ประพันธ์ คูณมี
ประพันธ์ คูณมี | |
---|---|
ขณะชุมนุมร่วมกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย พ.ศ. 2551 | |
สมาชิกวุฒิสภา | |
ดำรงตำแหน่ง 2 ธันวาคม พ.ศ. 2565 – 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 (1 ปี 221 วัน) | |
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 11 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – 28 มกราคม พ.ศ. 2551 (1 ปี 109 วัน) | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ประพันธ์ คูณมี 14 มิถุนายน พ.ศ. 2497 อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไทย |
การเข้าร่วม พรรคการเมืองอื่น | ไทยสร้างชาติ พลังธรรม ประชาธิปัตย์ การเมืองใหม่ |
คู่สมรส | น.ส.สุภาพร ศุภรเวทย์ |
บุตร | 1 คน |
การศึกษา | คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
อาชีพ | นักการเมือง นักเคลื่อนไหวทางการเมือง ทนายความ |
เป็นที่รู้จักจาก | ทนายความของประสงค์ สุ่นศิริ แนวร่วมคนสำคัญของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย |
ประพันธ์ุ คูณมี (เกิด 14 มิถุนายน พ.ศ. 2497) เป็นบุคคลชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งทางการเมืองบางตำแหน่ง รวมถึงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งมาจากรัฐประหาร พ.ศ. 2549 และตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา ชุดที่ 12 ซึ่งมาจากรัฐประหาร พ.ศ. 2557
ระหว่างดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาดังกล่าว ประพันธ์เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์จากการยืนยันว่า วุฒิสภาไม่มีหน้าที่รับฟังเสียงของประชาชน และจะไม่ปฏิบัติตามเสียงของประชาชนในการเลือกตั้ง ถ้าประชาชนเลือกไม่ถูกใจตน[1][2][3]
ประวัติ
[แก้]ในเหตุการณ์ 14 ตุลา ประพันธ์ุเป็นหนึ่งในนักศึกษาที่เข้าร่วมในเหตุการณ์[ต้องการอ้างอิง] โดยทำงานร่วมกับสหพันธ์นักศึกษาเสรี[ต้องการอ้างอิง] และหลังเหตุการณ์ 6 ตุลา ได้หลบหนีเข้าป่าร่วมงานกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.)[ต้องการอ้างอิง] มีชื่อจัดตั้งว่า "สหายสงคราม"[ต้องการอ้างอิง] มีเขตงานเป็นของตนเองโดยไม่เกี่ยวข้องกับพรรคคอมมิวนิสต์ฯ ในนาม "เขตงาน 196 ภูเขียว, ชัยภูมิ"[ต้องการอ้างอิง]
เมื่อออกจากป่า นายประพันธ์ได้กลับมาเรียนต่อจนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง[ต้องการอ้างอิง] และระดับปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์[ต้องการอ้างอิง] และจบเนติบัณฑิตไทย รุ่นที่ 37[ต้องการอ้างอิง] โดยเป็นลูกศิษย์ของพิศิษฏ์ เทศะบำรุง อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา[ต้องการอ้างอิง] และได้ร่วมกันก่อตั้งสำนักทนายความขึ้นในชื่อ "สำนักงานพิศิษฏ์ ประพันธ์ และเพื่อน"[ต้องการอ้างอิง]
ทางการเมือง
[แก้]ใน พ.ศ. 2533 นาวาอากาศตรี ประสงค์ สุ่นศิริ ซึ่งมีความสนิทสนมกับพิศิษฏ์ เทศะบำรุง ได้ร่วมก่อตั้งพรรคความหวังใหม่กับพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ประพันธ์จึงเข้าร่วมทำงานกับพรรคความหวังใหม่อยู่ระยะเวลาหนึ่ง[ต้องการอ้างอิง] และหลังจากออกจากพรรคความหวังใหม่ ประพันธ์ ยังคงมีความเคลื่อนไหวร่วมกับนาวาอากาศตรี ประสงค์ มาโดยตลอด[ต้องการอ้างอิง] โดยหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 ประพันธ์และนาวาอากาศตรี ประสงค์ ก็ได้เข้าร่วมงานกับพรรคพลังธรรมของพลตรี จำลอง ศรีเมือง[ต้องการอ้างอิง] แต่ทว่าก็มีความขัดแย้งกันอีก โดยที่ประพันธ์ได้วิจารณ์ตัวพลตรี จำลอง ในที่ประชุมพรรค จึงได้ถอนตัวออกมา[ต้องการอ้างอิง]
ต่อมาประพันธ์เป็นที่รู้จักกันในวงกว้างมากขึ้นจากการร่วมกับนาวาอากาศตรี ประสงค์ สุ่นศิริ และกลุ่มประชาชนเพื่อชาติและราชบัลลังก์ เคลื่อนไหวประท้วงทักษิณ ชินวัตร เมื่อปลายปี พ.ศ. 2547[ต้องการอ้างอิง] เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้ทักษิณกับตั้งฉายาประพันธ์ว่า "ทนายปีศาจ"[ต้องการอ้างอิง] และในการเลือกตั้งเมื่อต้นปี พ.ศ. 2548 ประพันธ์ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ โดยลงในเขต กรุงเทพมหานคร คือ เขตบางซื่อ แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง[ต้องการอ้างอิง]
ต่อมาในเหตุการณ์ขับไล่ทักษิณ ชินวัตร ใน พ.ศ. 2549 ประพันธ์ได้เข้าร่วมเคลื่อนไหวกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย โดยมีบทบาทเป็นโฆษกบนเวที[ต้องการอ้างอิง] และต่อมาภายหลังเหตุการณ์รัฐประหาร พ.ศ. 2549 คณะรัฐประหารประพันธ์ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2550 ประพันธ์ลงสมัครรับเลือกตั้งในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ เขต 7 กรุงเทพมหานคร (เขตบางกะปิ เขตสะพานสูง เขตมีนบุรี และเขตลาดกระบัง) ร่วมกับสำราญ รอดเพชร และนาถยา เบ็ญจศิริวรรณ ในครั้งนั้น นาถยาได้คะแนนเป็นลำดับที่ 3 รวม 101,007 คะแนน ชนะการเลือกตั้ง ขณะที่นายสำราญได้คะแนนเป็นลำดับที่ 5 รวม 90,978 คะแนน และ นายประพันธ์ได้คะแนนเป็นลำดับที่ 6 รวม 90,667 คะแนน ไม่ได้รับการเลือกตั้ง[ต้องการอ้างอิง] อย่างไรก็ตาม คะแนนของประพันธ์ทิ้งห่างจากอันดับ 7 ร้อยตำรวจเอก นิติภูมิ นวรัตน์ ผู้สมัครจากพรรคเพื่อแผ่นดิน ที่ได้เพียง 33,011 คะแนน ทั้งที่ในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2549 ร้อยตำรวจเอก นิติภูมิ เคยได้รับคะแนนสูงที่สุดในประเทศถึง 257,420 คะแนน และมีสมัคร สุนทรเวช ได้ 240,312 คะแนน ตามมาเป็นอันดับที่ 2[ต้องการอ้างอิง]
เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2551 ภายหลังการกลับประเทศไทยของทักษิณ ชินวัตร ด้วยเหตุผลเพื่อต่อสู้คดี และพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยประกาศฟื้นโครงสร้างองค์กรเพื่อติดตามตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐบาลเกี่ยวกับการดำเนินคดีดังกล่าว ประพันธ์ได้ปรากฏชื่อเป็นที่ปรึกษาของสมัชชาประชาชนแห่งประเทศไทย (สปท.) องค์กรภาคประชาชนที่จัดตั้งขึ้นโดยอ้างอิงรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเมืองภาคประชาชน และประกาศทำงานร่วมกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย[ต้องการอ้างอิง]
ต่อมา ประพันธ์เป็นที่ปรึกษาของคุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ในคณะรัฐมนตรี คณะที่ 59 ซึ่งอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จากพรรคประชาธิปัตย์ เป็นนายกรัฐมนตรี แต่ได้ลาออกเพื่อเข้าเป็นกรรมการบริหารพรรคการเมืองใหม่ ในปลายปี พ.ศ. 2552[4] หลังการลาออกแล้ว มีผู้วิจารณ์ว่า ประพันธ์โจมตีรัฐบาลอภิสิทธิ์ค่อนข้างมาก[5][6]
ประพันธ์ยังเคยมีรายการโทรทัศน์ที่เป็นพิธีกรเองทางช่องเอเอสทีวี คือ ปากกล้าขาไม่สั่นกับประพันธ์ คูณมี ออกอากาศทุกเย็นวันเสาร์-อาทิตย์ ภายหลัง ลาออกจากพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และยุติบทบาทการเป็นพิธีกรดังกล่าว เพื่อไปหาเสียงช่วยพลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส หาเสียงในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2556 หากได้รับเลือกตั้ง จะรับตำแหน่งรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แต่ก็ไม่ได้รับการเลือกตั้ง[7]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2566 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[8]
- พ.ศ. 2550 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "อ.จุฬาฯ ถามดังๆ สว.ประพันธ์ ฟังเสียงใคร หลังลั่นสื่อนอก ไม่สนเสียงประชาชน". ข่าวสด. 2023-07-01.
- ↑ "'ประพันธ์ คูณมี' ตอบสื่อนอก ย้ำจุดยืน 'ไม่ใช่หน้าที่ส.ว. ที่จะฟังเสียงปชช.'". ไทยรัฐ. 2023-07-01.
- ↑ "ส.ว.ประพันธ์ เผยไม่ใช่หน้าที่ ส.ว.ที่จะรับฟังเสียงของประชาชน". ไทยรัฐ. 2023-07-01.
- ↑ ประพันธ์ คูณมี ลาออกที่ปรึกษา รมว.วิทย์ เข้าการเมืองใหม่
- ↑ ประพันธ์ คูณมี ลาออกจากผู้ช่วยรัฐมนตรีหรือยัง
- ↑ ฝากความถึงคุณประพันธ์ คูณมีว่า เพราะใช้สมอง ถึงมองว่า ท่านนายกยังเหมาะที่จะเป็นนายกต่อไป จากโอเคเนชั่น
- ↑ 'ประพันธ์ คูณมี 'โพสต์ประกาศลาออกแกนนำพธม.หันช่วย'เสรีพิศุทธ์ จากฐานเศรษฐกิจ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๕, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๒, ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
คำนูณ สิทธิสมาน. ปรากฏการณ์สนธิ จากเสื้อสีเหลืองถึงผ้าพันคอสีฟ้า. ISBN 9749460979
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2497
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอตระการพืชผล
- ทนายความชาวไทย
- นักเคลื่อนไหวชาวไทย
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
- พรรคความหวังใหม่
- พรรคพลังธรรม
- พรรคนำไทย
- พรรคสังคมประชาธิปไตยไทย
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- บุคคลจากคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- บุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 14 ตุลา
- บุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ 6 ตุลา
- บุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ
- พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ช.