ขบวนการกระทิงแดง
ขบวนการกระทิงแดง | |
---|---|
อาร์มแขนของกลุ่มกระทิงแดง ของผลิตใหม่หลังเหตุการณ์ปราบปรามคอมมิวนิสต์ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | |
คณะผู้นำ | พ.อ. (พิเศษ) สุตสาย หัสดิน |
ประเทศ | ไทย |
เป้าหมาย | ปราบคอมมิวนิสต์ |
แนวคิด | การต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ |
ปฏิบัติการสำคัญ | เหตุการณ์ 6 ตุลา |
ขบวนการกระทิงแดง (อังกฤษ: Red Gaurs Movement) เป็นขบวนการฝ่ายขวาที่มีบทบาททางการเมืองในประเทศไทยหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ก่อตั้งโดย"กองบัญชาการรักษาความมั่นคงภายใน" เพื่อปราบคอมมิวนิสต์ ผู้นำกลุ่มเป็นทหารรับจ้างที่ทำงานกับหน่วยสืบราชการลับของสหรัฐที่มีชื่อว่า พันเอกพิเศษ สุตสาย หัสดิน[1] (ยศในขณะนั้น) ที่ปรึกษาได้แก่ นาย เผด็จ ดวงดี สมาชิกส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาระดับอาชีวศึกษาในกรุงเทพฯ ที่เคยเข้าร่วมในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 มาแล้วเช่นกัน
กองกำลังนี้เน้นการดำเนินการในรูปแบบกองกำลังอาสา สร้างความหวาดกลัวให้กับกลุ่มใฝ่คอมมิวนิสต์และกลุ่มต่อต้านอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาในประเทศไทย มีบทบาทสำคัญในการปราบคอมมิวนิสต์ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519
ขบวนการกระทิงแดงเป็นกองเยาวชนของขบวนการนวพล[2] สีแดงเป็นสีของธงชาติไทยเดิม และถูกมองว่าเป็นสัญลักษณ์ของความรักชาติในธงชาติปัจจุบัน กลุ่มประกาศว่าคำขวัญคือ "แนวร่วมต่อต้านจักรวรรดินิยมคอมมิวนิสต์"[2] คล้ายกับชตวร์มอัพไทลุง (SA) ของพรรคนาซีในประเทศเยอรมนี
ช่วงทศวรรษ 1930 สมาชิกขบวนการกระทิงแดงต่อสู้กับนักเคลื่อนไหวฝ่ายซ้ายกับสหภาพแรงงาน[3] ในวันที่ 21 มีนาคม 2519 ขบวนการกระทิงแดงโยนระเบิดใส่การประท้วงฝ่ายซ้าย เป็นเหตุให้มีนักศึกษาเสียชีวิต 4 คน[4] ได้แก่ นายกมล แซ่นิ้ม นายนิพนธ์ เชษฐากุล นายแก้ว เหลืองอุดมเลิศ และนายธเนศร์ เขมะอุดม[5]
สมาชิกคนสำคัญ อาทิ เฉลิมชัย มัจฉากล่ำ นาย สุชาติ ประไพหอม นาย สมศักดิ์ ขวัญมงคล นาย สมศักดิ์ มาลาดี นาย บุเรศ งามแสงเนตร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สืบพงษ์ ม่วงชู นาย จิรศักดิ์ สุรโชติ นาย ชุบ บุญนุช นาย สุวรรณ เอมรัฐ[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Glassman, Jim, Thailand at the Margins: Internationalization of the State and the Transformation of Labour (2004), p. 68.
- ↑ 2.0 2.1 Harris, Nigel "Thailand: The Army Resumes Command" Notes of the Month, International Socialism (1st series), No.93, November/December 1976, pp.8-9.
- ↑ Handley, p. 226.
- ↑ Handley, p. 231.
- ↑ 3.4 ความรุนแรงและการลอบสังหาร ฐานข้อมูล บันทึก 6 ตุลา
- ↑ ประวัติศาสตร์บาดแผล: 4 กระทิงแดงเล่าอดีต 6 ตุลา
- ไมเคิล ลีเฟอร์. พจนานุกรมการเมืองสมัยใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กทม. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2548.