อบเชยจีน
หน้าตา
(เปลี่ยนทางจาก Cinnamomum aromaticum)
อบเชยจีน | |
---|---|
from Koehler's Medicinal-Plants (1887) | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Magnoliids |
อันดับ: | Laurales |
วงศ์: | Lauraceae |
สกุล: | Cinnamomum |
สปีชีส์: | C. cassia |
ชื่อทวินาม | |
Cinnamomum cassia (Nees & T.Nees) J.Presl | |
ชื่อพ้อง[1] | |
|
อบเชยจีน ชื่อวิทยาศาสตร์: Cinnamomum cassia เป็นไม้ไม่ผลัดใบพบทางตอนใต้ของจีน และกระจายพันธุ์ในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออก[2] เป็นพืชชนิดหนึ่งที่นำเปลือกไปทำเครื่องเทศที่เรียกอบเชย ตาอ่อนใช้เป็นเครื่องเทศได้เช่นกัน โดยพบในอินเดียและในจักรวรรดิโรมัน เปลือกไม้สีเทา ใบอ่อนเป็นสีแดง ในตำรายาจีน ก้านอ่อนใช้เป็นยาเรียกกุ้ยจือ (ภาษาจีนกลาง) หรือกุยกี (ภาษาจีนแต้จิ๋ว) ใช้ขับเหงื่อ แก้หวัด ใช้ทำยาขับเหงื่อ กระตุ้นการไหลเวียนเลือดและแก้ปวด[3] เปลือกเรียกโร่วกุ้ย (จีนกลาง)หรือเหน็กกุ่ย (จีนแต้จิ๋ว) ใช้เป็นยากระตุ้นกระเพาะอาหาร บำรุงไต[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "The Plant List". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-18. สืบค้นเมื่อ 2013-06-09.
- ↑ Xi-wen Li, Jie Li & Henk van der Werff. "Cinnamomum cassia". Flora of China. Missouri Botanical Garden, St. Louis, MO & Harvard University Herbaria, Cambridge, MA. สืบค้นเมื่อ 28 March 2013.
- ↑ ศุภนิมิต ทีฆชุณหเสถียร. ยาจีนปรับสมดุลเลือด. กทม. ซีเอ็ดยูเคชัน. 2554
- ↑ ภาสกิจ วัณณาวิบูล. รู้เลือกรู้ใช้ 100 ยาจีน. กทม. ทองเกษม. 2555
ดูเพิ่ม
[แก้]- Dalby, Andrew (1996). Siren Feasts: A History of Food and Gastronomy in Greece. London: Routledge.
- Faure, Paul (1987). Parfums et aromates de l'antiquité. Paris: Fayard.
- Paszthoty, Emmerich (1992). Salben, Schminken und Parfüme im Altertum. Mainz, Germany: Zabern.
- Paterson, Wilma (1990). A Fountain of Gardens: Plants and Herbs from the Bible. Edinburgh.