ข้ามไปเนื้อหา

สตาร์ชิปเอชแอลเอส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Starship HLS)
สตาร์ชิปเอชแอลเอส
ภาพจำลองยานสตาร์ชิปเอชแอลเอสบนพื้นผิวดวงจันทร์
ผู้ผลิตสเปซเอ็กซ์
ประเทศสหรัฐอเมริกา
ผู้ดำเนินการสเปซเอ็กซ์
การใช้งานยานลงจอดบนดวงจันทร์
ข้อมูลจำเพาะ
ชนิดยานอวกาศมีมนุษย์ขับ, ใช้งานซ้ำได้
ความจุลูกเรือ
วงโคจรอวกาศระหว่างโลกและดวงจันทร์
ขนาด
ความสูง50 m (160 ft)
เส้นผ่านศูนย์กลาง9 m (30 ft)
น้ำหนักบรรทุกสู่ พื้นผิวดวงจันทร์
มวล100,000 kg (220,000 lb)[1]
การผลิต
สถานะอยู่ระหว่างการพัฒนา
เที่ยวบินแรกค.ศ. 2025 (ตามแผน)[2]
ยานอวกาศที่เกี่ยวข้อง
ได้มาจากยานสตาร์ชิป
บินด้วยสเปซเอ็กซ์ซูเปอร์เฮฟวี
สตาร์ชิปเอชแอลเอส
เครื่องยนต์
เชื้อเพลิงCH4 / LOX

สตาร์ชิปเอชแอลเอส (Starship HLS; Human Landing System) เป็นรุ่นของยานลงจอดบนดวงจันทร์ของยานอวกาศสตาร์ชิป ที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ขนส่งนักบินอวกาศจากวงโคจรดวงจันทร์ไปยังพื้นผิวดวงจันทร์และกลับมายังวงโคจรอีกครั้ง ยานนี้กำลังพัฒนาและผลิตโดยสเปซเอ็กซ์ ภายใต้สัญญาระบบลงจอดของมนุษย์ (HLS) กับองค์การนาซา ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของโครงการอาร์ทิมิสที่มีเป้าหมายในการส่งมนุษย์กลับไปเหยียบดวงจันทร์

แผนภารกิจระบุว่า ยานสตาร์ชิปเอชแอลเอสจะถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรรอบโลกด้วยจรวดขนส่งสตาร์ชิป จากนั้นจะเติมเชื้อเพลิงด้วยยานสตาร์ชิปแท๊งเกอร์หลายลำก่อนที่จะเดินทางต่อไปยังวงโคจรใกล้ดวงจันทร์ (NRHO) และทำการนัดพบกับยานอวกาศออไรออน ที่ถูกส่งขึ้นจากโลกด้วยจรวดสเปซลอนช์ซิสเตม (SLS) นักบินอวกาศสองคนจะเปลี่ยนยานจากออไรออนมายังเอชแอลเอสเพื่อเดินทางลงจอดบนพื้นผิวดวงจันทร์ โดยคาดว่าจะอยู่บนพื้นผิวประมาณ 7 วัน และดำเนินกิจกรรมภายนอกยานอย่างน้อย 5 ครั้ง ก่อนจะเดินทางกลับมายังยานออไรออนในวงโคจรใกล้ดวงจันทร์

ในขั้นตอนที่สามของกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างเอชแอลเอส ทางนาซาได้มอบสัญญาให้สเปซเอ็กซ์ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2021 เพื่อพัฒนา ผลิต และทดสอบการใช้งานสตาร์ชิปเอชแอลเอส โดยมีแผนการบินทดสอบแบบไม่มีนักบินในปี ค.ศ. 2025 เพื่อแสดงความสำเร็จในการลงจอดบนดวงจันทร์ หลังจากนั้นจะมีภารกิจพร้อมนักบินในอาร์ทิมิส 3 ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นไม่เร็วกว่ากลางปี ค.ศ. 2027[3] นอกจากนี้ นาซายังได้ทำสัญญาเพื่อพัฒนาเอชแอลเอสรุ่นปรับปรุงสำหรับใช้งานในภารกิจอาร์ทิมิส 4[4]

การพัฒนาระบบสตาร์ชิปเริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 2010 โดยได้รับเงินทุนจากสเปซเอ็กซ์เอง แต่การพัฒนารุ่นเอชแลอเอสนี้ได้รับเงินทุนภายใต้สัญญาของนาซา[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Berger, Eric (2 May 2022). "SpaceX engineer says NASA should plan for Starship's "significant" capability". Ars Technica. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 December 2023. สืบค้นเมื่อ 11 December 2023.
  2. Smith, Marcia (9 January 2024). "NASA Delays Next Artemis Missions to 2025 and 2026". SpacePolicyOnline. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 January 2024. สืบค้นเมื่อ 10 January 2024.
  3. Reuters (2024-12-06). "Nasa announces further delays in Artemis moon missions". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2024-12-08.
  4. Lloyd, Vanessa (15 November 2022). "NASA Awards SpaceX Second Contract Option for Artemis Moon Landing". NASA. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 November 2022. สืบค้นเมื่อ 4 February 2023.
  5. Foust, Jeff (16 April 2021). "NASA selects SpaceX to develop crewed lunar lander". SpaceNews. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 May 2021. สืบค้นเมื่อ 18 April 2021.