ข้ามไปเนื้อหา

ทฤษฎีสมคบคิดเรื่องเหยียบดวงจันทร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นักบินอวกาศ บัสซ์ อัลดรินและนีล อาร์มสตรอง ในแบบจำลองการฝึกดวงจันทร์และส่วนลงจอดของนาซา นักทฤษฎีสมคบคิดกล่าวว่า การถ่ายภาพภารกิจกระทำโดยใช้ชุดที่คล้ายกับแบบจำลองฝึกนี้

ทฤษฎีสมคบคิดเรื่องเหยียบดวงจันทร์ (อังกฤษ: Moon landing conspiracy theories) อ้างว่า โครงการอะพอลโลและการลงจอดบนดวงจันทร์ที่สืบเนื่องบางส่วนหรือทั้งหมดเป็นการหลอกลวงที่นาซาและสมาชิกองค์การอื่นจัดฉากขึ้น มีหลายปัจเจกบุคคลและกลุ่มได้อ้างการสมคบคิดดังกล่าวมาตั้งแต่กลางคริสต์ทศวรรษ 1970 การอ้างที่โดดเด่นที่สุด คือ การลงจอดที่มีมนุษย์โดยสารไปด้วยทั้งหกครั้ง (ระหว่าง ค.ศ. 1969-1972) เป็นเรื่องกุ และนักบินอวกาศของอะพอลโลสิบสองคนมิได้เดินบนดวงจันทร์ นักทฤษฎีสมคบคิดมีพื้นฐานข้ออ้างจากความคิดที่ว่า นาซาและองค์การอื่นทำให้สาธารณะหลงผิดเชื่อว่า การลงจอดเกิดขึ้นโดยการผลิต ทำลายหรือยุ่งกับหลักฐาน รวมทั้งภาพถ่าย เทปการวัดและส่งข้อมูลทางไกล การสื่อสัญญาณ ตัวอย่างหินจากดวงจันทร์ และกระทั่งพยานปากสำคัญบางคน

นักทฤษฎีสมคบคิดได้จัดการรักษาความสนใจของสาธารณะเอาไว้กับทฤษฎีของพวกตนมาได้นานกว่า 40 ปี แม้จะมีหลักฐานจากฝ่ายที่สามเกี่ยวกับการลงจอดและการหักล้างในรายละเอียดต่อข้ออ้างการหลอกลวงนี้[1] การสำรวจความคิดเห็นในหลายสถานที่ได้แสดงว่า ชาวอเมริกันระหว่าง 6% ถึง 20% ที่ถูกสำรวจ เชื่อว่า การลงจอดโดยมีมนุษย์โดยสารไปด้วยนั้นเป็นการกุขึ้น แม้แต่ใน พ.ศ. 2547 เครือข่ายโทรทัศน์รายใหญ่อย่างฟ็อกซ์ ยังออกอากาศสารคดีชื่อ Conspiracy Theory: Did We Land on the Moon? (ทฤษฎีสมคบคิด: เราลงจอดบนดวงจันทร์จริงหรือ) โดยอ้างว่า นาซากุการลงจอดครั้งแรกใน พ.ศ. 2512 เพื่อชนะการแข่งขันด้านอวกาศ[2]

ตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 2000 ภาพถ่ายจุดลงจอดของอะพอลโลความละเอียดสูงที่ถ่ายโดยอวกาศยาน LPOC สามารถจับภาพส่วนลงจอดและรอยเท้าที่นักบินอวกาศหลงเหลือไว้ได้[3][4] ใน พ.ศ. 2555 มีการเผยแพร่ภาพถ่ายที่แสดงธงอะพอลโลที่ยังตั้งอยู่บนดวงจันทร์[5][6]

การกล่าวอ้างว่า ภาพ อะพอลโล 11 ลงจอดบนดวงจันทร์ในวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) นั้น ไม่ได้ถ่ายบนดวงจันทร์ แต่ถ่ายทำขึ้นในสตูดิโอภาพยนตร์บนพื้นโลก ความคิดนี้เริ่มเป็นที่พูดคุย หลังจากภาพยนตร์เรื่อง แคปริคอร์นวัน (Capricorn One) ออกฉาย ภาพยนตร์นั้นว่าองค์การนาซาได้หลอกลวงชาวโลกโดยสร้างภาพการลงจอดยานที่ดาวอังคาร อย่างไรก็ตาม มีข้อพิสูจน์หลายอย่างว่า ถึงแม้ว่าการสำรวจอวกาศของอะพอลโล 11 จะเป็นเรื่องจริง แต่ภาพถ่ายของ นีล อาร์มสตรอง ถูกถ่ายทำขึ้นบนโลก โดยตามความคิดของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ถึงแม้ว่า นีล อาร์มสตรองจะประสบความสำเร็จหรือไม่ก็ตาม ภาพถ่ายนี่จะออกมาต่อสื่อมวลชนเพื่อสร้างข่าวลือของความสำเร็จของสหรัฐอเมริกา

ในปี พ.ศ. 2517 ได้มีหนังสือซึ่งเขียนขึ้นโดย บิลล์ เคย์ซิง (Bill Kaysing) ชื่อเรื่องว่า เราไม่เคยไปดวงจันทร์ (We Never Went to the Moon) หรือ หนังสือของ ราล์ฟ มูน ในชื่อเรื่อง นาซาเหยียบสหรัฐอเมริกา (NASA Mooned America) ซึ่งเกี่ยวกับข่าวหลอกลวงที่นาซาสร้างขึ้น และมีมิวสิกวีดีโอเพลง อเมริกา (Amerika, ใช้ตัวอักษร k) ของ รัมสไตน์ (Rammstein) เนื้อเพลงเกี่ยวกับการหลอกลวงในการลงจอดบนดวงจันทร์ ซึ่งนักร้องแต่งชุดเป็นนักบินอวกาศ และฉากหลังเป็นดวงจันทร์

ข้อกล่าวอ้างถึงแรงจูงใจในการสร้างภาพ

[แก้]

การสร้างภาพของโครงการอะพอลโล 11 ส่งผลให้ สหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำของโลกในทางด้านเทคโนโลยีจากคนอื่นทั่วโลก และชาวสหรัฐอเมริกาเอง และยังทำให้ประเทศอื่นเชื่อว่า สหรัฐฯ มีเทคโนโลยีอื่นรวมทั้งอาวุธต่าง ๆ ซึ่งยังไม่ได้นำออกมาแก่สื่อมวลชน และได้รับชัยชนะเหนือ สหภาพโซเวียต ซึ่งได้นำยานอวกาศขึ้นสำรวจอวกาศก่อนหน้านี้ สาเหตุหลายอย่างที่สนับสนุนให้เกิดการสร้างข่าวลือในการเหยียบดวงจันทร์ของสหรัฐอเมริกา

  1. เบี่ยงเบนความสนใจ ของเรื่องสงครามเวียดนาม โดย เบี่ยงเบนความสนใจของชาวโลก เรื่องของการโจมตีประเทศเวียดนาม เพื่อหยุดยั้งการขยายตัวของคอมมิวนิสต์
  2. ชัยชนะในสงครามเย็น โดยสหรัฐอเมริกาได้รับชัยชนะเหนือโซเวียตในเรื่องการสำรวจอวกาศ ซึ่งถือว่าเป็นเทคโนโลยีที่สูงสุดในขณะนั้น ถึงแม้ว่าการสำรวจอวกาศเหมือนที่โซเวียตได้ทำก่อนหน้านี้ ทางสหรัฐสามารถทำได้เช่นกัน แต่การถ่ายทำในสตูดิโอและสร้างข่าวลือ สามารถส่งผลที่ให้เกิดชัยชนะได้แน่นอนและลดค่าใช้จ่ายและความเสี่ยง ส่งผลให้สหภาพโซเวียตล่มสลายในช่วงเวลาต่อมา
  3. รวบรวมเงิน ซึ่งนาซาได้รวบรวมเงินประมาณ 60,000 ล้านบาทในขณะนั้น (30 billion dollars) สำหรับโครงการสำรวจดวงจันทร์ โดยการสร้างแรงจูงใจให้ชาวสหรัฐอเมริกาและองค์กรต่าง ๆ บริจาคเงินจำนวนมหาศาลได้ โดยเงินสามารถนำมาใช้สำหรับสงครามเวียดนามได้โดยไม่มีข้อสงสัย
  4. ความเสี่ยงสูง ถึงแม้ว่าโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการสำรวจอวกาศจะเป็นไปได้สำหรับสหรัฐอเมริกา แต่ขณะเดียวกันความล้มเหลวก็มีสูงเช่นกัน

ข้อกล่าวหาและข้อโต้แย้ง

[แก้]

เรื่องภาพถ่าย

[แก้]

ภาพถ่ายของ นีล อาร์มสตรอง ที่มีการอ้างว่าถ่ายทำบนดวงจันทร์ ได้ถูกกล่าวหาว่าถ่ายทำบนโลก

1. สัญลักษณ์กากบาทสำหรับระบุตำแหน่งในบางรูปภาพปรากฏที่หลังวัตถุ แทนที่จะอยู่ด้านหน้า

  • ในการถ่ายภาพ วัตถุที่มีสีสว่าง (วัตถุที่อยู่หลังสัญลักษณ์กากบาท) ทำให้วัตถุสีดำ (กากบาท) หายไป ซึ่งเป็นผลของการที่ฟิล์มได้แสงมากเกินไป

2. คุณภาพของภาพถ่ายดีอย่างเหลือเชื่อ แม้ว่าจะถ่ายในอวกาศ

  • นาซาเลือกภาพถ่ายที่ดีที่สุดสำหรับการนำเสนอต่อสื่อมวลชน ซึ่งก็ได้นำภาพดังกล่าวไปคัดเลือกอีกทีหนึ่งด้วย นอกจากนี้ภาพส่วนใหญ่ถูกตัดกรอบเพื่อทำให้มีการวางองค์ประกอบที่ดีขึ้น ภาพที่ถ่ายนั้นยังถ่ายด้วยกล้องฮาสเซลบลาดคุณภาพสูงด้วยเลนซ์ไซสส์ที่มีคุณภาพสูงเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามมีภาพมากมายที่ได้แสงมากเกินหรือมีโฟกัสที่ผิดพลาด ภาพถ่ายเหล่านี้สามารถดูได้ที่ Apollo Lunar Surface Journal เก็บถาวร 2004-06-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

3. ภาพถ่ายไม่มีดาวอยู่ภายในภาพ โดยขณะเดียวกันนักบินไม่ได้มีการกล่าวถึงการมองเห็นดวงดาวในยานอวกาศ จากภาพถ่ายของหลายโครงการสำรวจอวกาศ

  • ไม่มีปรากฏภาพของดวงดาวในกระสวยอวกาศ, สถานีอวกาศเมียร์ สถานีอวกาศนานาชาติ และที่สังเกตการณ์บนโลกเช่นเดียวกัน โดยทั่วไปแล้วการถ่ายภาพในลักษณะนี้ ปกติจะตั้งความเร็วชัตเตอร์ที่ความเร็วสูง เพื่อป้องกันแสงที่ออกมาไฟส่องทำให้ภาพขาวจนเกินไป ในขณะเดียวกันที่ความเร็วชัตเตอร์เท่านี้ ไม่สามารถถ่ายภาพดวงดาวได้

4. สีและแสงเงาภายในภาพผิดเพี้ยน เงาจากดวงจันทร์ ไม่ควรจะมีมุมเดียวกับเงาของวัตถุบนพื้นโลก

  • เนื่องจากต้นแหล่งของแสง จากดวงอาทิตย์ โลก และดาวอื่นๆ โดยแสงต่าง ๆ ที่ส่องเข้ามาที่ดวงจันทร์ มักจะเกิดความกระเจิงเนื่องจากฝุ่นหินบนดวงจันทร์

5. พื้นหลังของภาพที่ถูกรายงานว่าถ่ายจากคนละสถานที่กลับเหมือนกัน

  • การเปรียบเทียบอย่างละเอียดแสดงให้เห็นว่ามีความแตกต่าง

6. จำนวนภาพถ่ายที่มากจนเกินไป โดยเมื่อนำจำนวนเวลาที่ลงจอดบนดวงจันทร์ เปรียบเทียบกับจำนวนภาพถ่ายทั้งหมด จะได้ว่า ภาพถ่ายถูกถ่ายขึ้นทุก 15 วินาที โดยเมื่อเปรียบเทียบกับคุณภาพกล้องในสมัย ปี พ.ศ. 2512 การถ่ายภาพและการเลื่อนฟิล์มทั้งหมด ใช้เวลาประมาณ 30 วินาทีต่อ 1 ภาพ

  • นักบินอวกาศได้รับการฝึกฝนให้ใช้เครื่องมือการถ่ายภาพเป็นอย่างดี นอกจากนี้อุปกรณ์การถ่ายภาพยังทำให้สามารถถ่ายภาพได้สะดวก ถึงขนาดที่ถ่ายได้สองภาพต่อหนึ่งวินาที ถ้าดูภาพที่ถ่ายมาจะพบว่าภาพจำนวนมากถูกถ่ายต่อเนื่องกัน

เรื่องการสื่อสาร

[แก้]
  1. การสื่อสารข้อมูลที่ควรจะดีเลย์ 2 วินาที ระหว่างสื่อที่อยู่บนโลกและนักบินจากดวงจันทร์ ซึ่งการส่งสัญญาณสองทาง ระยะทางประมาณ 400,000 กม. (250,000 ไมล์)
  2. สัญญาณที่ หอดูดาวปาร์กส (Parkes Observatory) ในประเทศออสเตรเลีย ควรจะได้ชัดเจนกว่าสัญญาณที่อื่น เปรียบเทียบจากในขณะที่ โดยเทียบกับตำแหน่งของดวงจันทร์ในขณะนั้น แต่หอดูดาวปาร์กส์รับข้อมูลจากหอดูดาวของสหรัฐอเมริกาซึ่งอยู่คนละซีกโลกของดวงจันทร์ โดยทางนาซาได้ให้ข่าวว่า ข้อมูลทั้งหมดเป็นข้อมูลลับซึ่งต้องผ่านการตรวจสอบก่อน ถึงจะออกแก่สื่อมวลชนได้

อ้างอิง

[แก้]
  1. Plait 2002, pp. 154-73.
  2. "The Great Moon Hoax". NASA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-01. สืบค้นเมื่อ 30 July, 2012. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "NASA Spacecraft Images Offer Sharper Views of Apollo Landing Sites". NASA. สืบค้นเมื่อ 22 September 2011.
  4. "The illuminated side of the still standing American flag to be captured at the Apollo 17 landing site". Lunar Reconnaissance Orbiter Camera News Center. July 27, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-03-18. สืบค้นเมื่อ 2022-03-16.
  5. "Apollo Moon flags still standing, images show". BBC News. 30 July 2012.
  6. "American Flags From Apollo Missions Still Standing". ABC News. Jul 31, 2012.

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]