ลูนาร์เกตเวย์
ภาพจำลองของเกตเวย์พาวเวอร์และโปรพัลชันเอลเมนต์ (PPE) และ แฮบิเทชันและลอจิสติกเอาท์โพส (HALO) ในวงโคจรรอบดวงจันทร์ในปี ค.ศ. 2024 | |
ข้อมูลของสถานี | |
---|---|
จำนวนลูกเรือ | 4 (แผนการณ์) |
ส่งขึ้นเมื่อ | พฤศจิกายน ค.ศ. 2024 (แผนการณ์)[1] |
จรวดขนส่ง | ฟัลคอน เฮฟวี เอสแอลเอส บล็อค 1บี |
ฐานส่ง | ศูนย์ปล่อยยานอวกาศเคนเนดี คอมเพล็กซ์ 39 |
สถานะภารกิจ | อยู่ระหว่างการพัฒนา |
ปริมาตรอากาศ | ≥125 m3 (4,400 cu ft) (แผนการณ์)[2] |
จุดใกล้โลกที่สุด | 3,000 km (1,900 mi)[3] |
จุดไกลโลกที่สุด | 70,000 km (43,000 mi) |
ความเอียงวงโคจร | โพลาร์ วงโคจรรัศมีใกล้เส้นตรง (NRHO) |
คาบการโคจร | ≈7 วัน |
องค์ประกอบ | |
องค์ประกอบ ณ วันที่ 16 พฤศจิกายน 2022 |
ลูนาร์เกตเวย์ (อังกฤษ: Lunar Gateway) หรือเรียกง่าย ๆ ว่า เกตเวย์ เป็นสถานีอวกาศขนาดเล็กที่วางแผนให้อยู่ในวงโคจรของดวงจันทร์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้เป็นศูนย์กลางการสื่อสารที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โมดูลที่อยู่อาศัยระยะสั้นสำหรับนักบินอวกาศของทางการ และพื้นที่สำหรับยานสำรวจ และหุ่นยนต์อื่น ๆ สำหรับโครงการอาร์ทิมิส ที่เป็นโครงการระดับนานาชาติมีหน่วยงานที่ร่วมมือเช่น นาซา, องค์การอวกาศยุโรป (ESA), องค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น (JAXA), องค์การอวกาศแคนาดา (CSA) และ ศูนย์อวกาศมุฮัมมัด บิน รอชิด (MBRSC) เกตเวย์มีการวางแผนที่จะเป็นทั้งสถานีอวกาศแห่งแรกที่อยู่นอกวงโคจรระดับต่ำของโลกและเป็นสถานีอวกาศแห่งแรกที่โคจรรอบดวงจันทร์[4][5]
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ที่จะศึกษาบนเกตเวย์คาดว่าจะรวมถึง วิทยาดาวเคราะห์ ฟิสิกส์ดาราศาสตร์ การสังเกตโลก เฮลิโอฟิสิกส์ ชีววิทยาอวกาศขั้นพื้นฐาน สุขภาพและประสิทธิภาพของมนุษย์ ในเดือนเมษายน 2024 เริ่มมีการก่อสร้างโมดูลสำหรับอยู่อาศัย (initial habitation modules) โมดูลขับดัน (propulsion modules) แล้ว[6][7][8][9] กลุ่มประสานงานการสำรวจอวกาศนานาชาติ (ISECG) ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานด้านอวกาศมากกว่า 14 แห่งรวมถึงหน่วยงานหลักทั้งหมด สรุปว่า เกตเวย์จะมีความสำคัญในการขยายการดำรงชีวิตของมนุษย์ไปยังดวงจันทร์ ดาวอังคาร และลึกลงไปในระบบสุริยะ[10]
โครงการนี้คาดว่าจะมีบทบาทสำคัญในโครงการอาร์ทิมิสของนาซาหลังปี ค.ศ. 2024 โดยในปีงบประมาณ 2025 นาซาจะได้รับประมาณ 817.7 ล้านเหรียญสหรัฐสำหรับโครงการนี้ แม้ว่าโครงการนี้นำโดยนาซาแต่เกตเวย์มีขึ้นเพื่อพัฒนา ให้บริการ และใช้งานร่วมกับ CSA, ESA, JAXA และพันธมิตรทางการค้า มันจะทำหน้าที่เป็นจุดจัดเตรียมสำหรับการสำรวจขั้วโลกใต้ของดวงจันทร์ทั้งโดยหุ่นยนต์และโดยมนุษย์ และเป็นจุดจัดเตรียมที่เสนอสำหรับแนวคิดดีปสเปซทรานสปอร์ตของนาซาสำหรับการขนส่งไปยังดาวอังคาร[11][7][12]
เดิมสถานีนี้มีชื่อว่า ดีปสเปซเกตเวย์ (DSG) สถานีนี้เปลี่ยนชื่อเป็น ลูนาร์ออบิทัลแพลตฟอร์ม-เกตเวย์ (LOP-G) ในข้อเสนอปี ค.ศ. 2018 ของนาซาสำหรับงบประมาณของรัฐบาลกลางสหรัฐปี ค.ศ. 2019[13][14] สภาคองเกรสได้อนุมัติงบประมาณ 450 ล้านเหรียญสหรัฐในการศึกษาเบื้องต้น[15][16][17]
โครงสร้าง
[แก้]การก่อสร้าง
[แก้]เที่ยวบินที่มีลูกเรือคาดการว่าจะใช้ยานอวกาศ โอไรออน และจรวด สเปซลอนช์ซิสเตม ในขณะที่ภารกิจอื่น ๆ คาดว่าจะให้เอกชนเป็นผู้รับผิดชอบ
ระยะที่ 1
[แก้]โมดูล PPE และ HALO จะมีการนำส่งขึ้นไปพร้อมกันด้วยจรวด ฟัลคอน เฮฟวี่ ภายในปี 2027
ปี | วัตถุประสงค์ของภารกิจ | Mission name | จรวดนำส่ง | สถานะ |
---|---|---|---|---|
2027 | นำส่งโมดูลพลังงานและขับดัน (PPE) และโมดูลสำหรับอยู่อาศัยและโลจิสติกส์ (HALO) | ฟัลคอล เฮฟวี่ | อยู่ระหว่างการพัฒนา[18] | |
กันยายน 2028[19] | นำส่งยานโอไรออน และโมดูล I-HAB[20] | อาร์ทิมิส 4 | SLS Block 1B | อยู่ระหว่างการพัฒนา[21][22][23] |
มีนาคม 2030[24] | นำส่งยานโอไรออน และโมดูล ESPRIT Refueling (ERM)[25] | อาร์ทิมิส 5 | SLS Block 1B | อยู่ระหว่างการพัฒนา[26] |
มีนาคม 2031[24] | นำส่งยานโอไรออน และโมดูล Crew and Science Airlock | อาร์ทิมิส 6 | SLS Block 1B | อยู่ระหว่างการพัฒนา[27] |
มีนาคม 2032[24] | (เสนอ) นำส่งยานโอไรออน และโมดูลโลจิสติกส์ | อาร์ทิมิส 7 | SLS Block 1B | อยู่ในช่วงการออกแบบ |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "NASA, Northrop Grumman Finalize Moon Outpost Living Quarters Contract". NASA (Press release). 9 July 2021. สืบค้นเมื่อ 9 July 2021.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อnsf-20180911
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อNRHO 2019
- ↑ "FY 2022: NASA Budget Request" (PDF). NASA. 28 May 2021. สืบค้นเมื่อ 1 June 2021. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
- ↑ Jackson, Shanessa (11 September 2018). "Competition Seeks University Concepts for Gateway and Deep Space Exploration Capabilities". nasa.gov. NASA. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 June 2019. สืบค้นเมื่อ 19 September 2018. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
- ↑ Mahoney, Erin (24 August 2018). "NASA Seeks Ideas for Scientific Activities Near the Moon". nasa.gov. NASA. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 June 2019. สืบค้นเมื่อ 19 September 2018. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
- ↑ 7.0 7.1 Kathryn Hambleton (28 March 2017). "Deep Space Gateway to Open OpportunitiesArtemis for Distant Destinations". nasa.gov. NASA. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 September 2017. สืบค้นเมื่อ April 5, 2017. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
- ↑ "РОСКОСМОС - NASA СОВМЕСТНЫЕ ИССЛЕДОВАНИЯ ДАЛЬНЕГО КОСМОСА (ROSCOSMOS - NASA JOINT RESEARCH OF FAR COSMOS)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 September 2019. สืบค้นเมื่อ September 29, 2017.
- ↑ Weitering, Hanneke (27 September 2017). "NASA and Russia Partner Up for Crewed Deep-Space Missions". Space.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 September 2019. สืบค้นเมื่อ 5 November 2017.
- ↑ NASA (2 May 2018). "Gateway Memorandum for the Record" (PDF). nasa.gov. NASA. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 25 July 2019. สืบค้นเมื่อ 19 September 2018. บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
- ↑ Gebhardt, Chris (6 April 2017). "NASA finally sets goals, missions for SLS – eyes multi-step plan to Mars". nasaspaceflight.com. NASASpaceflight. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 August 2017. สืบค้นเมื่อ 19 September 2018.
- ↑ Robyn Gatens, Jason Crusan. "Cislunar Habitation and Environmental Control and Life Support System". nasa.gov. NASA. สืบค้นเมื่อ March 31, 2017.[ลิงก์เสีย] บทความนี้รวมเอาเนื้อความจากแหล่งอ้างอิงนี้ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ
- ↑ Davis, Jason (February 26, 2018). "Some snark (and details!) about NASA's proposed lunar space station". The Planetary Society. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 26, 2018. สืบค้นเมื่อ February 26, 2018.
- ↑ Yuhas, Alan (2018-02-12). "Trump's Nasa budget: flying 'Jetson cars' and a return to the Moon". The Guardian. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 July 2019. สืบค้นเมื่อ 2018-02-25.
- ↑ NASA.gov [ลิงก์เสีย] - p. 4|access-date=2020-04-01
- ↑ Foust, Jeff (June 12, 2018). "Senate bill restores funding for NASA science and technology demonstration missions". SpaceNews. สืบค้นเมื่อ 16 September 2018.
- ↑ "NASA just got its best budget in a decade". planetary.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 February 2019. สืบค้นเมื่อ 27 February 2019.
- ↑ "PHOTO OF THE DAY: NASA Highlights the Gateway Space Station's HALO Module - Space Coast Daily". spacecoastdaily.com. สืบค้นเมื่อ 2024-04-18.
- ↑ Foust, Jeff (13 March 2023). "NASA planning to spend up to $1 billion on space station deorbit module". SpaceNews. สืบค้นเมื่อ 13 March 2023.
- ↑ "NASA FY 2022 Budget Estimates" (PDF). p. PDF page 97, in-text page DEXP-67.
Delivery of I-Hab to the Gateway will be via the SLS Block 1B launch vehicle with Orion providing orbital insertion and docking.
- ↑ "Lunar I-Hab mock-up all set". www.esa.int (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-04-18.
- ↑ "On 4-4-24, we've got 4 photos for you for Artemis IV!". 4 April 2024.
- ↑ "Gateway: Forward Progress on Artemis IV - NASA" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2024-04-30. สืบค้นเมื่อ 2024-05-01.
- ↑ 24.0 24.1 24.2 "FY 2025 Budget Request | FY 2025 President's Budget Request Moon to Mars Manifest" (PDF). NASA. 15 April 2024. p. 6. สืบค้นเมื่อ 31 July 2024.
- ↑ Foust, Jeff (20 January 2022). "NASA foresees gap in lunar landings after Artemis 3". SpaceNews. สืบค้นเมื่อ 6 February 2022.
- ↑ "Gateway: Lunar View". www.esa.int (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-04-18.
- ↑ "UAE starts historic Lunar Gateway project". SatellitePro ME (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2024-01-22. สืบค้นเมื่อ 2024-05-05.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Lunar Gateway
- Artemis-I at NASA