ข้ามไปเนื้อหา

ซีเกมส์ 2009

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 25
เมืองเจ้าภาพเวียงจันทน์
ประเทศธงของประเทศลาว ลาว
คำขวัญGenerosity, Amity and Healthy Lifestyle
(ความมีน้ำใจ ไมตรีจิต ชีวิตสดชื่น)
ประเทศเข้าร่วม11 ประเทศ
นักกีฬาเข้าร่วม3,100 คน
กีฬา25 ชนิดกีฬา
ชนิด372 ประเภท
พิธีเปิด9 ธันวาคม 2552 (2552-12-09)
พิธีปิด18 ธันวาคม 2552 (2552-12-18)
ประธานพิธีเปิดจูมมะลี ไซยะสอน
ประธานประเทศลาว
นักกีฬาปฏิญาณมะยุลี พานุวง
ผู้ตัดสินปฏิญาณสมพอน มะนีคำ
ผู้จุดคบเพลิงพุดลำไพ เทียมพะสอน
สนามกีฬาหลักสนามกีฬาแห่งชาติลาว หลัก 16
เว็บไซต์ทางการlaoseagames2009.com
จำปา จำปีเป็นช้างเผือกสองตัวถือคบเพลิงอันหนึ่ง

กีฬาซีเกมส์ 2009 เป็นการแข่งขันซีเกมส์ ครั้งที่ 25 หรือ เวียงจันทน์ 2009 จัดขึ้นที่เวียงจันทน์ ประเทศลาว ระหว่างวันที่ 9 - 18 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ตัวนำโชคเป็นช้างเผือกงานิล 2 เชือก ตัวผู้ ชื่อ "จำปา" และ ตัวเมีย ชื่อ "จำปี" สัญลักษณ์การแข่งขันเป็นรูปพระธาตุหลวง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สำคัญของชาติและแม่น้ำโขง ซึ่งสะท้อนถึงวิถีชีวิตของชาวลาว ส่วนสัญลักษณ์นำเอาอักษรลาวโบราณมาจัดทำ และการจัดการแข่งขันในครั้งนี้ยังนับเป็นการเฉลิมฉลองในโอกาสที่กีฬาซีเกมส์จัดการแข่งขันครบรอบ 50 ปีอีกด้วย

การดำเนินการ

[แก้]

การแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้งนี้ลาวได้รับความช่วยเหลือจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ประเทศจีนให้เงินสนับสนุนถึง 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 3,600 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างสนามกีฬาแห่งชาติแห่งใหม่บนเนื้อที่กว่า 300 ไร่บนป่าเสื่อมโทรมในกรุงเวียงจันทน์[1] และประเทศลาวได้แสดงความจำนงขอความช่วยเหลือจากประเทศไทย 3 ประเด็น คือ จัดส่งผู้ฝึกสอนช่วยฝึกซ้อมนักกีฬาลาว รับการสนับสนุนอุปกรณ์กีฬาภายหลังจากที่ไทยใช้จัดการแข่งขันซีเกมส์ 2007 และต้องการให้ไทยช่วยเหลือปรับปรุงซ่อมแซมสนามแข่งขันบางสนาม ทั้งนี้เนื่องจากไทยมีประสบการณ์จัดซีเกมส์มาหลายครั้ง และต้องการสานสัมพันธ์ไทย-ลาวให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น[2]

สนามแข่งขัน

[แก้]
จังหวัด สนามแข่งขัน กีฬาที่แข่ง
เวียงจันทน์ ศูนย์กีฬาแห่งใหม่
สนามกีฬาแห่งชาติลาว หลัก 16 พิธีเปิดและพิธีปิด, กรีฑา, ฟุตบอล
สระว่ายน้ำ กระโดดน้ำ, ว่ายน้ำ, โปโลน้ำ
สนามยิงธนู ยิงธนู
ยิมเนเซียม 1 แบดมินตัน
สนามวอลเลย์บอลชายหาด วอลเลย์บอล (ชายหาด)
ยิมเนเซียม 2 วอลเลย์บอล (ในร่ม)
สนามยิงปืน ยิงปืน
สนามเทนนิส เทนนิส
มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว (ดงโดก)
สนามกีฬามหาวิทยาลัย ฟุตบอล (หญิง)
โอลิมเปีย ยิมเนเซียม มวยสากล
หอประชุม เทเบิลเทนนิส
บูยอง ยิมเนเซียม เทควันโด, มวยปล้ำ
สนามเปตอง เปตอง
ศูนย์นิทรรศการและการประชุมระหว่างประเทศแห่งชาติลาว
ฮอลล์ 1 เซปักตะกร้อ
ฮอลล์ 2 วูซู
ฮอลล์ 3 ปันจักสีลัต
ศูนย์กีฬาบึงคะนอง
ลาว-ไทย ยิมเนเซียม มวยไทย
ยิมเนเซียม 1 เตะลูกขนไก่
สถานที่อื่น ๆ
โรงแรมดอนจันพาเลซ บิลเลียดและสนุกเกอร์
สนามกีฬาเจ้าอนุวงศ์ ฟุตบอล (ชายและหญิง)
เจ้าอนุวงศ์ ยิมเนเซียม ยูโด, คาราเต้
สนามกอล์ฟซีเกมส์ กอล์ฟ
โรงเรียนพอนสะหวัน ยกน้ำหนัก

การแข่งขัน

[แก้]

ประเทศที่เข้าร่วม

[แก้]

ประเทศที่เข้าร่วมกีฬาซีเกมส์ 2009 มีทั้งหมด 11 ประเทศ ซึ่งเป็นชาติสมาชิกของสหพันธ์กีฬาซีเกมส์

ชนิดกีฬา

[แก้]
หมายเหตุ
  1. 1.0 1.1 กีฬาที่ไม่มีการจัดในรอบที่ผ่านมา และนำกลับมาแข่งขันโดยประเทศเจ้าภาพ
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 กีฬาที่ไม่ได้จัดการแข่งขันในกีฬาโอลิมปิก

ปฏิทินการแข่งขัน

[แก้]
OC พิธีเปิด การแข่งขันรอบทั่วไป 1 เหรียญทอง CC พิธีปิด
ธันวาคม 2
พ.
3
พฤ.
4
ศ.
5
ส.
6
อา.
7
จ.
8
อ.
9
พ.
10
พฤ.
11
ศ.
12
ส.
13
อา.
14
จ.
15
อ.
16
พ.
17
พฤ.
18
ศ.
จำนวน
เหรียญ
ทอง
พิธีการ
กีฬาทางน้ำ - กระโดดน้ำ 1 2 2 2 2 8
กีฬาทางน้ำ - ว่ายน้ำ 1 7 6 7 6 6 32
กีฬาทางน้ำ - โปโลน้ำ 1 1 1
ยิงธนู 1 4 4 8
กรีฑา 1 10 9 6 9 11 45
แบดมินตัน 1 2 5 7
บิลเลียด และสนุกเกอร์ 1 1 2 2 1 1 2 10
มวยสากล 1 5 10 15
จักรยาน - ถนน1 2 2 4
จักรยาน - ภูเขา1 2 2 4
ดำน้ำฟินสวิมมิ่ง 2 5 6 5 16
ฟุตบอล 1 1 1 2
กอล์ฟ 4 4
ยูโด 1 4 7 7 18
คาราเต้ 4 7 6 17
มวยลาว (มวยไทย)2 6 7 13
ปันจักสีลัต 2 2 1 14 17
เปตอง2 2 2 3 2 2 11
เซปักตะกร้อ 2 2 2 2 8
ยิงปืน1 6 6 4 4 4 4 2 2 2 34
เตะลูกขนไก่ 3 2 3 2 7
เทเบิลเทนนิส1 2 1 2 2 7
เทควันโด 1 5 6 6 4 21
เทนนิส1 2 3 2 7
วอลเลย์บอล (ชายหาด)1 2 2
วอลเลย์บอล (ในร่ม)1 1 1 2
ยกน้ำหนัก1 3 3 3 4 13
มวยปล้ำ1 7 4 7 17
วูซู 4 2 4 11 21
จำนวนเหรียญทอง 1 7 31 35 34 39 41 47 48 81 8 372
ธันวาคม 2
พ.
3
พฤ.
4
ศ.
5
ส.
6
อา.
7
จ.
8
อ.
9
พ.
10
พฤ.
11
ศ.
12
ส.
13
อา.
14
จ.
15
อ.
16
พ.
17
พฤ.
18
ศ.
จำนวน
เหรียญ
ทอง
หมายเหตุ
1 - กีฬาที่มีการแข่งขันในโอลิมปิก
2 - กีฬาที่แข่งขันเฉพาะในซีเกมส์
3 - กีฬาที่ถูกบรรจุให้มีการแข่งขันเป็นครั้งแรก


สรุปเหรียญการแข่งขัน

[แก้]

  *  เจ้าภาพ ( ลาว)

ลำดับที่ประเทศทองเงินทองแดงรวม
1 ไทย (THA)868397266
2 เวียดนาม (VIE)837557215
3 อินโดนีเซีย (INA)435374170
4 มาเลเซีย (MAS)404059139
5 ฟิลิปปินส์ (PHI)383551124
6 สิงคโปร์ (SIN)33303598
7 ลาว (LAO)*332552110
8 พม่า (MYA)12223771
9 กัมพูชา (CAM)3102740
10 บรูไน (BRU)11810
11 ติมอร์-เลสเต (TLS)0033
รวม (11 ประเทศ)3723745001246
แหล่งที่มา: [3][4]

เหตุการณ์สำคัญ

[แก้]
  • เป็นการจัดกีฬาในระดับนานาชาติครั้งแรกของลาว
  • ทีมชาติไทยที่ก่อนหน้านี้เคยได้เหรียญทองฟุตบอลมาตลอด 8 สมัยติดต่อกัน ตกรอบแรกด้วยการแพ้นัดสุดท้ายในรอบแรกให้กับ ทีมชาติมาเลเซีย 2-1 ประตู ซึ่งนับเป็นการตกรอบแรกเป็นครั้งแรกของทีมฟุตบอลทีมชาติไทยในรอบ 36 ปี และมาเลเซียได้ตำแหน่งชนะเลิศในครั้งนี้
  • จักรกฤษณ์ พณิชย์ผาติกรรม นักยิงปืนทีมชาติไทยถูกส่งตัวกลับประเทศทั้งที่การแข่งขันยังไม่จบ เนื่องจากขัดแย้งอย่างรุนแรงกับทางสมาคมยิงปืนแห่งประเทศไทยและผู้จัดการ
  • สำหรับทีมชาติไทยในครั้งนี้ได้รับการวิจารณ์อย่างกว้างขวางว่า หลายชนิดกีฬาไม่ประสบความสำเร็จตามที่ได้ตั้งเป้า และประเทศที่เป็นคู่แข่งของไทย อย่าง เวียดนาม ก็ได้มีการพัฒนาขึ้นมาอย่างมีประสิทธิภาพ จนสามารถทำอันดับเหรียญทองไล่ตามมาติด ๆ[5][6]
  • สำหรับประเทศลาวได้พัฒนาการกีฬาขึ้นมามากเช่นเดียวกันกับเวียดนาม เห็นได้จากการแข่งขันต่าง ๆ เช่น เซปักตะกร้อลาวที่สามารถชนะมาเลเซียได้ หรือการแข่งขันว่ายน้ำ เป็นต้น ดังนั้น การแข่งขันซีเกมส์ครั้งนี้ จึงเป็นการแข่งขันซีเกมส์ที่ลาวคว้าเหรียญทองมากที่สุดตั้งแต่การแข่งขันกีฬาซีเกมส์เป็นต้นมา

อ้างอิง

[แก้]
  1. มติชนรายวัน, ก้าวสำคัญของ"ลาว" ใน"เวียงจันทร์เกมส์"[ลิงก์เสีย], 16 ก.พ. 2550, หน้า 23
  2. มติชนรายวัน, ลาวขอไทย 3 เรื่อง ช่วยจัดซีเกมส์ ’25"[ลิงก์เสีย], 21 มี.ค. 2550, หน้า 23
  3. Results & Medal Tally. 2009 Southeast Asian Games. Retrieved on 20 December 2009.
  4. "OCA". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 เมษายน 2016. สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2016.
  5. "กีฬาไทยถอยหลังลงคลอง หรือเวียดนามเขาก้าวกระโดด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-12-19. สืบค้นเมื่อ 2009-12-18.
  6. "เสธ.หนั่นฮึ่มตัดงบสมาคมกีฬาผลงานแย่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-12-21. สืบค้นเมื่อ 2009-12-18.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า
นครราชสีมา 2007
ซีเกมส์
ซีเกมส์ ครั้งที่ 25 (2009)
ถัดไป
จาการ์ตา–ปาเล็มบัง 2011