร์สหรัฐ[5] (อันดับที่ 37) |
จีนี (ค.ศ. 2019) | 24.0[6] ต่ำ · อันดับที่ 5 |
เอชดีไอ (ค.ศ. 2019) | 0.900[7] สูงมาก · อันดับที่ 27 |
สกุลเงิน | โกรูนาเช็ก (CZK) |
เขตเวลา | UTC+1 (เวลายุโรปกลาง) |
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง) | UTC+2 (เวลาออมแสงยุโรปกลาง) |
ขับรถด้าน | ขวา |
รหัสโทรศัพท์ | +420b |
รหัส ISO 3166 | CZ |
โดเมนบนสุด | .czc |
|
สาธารณรัฐเช็ก (อังกฤษ: Czech Republic; เช็ก: Česká republika)[8] หรือที่รู้จักกันในชื่อทั่วไปว่า เช็กเกีย (อังกฤษ: Czechia; เช็ก: Česko, ออกเสียง: [ˈt͡ʃɛsko] ( ฟังเสียง))[9] ในอดีตมีชื่อว่า โบฮีเมีย (Bohemia)[10] เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล อยู่ในภูมิภาคยุโรปกลาง โดยมีพรมแดนทางตอนเหนือจรดประเทศโปแลนด์ ทางตะวันตกและตะวันตกเฉียงเหนือจรดเยอรมนี ทางใต้จรดออสเตรีย และทางตะวันออกจรดสโลวาเกีย[11] เช็กเกียมีภูมิประเทศเป็นเนินเขาที่ครอบคลุมพื้นที่กว่า 78,871 ตารางกิโลเมตร (30,452 ตารางไมล์) โดยมีภูมิอากาศแบบภาคพื้นทวีปและภาคพื้นสมุทร
ดัชชีโบฮีเมียถูกก่อตั้งขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ภายใต้ดินแดนของมอเรเวียใหญ่ ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการว่าเป็นรัฐของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ใน ค.ศ. 1002 และได้กลายเป็นราชอาณาจักรใน ค.ศ. 1198[12][13] ภายหลังยุทธการโมฮาชใน ค.ศ. 1526 ดินแดนของราชบังลังก์โบฮีเมียทั้งหมดก็ค่อย ๆ รวมเข้ากับราชาธิปไตยฮาพส์บวร์ค กบฎของชาวโบฮีเมียที่นับถือนิกายโปรเตสแตนด์ ก็นำไปสู่สงครามสามสิบปี หลังยุทธการไวท์เมาท์เทน ราชาธิปไตยฮาพส์บวร์คก็ได้รวมการปกครองของโบฮีเมีย ด้วยการยุบจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ใน ค.ศ. 1806 ดินแดนราชบัลลังก์โบฮีเมียก็ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออสเตรีย
ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ดินแดนเช็กก็ได้กลายเป็นดินแดนที่มีความเป็นอุตสาหกรรมมากขึ้น และใน ค.ศ. 1918 ดินแดนส่วนใหญ่ของเช็กเกียก็ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐเชโกสโลวักที่หนึ่ง ภายหลังการล่มสลายของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง[14] เชโกสโลวาเกียเป็นประเทศเดียวในยุโรปกลางและตะวันออกที่ใช้การปกครองแบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาตลอดสมัยระหว่างสงคราม[15] ภายหลังความตกลงมิวนิกใน ค.ศ. 1938 นาซีเยอรมนีก็เข้าไปควบคุมดินแดนเช็กเกียอย่างเป็นระบบ เชโกสโลวาเกียได้รับการฟื้นฟูใน ค.ศ. 1945 และได้กลายเป็นรัฐคอมมิวนิสต์ในกลุ่มตะวันออก ภายหลังการรัฐประหารเมื่อ ค.ศ. 1948 ความพยายามที่จะเปิดนโยบายเสรีของรัฐบาลและเศรษฐกิจ ถูกปราบปรามโดยการรุกรานประเทศที่นำโดยสหภาพโซเวียต ในช่วงปรากสปริงใน ค.ศ. 1968 ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1989 การปฏิวัติกำมะหยี่ได้ยุติการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ภายในประเทศเชโกสลาวาเกีย และในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1993 เชโกสโลวาเกียถูกยุบเลิก โดยรัฐองค์ประกอบของเชโกสโลวาเกียได้กลายเป็นรัฐเอกราชเช็กเกียและสโลวาเกีย
เช็กเกียเป็นสาธารณรัฐแบบรัฐสภารัฐเดี่ยว และถือเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ที่มีตลาดทางเศรษฐกิจเพื่อสังคมที่ก้าวหน้าและมีรายได้สูง เป็นรัฐสวัสดิการที่มีแบบอย่างทางสังคมของยุโรป การดูแลสุขภาพแบบถ้วนหน้า และการศึกษาในมหาวิทยาลัยโดยไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน โดยอยู่ในอันดับที่ 12 ของดัชนีการพัฒนามนุษย์ซึ่งปรับตัวเลขความไม่เท่าเทียมกันในสังคมแล้วของสหประชาชาติ และอยู่ในอันดับที่ 14 ของดัชนีทุนของมนุษย์โดยธนาคารโลก นำหน้าประเทศต่าง ๆ เช่น สหรัฐ สหราชอาณาจักร และฝรั่งเศส นอกจากนี้ยังเป็นประเทศที่ปลอดภัยและสงบสุขที่สุดเป็นอันดับที่ 11 และอยู่ในอันดับที่ 31 ของดัชนีการปกครองแบบประชาธิปไตย เช็กเกียเป็นสมาชิกของเนโท, สหภาพยุโรป, องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ, องค์การว่าด้วยความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป และสภายุโรป
ภูมิศาสตร์
[แก้]เช็กเกียเป็นดินแดนที่ประกอบด้วย ที่ราบสูง พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่สูงกว่าน้ำทะเล 200 เมตร นอกจากนั้นยังประกอบด้วย เนินเขา แม่น้ำรวมถึงทะเลสาบขนาดเล็ก ๆ อยู่ทั่วไป เช็กเกียเช็กเป็นแหล่งเพาะปลูกพืชหลายชนิด เพราะมีดินที่อุดมสมบูรณ์ มีอากาศแบบอบอุ่นภาคพื้นทวีป มีแร่ธาตุหลายชนิด แร่ที่สำคัญได้แก่ ถ่านหินและยูเรเนียม
สภาพอากาศ
[แก้]สภาพอากาศของเช็กเกีย มีอากาศหนาวอยู่ในเขตอบอุ่น หน้าร้อนจะอบอุ่น หน้าหนาวจะหนาว (ยุโรปอยู่ระหว่าง 35 องศาเหนือ - 71 องศาเหนือ)
ประวัติศาสตร์
[แก้]กลุ่มรัฐสลาฟ
[แก้]ดินแดนของเช็กเกียในปัจจุบัน มีประวัติศาสตร์ย้อนหลังไปราว 2,000 ปี นับตั้งแต่เมื่อชนเผ่าสลาวอนิก (Slavonic Tribes) หรือชนเผ่าสลาฟ ได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานแคว้นโบฮีเมียได้พัฒนาเป็นรัฐอิสระเป็นครั้งแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 9 แต่ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ชนเผ่าเยอรมันได้อพยพเข้ามายึดดินแดนเช็กในปัจจุบันเป็นอาณานิคม ซึ่งเป็นปัจจัยที่สร้างวัฒนธรรมเช็กให้มีทั้งลักษณะของชนเผ่าเยอรมันและชนเผ่าสลาฟ กรุงปรากจึงเต็มไปด้วยสถาปัตยกรรมอันหลากหลาย อาทิ โรมาเนสก์ กอทิก สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา บาโรก รวมทั้งศิลปะรูปแบบต่าง ๆ ทำให้กรุงปรากเป็นเมืองที่แสดงให้เห็นถึงประวัติความเป็นมาของเช็กเกียได้อย่างดี ตั้งแต่สมัยอาณาจักรโรมัน จนกระทั่งถึงสมัยราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค (ราวศตวรรษที่ 15-18) และองค์การยูเนสโก ได้เลือกให้เป็นมรดกโลกด้านวัฒนธรรม นอกจากนี้ เช็กยังมีชื่อเสียงและประวัติศาสตร์อันยาวนานด้านการผลิตเบียร์ โดยเฉพาะที่เมืองเปิลแซ็ญ
กรุงปรากเป็นเมืองที่สำคัญในยุโรปตั้งแต่สมัยอาณาจักรโรมันและยุคกลางของยุโรป จักรพรรดิคาร์ลที่ 4 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ได้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยชาลส์ (Charles University) ขึ้นที่กรุงปรากซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในยุโรปตะวันออก ในช่วงยุคกลาง เช็กเกียอยู่ภายใต้การปกครองของคริสตจักรเช่นเดียวกับดินแดนอื่น ๆ ในยุโรป จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1526 เช็กเกียจึงตกอยู่ภายใต้การควบคุมของราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค ในศตวรรษที่ 19 เริ่มมีการฟื้นฟูความตระหนักถึงชนชาติ ซึ่งถึงจุดสูงสุดในปี ค.ศ. 1848 เมื่อกรุงปรากเป็นเมืองแรกในอาณาจักรฮาพส์บวร์คที่เรียกร้องให้มีการปฏิรูป และต้องการแยกตัวเป็นรัฐอิสระ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ จนกระทั่งภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1
คริสต์ศตวรรษที่ 20
[แก้]ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง ฝ่ายพันธมิตรได้สนับสนุนให้ชาวเช็กและชาวสโลวักสร้างสหพันธรัฐประชาธิปไตยเชโกสโลวาเกียขึ้น ในปี ค.ศ. 1918 เนื่องจากชาวเช็กและชาวสโลวักมีภาษาคล้ายคลึงกัน แต่แยกจากกันทางการเมือง เนื่องจากสโลวาเกียเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรฮังการี ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 เชโกสโลวาเกียเป็นประเทศที่อุตสาหกรรมมีความก้าวหน้าที่สุดจนติดอันดับหนึ่งในสิบของโลก อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัญหาทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากชาวสโลวักต้องการแยกตัวออกเป็นรัฐอิสระจากชาวเช็กซึ่งมีบทบาทเหนือกว่า
ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1939 กองทัพเยอรมนีนาซีได้รุกรานแคว้นโบฮีเมียและมอเรเวีย ทำให้เชโกสโลวาเกียสูญเสียความเป็นรัฐเอกราช จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1945 กองทัพโซเวียตได้ปลดปล่อยดินแดนของเชโกสโลวาเกียจากการปกครองของนาซี ทำให้สหภาพโซเวียตมีบทบาทสำคัญต่อพัฒนาการทางการเมืองของเชโกสโลวาเกียในเวลาต่อมา และในปี ค.ศ. 1948 พรรคคอมมิวนิสต์ได้ก่อรัฐประหารยึดอำนาจไว้
หลังสงคราม
[แก้]พรรคคอมมิวนิสต์มีอิทธิพลในเชโกสโลวาเกียมาโดยตลอด จนกระทั่งในช่วงปลายทศวรรษที่ 60 ได้เริ่มมีการเคลื่อนไหวเพื่อการปฏิรูป ที่เรียกว่า ช่วงฤดูใบไม้ผลิแห่งกรุงปราก (Prague Spring) ภายใต้การนำของอาเล็กซันเดร์ ดุปเช็ก (Alexander Dubček) เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ สหภาพโซเวียต และประเทศอื่นในกลุ่มกติกาสนธิสัญญาวอร์ซอ (Warsaw Pact) เกรงว่าความเคลื่อนไหวดังกล่าวจะเป็นภัยคุกคามต่อระบบคอมมิวนิสต์ จึงได้ยกกองกำลังเข้าไปในเชโกสโลวาเกียเมื่อปี ค.ศ. 1968 และจัดตั้งระบบคอมมิวนิสต์ที่เข้มงวดขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังคงมีแนวคิดต่อต้านระบบคอมมิวนิสต์ในเชโกสโลวาเกีย
หลังจากที่สหภาพโซเวียตล่มสลายลง เชโกสโลวาเกียได้เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยอย่างสันติ โดยผ่านกระบวนการที่เรียกว่า การปฏิวัติกำมะหยี่ (Velvet Revolution) และนายวาตส์ลัฟ ฮาแว็ล (Václav Havel) ซึ่งเป็นผู้นำกลุ่มเคลื่อนไหวต่อต้านระบบคอมมิวนิสต์ ได้รับเลือกตั้งให้เป็นประธานาธิบดีเชโกสโลวาเกียในปี ค.ศ. 1989
รัฐบาลเชโกสโลวาเกียได้มีมติเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2536 ให้สลายประเทศเชโกสโลวาเกีย และแบ่งออกเป็นสาธารณรัฐเช็ก (เช็กเกีย) และสาธารณรัฐสโลวัก (สโลวาเกีย) ซึ่งเป็นกระบวนการที่เรียกว่า Velvet Divorce ต่อมา วาตส์ลัฟ ฮาแว็ล ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีคนแรกของเช็กเกียในปี ค.ศ. 1993 และได้รับเลือกตั้งเป็นครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ. 1998 จนกระทั่งหมดวาระ (วาระละ 5 ปี) เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2003 และวาตส์ลัฟ เกลาส์ (Vaclav Klaus) ได้เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสืบต่อ เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2003
การเมืองการปกครอง
[แก้]เช็กเกียปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบมีประธานาธิบดีเป็นประมุข
นิติบัญญัติ
[แก้]ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ซึ่งเป็นระบบสองสภา (Bicameral Parliament) คือ สภาสูง (Senate) มี 81 ที่นั่ง มาจากการเลือกตั้งโดย popular vote มีวาระ 6 ปี โดยจะมีการเลือก 1 ใน 3 ทุก 2 ปี
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]เช็กเกียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 13 แคว้น (kraj) และ 1 นครหลวง* (hlavní město) ได้แก่
นโยบายต่างประเทศ
[แก้]ความสัมพันธ์กับสหภาพยุโรป
[แก้]- บทบาทของเช็กเกียในสหภาพยุโรปและองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ
- การทูตพหุภาคีและการให้ความสนับสนุนบทบาทของสหประชาชาติ
- การต่อต้านการก่อการร้าย การป้องกันการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงและการต่อต้านอาชญากรรมระหว่างประเทศ
- การดำเนินความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกาและแคนาดา
- บทบาทของสาธารณรัฐเช็กในกองกำลังรักษาสันติภาพในคอซอวอ อิรัก และอัฟกานิสถาน
- การดำเนินความสัมพันธ์ต่อประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะต่อสโลวาเกีย
- การดำเนินความสัมพันธ์กับรัสเซีย โดยเฉพาะในกรอบระหว่างสหภาพยุโรปกับรัสเซีย
- ความสัมพันธ์กับประเทศในภูมิภาคเอเชีย ลาตินอเมริกา และแอฟริกา
- ประเด็นระหว่างประเทศต่าง ๆ ได้แก่ การต่อสู้กับความยากจน การแพร่กระจายของโรคระบาด การให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะที่เป็นผลจากเหตุการณ์ธรณีพิบัติในเอเชียและแอฟริกา
เศรษฐกิจ
[แก้]สถานการณ์เศรษฐกิจเช็กเกีย ภายหลังจาก Velvet Reform ในปี ค.ศ. 1989 เชโกสโลวาเกียเริ่มดำเนินการปฏิรูปทางเศรษฐกิจอย่างจริงจัง ในขณะที่รัฐบาลคอมมิวนิสต์ยังคงดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาคอย่างระแวดระวัง การปฏิรูปทางเศรษฐกิจดำเนินไปด้วยความรวดเร็ว โดยปล่อยให้ราคาสินค้าเคลื่อนไหวอย่างเสรี การคืนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่เจ้าของเดิมในช่วงปี ค.ศ. 1948 และการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ต่อมา ภายหลังจาก Velvet Divorce ซึ่งแยกเชโกสโลวาเกียเป็นเช็กเกียและสโลวาเกีย ในปี ค.ศ. 2003 เช็กเกียมีการพัฒนาการทางเศรษฐกิจที่ก้าวหน้าอย่างมาก โดยมีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่รวดเร็ว มีอัตราการว่างงานต่ำ และไม่มีอัตราเงินเฟ้อที่สูงเกินไป
รัฐบาลเช็กเกียประสบความสำเร็จในการดึงดูดเงินลงทุนจากต่างประเทศ อาทิ บริษัทโตโยตามอเตอร์ และบริษัทเปอร์โยต์ ซีตรอง โดยได้ก่อตั้งหน่วยงานส่งเสริมการลงทุน ชื่อว่า Czech Invest เพื่อดึงดูดการลงทุนด้านเทคโนโลยีระดับสูง ทั้งนี้ รัฐบาลคาดว่าจะสามารถดึงเงินลงทุนจากต่างประเทศได้เพิ่มขึ้นจาก 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็น 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงปี ค.ศ. 2005-2007 ส่งผลให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจยังคงสูงอย่างต่อเนื่องจากร้อยละ 3.7 ในปี ค.ศ. 2003 เป็นร้อยละ 3.8 ในปี ค.ศ. 2004 และคาดว่าจะสูงถึงร้อยละ 4.4 ในปี ค.ศ. 2005 ทำให้ค่าจ้างแรงงานมีการปรับตัวสูงขึ้นและมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น ช่วยกระตุ้นอุปสงค์ภายในประเทศ ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อได้ลดลงเป็นลำดับ
รัฐบาลเช็กเกียยังคงให้ความสำคัญกับการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ โดยได้ดำเนินการไปแล้วเป็นส่วนใหญ่ และยังคงมีอีกประมาณ 167 บริษัทที่อยู่ระหว่างรอดำเนินการ ได้แก่ Czech Telecom CEZ Power Utility เป็นต้น อย่างไรก็ดี รัฐบาลยังคงมีปัญหาการขาดดุลงบประมาณซึ่งสูงถึงร้อยละ 7 ของ GDP ในปี ค.ศ. 2003 รัฐบาลจึงตั้งเป้าที่จะลดการขาดดุลให้เหลือเพียงร้อยละ 4 ในปี ค.ศ. 2006 ซึ่งเป็นเงื่อนไขหนึ่งที่สหภาพยุโรปเรียกร้องเพื่อรับเช็กเกียเข้าเป็นสมาชิก นอกจากนี้ รัฐบาลเช็กเกียคงจะพยายามผลักดันเพื่อให้สามารถใช้เงินสกุลยูโรได้ภายในปี ค.ศ. 2009-2010 นอกจากนี้ รัฐบาลเช็กเกียจะยังคงมุ่งมั่นปฏิรูประบบกฎหมาย กฎหมายการล้มละลาย และการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
อ้างอิง
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Czech language". Czech Republic – Official website. Ministry of Foreign Affairs of the Czech Republic. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 November 2011. สืบค้นเมื่อ 14 November 2011.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ 2.0 2.1 2.2 "Public database: Census 2011". Czech Statistical Office. สืบค้นเมื่อ 2 June 2021.
- ↑ "Public database: Land use (as at 31 December)". Czech Statistical Office. สืบค้นเมื่อ 2 June 2021.
- ↑ "Population of Municipalities – 1 January 2021". Czech Statistical Office. 30 April 2021.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 "World Economic Outlook Database, October 2019". IMF.org. International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 2 November 2019.
- ↑ "Gini coefficient of equivalised disposable income - EU-SILC survey". ec.europa.eu. Eurostat. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 March 2019. สืบค้นเมื่อ 3 July 2020.
- ↑ "Human Development Report 2020" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). United Nations Development Programme. 10 December 2019. สืบค้นเมื่อ 10 December 2019.
- ↑ "Publications Office — Interinstitutional style guide — 7.1. Countries — 7.1.1. Designations and abbreviations to use". Publications Office. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 October 2007. สืบค้นเมื่อ 31 January 2019.
- ↑ "the Czech Republic". The United Nations Terminology Database. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 September 2016. สืบค้นเมื่อ 2 September 2016.
- ↑ Šitler, Jiří (12 July 2016). "From Bohemia to Czechia". Czech Radio. สืบค้นเมื่อ 1 June 2021.
- ↑ "Information about the Czech Republic". Czech Foreign Ministry. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 April 2016. สืบค้นเมื่อ 25 March 2016.
- ↑ Mlsna, Petr; Šlehofer, F.; Urban, D. (2010). "The Path of Czech Constitutionality" (PDF). 1st edition (ภาษาเช็ก และ อังกฤษ). Praha: Úřad Vlády České Republiky (The Office of the Government of the Czech Republic). pp. 10–11. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 16 January 2013. สืบค้นเมื่อ 31 October 2012.
- ↑ Čumlivski, Denko (2012). "800 let Zlaté buly sicilské" (ภาษาเช็ก). National Archives of the Czech Republic (Národní Archiv České Republiky). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 November 2012. สืบค้นเมื่อ 31 October 2012.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ Dijk, Ruud van; Gray, William Glenn; Savranskaya, Svetlana; Suri, Jeremi; Zhai, Qiang (2013). Encyclopedia of the Cold War (ภาษาอังกฤษ). Routledge. p. 76. ISBN 978-1135923112. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 November 2018. สืบค้นเมื่อ 13 December 2017.
- ↑ Timothy Garton Ash The Uses of Adversity Granta Books, 1991 ISBN 0-14-014038-7 p. 60
ข้อมูลทั่วไป
[แก้]- Angi, János (1997). "A nyugati szláv államok" [Western Slavic states]. ใน Pósán, László; Papp, Imre; Bárány, Attila; Orosz, István; Angi, János (บ.ก.). Európa a korai középkorban [Europe in the Early Middle Ages] (ภาษาฮังการี). Multiplex Media – Debrecen University Press. pp. 358–365. ISBN 978-963-04-9196-9.
- Hawes, James (2008). Why You Should Read Kafka Before You Waste Your Life. New York: St. Martin's Press. ISBN 978-0-312-37651-2.
- Sayer, Derek (1996). "The Language of Nationality and the Nationality of Language: Prague 1780–1920". Past and Present. Oxford. 153 (1): 164. doi:10.1093/past/153.1.164. ISSN 0031-2746. OCLC 394557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-07. สืบค้นเมื่อ 2021-10-08.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Hochman, Jiří (1998). Historical dictionary of the Czech State. Scarecrow Press. ISBN 0810833387
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Governmental website
- Presidential website
- Senate เก็บถาวร 2006-06-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Portal of the Public Administration
- Czech Tourism official tourism site of the Czech Republic
- Czechia. The World Factbook. Central Intelligence Agency.
- Wikimedia Atlas of the Czech Republic
- ดูข้อมูลทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับ ประเทศเช็กเกีย ที่โอเพินสตรีตแมป