ข้ามไปเนื้อหา

โรงพยาบาลกระทุ่มแบน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงพยาบาลกระทุ่มแบน
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
แผนที่
ภูมิศาสตร์
ที่ตั้ง450/4 ถนนเทศบาล 4 ตำบลตลาดกระทุ่มแบน อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร 74110, ประเทศไทย
หน่วยงาน
ประเภทโรงพยาบาลรัฐ
สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
บริการสุขภาพ
แผนกฉุกเฉินมี
จำนวนเตียง250 เตียง แต่ให้บริการจริง 316 เตียง
ประวัติ
เปิดให้บริการ23 กรกฎาคม พ.ศ. 2522
ลิงก์
เว็บไซต์http://www.ktbhos.go.th/

โรงพยาบาลกระทุ่มแบน เป็นโรงพยาบาลทั่วไปขนาด 250 เตียง แต่ให้บริการจริง 316 เตียง[1] เป็นโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ตั้งอยู่บนเนื้อที่ทั้งหมด 26 ไร่ 1 งาน 98 ตารางวา ตั้งอยู่ในตำบลตลาดกระทุ่มแบน อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร

โรงพยาบาลกระทุ่มแบนถือเป็นหนึ่งในสิบของโรงพยาบาลในประเทศไทยที่ทำคลอดสูงสุด โดยทำคลอดเด็กทารกปีหนึ่งประมาณ 4,000-5,000 คน ทั้งที่ไม่ใช่โรงพยาบาลขนาดใหญ่[2]

ประวัติ

[แก้]

เมื่อ พ.ศ. 2520 ได้รับอนุมัติงบประมาณจากกระทรวงสาธารณสุขให้จัดสร้างโรงพยาบาลชุมชนขึ้นบนพื้นที่ 25 ไร่ บนที่ดินบริจาคของ นางสาวอุบล ทองสิมา เปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2522 เริ่มแรกมีขนาดเตียง 30 เตียง มีนายแพทย์ชูวิทย์ ลิขิตยิ่งวรา เป็นผู้อำนวยการคนแรก ต่อมารเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2525 เปิดตึกผู้ป่วยในขนาด 30 เตียงอีกหนึ่งหลัง ชื่ออาคารตึกประชารัฐ

พ.ศ. 2535 เปิดอาคารตระกูลระหงษ์-มีรักษา พ.ศ. 2542 เปิดอาคารผู้ป่วยใน 5 ชั้น ชื่อ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา โดยแบ่งเป็น หอผู้ป่วยหนัก แผนกส่งเสริมสุขภาพ หอผู้ป่วยอายุรกรรม หอผู้ป่วยพิเศษ และหน่วยบริการทั่วไป

23 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 เปิดอาคารเฉลิมพระเกียรติ 48 พรรษา สธ โดยแบ่งเป็น ห้องผ่าตัด ศูนย์ตรวจสุขภาพ หอผู้ป่วยศัลยกรรม หอผู้ป่วยพิเศษ ห้องสมุด ศูนย์พัฒนาคุณภาพ หน่วยงานเวชกรรมสังคม หอผู้ป่วยสูตินารีเวชกรรม และหอประชุมใหญ่ ต่อมา 14 มกราคม พ.ศ. 2549 เปิด อาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา และ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 48 พรรษา

เมื่อ 11 กันยายน พ.ศ. 2555 โรงพยาบาลกระทุ่มแบน ได้รับการยกฐานะเป็นโรงพยาบาลทั่วไปขนาดเล็ก (M1) ให้บริการ 250 เตียง

พ.ศ. 2559 กระทรวงสาธารณสุขได้จัดสรรงบประมาณจำนวน 299,688,000 บาท เพื่อก่อสร้างอาคารผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน 10 ชั้น เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ประกอบด้วย แผนกผู้ป่วยนอก แผนกการแพทย์แผนไทย กายภาพบำบัด หอผู้ป่วยสามัญ หอผู้ป่วยพิเศษ และหน่วยงานสนับสนุน[3]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ยกระดับ รพ.กระทุ่มแบน พัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน". สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).
  2. "รพ.กระทุ่มแบนรับผิด ปมสลับเด็ก "ไทย-เมียนมา"". ไทยพีบีเอส.
  3. ""โรงพยาบาลกระทุ่มแบน" ทำบุญครบรอบ 40 ปี". สำนักข่าวสาครออนไลน์.