โครงการอาร์ทิมิส
ประเทศ | สหรัฐอเมริกา |
---|---|
องค์กร | NASA และพันธมิตร: ESA, JAXA, DLR, ASI, ISA, MBRSC และ CSA |
วัตถุประสงค์ | การสำรวจดวงจันทร์โดยมีลูกเรือ |
สถานะ | กำลังดำเนินการ |
ประวัติโครงการ | |
ค่าใช้จ่าย | 93+ พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2012–2025), 53 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วง 2021-2025[1] |
ระยะเวลา | 2017[2] | –ปัจจุบัน
เที่ยวบินแรก | อาร์ทิมิส I (16 พฤศจิกายน 2022, 06:47:44 UTC)[3][4] |
เที่ยวบินแรกที่มีลูกเรือ | อาร์ทิมิส 2 (NET เมษายน 2026)[5] |
สถานที่ปล่อย | |
ข้อมูลยานพาหนะ | |
ยานพาหนะมีคนขับ | |
ความจุลูกเรือ | 4[6] |
ยานพาหนะที่ปล่อย |
|
โครงการอาร์ทิมิส (อังกฤษ: Artemis program) เป็นโครงการการบินอวกาศของมนุษย์ระดับนานาชาติที่นำโดยสหรัฐ มีเป้าหมายหลักคือการส่งมนุษย์กลับคืนสู่ดวงจันทร์ (โดยเฉพาะขั้วใต้ของดวงจันทร์) ภายใน พ.ศ. 2567[2][10] หากสำเร็จ จะเป็นภารกิจลงจอดบนดวงจันทร์ครั้งแรกนับตั้งแต่อะพอลโล 17 ใน พ.ศ. 2515 ซึ่งเป็นเที่ยวบินไปดวงจันทร์ครั้งสุดท้ายของโครงการอะพอลโล
โครงการอาร์ทิมิสเริ่มต้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2560 โดยเป็นการปรับโครงสร้างองค์กรและความพยายามอย่างต่อเนื่องในการฟื้นฟูโครงการอวกาศของสหรัฐ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 เป้าหมายระยะสั้นที่ระบุไว้คือการพาผู้หญิงคนแรกลงเหยียบบนพื้นดวงจันทร์ วัตถุประสงค์ระยะกลางเป็นการจัดตั้งทีมสำรวจระหว่างประเทศและการตั้งฐานของมนุษย์อย่างยั่งยืนบนดวงจันทร์ วัตถุประสงค์ระยะยาวคือการวางรากฐานสำหรับบริษัทเอกชนในการสร้างเศรษฐกิจดวงจันทร์ และสุดท้ายการทำภารกิจโดยลูกเรือเพื่อไปยังดาวอังคารและไกลกว่านั้น[11]
โครงการอาร์ทิมิสดำเนินการโดยนาซาและผู้รับเหมาการบินอวกาศเชิงพาณิชย์ของสหรัฐ โดยร่วมมือกับองค์การอวกาศยุโรปและหน่วยงานด้านอวกาศของประเทศอื่นๆ[a] ประเทศอื่น ๆ ได้รับเชิญให้เข้าร่วมโครงการผ่านการลงนามในข้อตกลงอาร์ทิมิส ซึ่งเปิดให้ลงนามตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2563
หมายเหตุ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ NASA Office of Inspector General (15 November 2021). NASA's Management of the Artemis Missions (PDF) (Report). NASA. p. 21. สืบค้นเมื่อ 18 January 2023.
To account for all Artemis costs for FYs 2021 through 2025, including Phase 2 projects like the SLS Block 1B, Mobile Launcher 2, and Gateway, we found that $25 billion should be added to the Artemis Plan's estimated costs, increasing the total costs over this 5-year period to $53 billion. Furthermore, when considering the $40 billion already spent on the Artemis mission from FYs 2012 to 2020, the total projected cost through FY 2025 becomes $93 billion.
- ↑ 2.0 2.1 "NASA: Moon to Mars". nasa.gov. NASA. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 August 2019. สืบค้นเมื่อ 19 May 2019.
- ↑ Artemis I Launch to the Moon (Official NASA Broadcast) - Nov. 16, 2022 (ภาษาอังกฤษ), 16 พฤศจิกายน 2022, สืบค้นเมื่อ 2022-11-16
- ↑ "NASA Prepares Rocket, Spacecraft Ahead of Tropical Storm Nicole, Re-targets Launch". NASA. 8 พฤศจิกายน 2022. สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2022.
- ↑ Smith, Marcia (9 January 2024). "NASA Delays Next Artemis Missions to 2025 and 2026". SpacePolicyOnline. สืบค้นเมื่อ 10 January 2024.
- ↑ Orion Components (ภาษาอังกฤษ), 27 กุมภาพันธ์ 2024, สืบค้นเมื่อ 2024-06-18
- ↑ Gebhardt, Chris (6 เมษายน 2017). "NASA finally sets goals, missions for SLS — multi-step plan to Mars". NASASpaceFlight.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 สิงหาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2017.
- ↑ NASA (17 พฤศจิกายน 2022). "Gateway: overview". NASA. สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2023.
- ↑ Grush, Loren (18 กรกฎาคม 2019). "NASA's daunting to-do list for sending people back to the Moon". The Verge. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 ธันวาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2019.
- ↑ Berger, Eric (20 May 2020). "NASA's full Artemis plan revealed: 37 launches and a lunar outpost". Ars Technica. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 May 2019. สืบค้นเมื่อ 24 May 2020.
- ↑ "NASA: Artemis Accords". nasa.gov. NASA. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 May 2020. สืบค้นเมื่อ 16 May 2020.
- ↑ "NASA signs agreement with Italy to cooperate on Artemis". SpaceNews. 25 September 2020. สืบค้นเมื่อ 30 September 2020.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Potter, Sean (13 October 2020). "NASA, International Partners Advance Cooperation with Artemis Accords". NASA. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 February 2021. สืบค้นเมื่อ 16 March 2021.
- ↑ "NASA Gains Broad International Support for Artemis Program at IAC". nasa.gov. NASA. 8 November 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 July 2020. สืบค้นเมื่อ 24 May 2020.
- ↑ "Brazil Signs Artemis Accords". NASA.gov. 15 June 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 June 2021. สืบค้นเมื่อ 15 June 2021.
- ↑ Potter, Sean (27 May 2021). "Republic of Korea Joins List of Nations to Sign Artemis Accords". NASA. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 May 2021. สืบค้นเมื่อ 27 May 2021.
- ↑ "NASA.gov". 31 May 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 June 2021. สืบค้นเมื่อ 1 June 2021.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Artemis program
- Moon to Mars portal at NASA
- Artemis program at NASA
- Monthly report เก็บถาวร 2020-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน by the Exploration Systems Development (ESD)