เกาะปึจ
เกาะปึจ កោះពេជ្រ | |
---|---|
ถนนสายหนึ่งในย่านเอลีเซบนเกาะปึจ | |
ประเทศ | กัมพูชา |
จังหวัด | พนมเปญ |
เขต | จ็อมการ์มน |
แขวง | โตนเลบาสัก |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 0.8 ha (2.0 เอเคอร์) |
เว็บไซต์ | www |
เกาะฮ์ปึจ หรือ เกาะเพชร (เขมร: កោះពេជ្) เป็นเกาะกลางแม่น้ำเกาะหนึ่งอยู่กลางสบน้ำสองสายคือแม่น้ำโขงกับแม่น้ำบาสัก ตั้งอยู่ในแขวงโตนเลบาสัก เขตจ็อมการ์มน กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา[1]
ในอดีตเกาะปึจมีบ้านเรือนตั้งอาศัยน้อยหลัง เพราะโดยมากเป็นพื้นที่สวน[2] เมื่อ พ.ศ. 2543 เกาะปึจยังมีสภาพเป็นที่ลุ่มหนองน้ำ[3] ต่อมามีการลงทุนจากประเทศจีนบนเกาะปึจ มีการขับไล่คนออกจากเกาะ แล้วแทนที่ด้วยโครงการก่อสร้างโรงเรียนนานาชาติ อาคารสำนักงาน อาคารชุด ห้องอยู่อาศัย ภัตตาคาร ที่ล้วนสร้างด้วยสถาปัตยกรรมแบบยุโรป รวมทั้งมีสื่งก่อสร้างคล้ายประตูชัย ของประเทศฝรั่งเศสด้วย มีย่านหนึ่งบนเกาะเรียกว่าเอลีเซ (Elysée) มีก่อสร้างที่ได้รับแรงบันดาลใจสถาปัตยกรรมในกรุงปารีส[4] และย่านอื่นของเกาะปึจก็มีการก่อสร้างตึกสูงใหม่ ๆ[5] ส่งผลให้ราคาอสังหาริมทรัพย์บนเกาะพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว[2] และประชากรบนเกาะส่วนใหญ่เป็นชาวจีน[6][7]
วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ตรงกับเทศกาลน้ำของกัมพูชา เกิดเหตุเหยียบกันตายบนสะพานข้ามเกาะปึจ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 347 ราย และบาดเจ็บมากกว่า 700 คน จากเหตุการณ์นี้ ฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชากล่าวว่า เป็นโศกนาฏกรรมที่เลวร้ายที่สุดหลังสิ้นสุดยุคเขมรแดง[8]
ระเบียงภาพ
[แก้]-
ศาลาว่าการเมืองเกาะปึจ
-
ป้ายภาษาเขมร อังกฤษ และจีน สามารถพบได้ทั่วไปบนเกาะ
-
ประติมากรรมบนเกาะปึจ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Property Tax Map". City of Phnom Penh. สืบค้นเมื่อ 2020-05-06. - Map of Chamkar Mon Section - Compare map to Google Maps view of Chamkar Mon District.
- ↑ 2.0 2.1 อุกฤษณ์ ปัทมานันท์ (7 กันยายน 2561). "ความเปลี่ยนแปลงในกัมพูชา หลังผ่านไป 5 ปี". มติชนสุดสัปดาห์. สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ http://philipperevelli.com/asie/diamond-island-future-ville-satellite-haut-de-gamme/
- ↑ http://www.phnompenhpost.com/business/little-paris-comes-koh-pich
- ↑ http://www.phnompenhpost.com/real-estate/more-twin-towers-grace-phnom-penh-skyline
- ↑ "กัมพูชาล็อกดาวน์ 'เกาะเพชร' สกัดโควิดระบาดรอบใหม่". เดลินิวส์. 22 กุมภาพันธ์ 2564. สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "โควิดระบาดในชุมชนชาวจีนในกัมพูชา". สำนักข่าวไทย. 20 กุมภาพันธ์ 2564. สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ย้อนเหตุสลด เปิดภาพข่าวเขมรเหยียบกันตายคืนลอยกระทงเฉียด 400 ศพ สยองไฟดูดซ้ำ". ข่าวสด. 6 พฤศจิกายน 2561. สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)