การบุกครองนอร์ม็องดี
ปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ แนวรบด้านตะวันตกในสงครามโลกครั้งที่สอง | |||||||
ทหารฝ่ายสัมพันธมิตรพยายามยึดหัวหาดนอร์ม็องดี | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
ฝ่ายอักษะ เยอรมนี สาธารณรัฐสังคมอิตาลี[a] | |||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
| |||||||
กำลัง | |||||||
ความสูญเสีย | |||||||
ประชาชนเสียชีวิต: |
ปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด (อังกฤษ: Operation Overlord) เป็นชื่อรหัสของ การรุกรานนอร์ม็องดี คือการรบระหว่างกองทัพฝ่ายอักษะนาซีเยอรมนีที่ประจำการอยู่ในยุโรปตะวันตก กับกองกำลังสัมพันธมิตรกว่า 3 ล้านนายที่ทำการบุกข้ามช่องแคบอังกฤษมาจากฐานที่ตั้งชั่วคราวในแนวรบที่อยู่ทางตอนใต้ของประเทศอังกฤษ (ส่วนใหญ่มาจากเมืองพอร์ทสมัธ) มายังหัวหาดนอร์ม็องดีในฝรั่งเศสที่กองทัพเยอรมนียึดมาได้ เริ่มต้นขึ้นในวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2487 (เรียก ดีเดย์)
กองกำลังฝ่ายสัมพันธมิตรนั้นประกอบไปด้วยทหารจากหลายประเทศด้วยกันได้แก่สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และแคนาดา นอกจากนี้ทหารจากกองกำลังฝรั่งเศสเสรีและโปแลนด์ก็ได้รวมเข้ากับกองกำลังสัมพันธมิตรด้วย เมื่อทหารที่ทำการจู่โจมจากเกาะอังกฤษเข้าสู่ฝรั่งเศสได้แล้ว ยังมีกองทหารจากหลายประเทศเข้ามาร่วมกับพันธมิตรหลังจากนั้นด้วย ได้แก่ เบลเยียม เชโกสโลวาเกีย กรีซ เนเธอร์แลนด์ และนอร์เวย์
การบุกหัวหาดนอร์ม็องดีอย่างแท้จริงเริ่มต้นตั้งแต่คืนวันที่ 5 มิถุนายน โดยมีเครื่องบินทิ้งพลร่มและเครื่องร่อนลงมา และกองทัพอากาศฝ่ายพันธมิตรเริ่มเปิดการทิ้งระเบิดใส่กองทัพเยอรมันที่ประจำอยู่ตามเมืองริมชายฝั่งของฝรั่งเศส รวมถึงการยิงปืนใหญ่จากเรือรบพันธมิตร จนกระทั่งการบุกข้ามทะเลของกองกำลังหลักเริ่มต้นขึ้นในตอนเช้าของวันที่ 6 และดำเนินต่อไปอีก 2 เดือน จนถึงการปลดปล่อยกรุงปารีสในตอนปลายของเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2487 ที่ปิดฉากการรบนี้ลง
แผนการครั้งนี้ ถูกกำหนดวันไว้คือวันที่ 5 มิถุนายน โดยจะมีพลร่มลงไปหลังแนวก่อน คือวันที่ 4 มิถุนายน แต่สภาพอากาศเลวร้าย จึงเลื่อนมาอีก 1 วัน เมื่อถึงเที่ยงคืนวันที่ 5 มิถุนายน พลร่ม และเครื่องร่อนได้ลงหลังแนวรบ เพื่อตัดกำลัง และ คุมสะพาน ไม่ให้พวกเยอรมันที่อยู่หลังแนวรบ ส่งกำลังมาหน้าแนวได้ทัน ได้มีการทิ้งหุ่นพลร่มปลอมในบางจุดด้วย
เมื่อเช้าวันที่ 6 มิถุนายน กองทัพเรือขนาดใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลก ยาตราเข้ามาในอ่าวนอร์ม็องดี บนหาดมีเครื่องกีดขวางมากมาย ทำให้แม้แต่เรือเล็กก็ไม่สามารถเข้าหาตัวหาดได้มากนัก เมื่อขึ้นไปบนหาด ถูกต่อต้านโดยปืนใหญ่ ปืนกลหนัก เครื่องยิงลูกระเบิด และปืนต่อต้านรถถังเป็นจำนวนมาก ทั้งยังมีรั้วลวดหนาม คูดักรถถัง และระเบิดบนหาด ทำให้ทหารเสียชีวิตจำนวนมากก่อนจะยึดหัวหาดได้ โดยเฉพาะที่หาดโอมาฮา
แต่สภาพอากาศที่เริ่มดีขึ้นทัศนวิสัยการมองดีขึ้นและบวกกับน้ำลงทำให้เห็นสิ่งกีดขวางและทุ่นระเบิดและกับระเบิดจึงทำให้ ทหารฝ่ายพันธมิตร สามารถทำลายและหลีกเลี่ยงกับระเบิดและสิ่งกีดขวาง
ประวัติ
[แก้]สงครามโลกครั้งที่สอง นั้นเริ่มต้นขึ้นเมื่ออดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ผู้นำของเยอรมนีได้ประกาศสงครามกับโปแลนด์และสั่งเคลื่อนพลจำนวนมหาศาลบุกโปแลนด์ โดยใช้กลยุทธการบุกแบบการโจมตีสายฟ้าแลบ (Blitzkrieg) ในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1939) และสามารถยึดโปแลนด์ได้อย่างรวดเร็ว ขอบเขตของสงครามได้ขยายออกไปเมื่อเยอรมนีประกาศสงครามและทำการบุกนอร์เวย์ เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม และลักเซมเบิร์ก จนกระทั่งกองทัพเยอรมันสามารถยึดฝรั่งเศสได้สำเร็จ ทำให้เยอรมนีเป็นผู้ครอบครองยุโรปตะวันตกได้ทั้งหมด ยกเว้นเกาะบริเตนใหญ่ของสหราชอาณาจักร ที่ในตอนนี้เป็นเพียงชาติเดียวที่เผชิญหน้ากับนาซีเยอรมัน และเสี่ยงต่อการถูกบุกโดยเยอรมนีมากที่สุด แต่ก่อนที่จะทำการบุกเกาะอังกฤษ กองทัพเยอรมันพยายามที่จะทำลายกองทัพอากาศของสหราชอาณาจักรเสียก่อน เพื่อช่วงชิงความเหนือกว่าทางอากาศซึ่งจะทำให้การบุกเกาะอังกฤษง่ายยิ่งขึ้น และเปิดศึกแห่งบริเตนกับสหราชอาณาจักร
ผลการรบที่ออกมากลับเป็นชัยชนะของสหราชอาณาจักรภายใต้การนำของวินสตัน เชอร์ชิลล์ ทำให้กองทัพอากาศนาซีอ่อนแอลงอย่างมากและเบนความสนใจจากการยึดเกาะบริเตนไปยังการบุกสหภาพโซเวียตแทน เปิดโอกาสให้สหราชอาณาจักรได้ตั้งหลัก และผูกมิตรกับสหรัฐอเมริกา และสหภาพโซเวียตที่ในขณะนี้ตกอยู่ในสถานการณ์ลำบาก เมื่อกองทัพเยอรมันสามารถบุกทะลวงดินแดนโซเวียตได้อย่างรวดเร็ว แต่ท้ายที่สุดแล้วสามารถยับยั้งกองทัพเยอรมันไว้ได้ที่มอสโก และเริ่มทำการโจมตีสวนกลับ จนสามารถยึดดินแดนโซเวียตที่เยอรมนียึดมาได้แทบทั้งหมด ในปี พ.ศ. 2486 เยอรมนีกลับตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบในสงคราม และฝ่ายพันธมิตรที่มีกำลังแข็งแกร่งขึ้นเรื่อย ๆ เริ่มคิดแผนการที่จะตอบโต้การรุกรานของเยอรมนีด้วยการโจมตีส่วนใดส่วนหนึ่งของยุโรปตะวันตก ท้ายที่สุดในการประชุมที่เตหะราน ที่สามผู้นำหลัก (ประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี. รูสเวลต์จากสหรัฐอเมริกา นายกรัฐมนตรีวินสตัน เชอร์ชิลล์จากสหราชอาณาจักร และโจเซฟ สตาลินจากสหภาพโซเวียตของฝ่ายสัมพันธมิตรตกลงที่จะเปิดการโจมตีที่หัวหาดนอร์มองดีฝรั่งเศส ตามข้อเรียกร้องของโซเวียตขอให้เปิดแนวรบที่สอง เพื่อลดความกดดันแนวรบทางตะวันออก และเพื่อบีบให้ฝ่ายอักษะต้องกระจายกำลังออกไปทั้งแนวรบตะวันออกและตะวันตก
อ้างอิง
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]- ↑ กองทัพสาธารณรัฐสังคมอิตาลีในช่วงปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ดมา 4,000 คนจาก 1ª Divisione Atlantica Fucilieri di Marina ประมาณ 100 นายตั้งฐานบนเกาะCézembre (Viganò 1991, p. 181) กองทัพส่วนอื่นรวมนักอดีตนักโทษสงครามถูกใช้แรงงานและหน่วยต่อต้านอากาศ (Frittoli 2019)
- ↑ ชาวอเมริกันประมาณ 812,000 คน และชาวอังกฤษกับแคนาดา 640,000 คน (Zetterling 2000, p. 408)
- ↑ นอกจากนี้ กองทัพอากาศฝ่ายสัมพันธมิตรเสียเครื่องบิน 4,101 ลำและ 16,714 ชีวิต (Tamelander & Zetterling 2003, p. 341)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Beevor 2009, p. 82.
- ↑ Beevor 2009, p. 76.
- ↑ 3.0 3.1 Williams 1988, p. x.
- ↑ Beevor 2009, p. 492.
- ↑ เว็บไซต์นาวีสหรัฐ.
- ↑ เว็บไซต์ทหารลักเซมเบิร์ก.
- ↑ Badsey 1990, p. 85.
- ↑ Zetterling 2000, p. 32.
- ↑ Zetterling 2000, p. 34.
- ↑ Shulman 2007, p. 192.
- ↑ 11.0 11.1 Wilmot 1997, p. 434.
- ↑ Buckley 2006, pp. 117–120.
- ↑ 13.0 13.1 Tamelander & Zetterling 2003, p. 341.
- ↑ Tamelander & Zetterling 2003, p. 342.
- ↑ Zetterling 2000, p. 77.
- ↑ Giangreco, Moore & Polmar 2004, p. 252.
- ↑ Tamelander & Zetterling 2003, pp. 342–343.
- ↑ Zetterling 2000, p. 83.
- ↑ Beevor 2009, p. 519.
- ↑ Flint 2009, pp. 336–337.
บรรณานุกรม
[แก้]- Ambrose, Stephen (1994) [1993]. D-Day June 6, 1944: The Climactic Battle of World War II. New York: Simon & Schuster. ISBN 978-0-671-67334-5.
- Army Battle Casualties and Non-Battle Deaths in World War II,: Final Report, 7 December 1941 to 31 December 1946. Washington, DC: Statistical and Accounting Branch, Office of the Adjutant General, Department of the Army. 1 June 1953. OCLC 220594130.
- Badsey, Stephen (1990). Normandy 1944: Allied Landings and Breakout. Osprey Campaign Series. Botley, Oxfordshire: Osprey Publishing. ISBN 0-85045-921-4.
- Beevor, Antony (2009). D-Day: The Battle for Normandy. New York; Toronto: Viking. ISBN 978-0-670-02119-2.
- Beevor, Antony (2012). The Second World War. New York: Little, Brown and Company. ISBN 978-0-316-02374-0.
- Bickers, Richard Townshend (1994). Air War Normandy. London: Leo Cooper. ISBN 0-85052-412-1.
- Bradley, Omar N. (1951). A Soldier's Story. New York: Holt. OCLC 769013111.
- Brown, Anthony Cave (2007) [1975]. Bodyguard of Lies: The Extraordinary True Story Behind D-Day. Guilford, CT: Globe Pequot. ISBN 978-1-59921-383-5.
- Buckingham, William F. (2004). D-Day: The First 72 Hours. Stroad, Gloucestershire: Tempus. ISBN 978-0-7524-2842-0.
- Buckley, John (2006) [2004]. British Armour in the Normandy Campaign 1944. Abingdon, Oxfordshire: Taylor & Francis. ISBN 0-415-40773-7.
- Churchill, Winston (1949). Their Finest Hour. The Second World War. Vol. II. Boston; Toronto: Houghton Mifflin. OCLC 396145.
- Churchill, Winston (1951) [1948]. Closing the Ring. The Second World War. Vol. V. Boston: Houghton Mifflin. OCLC 396150.
- Copp, J. Terry (2000). Montgomery's Scientists: Operational Research in Northwest Europe: The Work of No. 2 Operational Research Section with 21 Army Group, June 1944 to July 1945. Waterloo, Ontario: Laurier Centre for Military, Strategic and Disarmament Studies, Wilfrid Laurier University. ISBN 978-0-9697955-9-9.
- Copp, J. Terry (2003). Fields of Fire: The Canadians in Normandy. Toronto: University of Toronto Press. ISBN 0-8020-3730-5.
- Corta, Henry (1952). Les bérets rouges [The Red Berets] (ภาษาฝรั่งเศส). Paris: Amicale des anciens parachutistes SAS. OCLC 8226637.
- Corta, Henry (1997). Qui ose gagne [Who dares, wins] (ภาษาฝรั่งเศส). Vincennes, France: Service Historique de l'Armée de Terre. ISBN 978-2-86323-103-6.
- Dear, I.C.B.; Foot, M.R.D., บ.ก. (2005) [1995]. The Oxford Companion to World War II. Oxford; New York: Oxford University Press. ISBN 978-0-19-280666-6.
- D'Este, Carlo (2004) [1983]. Decision in Normandy: The Real Story of Montgomery and the Allied Campaign. London: Penguin. ISBN 0-14-101761-9. OCLC 44772546.
- Ellis, L.F.; Allen, G.R.G.; Warhurst, A.E. (2004) [1962]. Butler, J.R.M (บ.ก.). Victory in the West, Volume I: The Battle of Normandy. History of the Second World War United Kingdom Military Series. London: Naval & Military Press. ISBN 1-84574-058-0.
- Evans, Richard J. (2008). The Third Reich at War. New York: Penguin Group. ISBN 978-0-14-311671-4.
- Fenton, Ben (26 April 2004). "The disaster that could have scuppered Overlord". The Telegraph. Telegraph Media Group. สืบค้นเมื่อ 16 February 2014.
- Flint, Edward R (2009). The development of British civil affairs and its employment in the British Sector of Allied military operations during the Battle of Normandy, June to August 1944 (วิทยานิพนธ์ PhD). Cranfield, Bedford: Cranfield University; Cranfield Defence and Security School, Department of Applied Science, Security and Resilience, Security and Resilience Group. OCLC 757064836.
- Ford, Ken; Zaloga, Steven J (2009). Overlord: The D-Day Landings. Oxford; New York: Osprey. ISBN 978-1-84603-424-4.
- Forty, George (2004). Villers Bocage. Battle Zone Normandy. Sutton Publishing. ISBN 0-7509-3012-8.
- Frittoli, Edoardo (7 June 2019). "Giugno 1944: gli Italiani in Normandia nei giorni dello sbarco". www.panorama.it (ภาษาอิตาลี). สืบค้นเมื่อ 29 November 2020.
- Gaddis, John Lewis (1990) [1972]. Russia, the Soviet Union, and the United States: An Interpretive History. New York: McGraw-Hill. ISBN 978-0-07-557258-9.
- Giangreco, Dennis; Moore, Kathryn; Polmar, Norman (2004). Eyewitness D-Day: Firsthand Accounts from the Landing at Normandy to the Liberation of Paris. New York: Barnes & Noble. ISBN 978-0-7607-5045-2.
- Gilbert, Martin (1989). The Second World War: A Complete History. New York: H. Holt. ISBN 978-0-8050-1788-5.
- Goldstein, Donald M.; Dillon, Katherine V.; Wenger, J. Michael (1994). D-Day: The Story and Photographs. McLean, VA: Brassey's. ISBN 0-02-881057-0.
- Government of Luxembourg. "Les Luxembourgeois de la "Brigade Piron"" [The Luxembourg "Brigade Piron"] (ภาษาฝรั่งเศส). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-03. สืบค้นเมื่อ 28 November 2020.
- Hastings, Max (2006) [1985]. Overlord: D-Day and the Battle for Normandy. New York: Vintage. ISBN 0-307-27571-X.
- Horn, Bernd (2010). Men of Steel: Canadian Paratroopers in Normandy, 1944. Toronto, CA: Dundurn Press. ISBN 978-1-55488-708-8.
- Hughes, Thomas Alexander (2010). Overlord: General Pete Quesada and the Triumph of Tactical A. New York: Simon and Schuster. ISBN 978-1-43911-853-5.
- Lewis, Nigel (1990). Exercise Tiger: The Dramatic True Story of a Hidden Tragedy of World War II. New York: Prentice-Hall. ISBN 0-13-127796-0.
- Liedtke, Gregory (2 January 2015). "Lost in the Mud: The (Nearly) Forgotten Collapse of the German Army in the Western Ukraine, March and April 1944". The Journal of Slavic Military Studies. 28 (1): 215–238. doi:10.1080/13518046.2015.998134. ISSN 1351-8046. S2CID 144324751.
- "Normandy American Cemetery and Memorial". tracesofwar.com. สืบค้นเมื่อ 21 February 2019.
- Pogue, Forrest C. (1954). "Chapter XIV: The Pursuit Stops Short of the Rhine". United States Army in World War II: European Theater of Operations: The Supreme Command. Washington, DC: Office of the Chief of Military History, Department of the Army. LCCN 53-61717.
- Shulman, Milton (2007) [1947]. Defeat in the West. Whitefish, Montana: Kessinger. ISBN 978-0-548-43948-7.
- Stacey, C.P. (1948). The Canadian Army 1939–45: A Historical Summary. Ottawa: Published by Authority of the Minister of National Defence.
- Stacey, C.P. (1960). The Victory Campaign, The Operations in North-West Europe 1944–1945 (PDF). Official History of the Canadian Army in the Second World War. Vol. III. Ottawa: Published by Authority of the Minister of National Defence. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-12-21. สืบค้นเมื่อ 2021-08-26.
- Tamelander, Michael; Zetterling, Niklas (2003) [1995]. Avgörandets Ögonblick: Invasionen i Normandie [Determining the Decisive Moments: The Invasion of Normandy] (ภาษาสวีเดน). Stockholm: Norstedts. ISBN 978-91-1-301204-9.
- US Department of the Navy, Naval History and Heritage Command. "D-Day, the Normandy Invasion, 6 – 25 June 1944". Frequently asked questions. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 November 2010. สืบค้นเมื่อ 30 March 2017.
- Viganò, Marino (1991). Il Ministero degli affari esteri e le relazioni internazionali della Repubblica Sociale Italiana (1943–1945). Milano: Jaca Book. ISBN 978-88-16-95081-8.
- Weinberg, Gerhard (1995) [1993]. A World at Arms: A Global History of World War II. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-55879-2.
- Whitmarsh, Andrew (2009). D-Day in Photographs. Stroud: History Press. ISBN 978-0-7524-5095-7.
- Williams, Jeffery (1988). The Long Left Flank: The Hard Fought Way to the Reich, 1944–1945. Toronto: Stoddart. ISBN 0-7737-2194-0.
- Williams, Paul (2013). Hitler's Atlantic Wall: Pas De Calais. Philadelphia: Casemate. ISBN 978-1-84884-817-7.
- Wilmot, Chester (1997) [1952]. The Struggle For Europe. Ware, Hertfordshire: Wordsworth Editions. ISBN 1-85326-677-9.
- Zaloga, Steven J (2013). The Devil's Garden: Rommel's Desperate Defense of Omaha Beach on D-Day. Harrisburg, PA: Stackpole Books. ISBN 978-0-8117-1228-6.
- Zaloga, Steven J (2015). Armored Champion: The Top Tanks of World War II. Mechanicsburg, PA: Stackpole Books. ISBN 978-0-8117-6113-0.
- Zetterling, Niklas (2000). Normandy 1944: German Military Organisation, Combat Power and Organizational Effectiveness. Winnipeg: J.J. Fedorowicz. ISBN 0-921991-56-8.
- Zuehlke, Mark (2004). Juno Beach: Canada's D-Day Victory: June 6, 1944. Vancouver: Douglas & McIntyre. ISBN 1-55365-050-6.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Ambrose, Stephen E. (1969). The Supreme Commander: The War Years of General Dwight D. Eisenhower. Garden City, NY: Doubleday. OCLC 660826327.
- Foot, M. R. D. (1984). SOE: An Outline History of the Special Operations Executive 1940–1946. London: BBC Publications. ISBN 978-0-563-20193-9.
- Keegan, John (1982). Six Armies in Normandy. New York: Penguin Books. ISBN 978-0-14-005293-0.
- Matloff, Maurice (1959). Strategic Planning for Coalition Warfare, 1943–1944. Washington, DC: Center of Military History, United States Army.
- Montgomery, Bernard (1946). Normandy to the Baltic. London: Hutchinson. OCLC 637320842.
- Neillands, Robin (2002). The Battle of Normandy, 1944. London: Cassell. ISBN 978-0-304-35837-3.
- Ryan, Cornelius (1959). The Longest Day: June 6, 1944. New York: Simon & Schuster. OCLC 1175409.
- Whitlock, Flint (2004). The Fighting First: The Untold Story of The Big Red One on D-Day. Boulder: Westview. ISBN 978-0-8133-4218-4.
- Zaloga, Steven (2001). Operation Cobra 1944: Breakout from Normandy. Osprey Campaign Series #88. Oxford: Osprey. ISBN 978-1-84176-296-8.
49°25′05″N 01°10′35″W / 49.41806°N 1.17639°W
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]