ข้ามไปเนื้อหา

หมู่เกาะฟอล์กแลนด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หมู่เกาะฟอล์กแลนด์

Falkland Islands (อังกฤษ)
คำขวัญDesire the right (ปรารถนาความยุติธรรม)
เพลงชาติก็อดเซฟเดอะคิง (เพลงสรรเสริญพระบารมี)
เพลงประจำชาติ:Song of the Falklands (Marcha de las Malvinas) (อย่างไม่เป็นทางการ)
ที่ตั้งของหมู่เกาะฟอล์กแลนด์
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
สแตนลีย์
ภาษาราชการภาษาอังกฤษ
การปกครองรัฐบาลอาณานิคมในระบบรัฐสภาแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
• พระมหากษัตริย์
สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3
• ผู้ว่าราชการ
แอลิสัน เบลก
สภานิติบัญญัติสภานิติบัญญัติแห่งหมู่เกาะฟอล์กแลนด์
อาณานิคมโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร
พื้นที่
• รวม
12,173 ตารางกิโลเมตร (4,700 ตารางไมล์) (162)
0
ประชากร
• 2555 ประมาณ
2,841[1] (220)
0.26 ต่อตารางกิโลเมตร (0.7 ต่อตารางไมล์) (241)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2548 (ประมาณ)
• รวม
75 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (223)
55,400 ดอลล่าร์สหรัฐ[2] (7)
จีนี (2010)34.17[3]
ปานกลาง · 64
เอชดีไอ (2010)0.874[4]
สูงมาก · 20
สกุลเงินปอนด์ฟอล์กแลนด์1 (FKP)
เขตเวลาUTC-4
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC-3
ขับรถด้านซ้ายมือ
รหัสโทรศัพท์500
โดเมนบนสุด.fk
1ผูกติดกับค่าเงินปอนด์สเตอร์ลิง (GBP)

หมู่เกาะฟอล์กแลนด์ (อังกฤษ: Falkland Islands) หรือ หมู่เกาะมัลบินัส (สเปน: Islas Malvinas) เป็นกลุ่มเกาะตั้งอยู่ในหมู่เกาะแอตแลนติกใต้บนไหล่ทวีปปาตาโกเนีย หมู่เกาะหลักอยู่ห่างจากชายฝั่งปาตาโกเนียที่ละติจูดราว 52° ใต้ ไปทางตะวันออกราว 500 กิโลเมตร กลุ่มเกาะมีพื้นที่ 12,173 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยเกาะฟอล์กแลนด์ตะวันออก ฟอล์กแลนด์ตะวันตก และเกาะที่เล็กกว่าอื่นอีก 776 เกาะ หมู่เกาะดังกล่าวเป็นดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร มีระดับการปกครองตนเองภายในสูง โดยมีสหราชอาณาจักรรับประกันรัฐบาลที่ดีและรับผิดชอบด้านการป้องกันภัยและการต่างประเทศ เมืองหลวง คือ สแตนลีย์บนเกาะฟอล์กแลนด์ตะวันออก

มีการถกเถียงว่าด้วยการค้นพบหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ครั้งแรกและการล่าอาณานิคมโดยชาวยุโรปในกาลต่อมา หลายช่วง หมู่เกาะมีนิคมฝรั่งเศส อังกฤษ สเปนและอาร์เจนตินา อังกฤษสถาปนาการปกครองอีกครั้งใน พ.ศ. 2376 แม้อาร์เจนตินาจะยังคงอ้างสิทธิ์เหนือหมู่เกาะต่อไป ใน พ.ศ. 2525 หลังการบุกครองหมู่เกาะของอาร์เจนตินา เกิดสงครามฟอล์กแลนด์ที่ไม่มีการประกาศสงครามนานสองเดือนระหว่างอาร์เจนตินากับสหราชอาณาจักร กระทั่งกองกำลังอาร์เจนตินาทั้งหมดยอมจำนนและการคืนหมู่เกาะให้อยู่ในการปกครองของอังกฤษ

ประชากรหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ ซึ่งประเมินอยู่ที่ 2,841 คน ประกอบด้วยชาวหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ท้องถิ่นเป็นหลัก ส่วนมากมีเชื้อสายอังกฤษ ชาติพันธุ์อื่น ได้แก่ ฝรั่งเศส ยิบรอลตาร์และสแกนดิเนเวีย การเข้าเมืองจากสหราชอาณาจักร เซนต์เฮเลนา และชิลีทำให้หมู่เกาะมีประชากรเพิ่มขึ้น จากเดิมที่ลดลง ภาษาเด่นและภาษาราชการ คือ ภาษาอังกฤษ ภายใต้พระราชบัญญัติสัญชาติอังกฤษ ค.ศ. 1983 ชาวหมู่เกาะฟอล์กแลนด์เป็นพลเมืองอังกฤษตามกฎหมาย

หมู่เกาะอยู่ตรงแนวแบ่งเขตระหว่างเขตลักษณะอากาศกึ่งขั้วโลกภาคพื้นสมุทรกับอบอุ่นภาคพื้นสมุทร โดยเกาะหลักทั้งสองมีแนวเทือกเขาสูงถึง 700 เมตร หมู่เกาะเป็นที่อยู่ของประชากรนกขนาดใหญ่ แม้นกหลายชนิดจะไม่ผสมพันธุ์ในเกาะหลักอีกต่อไปเพราะผลของชนิดพันธุ์ที่นำเข้ามา กิจกรรมทางเศรษฐกิจหลัก ได้แก่ การประมง การท่องเที่ยว การเลี้ยงแกะโดยเน้นการส่งออกขนแกะคุณภาพสูง และการสำรวจน้ำมัน การสำรวจน้ำมัน ซึ่งรัฐบาลหมู่เกาะฟอล์กแลนด์เป็นผู้ออกใบอนุญาต ยังถกเถียงกันอันเป็นผลจากข้อพิพาททางทะเลกับอาร์เจนตินา

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Headline results of 2012 Falkland Islands Census released". Falkland Islands Government. 10 September 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-29. สืบค้นเมื่อ 19 December 2012.
  2. 2002 estimate. "CIA World Factbook 2012". cia.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-01. สืบค้นเมื่อ 2013-01-04.
  3. Avakov 2013, p. 54.
  4. Avakov 2013, p. 47.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]