ข้ามไปเนื้อหา

จักรพรรดิลิกินิอุส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จักรพรรดิลิกินิอุส
รูปพระเศียรของลิกินิอุสจากพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ศิลปะ เวียนนา
จักรพรรดิโรมัน
ครองราชย์11 พฤศจิกายน ค.ศ. 308 – 19 กันยายน ค.ศ. 324
ก่อนหน้าแซเวรุสที่ 2
ถัดไปคอนสแตนตินที่ 1 (องค์เดียว)
ปกครองร่วมกับกาเลริอุส (ตะวันออก, 308–311)
คอนสแตนตินที่ 1 (ตะวันตก, 308–324)
มักซิมีนุส ดาซา (311–313)
วาเลรีอุส วาเลนส์ (316–317)
มาร์ตินิอานุส (324)
ประสูติป. ค.ศ. 265[1]
โมเอเซีย ซูพีเรีย, จักรวรรดิโรมัน
ลิกินิอุส ลิกินิอานุส (?)[2]
สวรรคตฤดุใบไม้ผลิ ค.ศ. 325 (ประมาณ 60 พรรษา)
เทสซาโลนีกา
คู่อภิเษกฟลาวีอา ยูลีอา กอนสตันตีอา
พระราชบุตรลิกินิอุสที่ 2
พระนามเต็ม
วาเลรีอุส ลิกินีอานุส ลิกินิอุส[1]
ศาสนาศาสนาโรมันโบราณ

วาเลรีอุส ลิกินีอานุส ลิกินิอุส (ละติน: Valerius Licinianus Licinius; กรีก: Λικίνιος; ป. ค.ศ. 265 – 325) เป็นจักรพรรดิโรมันใน ค.ศ. 308 ถึง 324

สมัยต้น

[แก้]

ลิกินิอุสมีกำเนิดจากครอบครัวชาวบ้านจากดาเซีย (Dacia)[1][3] ได้กลายเป็นเพื่อนสนิทและนายทหารคู่ใจของจักรพรรดิกาเลริอุส ได้เข้าร่วมรบในสงครามเปอร์เซียกับพระองค์ในปี พ.ศ. 840 และลิกินิอุสได้รับการแต่งตั้งในตำแหน่งที่สูงขึ้นเป็นลำดับจนได้เป็นจักรพรรดิร่วมกับกาเลริอุส เมื่อจักรพรรดิกาเลริอุสสิ้นพระชนม์ ลิกินิอุสได้ผนวกกรีกและเธรซเข้าไว้ในอาณาจักรโรมัน และได้เข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 ปราบแมกซิมินได้ในปี พ.ศ. 856 ซึ่งเป็นผลให้ลิกินิอุสเป็นได้ผู้ครอบครองจักรวรรดิด้านตะวันตกคือโรมันตะวันตกแต่เพียงผู้เดียว

ต่อมาในปี พ.ศ. 857 ลิกินิอุสได้บาดหมางกับคอนสแตนติน และเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ ต้องยอมยกดินแดนยุโรปที่ครอบครองอยู่ให้แก่คอนสแตนติน ยกเว้นเธรซ อีก 10 ปีต่อมาก็ได้เกิดการสู้รบกันอีกครั้งที่เอเดรียนโนเปิล และที่ครีสโสโปลิส ลิกินิอุสเป็นฝ่ายพ่ายแพ้อีก จึงถูกจับจองจำและถูกประหารชีวิตในที่สุด

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Jones, A.H.M.; Martindale, J.R. (1971). The Prosopography of the Later Roman Empire, Vol. I: AD 260–395. Cambridge University Press. p. 509.
  2. Craven, Maxwell (2019). "Licinius". The Imperial Families of Ancient Rome. Fonthill Media. ISBN 978-1781557389.
  3. DiMaio, Michael Jr. (23 February 1997). "Licinius (308–324 A.D.)". De Imperatoribus Romanis.

ข้อมูล

[แก้]