พ.ศ. 2522
หน้าตา
(เปลี่ยนทางจาก ค.ศ. 1979)
ศตวรรษ: | |
---|---|
ปี: |
ปฏิทินสุริยคติไทย | 2522 |
ปฏิทินกริกอเรียน | 1979 MCMLXXIX |
Ab urbe condita | 2732 |
ปฏิทินอาร์มีเนีย | 1428 ԹՎ ՌՆԻԸ |
ปฏิทินอัสซีเรีย | 6729 |
ปฏิทินบาไฮ | 135–136 |
ปฏิทินเบงกอล | 1386 |
ปฏิทินเบอร์เบอร์ | 2929 |
ปีในรัชกาลอังกฤษ | 27 Eliz. 2 – 28 Eliz. 2 |
พุทธศักราช | 2523 |
ปฏิทินพม่า | 1341 |
ปฏิทินไบแซนไทน์ | 7487–7488 |
ปฏิทินจีน | 戊午年 (มะเมียธาตุดิน) 4675 หรือ 4615 — ถึง — 己未年 (มะแมธาตุดิน) 4676 หรือ 4616 |
ปฏิทินคอปติก | 1695–1696 |
ปฏิทินดิสคอร์เดีย | 3145 |
ปฏิทินเอธิโอเปีย | 1971–1972 |
ปฏิทินฮีบรู | 5739–5740 |
ปฏิทินฮินดู | |
- วิกรมสมวัต | 2035–2036 |
- ศกสมวัต | 1901–1902 |
- กลียุค | 5080–5081 |
ปฏิทินโฮโลซีน | 11979 |
ปฏิทินอิกโบ | 979–980 |
ปฏิทินอิหร่าน | 1357–1358 |
ปฏิทินอิสลาม | 1399–1400 |
ปฏิทินญี่ปุ่น | ศักราชโชวะ 54 (昭和54年) |
ปฏิทินจูเช | 68 |
ปฏิทินจูเลียน | กริกอเรียนลบ 13 วัน |
ปฏิทินเกาหลี | 4312 |
ปฏิทินหมินกั๋ว | ROC 68 民國68年 |
เวลายูนิกซ์ | 283996800–315532799 |
พุทธศักราช 2522 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1979 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน
- ปีมะแม เอกศก จุลศักราช 1341 (วันที่ 16 เมษายน เป็นวันเถลิงศก)
ผู้นำประเทศไทย
[แก้]- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 – 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559)
- นายกรัฐมนตรี: พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 – 3 มีนาคม พ.ศ. 2523)
เหตุการณ์
[แก้]- 8 มกราคม - วันก่อตั้งพรรคปฏิวัติประชาชนกัมพูชา ซึ่งต่อมากลายเป็นพรรครัฐบาลพรรคเดียวตลอดสมัยสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา
- 7 กุมภาพันธ์ – ดาวพลูโตเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าดาวเนปจูนเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ค้นพบ
- 11 กุมภาพันธ์ – อยาตุลเลาะห์ รูฮัลลาห์ โคไมนี ครองอำนาจในอิหร่าน และดำรงตำแหน่งผู้นำสูงสุดของสาธารณรัฐอิสลาม
- 17 กุมภาพันธ์ – จีนส่งทหารราว 120,000 นาย ข้ามพรมแดนสู่ตอนเหนือของเวียดนาม เป็นจุดเริ่มต้นของสงครามจีน-เวียดนาม
- 18 กุมภาพันธ์ - มีหิมะตกในทะเลทรายซาฮาราเป็นเวลานาน 30 นาที
- 9 มีนาคม - วันก่อตั้ง พรรคประชากรไทย โดยมี สมัคร สุนทรเวช เป็นผู้ก่อตั้งพรรคและเป็นหัวหน้าพรรคคนแรก
- 14 มีนาคม - ครบรอบ 100 ปี ชาตกาลของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
- 28 มีนาคม – ความล้มเหลวของระบบทำความเย็นในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์บนอุบัติเหตุนิวเคลียร์เกาะทรีไมล์ ใกล้กับเมืองแฮร์ริสเบิร์ก รัฐเพนซิลเวเนีย นำไปสู่การรั่วไหลของสารกัมมันตรังสี
- 1 เมษายน – อิหร่านประกาศตนเป็นสาธารณรัฐอิสลาม เทวาธิปไตยที่มีอยาตุลเลาะห์ รูฮัลลาห์ โคไมนี เป็นผู้นำสูงสุด
- 7 เมษายน- วันก่อตั้งสหแนวร่วมปลดปล่อยแห่งอัสสัม
- 22 เมษายน - การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 ผลของการเลือกตั้ง ปรากฏว่า พรรคประชากรไทยที่เพิ่งมีการก่อตั้งขึ้นมา โดย นายสมัคร สุนทรเวช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และอดีตสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ประสบความสำเร็จเป็นอย่างยิ่งในการเลือกตั้งครั้งนี้ซึ่งถือเป็นครั้งแรกของพรรค โดยสามารถได้รับเลือกตั้งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ได้ถึง 29 ที่นั่ง จากทั้งหมด 32 ที่นั่ง โดยเหลือให้แก่ พันเอก ถนัด คอมันตร์จากพรรคประชาธิปัตย์, หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช และนายเกษม ศิริสัมพันธ์ จากพรรคกิจสังคม เพียง 3 ที่นั่งเท่านั้น ในขณะที่ภาพรวมทั้งประเทศ พรรคกิจสังคม ได้รับเลือกมาเป็นอันดับหนึ่ง คือ 88 ที่นั่ง ขณะที่ผู้สมัครอิสระที่ไม่สังกัดพรรคการเมืองใด ได้ทั้งสิ้น 63 ที่นั่ง จากเสียงทั้งหมดในสภาผู้แทนราษฎร 301 เสียง จึงไม่มีพรรคการเมืองใดได้เสียงเกินครึ่ง ทุกพรรคจึงมีมติสนับสนุนให้ พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อ ซึ่งต่อมาในวันที่ 12 พฤษภาคม ปีเดียวกัน ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้ พล.อ.เกรียงศักดิ์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งนับเป็นสมัยที่ 2
- 1 พฤษภาคม - วันก่อตั้งนิตยสาร หมอชาวบ้าน วางจำหน่ายเป็บฉบับปฐมฤกษ์ เพื่อการดูแลสุขภาพ และดูแลรักษาโรคภัย ไข้เจ็บ จำหน่าย และเป็นสมาชิก และสมาชิกอุปภัมถ์ ถึงปัจจุบัน
- 2 พฤษภาคม - วิกฤตการณ์ราชาเงินทุน : บริษัทราชาเงินทุนถูกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยระงับการซื้อขายเนื่องจากบริษัทถูกฟ้องล้มละลาย
- 4 พฤษภาคม – มาร์กาเร็ต แทตเชอร์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของสหราชอาณาจักร
- 2 มิถุนายน – สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 เสด็จเยี่ยมประเทศโปแลนด์ซึ่งเป็นบ้านเกิดของพระองค์ ทำให้พระองค์ทรงเป็นพระสันตะปาปาองค์แรกที่เสด็จเยือนประเทศที่เป็นคอมมิวนิสต์
- 27 มิถุนายน – มูฮัมเหม็ด อาลี ประกาศแขวนนวม
- 12 กรกฎาคม – หมู่เกาะกิลเบิร์ตได้รับเอกราช ต่อมาใช้ชื่อคิริบาตี
- 16 กรกฎาคม – ซัดดัม ฮุสเซน ก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอิรัก
- 21 สิงหาคม - เหตุการณ์รถไฟชนกันที่ตลิ่งชัน พ.ศ. 2522
- 7 กันยายน – อีเอสพีเอ็น (ESPN) เริ่มแพร่ภาพครั้งแรก
- 4 พฤศจิกายน – กลุ่มหัวรุนแรงชาวอิหร่านเข้ายึดสถานทูตสหรัฐ ในกรุงเตหะราน และจับนักการทูตและพลเมืองสหรัฐ เป็นตัวประกันนาน 444 วัน
- 12 พฤศจิกายน – วันสถาปนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ตำบลกำแพงแสน อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นวันที่ทำการเปิดการเรียนการสอนเป็นวันแรก ณ วิทยาเขตนี้
- 20 พฤศจิกายน - ผู้เดินทางไปแสวงบุญที่เมกกะจำนวน 200 คน ถูกจับเป็นตัวประกันในมัสยิด ทหารจากซาอุดิอาระเบียและฝรั่งเศสได้บุกเข้าชิงมัสยิดจนเกิดการสู้รบ มีผู้เสียชีวิต 250 คน
- 11 ธันวาคม - ทีมฟุตบอลทีมชาติปารากวัยชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติอเมริกาใต้ ครั้งที่ 31 ณ สนามกีฬาโคเซอามัลฟีตานี กรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา
- 12 ธันวาคม – ประเทศโรดีเชียเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศซิมบับเว
วันเกิด
[แก้]- ดูรายชื่อทั้งหมดได้ที่ บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2522
- 18 มกราคม –
- เจย์ โช นักแสดง/นักร้องชาวไต้หวัน
- ลีโอ วาราดกา นักการเมืองและแพทย์ชาวไอริช
- 22 มกราคม
- รังสรรค์ วิวัฒน์ชัยโชค นักฟุตบอลชาวไทย
- ชินอุจิ ไม นักร้องญี่ปุ่นสมาชิกวง โนกิซากะ46
- 8 กุมภาพันธ์ – นาวิน ต้าร์ นักร้อง และนักแสดงชาวไทย
- 9 กุมภาพันธ์ – จาง จื่ออี๋ นักแสดงชาวจีน
- 21 กุมภาพันธ์ – เจนนิเฟอร์ เลิฟ ฮิววิต นักแสดงชาวอเมริกัน
- 24 กุมภาพันธ์ – อัญชลี ปรางค์ชัยภูมิ นักออกแบบชาวไทย
- 26 กุมภาพันธ์ – กุลธิดา เย็นประเสริฐ นางงามชาวไทย
- 1 มีนาคม
- เฟอร์นันโด มอนเทียล แชมป์โลกมวยสากลชาวเม็กซิโก
- อลิชา หิรัญพฤกษ์ (แอน) นักแสดงหญิงลูกครึ่งไทย-อเมริกัน
- 4 มีนาคม - วีวาเชลาฟ มาลาเฟียฟ นักฟุตบอลชาวรัสเซีย
- 15 มีนาคม - สุดารัตน์ บุตรพรหม (ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน) นักแสดงตลกชาวไทย
- 16 มีนาคม - แกรี มังก์ นักฟุตบอลชาวอังกฤษ
- 18 มีนาคม - ณิชา ดารินทร์ นักร้องลูกทุ่งหญิงไทย
- 4 เมษายน - ฮีธ เลดเจอร์ นักแสดงชาวออสเตรเลีย
- 7 เมษายน - รสสุคนธ์ กองเกตุ นักแสดง และผู้ฝึกสอนการแสดงชาวไทย
- 15 เมษายน – ลุค อีแวนส์ นักแสดงและนักร้องชาวเวลส์
- 19 เมษายน – เคต ฮัดสัน นักแสดงชาวอเมริกัน
- 22 เมษายน – เกวลิน คอตแลนด์ นักแสดงหญิงชาวไทย
- 1 พฤษภาคม - อนุชิต สพันธุ์พงษ์ นักร้อง และนักแสดงชาวไทย
- 12 พฤษภาคม - ทากาชิ คนโด นักพากย์ชาวญี่ปุ่น
- 13 พฤษภาคม - เจ้าชายคาร์ล ฟิลิป ดยุกแห่งแวร์มลันด์ เจ้าชายแห่งสวีเดน พระราชโอรสพระองค์เดียวใน สมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 16 กุสตาฟแห่งสวีเดน กับ สมเด็จพระราชินีซิลเวียแห่งสวีเดน
- 16 พฤษภาคม – วรรณษา ทองวิเศษ นักแสดงหญิงชาวไทย
- 21 พฤษภาคม – กุสตาวู จาเนตี นายแบบชาวบราซิล
- 27 พฤษภาคม - ปนัดดา เรืองวุฒิ นักร้องชาวไทย
- 7 มิถุนายน
- กัญญา ไรวินท์ นักจัดรายการวิทยุชาวไทย
- เขมสรณ์ หนูขาว พิธีกรหญิงชาวไทย
- 14 มิถุนายน – ภราดร ศรีชาพันธุ์ นักเทนนิสชาวไทย
- 20 มิถุนายน – จั๊กกะบุ๋ม เชิญยิ้ม นักแสดงและนักแสดงตลกชาวไทย
- 21 มิถุนายน – คริส แพร็ตต์ นักแสดงชายชาวอเมริกัน
- 23 มิถุนายน – เป็กกี้ ศรีธัญญา นักร้อง, นักแสดงชาวไทย
- 4 กรกฎาคม - ธิติมา ประทุมทิพย์ นักร้องชาวไทย
- 5 กรกฎาคม
- ธีรพงษ์ ไดสตาร์ยิม แชมป์ IBF แพนแปซิฟิก
- โฮเซ่ อันโตนีโอ อคิวเร่ แชมป์โลกมวยสากลชาวเม็กซิโก
- 10 กรกฎาคม – กง ยู นักแสดงชาวเกาหลีใต้
- 24 กรกฎาคม – โรส เบิร์น นักแสดงหญิงชาวออสเตรเลีย
- 31 กรกฎาคม – การ์โลส มาร์เชนา
- 8 สิงหาคม - อะซึมิ คะวะชิมะ นางแบบ/นักแสดงชาวญี่ปุ่น
- 16 สิงหาคม - ขวัญชนก โรจนนินทร์ ผู้ประกาศข่าวชาวไทย
- 17 สิงหาคม - สุธิราช วงศ์เทวัญ นักร้อง/นักแสดงชาวไทย
- 18 สิงหาคม - อิทธิกร สาธุธรรม นักแสดงชาวไทย
- 20 สิงหาคม - กฤษณ์ ศรีภูมิเศรษฐ์ พิธีกร/นักแสดงชาวไทย
- 12 กันยายน - ปกรณ์ ลัม นักร้อง/นักแสดงชาวไทย
- 22 กันยายน
- อรุชา โตสวัสดิ์ นักแสดงชาวไทย
- น.สพ.ภัทรพล มณีอ่อน สัตวแพทย์สัตว์ป่าคนแรกของไทย
- 1 ตุลาคม - ชลัฏ ณ สงขลา นักแสดงชาวไทย
- 5 ตุลาคม - เกา หยวนหยวน นักร้อง/นักแสดงชาวจีน
- 6 ตุลาคม - รติพงษ์ ภู่มาลี นักแสดงชาวไทย
- 7 ตุลาคม - พิมพ์ ญาดา นักร้องลูกทุ่งหญิงชาวไทย
- 9 ตุลาคม - ลิม ชีบิน นักมวยไทย
- 19 ตุลาคม - พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช
- 24 ตุลาคม - เบน จิลลีส์ นักดนตรีชาวออสเตรเลีย
- 12 พฤศจิกายน - คลาวเดีย จักรพันธุ์ นักแสดงหญิงชาวไทย
- 28 พฤศจิกายน
- ภัทร จึงกานต์กุล ผู้ประกาศข่าวชาวไทย
- แชมมิลเลียนแนร์ แร๊ปเตอร์ชาวอเมริกัน
- แดเนียล เฮนนีย์ นักแสดงชาวเกาหลี-อเมริกัน
- 7 ธันวาคม - เกล็น โดเนียรี่ นักมวยสากลชาวฟินลิปปินส์
- 8 ธันวาคม - หลิน เฟิง นักร้อง/นักแสดงชาวฮ่องกง
- 10 ธันวาคม - กิตติ เชี่ยววงศ์กุล นักแสดงชาวไทย
- 14 ธันวาคม – ไมเคิล โอเวน นักฟุตบอลฟุตบอลทีมชาติอังกฤษ
- 19 ธันวาคม – บริบูรณ์ จันทร์เรือง นักแสดง/พิธีกรชาวไทย
- 28 ธันวาคม – ปานวาด เหมมณี (เป้ย) นักแสดงหญิงชาวไทย
วันถึงแก่กรรม
[แก้]- ดูรายชื่อทั้งหมดได้ที่ บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2522
- 3 มกราคม – คอนราด ฮิลตัน นักธุรกิจชาวอเมริกัน (เกิด 25 ธันวาคม พ.ศ. 2430)
- 9 กุมภาพันธ์ – เดนนิส กาบอร์ นักประดิษฐ์ (เกิด 5 มิถุนายน พ.ศ. 2443)
- 21 พฤษภาคม- วิโรจน์ กมลพันธ์ รัฐมนตรีชาวไทย (เกิด 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2441)
- 11 มิถุนายน – จอห์น เวย์น นักแสดงชาวอเมริกัน (เกิด 11 มิถุนายน พ.ศ. 2450)
- 9 กันยายน – พระครูประสาธน์ขันธคุณ (มุม อินทปญโญ) ภิกษุชาวไทย (เกิด 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2449)
- 22 ตุลาคม - โพล้ง เลี้ยงประเสริฐ นักมวยดังจากอุตรดิตถ์ (เกิด พ.ศ. 2444)
- 8 ธันวาคม - โกลดา เมอีร์ อดีตนายกรัฐมนตรีของอิสราเอล (เกิด 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2441)
- 30 ธันวาคม - หยุด แสงอุทัย ปรมาจารย์ทางสาขาวิชานิติศาสตร์ท่านหนึ่งของประเทศไทย (เกิด 8 เมษายน พ.ศ. 2451)
ไม่ทราบวันที่
[แก้]- พระมนูภาณวิมลศาสตร์ (ชม จามรมาน) อธิบดีผู้พิพากษา
บันเทิงคดีที่อ้างอิงถึงปีนี้
[แก้]ภาพยนตร์
[แก้]- เดอะ วอรริเออร์ส (เดนทมิฬนิรนาม) เข้าฉายในปีนี้
- ฟรายเดย์ เดอะ เธอร์ทีน (ศุกร์ 13 ฝันหวาน) เข้าฉายในปีพ.ศ. 2523
- เดอะ ก็อดฟาเธอร์ พาร์ท III เข้าฉายเมื่อปีพ.ศ. 2533
วิดีโอเกม
[แก้]รางวัล
[แก้]- สาขาเคมี – Herbert C. Brown, Georg Wittig
- สาขาวรรณกรรม – โอดีสเซอัส เอลีติส
- สาขาสันติภาพ – แม่ชีเทเรซา
- สาขาฟิสิกส์ – Sheldon Lee Glashow, Abdus Salam, Steven Weinberg
- สาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ – อัลแลน เอ็ม. คอร์แมค, กอดฟรีย์ เอ็น. เฮาวน์ฟิลด์
- สาขาเศรษฐศาสตร์ – Theodore W. Schultz, William Arthur Lewis