หม่อมเหม็น
หม่อมเหม็น | |
---|---|
เกิด | 17 กันยายน พ.ศ. 2332 กรุงธนบุรี อาณาจักรธนบุรี สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสุพันธุวงศ์ |
เสียชีวิต | 13 กันยายน พ.ศ. 2352 (29 ปี) วัดปทุมคงคาราชวรวิหาร กรุงเทพพระมหานคร อาณาจักรรัตนโกสินทร์ |
บุตร | 15 คน |
ราชสกุล | อภัยกุล |
ราชวงศ์ | ธนบุรี (ประสูติ) จักรี (สถาปนา) |
บิดา | สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี |
มารดา | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฉิมใหญ่ |
ศาสนา | เถรวาท |
ถูกกล่าวหา | กบฏ |
รับโทษ | สำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ |
หม่อมเหม็น พระนามเดิม สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ กรมขุนกษัตรานุชิต หรือ เจ้าฟ้าเหม็น (17 กันยายน พ.ศ. 2322 — 13 กันยายน พ.ศ. 2352) เป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ประสูติแต่เจ้าครอกฉิมใหญ่ (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฉิมใหญ่) พระราชธิดาพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระนามเดิมว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสุพันธุวงศ์ แต่หลังการปราบดาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระองค์ได้รับการละเว้นจากการประหาร ก่อนได้รับการเฉลิมพระนามใหม่เป็น เจ้าฟ้าอภัยธิเบศ และเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ ก่อนทรงกรมเป็น กรมขุนกษัตรานุชิต
ครั้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงถูกฟ้องร้องว่าคิดวางแผนก่อการกบฏ จึงถูกถอดยศเป็น "หม่อมเหม็น" และถูกสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ที่วัดปทุมคงคา พร้อมทั้งประหารพระโอรสทั้งหกพระองค์ด้วยการไปล่มน้ำที่ปากอ่าว
พระประวัติ
[แก้]หม่อมเหม็น ประสูติเมื่อวันศุกร์ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 10 ปีกุน จ.ศ. 1141 หรือวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2322 ได้รับพระนามเมื่อประสูติว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสุพันธุวงศ์ แต่คนทั่วไปเรียกว่า เจ้าฟ้าเหม็น เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี กับเจ้าครอกฉิมใหญ่ (ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฉิมใหญ่) พระราชธิดาพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช[1] ดังปรากฏใน จดหมายเหตุความทรงจำกรมหลวงนรินทรเทวี ซึ่งได้บันทึกเรื่องราวดังกล่าวไว้ ความว่า[2]
"เจ้าฟ้ากษัตริย์ศึกเข้าเมืองได้ ณ วันจันทร์ ขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๑๐ เจ้าเมืองหนี ได้พระแก้วพระบาง พระไอยกาเข้าเมืองได้ ๓ วัน เจ้าลูกทรงครรภ์ประสูตร์เจ้า ณ วันศุกร์ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๑๐ ประสูตร์เปนพระราชกุมาร ประโคมแตรสังข์ลั่นฆ้องไชย แมงมุมทั้งไข่จิ้งจกตกพร้อมกัน แมงมุมอนิจกรรม จิ้งจกไปได้ ๑๒ วัน เจ้าแม่สิ้นพระชนม์ ส่วนเจ้าลูกให้พระพี่นางเธอเอาไปเลี้ยง ให้นามเจ้าสุพันทวงษ์"
ซึ่งนิมิตดีคือพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทำศึกตีเวียงจันทน์แตกได้พระแก้วมรกตและพระบางมาสู่พระนคร ส่วนลางร้ายคือแมงมุมและจิ้งจกตกลงมาพร้อมกัน หลังจากนั้นสิบสองวันเจ้าจอมมารดาฉิมใหญ่ก็สิ้นพระชนม์ แต่ขณะเดียวกันการ "ประโคมแตรสังข์ลั่นฆ้องไชย" เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าพระราชโอรสที่ประสูติเป็นเจ้าฟ้าทั้ง ๆ ที่ผู้ให้กำเนิดเป็นเพียงเจ้าจอมมารดาเท่านั้น[2] ซึ่งในกรณีดังกล่าวจัดว่าเป็นเจ้าฟ้าตั้ง[3]
หลังการสิ้นชีพของมารดาเจ้าฟ้าเหม็นก็ตกอยู่ภายใต้การดูแลของยายสา (ภายหลังได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระเทพสุดาวดี)[4] และมีพระพี่เลี้ยงชื่อหม่อมบุญศรี (เชื้อพระวงศ์กรุงศรีอยุธยาเก่า)[5]
ต่อมาอีก 3 ปีก็กำพร้าบิดาเมื่อพระราชบิดาคือสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงถูก "เจ้าคุณตา" สำเร็จโทษ แต่ด้วยทรงอาลัยในเจ้าฟ้าเหม็นจึงทรงรอดพ้นจากการประหาร ดังปรากฏพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา ความว่า[6]
"สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกรมพระราชวังฯ เสด็จลงมาเฝ้า กราบทูลว่าบรรดาบุตรชายน้อย ๆ ของเจ้าตากสิน จะขอรับพระราชทานเอาใส่เรือไปล่มน้ำเสียให้สิ้น คำบุราณกล่าวไว้ ตัดหวายอย่าไว้หนามหน่อ ฆ่าพ่ออย่าไว้ลูก ซึ่งจะเลี้ยงไว้นั้นหาประโยชน์ไม่ จะเป็นเสี้ยนหนามต่อไปภายหน้า สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงพระอาลัยอยู่ในเจ้าฟ้าสุพันธุวงศ์ พระราชนัดดา จึงดำรัสแก่สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้า ขอชีวิตไว้ทั้งสิ้น"
ที่ทรงเป็นหลานคนโตของเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) พระราชทานนามใหม่เป็น เจ้าฟ้าอภัยธิเบศร์ คนทั่วไปเรียกว่าเจ้าฟ้าอภัยทศ แต่เนื่องจากพระนามพ้องกับเจ้าฟ้าอภัยทศ แผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ พ้องกับเจ้าฟ้าอภัย ในแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ ซึ่งได้รับพระราชอาญาสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ ในช่วงผลัดแผ่นดิน ทรงสดับรับสั่งว่า ไม่เป็นมงคล โปรดให้เปลี่ยนเป็นเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ ต่อมาปี พ.ศ. 2349 เป็นกรมขุนกษัตรานุชิต ครั้งทรงเจริญพระชันษา จึงโปรดเกล้าพระราชทานวังถนนหน้าพระลาน ด้านตะวันตก ซึ่งเรียกว่า "วังท่าพระ"
ข้อหากบฏ
[แก้]ในปี พ.ศ. 2352 หลังพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จสวรรคตได้เพียง 3 วัน เกิดการกล่าวโทษว่าพระองค์คบคิดกับขุนนางจำนวนหนึ่งว่าคิดแย่งชิงราชสมบัติ จนเกิดคดีเป็นกบฏ หลังจากไต่สวนได้ความเป็นจริง พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงโปรดให้ชำระโทษถอดพระยศ ลงพระราชอาญา ให้สำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ที่วัดปทุมคงคาราชวรวิหาร เมื่อวันพุธ ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 10 จ.ศ. 1171 หรือวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2352 พร้อมพระอนุชาต่างมารดา คือพระองค์เจ้าชายอรนิกา และพระขนิษฐา พระองค์เจ้าหญิงสำลีวรรณ ซึ่งถูกข้อหาสมรู้ร่วมคิด[7] ผู้ร่วมสมรู้ร่วมคิดอื่นได้ถูกประหารชีวิตที่สำเหร่ รวมทั้งพระโอรสทั้งหมดในเจ้าฟ้ากรมขุนกษัตรานุชิตถูกสำเร็จโทษด้วยวิธีการถ่วงน้ำ ในเหตุกบฏเจ้าฟ้าเหม็นด้วย[8]
พระทายาท
[แก้]หม่อมเหม็นมีพระโอรส พระธิดาทั้งหมด 15 ท่าน ดังรายพระนาม ดังนี้[9]
|
|
ในจำนวนนี้ทราบแต่เพียงว่าหม่อมเจ้าหญิงสารภี ประสูติแต่หม่อมห้ามชื่อหม่อมคลี่จากสกุลอมาตยกุล ซึ่งพระยากระสาปนกิจโกศล (โหมด อมาตยกุล) ได้จดบันทึกไว้ว่าเป็นคนในสกุลอมาตยกุล ความว่า "...บุตรหลวงยศคงชื่อสิงเป็นบุตรเขยเจ้าพระยาธรรมา (มั่ง) แล้วได้เป็นหลวงยศแทนบิดาคน๑ น้องหลวงยศคงเป็นหญิงชื่อหม่อมคลี่เป็นห้ามหม่อมเหม็นคน๑ มีบุตรกับหม่อมเหม็นเป็นหญิง ชื่อภีคน๑..."[10] แต่หม่อมห้ามท่านอื่น ๆ นั้นไม่พบว่ามีการบันทึกเกี่ยวกับหม่อมห้ามของหม่อมเหม็นไว้เลย และต้องสืบหากันต่อไป[11]
หลังคดีกบฏเจ้าฟ้าเหม็น เจ้าฟ้าเหม็นถูกถอดพระยศและถูกสำเร็จโทษ ส่วนพระโอรสทั้งหกถูกประหารชีวิตทั้งหมด[12] ขณะที่พระธิดาที่ยังเหลืออยู่ก็ถูกถอดให้มีพระยศเป็น คุณ หรือ หม่อม[13] และยังพบว่าพระธิดาของหม่อมเหม็นสองท่านคือ หม่อมเจ้าตลับ และหม่อมเจ้าหอ ปรากฏตัวเมื่อคราวพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปกรุงเก่าทางชลมารค ระหว่างนั้นก็มีเรือเก๋งพายเข้ามาเคียงเรือพระที่นั่งอย่างไม่เกรงพระอาญา นำโดยเจ้าจอมมารดาน้อย (ธิดาพระอินทรอภัย) พร้อมด้วยหม่อมเจ้าอีกสองท่านดังกล่าว[14] เรื่องนี้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชหัตถเลขาเล่าความแก่เจ้าจอมมารดาพึ่ง ดังปรากฏความว่า "...อยากจะใคร่ให้เอาไปตัดหัวเสียตามสกุลพ่อมัน แซ่นี้มักเป็นเช่นนั้นเหมือนคุณสำลี...ข้าได้ยินว่าคนพวกเจ้าตลับ เจ้าครอกหอ ไปด้วย พวกนั้นเปนพวกใกล้เคียงกับยายป้าน้อยของเต่า เต่าอย่าไปไถ่ถามว่ากล่าวอะไรวุ่นวายน้อยมันจะด่าให้อายเขา..."[15]
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้สืบเชื้อสายของหม่อมเหม็นได้รับพระราชทานนามสกุลว่า "อภัยกุล"[13] เป็นนามสุกลพระราชทานลำดับที่ 3941 เขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า Abhayakul นายพิศาล เป็นบุตรหม่อมหลวงแฉล้ม หม่อมหลวงแฉล้มเป็นบุตรพระยาทิพรัตนอมร เป็นผู้ขอพระราชทาน พระราชทานเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2460
พระอิสริยยศ
[แก้]ธรรมเนียมพระยศของ สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศ์ร กรมขุนกษัตรานุชิต (พ.ศ. 2322–2352) | |
---|---|
การทูล | ใต้ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | พ่ะย่ะค่ะ/เพคะ |
- สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสุพันธุวงศ์ (2322-2325)
- สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าสุพันธุวงศ์ (2325 - 2327)
- สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าอภัยธิเบศ นเรศรสมมติวงษพงษอิศวรราชกุมาร[16] (2327)
- สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศ์ร นเรศว์รสมมติวงษพงษอิศวรราชกุมาร (2327-2350)
- สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศ์ร นเรศว์รสมมติวงษพงษอิศวรราชกุมาร กรมขุนกษัตรานุชิต (2350-2352)
- หม่อมเหม็น (2352)
พงศาวลี
[แก้]พงศาวลีของหม่อมเหม็น | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ จุลลดา ภักดีภูมินทร์, "พระองค์เสือ"และ "พระองค์ช้าง" เก็บถาวร 2010-07-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน sakulthai.com
- ↑ 2.0 2.1 ปรามินทร์ เครือทอง, หน้า 29
- ↑ ปรามินทร์ เครือทอง, หน้า 31
- ↑ ปรามินทร์ เครือทอง, หน้า 36
- ↑ ปรามินทร์ เครือทอง, หน้า 34
- ↑ พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา. กรุงเทพฯ:คลังวิทยา. 2516, หน้า 460
- ↑ เกร็ดพระราชประวัติ เก็บถาวร 2008-09-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน phrachaokrungthon.com
- ↑ "คดีกบฏเจ้าฟ้าเหม็น ๒". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-29. สืบค้นเมื่อ 2012-04-14.
- ↑ ลำดับสกุล ภาคที่ 4 สกุลเชื้อสายพระราชวงศ์กรุงธนบุรี. (พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ ท่านผู้หญิง ม.ร.ว.อรุณ วรพงษ์พิพัฒน์ )
- ↑ พระยากระสาปนกิจโกศล. ๓๓๑ ปี สกุลอมาตยกุล และ ๗๓ ปี แห่งการพระราชทานนามสกุลอมาตยกุล. 2529, หน้า 4
- ↑ ปรามินทร์ เครือทอง, หน้า 109
- ↑ ปรามินทร์ เครือทอง. หน้า 151
- ↑ 13.0 13.1 กรมศิลปากร, สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์. ราชสกุลวงศ์ เก็บถาวร 2017-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพฯ:สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. 2554, หน้า 9
- ↑ ปรามินทร์ เครือทอง, หน้า 161
- ↑ ปรามินทร์ เครือทอง, หน้า 162
- ↑ พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ ๑ ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ฉบับตัวเขียน). กรุงเทพฯ:อมรินทร์. 2539, หน้า 43
บรรณานุกรม
[แก้]- ปรามินทร์ เครือทอง. กบฏเจ้าฟ้าเหม็น. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน, พิมพ์ครั้งที่ 3. 2555. 240 หน้า. ISBN 978-974-02-0858-7