ข้ามไปเนื้อหา

ออปเพอร์จูนิที

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ออปเพอร์จูนิที
ภาพของ ออปเพอร์จูนิที บนพื้นผิวดาวอังคาร
ประเภทภารกิจยานสำรวจดาวอังคาร
ผู้ดำเนินการNASA
COSPAR ID2003-032A
SATCAT no.27849แก้ไขบนวิกิสนเทศ
เว็บไซต์JPL's Mars Exploration Rover
ระยะภารกิจแผน: 90 วันบนดาวอังคาร (92.5 วันบนโลก)
สุดท้าย: 5,352 โซลส์ (5498 วันบนโลก; รวมทั้งหมด 15 ปีบนโลก หรือ 8 ปีดาวอังคาร)
ข้อมูลยานอวกาศ
ชนิดยานอวกาศโรเวอร์
มวลขณะส่งยานรวม: 1,063 กก.
โรเวอร์: 185 กก.
ที่เกาะ: 348 กก.
เปลือกหลัง/ร่มชูชีพ: 209 กก.
เกราะนำความร้อน: 78 กก.
ที่นำยาน: 193 กก.
เชื้อเพลิงยาน: 50 กก.[1]
เริ่มต้นภารกิจ
วันที่ส่งขึ้นJuly 7, 2003, 03:18 UTC (2003-07-07UTC03:18)[2][1]
จรวดนำส่งDelta II 7925H-9.5[1][3][4]
ฐานส่งCape Canaveral SLC-17B
ผู้ดำเนินงานโบอิง
สิ้นสุดภารกิจ
ประกาศเมื่อ13 กุมภาพันธ์ ค.ศ.2019[5]
ติดต่อครั้งสุดท้าย10 มิถุนายน ค.ศ.2018[5]
ยานสำรวจ Mars
วันที่ลงจอดJanuary 25, 2004,[2] 05:05 UTC SCET
MSD 46236 14:35 AMT
ตำแหน่งลงจอด1°56′46″S 354°28′24″E / 1.9462°S 354.4734°E / -1.9462; 354.4734 (Opportunity rover)[6]
ระยะทางที่ขับ45.16 km (28.06 mi)[7]
 

ออปเพอร์จูนิที (Opportunity) หรือรู้จักกันในชื่อว่า MER-B (ยานสำรวจดาวอังคาร–บี) หรือ MER-1 เป็นโรเวอร์หุ่นยนต์ (rover - ยานลงจอดเคลื่อนที่ได้) สำรวจดาวอังคารที่ปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ถึง พ.ศ. 2561[2] ปล่อยตัวในวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 เป็นส่วนหนึ่งของภารกิจยานสำรวจดาวอังคารของนาซา ยานออปเพอร์จูนิทีลงจอดที่เมริเดียนีเพลนัมเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2547 สามสัปดาห์หลังจากที่ยานคู่แฝดสปิริตแตะผิวอีกฟากของดาวเคราะห์[8] ยานสปิริตซึ่งวางแผนให้ทำงานได้ 90 วันดาวอังคาร (มากกว่า 90 วันโลกเล็กน้อย) ทำงานอยู่จนกระทั่งมันติดบนพื้นทรายในปี พ.ศ. 2552 และขาดการติดต่อไปในปีต่อมา ขณะที่ยานออปเพอร์จูนิทียังสามารถทำงานได้เป็นระยะเวลา 5352 วันดาวอังคารหลังจากลงจอด เกินระยะเวลาตามแผนไปถึง 14 ปี 294 วัน (ในเวลาโลก) คิดเป็น 55 เท่าของอายุขัยที่ออกแบบมา จนถึงวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2561 การติดต่อกับยานขาดหายไปอย่างถาวรระหว่างการเกิดพายุฝุ่น[9][10] ยานได้เคลื่อนที่มาแล้วเป็นระยะทาง 45.16 กิโลเมตร[7]

ส่วนสำคัญของภารกิจประกอบด้วยภารกิจ 90 วันแรก ตามหาอุกกาบาตต่างดาว เช่น ฮีตชีลด์ร็อก ศึกษาและสำรวจหลุมอุกกาบาตวิกทอเรีย ยานรอดจากพายุฝุ่นรุนแรงต่ำ และในปี พ.ศ. 2554 ยานเคลื่อนที่ถึงหลุมอุกกาบาตเอนเดเวอร์ ซึ่งถือเป็นจุดลงจอดที่สอง[11]

ระหว่างที่เกิดพายุฝุ่นบนดาวอังคารใน พ.ศ. 2561 ยานออปเพอร์จูนิทีขาดการติดต่อในวันที่ 10 มิถุนายน และเข้าสู่สถานะหลับลึกในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2561 มีการคาดหวังว่า ยานจะตื่นกลับมาเมื่อบรรยากาศสดใสขึ้น[12] แต่ก็ไม่เกิดขึ้น คาดว่าอุปกรณ์ยานจะเสียหายอย่างหนักหรือมีฝุ่นไปปกคลุมแผงเซลล์แสงอาทิตย์ นาซาหวังที่จะติดต่อกับยานได้อีกครั้ง เมื่อมีลมพัดพาฝุ่นออกจากแผงแล้ว[13] ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 นาซาประกาศอย่างเป็นทางการว่าภารกิจยานออปเพอร์จูนิทีนั้นเสร็จสมบูรณ์แล้ว หลังจากที่ยานไม่ตอบรับสัญญาณที่ส่งไปเรื่อย ๆ ตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2561[14]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ LaunchDetails
  2. 2.0 2.1 2.2 Nelson, Jon. "Mars Exploration Rover – Opportunity". NASA. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 24, 2014. สืบค้นเมื่อ February 2, 2014. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "NASA-Opportunity" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ nasa
  4. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Jonathan's Space Report No. 504
  5. 5.0 5.1 Agle, D.C.; Brown, Dwayne; Wendel, JoAnna (February 13, 2019). "NASA's Opportunity Rover Mission on Mars Comes to End". NASA. สืบค้นเมื่อ February 14, 2019.
  6. Staff. "Mapping the Mars Rovers' Landing Sites". Esri. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 4, 2014. สืบค้นเมื่อ May 4, 2014.
  7. 7.0 7.1 "Mars Exploration Rover Mission: All Opportunity Updates". nasa.gov. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ August 30, 2015. สืบค้นเมื่อ September 18, 2018.
  8. ยานสปิริตลงจอดในวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2547
  9. Malik, T. (21 June 2018). "Mars Dust Storm 2018: How It Grew & What It Means for the Opportunity Rover". space.com. Future.plc. สืบค้นเมื่อ 2019-02-14.
  10. Rayl, A.J.S. (1 August 2018). "The Mars Exploration Rovers Update: Dust Storm Wanes, Opportunity Sleeps, Team Prepares Recovery Strategy". planetary.org. Planetary Society. สืบค้นเมื่อ 2019-02-14.
  11. "Opportunity on verge of new discovery". wustl.edu. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 24, 2011. สืบค้นเมื่อ September 17, 2011.
  12. Greicius, Tony (September 24, 2018). "Opportunity Emerges in a Dusty Picture". NASA (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 15, 2018. สืบค้นเมื่อ November 30, 2018.
  13. Greicius, Tony (August 30, 2018). "Update on Opportunity Rover Recovery Efforts". NASA (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 3, 2018. สืบค้นเมื่อ November 30, 2018.
  14. "NASA's Opportunity Rover Mission on Mars Comes to End". NASA. 13 February 2019. สืบค้นเมื่อ 13 February 2019.