ข้ามไปเนื้อหา

พนมเปญ

พิกัด: 11°34′10″N 104°55′16″E / 11.56944°N 104.92111°E / 11.56944; 104.92111
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Phnom Penh)
พนมเปญ

ភ្នំពេញ
  • ราชธานีพนมเปญ
  • រាជធានីភ្នំពេញ
จากบน ซ้ายไปขวา: พระบรมราชวังจตุมุขสิริมงคล, วัดโบสถรตนาราม, ถนนที่เกาะพิช, ท่าเรือศรีสวัสดิ์, สวนริมแม่น้ำ, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ, วัดพนม, สถูปหลวง, Hotel Le Royal, อาคารศาลฎีกา
ตราอย่างเป็นทางการของพนมเปญ
ตรา
สมญา: 
  • ไข่มุกแห่งเอเชีย (ก่อนคริสต์ทศวรรษ 1960)
  • เมืองที่มีเสน่ห์
พนมเปญตั้งอยู่ในประเทศกัมพูชา
พนมเปญ
พนมเปญ
ที่ตั้งในประเทศกัมพูชา
พิกัด: 11°34′10″N 104°55′16″E / 11.56944°N 104.92111°E / 11.56944; 104.92111
ประเทศ กัมพูชา
ตั้งรกรากคริสต์ศตวรรษที่ 5[1]
ก่อตั้ง1372
สถานะเมืองหลวง1434–1497
เป็นเมืองหลวงอีกครั้ง1865
ตั้งชื่อจากวัดพนมและยายเพ็ญ
การแบ่งเขตการปกครอง14 เขต (ខណ្ឌ ขณฺฑ)[2]
การปกครอง
 • ประเภทสภาเทศบาล
 • ผู้ว่าราชการยูง เสรง (ซีพีพี)
 • รัฐสภา
12 / 125
พื้นที่
 • ทั้งหมด679 ตร.กม. (262 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่ที่ 24
ความสูง11.89 เมตร (39.01 ฟุต)
ประชากร
 (สำมะโน 2019)[3]
 • ทั้งหมดเพิ่มขึ้น 2,281,951 คน
 • อันดับที่ 1
 • ความหนาแน่น3,361 คน/ตร.กม. (8,700 คน/ตร.ไมล์)
 • อันดับความหนาแน่นที่ 1
เขตเวลาUTC+07:00 (เวลาในประเทศกัมพูชา)
รหัสพื้นที่+855 (023)
เอชดีไอ (2019)
เว็บไซต์phnompenh.gov.kh

พนมเปญ[5] หรือ พนุมปึญ[5] (เขมร: ភ្នំពេញ ภฺนํเพญ, ออกเสียง: [pʰnum pɨɲ]; อังกฤษ: Phnom Penh) อีกชื่อหนึ่งที่เป็นทางการคือ ราชธานีพนมเปญ เป็นเมืองหลวงของประเทศกัมพูชา โดยเป็นเมืองหลวงของประเทศมาตั้งแต่สมัยกัมพูชาในอารักขาของฝรั่งเศส กรุงพนมเปญเป็นเมืองที่ล้อมรอบด้วยจังหวัดกันดาล และเป็นเมืองศูนย์กลางการค้า การเมือง และวัฒนธรรมของกัมพูชา พนมเปญตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโตนเลสาบ, แม่น้ำโขง และ แม่น้ำบาสัก มีประชากรมากกว่า 2 ล้านคน เทียบเท่าประชากรร้อยละ 14 ของประเทศ[3] พื้นที่ทั้งหมดในมหานครพนมเปญยังรวมพื้นที่ใกล้เคียงของนครตาเขมา และบางส่วนของจังหวัดกันดาล[6] โดยก่อนที่พนมเปญจะมีสถานะเป็นเมืองหลวงนั้น อุดงมีชัยเป็นเมืองหลวงของประเทศ

พนมเปญกลายเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรขะแมร์ต่อจากนครธม เมืองนี้เคยถูกทิ้งร้างหลายครั้งก่อนจะได้รับการสถาปนาขึ้นใหม่ใน ค.ศ. 1865 โดยพระบาทสมเด็จพระนโรดม ในอดีต พนมเปญทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางทางการค้า โดยมีสิ่งทอ, ยา, การผลิตเครื่องจักร และโรงสีข้าวเป็นอุตสาหกรรมหลัก แต่โดดเด่นที่สุดในด้านวัฒนธรรม เมืองนี้เป็นที่ตั้งของสถานศึกษาหลายแห่ง รวมถึงสากลวิทยาลัยภูมินท์พนมเปญ (สถาปนาเมื่อปี 1960) เช่นเดียวกับโรงเรียนวิศวกรรมศาสตร์, วิจิตรศิลป์, วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และเกษตรกรรม และยังเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ราชวิทยาลัย

พนมเปญได้ชื่อว่า "ไข่มุกแห่งเอเชีย" (เมื่อคริสต์ทศวรรษ 1920 พร้อมกับเมืองเสียมราฐ) เนื่องมาจากสถาปัตยกรรมแบบฝรั่งเศสที่โดดเด่นในแบบอลังการศิลป์[7] พนมเปญ เสียมราฐ และพระสีหนุ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญทั้งในระดับประเทศ และระดับโลกของกัมพูชา เมืองนี้ก่อตั้งขึ้นในปี 1372 และมีชื่อเสียงในด้านสถาปัตยกรรมและสถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ พนมเปญมีสถานะเป็นเมืองหลวงอย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 1434 ภายหลังยุคมืดของกัมพูชา และยังคงสถานะนี้จนถึงปี 1497[8] พนมเปญได้รับสถานะเมืองหลวงคืนมาอีกครั้งในช่วงยุคอาณานิคมของฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1865 สิ่งนี้ได้ทิ้งร่องรอยมรดกทางสถาปัตยกรรมไว้จวบจนปัจจุบันรวมถึงอาคารตามถนนต่าง ๆ

เมืองนี้เคยเป็นสถานที่จัดงานสำคัญในระดับนานาชาติหลายครั้ง ที่มีชื่อเสียงที่สุดได้แก่ การประชุมสุดยอดอาเซียน ค.ศ. 2002, 2012 และ 2022 รวมทั้งมหกรรมกีฬาอย่างซีเกมส์ 2023 และอาเซียนพาราเกมส์ 2023 พนมเปญจะเป็นเมืองแรกของกัมพูชาและเมืองที่สองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เป็นเจ้าภาพเอเชียนเกมส์เยาวชน ปี 2029

ประวัติศาสตร์

[แก้]
วัดพนม เป็นที่มาของชื่อพนมเปญ

พนมเปญไม่ได้มีจุดเริ่มต้นจากการเป็นถิ่นฐานที่ตั้งหลัก จนกระทั่งเข้าสู่ยุคเมืองพระนคร หลังจากนครวัดและเมืองอื่นๆใกล้เคียงเริ่มมีชื่อเสียงโดดเด่นประจักษ์สู่สายตาประชาคมโลก

ช่วงกลางศตวรรษที่ 15 เจ้าพระยาญาติ กษัตริย์แห่งจักรวรรดิเขมรทรงย้ายราชธานีจากเมืองนครธมซึ่งถูกทำลายและยึดครองโดยกองทัพสยาม มาตั้งอยู่ที่ ณ พื้นที่ที่เป็นกรุงพนมเปญในปัจจุบันและทรงก่อร่างสร้างนครหลวงใหม่สร้างพระราชวัง ทรงตั้งนามเมืองหลวงแห่งนี้ว่า จตุมุข (ចតុមុខ) มีความหมายแปลว่า "เมืองที่มีสี่ใบหน้า" สื่อถึง พระพรหมผู้มีพระพักตร์ 4 หน้า กรุงจตุมุขมีชื่อเต็มว่า จตุรมุข มงคลสกลกัมพูชาธิบดี ศรีโสธรบวรอินทปัตถ์ บุรีรัฏฐราชสีมามหานคร (ក្រុងចតុមុខមង្គលសកលកម្ពុជាធិបតី សិរីធរបវរ ឥន្ទបត្តបុរី រដ្ឋរាជសីមាមហានគរ) มีความหมายว่า "สถานที่แห่งแม่น้ำสี่สายที่ให้ความสุขและความสำเร็จของอาณาจักรเขมรผู้นำสูงสุดและเมืองที่ไม่อาจทำลายได้ของพระอินทร์แห่งอาณาจักรอันยิ่งใหญ่" เป็นชื่อเรียกกรุงพนมเปญสมัยนั้น[9] และยุคสมัยนี้จึงเรียกว่ายุคสมัยจตุมุขทำให้กรุงพนมเปญเป็นเมืองหลวงของกัมพูชาเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์

กรุงพนมเปญยังคงเป็นเมืองหลวงอยู่ 73 ปีจากปี ค.ศ. 1432 - 1505 และถูกทอดทิ้งเป็นเวลา 360 ปี (จากปี ค.ศ. 1505 ถึง 1865) โดยกษัตริย์ที่ตามมาเนื่องจากการต่อสู้ภายในราชวงศ์ระหว่างผู้อ้างสิทธิชิงบัลลังก์ หลังจากนั้นกษัตริย์ก็ย้ายเมืองหลวงหลายต่อหลายครั้งและสร้างเมืองหลวงขึ้นในสถานที่ต่าง ๆ เช่น ศรีสันธร, ละแวกและกรุงอุดงมีชัย

ในระหว่างอานามสยามยุทธในสมัยพระอุทัยราชา (นักองค์จัน) ได้ย้ายเมืองหลวงกลับมายังกรุงพนมเปญอีกครั้งเพื่อเข้ากับญวนจนจบศึกพระหริรักษ์รามาธิบดี (นักองค์ด้วง) ครองราชย์จึงได้ย้ายกลับมาอยู่ ณ อุดงมีชัย

จนกระทั่งเมื่อกัมพูชาลงนามในสนธิสัญญายอมเป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศส ปี ค.ศ. 1866 ภายใต้การปกครองของพระบาทสมเด็จพระนโรดม พรหมบริรักษ์ ได้ทรงย้ายเมืองหลวงจากกรุงอุดงมีชัยกลับมาที่พนมเปญทรงแต่งตั้งกรุงพนมเปญเป็นเมืองหลวงของประเทศอย่างเป็นทางการนับแต่บัดนั้น หลังจากการมีการทำสัญญากับฝรั่งเศสแล้วต่อมากัมพูชาก็ถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศสแถบอินโดจีนที่รวมถึงเวียดนามและลาว ภายใต้อำนาจการปกครองแบบเต็มรูปแบบของปารีส ทำให้พนมเปญมีศักยภาพและเติบโตแบบก้าวกระโดด จากเมืองที่มีขนาดเล็กกว่าหมู่บ้าน ก้าวไปสู่การพัฒนาเป็นเมืองท่าริมน้ำที่ทันสมัยของฝรั่งเศส

แม้จะมีความวุ่นวายในส่วนอื่นๆ ของประเทศทั้งก่อนและหลังสงครามโลกครั้งที่สอง แต่พนมเปญยังคงอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสจนกระทั่งปี ค.ศ. 1953 ภายใต้การนำของสมเด็จนโรดมสีหนุและคลื่นมวลชนชาวเขมรที่ออกมาเรียกร้องเอกราช จนได้รับเอกราชจากฝรั่งเศสอย่างสมบูรณ์ ซึ่งช่วงต้นของปี ค.ศ. 1970 พนมเปญค่อนข้างมีความสงบท่ามกลางทะเลสงครามในประเทศกัมพูชา

ในปี ค.ศ. 1975 กองกำลังเขมรแดงภายใต้การนำของพอลพตบุกโจมตีพนมเปญ หลังจากเข้ายึดครองไม่กี่วันจึงเริ่มกวาดล้างประชากรกว่าสองล้านคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่โดยเนรเทศออกไปสู่ชนบท ภายใน 4 ปีพนมเปญแทบร้างผู้คน ยกเว้นเขตพื้นที่กักกัน เช่น S-21 และพื้นที่บางส่วนที่ชาวเขมรแดงอาศัยอยู่

เมื่อเขมรแดงถูกขับไล่ออกไปจากกรุงพนมเปญในปี ค.ศ. 1979 ผู้คนจึงค่อยๆ ทยอยกลับเข้ามาอาศัยในเมืองอีกครั้ง แต่เนื่องจากสภาพบ้านเมืองที่ถูกทำลายและทรุดโทรมอย่างมาก รวมถึงจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นน้อย องค์การระหว่างประเทศจึงเริ่มเข้ามามีบทบาทและให้ความช่วยเหลือในการฟื้นฟูบ้านเมือง หลังจากการลงนามในความตกลงทางการเมืองสมบูรณ์แบบในความขัดแย้งกัมพูชา หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า ความตกลงสันติภาพกรุงปารีส (Paris Peace Agreement) ในปี ค.ศ. 1991 ซึ่งคืนเสถียรภาพเต็มที่แก่ประชาชนชาวกัมพูชา

ในปี ค.ศ. 1999 กัมพูชาเข้าร่วมเป็นสมาชิกของกลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งสนับสนุนและดึงดูดให้ชาวต่างชาติเข้ามาร่วมลงทุนในกัมพูชามากขึ้น ถือเป็นจุดเริ่มต้นในทางที่ดีสำหรับประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของประเทศ

ภูมิศาสตร์

[แก้]
แม่น้ำจากโตนเลสาบ

พนมเปญตั้งอยู่ในพื้นที่ตอนกลางค่อนใต้ของกัมพูชา และล้อมรอบด้วยจังหวัดกันดาล ตัวนครตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง โตนเลสาบ และแม่น้ำบาสัก

ตัวนครตั้งอยู่ในพิกัดภูมิศาสตร์ 11°33′00″N 104°55′00″E / 11.55°N 104.91667°E / 11.55; 104.91667 (11°33' เหนือ, 104°55' ตะวันออก)[10] ครอบคลุมพื้นที่ 678.46 ตารางกิโลเมตร (262 ตารางไมล์) แบ่งเป็นตัวเทศบาล 11,401 เฮกตาร์ (28,172 เอเคอร์) และถนน 26,106 ha (64,509 เอเคอร์) ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในเขตเทศบาลมีจำนวน 34.685 km2 (13 sq mi) โดยอยู่ในเขตชลประทาน 1.476 km2 (365 เอเคอร์)

ภูมิอากาศ

[แก้]
ข้อมูลภูมิอากาศของพนมเปญ (อุณหภูมิ: ค.ศ. 1988–2013, สูงสุด: ค.ศ. 1906–2013)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 36.1
(97)
38.1
(100.6)
40.0
(104)
40.5
(104.9)
40.0
(104)
39.2
(102.6)
37.2
(99)
37.8
(100)
35.5
(95.9)
36.1
(97)
34.4
(93.9)
37.2
(99)
40.5
(104.9)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 31.6
(88.9)
33.2
(91.8)
34.6
(94.3)
35.3
(95.5)
34.8
(94.6)
33.8
(92.8)
32.9
(91.2)
32.7
(90.9)
32.2
(90)
31.4
(88.5)
31.1
(88)
30.8
(87.4)
32.9
(91.2)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 26.6
(79.9)
28.0
(82.4)
29.4
(84.9)
30.2
(86.4)
30.0
(86)
29.2
(84.6)
28.7
(83.7)
28.5
(83.3)
28.2
(82.8)
27.2
(81)
27.1
(80.8)
26.3
(79.3)
28.3
(82.9)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 21.8
(71.2)
22.8
(73)
24.3
(75.7)
25.5
(77.9)
25.6
(78.1)
24.9
(76.8)
24.8
(76.6)
24.6
(76.3)
24.4
(75.9)
24.2
(75.6)
23.2
(73.8)
21.9
(71.4)
24.0
(75.2)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 12.8
(55)
15.2
(59.4)
19.0
(66.2)
17.8
(64)
20.6
(69.1)
21.2
(70.2)
20.1
(68.2)
20.0
(68)
21.1
(70)
17.2
(63)
16.7
(62.1)
14.4
(57.9)
12.8
(55)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 12.1
(0.476)
6.6
(0.26)
34.8
(1.37)
78.8
(3.102)
118.2
(4.654)
145.0
(5.709)
162.1
(6.382)
182.7
(7.193)
270.9
(10.665)
248.1
(9.768)
120.5
(4.744)
32.1
(1.264)
1,411.9
(55.587)
ความชื้นร้อยละ 73 71 71 73 77 78 80 81 84 84 78 73 77
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย (≥ 0.1 mm) 1.2 1.1 3.4 6.8 15.9 17.0 18.1 18.3 21.5 19.3 10.2 4.5 137.3
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 260 226 267 240 202 192 143 174 129 202 213 242 2,490
แหล่งที่มา 1: Deutscher Wetterdienst[11]
แหล่งที่มา 2: Danish Meteorological Institute (sun, 1931–1960)[12]

เขตการปกครอง

[แก้]
ศาลากลางพนมเปญ
เขตของพนมเปญ

พนมเปญเป็นเขตการปกครองพิเศษที่มีพื้นที่ 678.46 ตารางกิโลเมตร (261.95 ตารางไมล์) ซึ่งมีสถานะเทียบเท่ากับจังหวัด มีทั้งหมด 14 เขต (ខណ្ឌ ขณฺฑ) 105 แขวง (សង្កាត់ สงฺกาต่) และ 953 หมู่บ้าน (ភូមិ ภูมิ)[13] เขตทั้งหมดอยู่ภายใต้การบริหารของพนมเปญ ส่วนเขตดังเกา, เมียนเจ็ย, ปอร์แซนเจ็ย, แซนซก และรุสเซ็ยแกวถือเป็นเขตนอกนคร

เขตการปกครองของพนมเปญ
รหัส ISO ชื่อ ภาษาเขมร เขต หมู่บ้าน ประชากร
1201 จ็อมการ์มน ឌចំការមន 5 40 70,772
1202 โฎนปึญ ឌដូនពេញ 11 134 155,069
1203 ปรัมปีร์เมียะเกอะรา ឌប្រាំពីរមករា 8 66 71,092
1204 ตวลกอร์ก (ตวล โกก) ឌទួលគោក 10 143 145,570
1205 ดังเกา ឌដង្កោ 12 81 159,772
1206 เมียนเจ็ย (มีชัย) ឌមានជ័យ 7 59 248,464
1207 รุสเซ็ยแกว ឌឫស្សីកែវ 7 30 274,861
1208 แซนซก (แสนสุข) ឌសែនសុខ 6 47 182,903
1209 ปอร์แซนเจ็ย (ปอร์แสนชัย) ឌពោធិ៍សែនជ័យ 7 75 226,971
1210 จโรย จองวา (จโรย จ่อง วา) ឌជ្រោយចង្វារ 5 22 159,233
1211 แปรก พโนว (แปรก พโนว) ឌព្រែកព្នៅ 5 59 188,190
1212 จบา ออมโปว (จบาอ๊อม โปว) ឌច្បារអំពៅ 8 49 164,379
1213 Boeng Keng Kang ឌបឹងកេងកង 7 55 66,658
1214 Kamboul ឌកំបូល 7 93 75,526

สถานที่สำคัญทางราชการ

[แก้]
พระบรมราชวัง
รัฐสภา
ศาลฎีกา

ประชากร

[แก้]
ประวัติจำนวนประชากร
ปีประชากร±% p.a.
1950334,000—    
1960398,000+1.77%
1970457,000+1.39%
1975370,000−4.14%
197832,000−55.78%
1980189,000+143.03%
1985351,000+13.18%
1990634,000+12.55%
1995925,000+7.85%
20001,284,000+6.78%
20051,677,000+5.49%
20102,101,725+4.62%
20192,129,371[3]+0.15%

ข้อมูลเมื่อ 2019 พนมเปญมีประชากร 2,129,371 คน โดยมีความหนาแน่นประชากรที่ 3,136 คนต่อตารางกิโลเมตรในพื้นที่นครที่มีขนาด 679 ตารางกิโลเมตร (262 ตารางไมล์)[3] อัตราการเติบโตอยู่ที่ 3.92% เขตนครมีประชากรเพิ่มขึ้น 4 เท่านับตั้งแต่ ค.ศ. 1979

การสำรวจโดยสถาบันสถิติแห่งชาติใน ค.ศ. 2017 เปิดเผยว่าประชากรในพนมเปญ 95.3% เป็นชาวเขมร, 4% เป็นชาวจาม และอื่น ๆ อีก 0.7% ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวจีน เวียดนาม และชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ ได้แก่ ชาวไทย, บูดง, มนง, กูย และ Chong[14]

ภาษาทางการคือภาษาเขมร ส่วนภาษาอื่นที่ใช้กันทั่วไปคือภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส

ศาสนา

[แก้]

ศาสนาในพนมเปญ (สำมะโน 2019)[15]

  พุทธ (97.8%)
  วิญญาณนิยมและศาสนาอื่น ๆ (0.1%)

ศาสนาประจำชาติคือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ประชากรในพนมเปญมากกว่า 97.8% นับถือศาสนาพุทธ ชาวจามนับถือศาสนาอิสลามมาหลายร้อยปี ส่วนศาสนาคริสต์มีผู้นับถือจำนวนน้อย

เศรษฐกิจ

[แก้]
ศูนย์การค้าซอร์ยา

พนมเปญเป็นแหล่งเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดของกัมพูชา มีอัตราการเติบโตมากขึ้นในแต่ละปี เป็นศูนย์รวมของโรงแรม ภัตตาคาร บาร์ และสิ่งก่อสร้างมากมาย

การเติบโตทางเศรษฐกิจ เริ่มตั้งแต่ทศวรรษที่ 1990 ได้มีการเปิดศูนย์การค้าแบบตะวันตกชื่อว่า ศูนย์การค้าโสรยา และ ศูนย์การค้าสุวรรณา รวมทั้งกิจการภัตตาคารและแฟรนไชส์ตะวันตกอื่น ๆ ได้แก่

ตึกที่สูงที่สุดในพนมเปญ คือ ตึกวัฒนะ (Vattanac Capital Phnom Penh)[19] สูง 200 เมตร (656 ฟุต) สร้างถึงยอดเมื่อ พฤษภาคม ค.ศ. 2012 สามารถมองเห็นตัวเมืองได้ทั่ว

การศึกษา

[แก้]
มหาวิทยาลัยภูมินทร์พนมเปญ

หนังสือพิมพ์

[แก้]
ภาพถ่ายทางอากาศของกรุงพนมเปญ
อาคารสภารัฐมนตรี

รายวัน

[แก้]

เขมร

[แก้]

อังกฤษ

[แก้]

จีน

[แก้]
  • 《柬華日報》(Jianhua Daily)
  • 《星洲日報》(Sinchew Daily)
  • 《華商日報》(Huashang Daily)
  • 《新柬埔寨》(นิวแคมโบเดีย)

นิตรสาร

[แก้]

กีฬา

[แก้]

สนามกีฬาที่สำคัญในพนมเปญ ได้แก่ สนามกีฬาโอลิมปิกพนมเปญ จุคนได้ 50,000 คน อย่างไรก็ตาม สนามนี้ไม่เคยถูกใช้ในกีฬาโอลิมปิกเลย สนามนี้สร้างขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1964 เป็นสนามเหย้าของฟุตบอลทีมชาติกัมพูชา

การคมนาคม

[แก้]

การเดินทางในพนมเปญใช้รถตุ๊กตุ๊กและรถจักรยานยนต์ เมื่อ 9 สิงหาคม ค.ศ. 2007 เริ่มมี บริษัท มายลิง โอเพ่นทัวร์ (Mai Linh Open Tou) จากเวียดนามมาบริการแท๊กซี่มิเตอร์หลังคาสีเขียว จะคิดค่าบริการเริ่มต้นที่ 1.50 ดอลลาร์ [20]

ท่าอากาศยานนานาชาติพนมเปญ

ท่าอากาศยานนานาชาติพนมเปญ เป็นท่าอากาศยานที่ใหญ่ที่สุดในกัมพูชา ห่างจากตัวเมืองพนมเปญ 7 กิโลเมตร (4.3 ไมล์)

ทางหลวงแผ่นดิน

[แก้]
ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข ยาว เริ่มต้น สิ้นสุด
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 10001 167.10 km 103.83 mi พนมเปญ ชายแดนเวียดนาม
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 10002 120.60 km 74.94 mi พนมเปญ ชายแดนเวียดนาม
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 10003 202.00 km 125.52 mi พนมเปญ วีล รินห์
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 10004 226.00 km 140.43 mi พนมเปญ เมืองพระสีหนุ
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 5 10005 407.45 km 253.18 mi พนมเปญ ชายแดนไทย
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 6 10006 416.00 km 258.49 mi พนมเปญ จังหวัดบันทายมีชัย
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 7 10007 509.17 km 316.38 mi พนมเปญ ชายแดนลาว

เมืองพี่น้อง

[แก้]

พนมเปญมีเมืองพี่น้องดังต่อไปนี้:

อ้างอิง

[แก้]
  1. Bennett Murray (14 February 2015). "Ancient kiln site poised to 'disappear forever'". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-30. สืบค้นเมื่อ 14 March 2021.
  2. Soth, Koemseoun (January 31, 2019). "Government establishes new districts, town for better management". The Phnom Penh Post. สืบค้นเมื่อ 9 July 2019. Two new districts, Boeung Keng Kang and Kamboul, have been added to Phnom Penh, the sub-decree states.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 "General Population Census of the Kingdom of Cambodia 2019 – Final Results" (PDF). National Institute of Statistics. Ministry of Planning. 26 January 2021. สืบค้นเมื่อ 26 January 2021.
  4. "Sub-national HDI – Area Database – Global Data Lab". hdi.globaldatalab.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 23 January 2023.
  5. 5.0 5.1 "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.
  6. Solution, Biz. "Facts". Phnom Penh Capital Hall (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  7. "Phnom Penh's fast-fading architectural treasures". www.bbc.com (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
  8. Solution, Biz. "History". Phnom Penh Capital Hall (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  9. Sopheak wordpress
  10. "GNS: Country Files". Earth-info.nga.mil. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 12, 2005. สืบค้นเมื่อ June 27, 2010.
  11. "Klimatafel von Phnom Penh / Kambodscha" (PDF). Baseline climate means (1961–1990) from stations all over the world (ภาษาเยอรมัน). Deutscher Wetterdienst. สืบค้นเมื่อ January 23, 2016.
  12. Cappelen, John; Jensen, Jens. "Cambodia – Phnom Penh" (PDF). Climate Data for Selected Stations (1931–1960) (ภาษาเดนมาร์ก). Danish Meteorological Institute. p. 44. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ April 27, 2013. สืบค้นเมื่อ March 9, 2013.
  13. "Cambodia Gazetteer Database Online". Cambodia NCDD Databases. National Committee for Sub-National Democratic Development (NCDD). 2019. สืบค้นเมื่อ January 5, 2020.
  14. "Cambodia Socio-Economic Survey 2017" (PDF). Ministry of Planning. National Institute of Statistics. November 2018. สืบค้นเมื่อ June 29, 2020.
  15. "Final General Population Census 2019-English.pdf" (PDF). National Institute of Statistics Ministry of planning. October 2020.
  16. "Qsr Brands On Kfc Expansion Plans In Cambodia". My Sinchew. สืบค้นเมื่อ June 27, 2010.
  17. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-29. สืบค้นเมื่อ 2013-03-20.
  18. [1]
  19. "Vattanac Capital". Riverpalace.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-15. สืบค้นเมื่อ June 27, 2010.
  20. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-03. สืบค้นเมื่อ 2007-08-18.
  21. "Relationship with Sister Cities". Bangkok Metropolitan Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-11. สืบค้นเมื่อ January 8, 2021.
  22. "Sister Cities". beijing.gov.cn. Beijing. สืบค้นเมื่อ January 8, 2021.
  23. "List of Sister Cities". english.busan.go.kr. Busan Metropolitan City. สืบค้นเมื่อ January 8, 2021.
  24. "34年来重庆的朋友圈里有37个友好城市". cq.sina.cn (ภาษาจีน). Sina. November 11, 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-11. สืบค้นเมื่อ January 8, 2021.
  25. "Khánh thành Đại lộ mang tên hai thủ đô kết nghĩa Phnom Penh-Hà Nội". baodongnai.com.vn (ภาษาเวียดนาม). Đồng Nai. March 6, 2017. สืบค้นเมื่อ January 8, 2021.
  26. "A List of Sister Cities of Anhui". ah.gov.cn. Anhui Province. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 2, 2022. สืบค้นเมื่อ January 8, 2021.
  27. "Danh sách địa phương nước ngoài kết nghĩa với TpHCM". mofahcm.gov.vn (ภาษาเวียดนาม). Ho Chi Minh City. สืบค้นเมื่อ January 8, 2021.
  28. "Sister Cities & Affiliated Cities". incheon.go.kr. Incheon Metropolitan City. สืบค้นเมื่อ January 8, 2021.
  29. "姉妹・友好都市の紹介". city.kitakyushu.lg.jp (ภาษาญี่ปุ่น). Kitakyushu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-26. สืบค้นเมื่อ January 8, 2021.
  30. "Sister Cities". kunming.cn. Kunming. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-28. สืบค้นเมื่อ January 8, 2021.
  31. "Home". sistercitiesoflongbeach.org. Sister Cities of Long Beach, California. สืบค้นเมื่อ January 8, 2021.
  32. "Phnom Penh, Lowell Enter 'Sister City' Relationship". cambodiadaily.com. The Cambodia Daily. January 15, 2015. สืบค้นเมื่อ January 8, 2021.
  33. "市级友好城市". sh.gov.cn (ภาษาจีน). Shanghai. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 19, 2020. สืบค้นเมื่อ January 8, 2021.
  34. "Sister Cities". sz.gov.cn. Shenzhen. สืบค้นเมื่อ January 8, 2021.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]